แบบ ประเมิน การ ทํา งาน เป็น ทีม

กลุ่มที่ .......... ชั้น ม.2/ ........

ประเด็น
การประเมิน

เกณฑ์การให้ระดับคะแนน

น้ำหนัก
จุดเน้น

4

3

2

1

1. บทบาทหน้าที่

แบบ ประเมิน การ ทํา งาน เป็น ทีม
มีการกำหนดบทบาทหน้าที่สมาชิกไว้ชัดเจน

แบบ ประเมิน การ ทํา งาน เป็น ทีม
มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ไม่ครบ ขาดไป 1 อย่าง

แบบ ประเมิน การ ทํา งาน เป็น ทีม
มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ไม่ครบ ขาดไป 2 อย่าง

แบบ ประเมิน การ ทํา งาน เป็น ทีม
ไม่มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิก

1

2. การมีส่วนร่วม

แบบ ประเมิน การ ทํา งาน เป็น ทีม
สมาชิกกลุ่มทุกคนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานกลุ่ม

แบบ ประเมิน การ ทํา งาน เป็น ทีม
สมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานกลุ่ม

แบบ ประเมิน การ ทํา งาน เป็น ทีม
สมาชิกกลุ่มให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานกลุ่มเป็นส่วนน้อย

แบบ ประเมิน การ ทํา งาน เป็น ทีม
สมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานกลุ่มน้อย

1

3. ความรับผิดชอบ

แบบ ประเมิน การ ทํา งาน เป็น ทีม
สมาชิกทุกคนทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ไม่หลีกเลี่ยงงาน งานเสร็จทันตามเวลาที่กำหนด

แบบ ประเมิน การ ทํา งาน เป็น ทีม
สมาชิกส่วนใหญ่ทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ไม่หลีกเลี่ยงงาน งานเสร็จทันตามเวลาที่กำหนด

แบบ ประเมิน การ ทํา งาน เป็น ทีม
สมาชิกส่วนน้อยทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หลีกเลี่ยงงานเป็นบางคน งานเสร็จช้ากว่าเวลาที่กำหนดเล็กน้อย

แบบ ประเมิน การ ทํา งาน เป็น ทีม
สมาชิกส่วนใหญ่ไม่ทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หลีกเลี่ยงงานเป็นบางคน งานเสร็จช้ากว่ากำหนด

1

4. การรับฟังความคิดเห็น

แบบ ประเมิน การ ทํา งาน เป็น ทีม
สมาชิกทุกคนยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์

แบบ ประเมิน การ ทํา งาน เป็น ทีม
สมาชิกส่วนใหญ่ยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นและมีเหตุผล

แบบ ประเมิน การ ทํา งาน เป็น ทีม
สมาชิกส่วนน้อยยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นและมีเหตุผล

แบบ ประเมิน การ ทํา งาน เป็น ทีม
สมาชิกส่วนใหญ่ไม่รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และไม่มีเหตุผลเลย

1

5. ผลสำเร็จของงาน

แบบ ประเมิน การ ทํา งาน เป็น ทีม
เกิดจากความร่วมมือของสมาชิกทุกคนในกลุ่ม
แบบ ประเมิน การ ทํา งาน เป็น ทีม
เกิดจากความร่วมมือของสมาชิกส่วนใหญ่ในกลุ่ม
แบบ ประเมิน การ ทํา งาน เป็น ทีม
เกิดจากความร่วมมือของสมาชิกส่วนน้อยในกลุ่ม
แบบ ประเมิน การ ทํา งาน เป็น ทีม
เกิดจากความร่วมมือของสมาชิก 1 - 2 คนในกลุ่มเท่านั้น

1

ลงชื่อ ................................. ผู้ประเมิน

  • หน้าแรก

  • Articles All

  • Human Resource

  • Team Building/Team Work

  • ประเมินทีมอย่างไร

 
โดย... ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ

       
       เพื่อจัด Team Building ให้ตรงจุดและตอบโจทย์ คำถามที่มักได้รับช่วงนี้ คือจะประเมินทีมของเราอย่างไร เพื่อจะได้พัฒนาทีมได้ตรงจุด แน่นอนค่ะ อะไรที่วัดได้ เรามักพัฒนาได้รวดเร็วขึ้น หากวางแผนTeam Building ก็ควรจะมี focus ว่าจะเน้นเรื่องใดเป็นพิเศษ มิฉะนั้นกลับมาแล้วก็แล้วกัน ไม่ได้ทักษะและพฤติกรรมที่สมาชิกในทีมสามารถนำกลับมาช่วยกันพัฒนาทีมได้ ดิฉันแนะนำการประเมินดังนี้นะคะ

              วัตถุประสงค์และเป้าหมายในการร่วมงานกันในทีม  มีความชัดเจน สมาชิกในทีมไม่สับสนว่าหน้าที่ที่ทำอยู่ทุกวันนี้ เป้าหมายรวมคืออะไร นั่นเป็นเพราะสมาชิกในทีมบางคนอาจยึดเป้าหมายส่วนตัวหรือเพียงส่วนของตนเป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงภาพรวม

              สมาชิกในทีม  มีความตั้งใจ มีทักษะ และมีความคิดริเริ่มในด้านสร้างสรรค์มากกว่ามุ่งไปที่ปมปัญหาโครงสร้างและบทบาทความรับผิดชอบของสมาชิกในทีมนั้น ได้รับการสื่อสารเข้าใจตรงกันและชัดเจน

              การสื่อสาร  สมาชิกในทีมมีโอกาสในการพูดคุยกัน สร้างมิตรสัมพันธ์ และสร้างความไว้วางใจ กล้าพูด กล้าถาม เพราะบรรยากาศในการสื่อสารเปิดเผยและปลอดภัย

              การตัดสินใจ  การตัดสินใจมาจากความคิดถ้วนถี่อย่างจริงจังของสมาชิกในทีม หรือหมายถึงสมาชิกในทีมไม่ละเลยให้ผู้อื่นอยากคิดก็คิดไป ส่วนเราก็ตามน้ำไป ว่าไงว่ากันตามนั้น ช่างมันฉันไม่แคร์

              ความขัดแย้ง  สมาชิกในทีมพูดคุยกันตรงไปตรงมาในความเห็นที่ต่างกัน และรู้ว่าต้องแสดงออกอย่างไรในการแสดงความคิดเห็นต่าง เพื่อไม่นำมาซึ่งความขัดแย้งพ่วงท้ายกลายเป็นเรื่องส่วนตัว

              ภาวะผู้นำ  ผู้นำทีมเป็นตัวอย่างที่ดีในการมองผลกระทบแบบภาพรวม โน้มน้าวใจคนได้ในขณะที่บริหารจัดการได้ตามเป้าหมายและเป็นธรรม ถ้าผู้นำทำเสียเองในการแบ่งเขาแบ่งเรา วางยาทีมอื่น ไม่นานทั้งสมาชิกในทีม และสายตาจากคนภายนอกจะเลิกไว้วางใจทีมดังกล่าว

              ความร่วมมือ  สมาชิกในทีมทุกคนรู้ได้ถึงคุณค่าของตนเองต่อผลสำเร็จของทีม ดังนั้นเขาจึงกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วม ใช้ทักษะที่มีและความสามารถเต็มที่ แบบไม่แอ้ป ไม่อมภูมิ

              การยอมรับชื่นชมกัน เปิดเผยและบ่อยครั้ง ไม่ว่าเป็นความสำเร็จเล็กหรือใหญ่ มีการให้รางวัลอย่าง สร้างสรรค์ ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปเงินทองเสมอไป แต่ผู้มอบต้องจริงใจ ผู้รับจึงจะภูมิใจ

              ผลงานของทีม เป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ และบรรลุเป้าหมายหรือเหนือกว่านั้น

              เราใช้ 1-5 rating scale ได้ เช่น 1 คือ ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 5 คือ เห็นด้วยอย่างยิ่ง โดยสามารถให้สมาชิกในทีมประเมินได้ เพื่อจะได้ให้เขามีส่วนร่วมในการพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้น จากหัวข้อด้านบนจะเห็นว่า บางเรื่องก็ไม่จำเป็นต้องออกไป Team Building เช่น ด้านภาวะผู้นำ สามารถใช้การพัฒนาที่ตัวบุคคลหรือการให้ Performance Feedback ที่ตรงจุด หรือการจัดให้มีการ Coaching แบบตัวต่อตัวที่ตัวบุคคลได้