เรียน พาณิชย์นาวี เงินเดือน

การผลิตคนประจำเรือ โดยเฉพาะ นักเดินเรือพาณิชย์ เพื่อพัฒนามาตรฐานวิชาชีพด้านการเดินเรือไทยให้ก้าวไปสู่สากลสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้ จำเป็นต้องอาศัยการลงทุนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการศึกษาพาณิชยนาวี ซึ่งในตอนนี้ แนวทาง Demand driven ก็เป็นหนึ่งในแนวคิดที่สามารถผลักดันภารกิจนี้ให้ไปถึงเป้าหมายได้ด้วยการบูรณาการความร่วมมือกันระหว่างภาคการศึกษาทุกระดับที่เปิดสอนในด้านพาณิชยนาวีในประเทศไทย กับสถานประกอบการ บริษัท เพื่อผลิตบุคลากรด้านนี้ให้ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมมากที่สุด

สำหรับแนวทางการพัฒนาศักยภาพวิชาชีพ ‘นักเดินเรือพาณิชย์’ นั้น มีงานวิจัยเรื่อง “ศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของนักเดินเรือพาณิชย์ไทยสำหรับผู้ประกอบการเดินเรือ” ซึ่งจัดทำโดย จุไรรัตน์ วราห์กิจเจริญ นิสิตจากหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (ปี 2559) ซึ่งได้ให้ข้อมูลการพัฒนาทักษะ นักเดินเรือพาณิชย์ ของไทยให้ทัดเทียมนานาชาติไว้อย่างน่าสนใจ

เรียนรู้จาก “ฟิลิปปินส์” ต้นแบบชาติที่เพิ่ม GDP ประเทศได้ด้วยการพัฒนาบุคลากรด้านการเดินเรือ

การมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยการมองบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาแล้วว่าเป็นสินทรัพย์สำคัญ ที่มาเพิ่มศักยภาพให้เศรษฐกิจชาติในฐานะทุนมนุษย์ (Human capital) ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross domestic product: GDP) เพิ่มขึ้น ดังจะเห็นว่าแนวคิดนี้ประเทศฟิลิปปินส์ได้ทำสำเร็จมาแล้ว ซึ่งสามารถนำรายได้เข้าประเทศฟิลิปปินส์เป็นจำนวนมหาศาล
เรียน พาณิชย์นาวี เงินเดือน
โดย ฟิลิปปินส์ กำหนดยุทธศาสตร์มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนการสอนด้านนี้โดยเฉพาะ ซึ่งจากที่ผ่านมาในแต่ละปี มีนักเรียนกว่า 280,000 คน ที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนการเดินเรือในปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) มีจำนวนชาวฟิลิปปินส์ที่เป็นชาวเรือกว่า 250,000 คนในปี พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013)และต่อมามีการคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นได้มากถึง 460,000 คน โดยใช้เวลาไม่กี่ปี
ชาวฟิลิปปินส์มีนักเดินเรือมืออาชีพกระจายอยู่ทั่วโลกมากกว่าสัญชาติอื่นๆ จึงไม่น่าแปลกใจที่หนึ่งในธุรกิจที่ทำเงินให้ฟิลิปปินส์จะเป็นธุรกิจการจัดส่งคนเพื่อเป็นนักเดินเรือขนส่งสินค้าทั่วโลก ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดในด้านทรัพยากรบุคคลในด้านนี้เป็นจำนวนมากและสามารถทำรายได้เข้าประเทศจากการบริหารการจ้างงานต่างประเทศของฟิลิปปินส์ (POEA) ประเทศนี้จึงกลายเป็นเมืองหลวงตลาดแรงงานนักเดินเรือของโลกแปโดยปริยาย
ตามสถิติล่าสุด ประเทศฟิลิปปินส์ มีนักเดินเรือชาวฟิลิปปินส์ประมาณ 229,000 คน ทำงานอยู่บนเรือจัดส่งสินค้าทั่วโลก คิดเป็นถึงร้อยละ 25 ของนักเดินเรือทั้งหมด 1.5 ล้านคนทั่วโลกทีเดียว

นักเดินเรือพาณิชย์ อาชีพรายได้ดี ที่ยังรอคนไทยไปบุกเบิก

เมื่อเปรียบเทียบเงินเดือนของนักเดินเรือกับงานทั่วไป จะพบทันทีว่าอาชีพนี้ คือ อาชีพรายได้ดี ที่น่าสนใจโดยแท้ เพราะในขณะที่อาชีพข้าราชการและครูเงินเดือนเริ่มต้นที่ 15,000 บาท อาชีพนักงานบัญชี เงินเดือนเริ่มต้นที่17,000 บาท อาชีพนิติกร เงินเดือนเริ่มต้นที่ 17,500 บาท อาชีพวิศวกรเงินเดือนเริ่มต้นที่ 23,500 บาท แต่อาชีพ นักเดินเรือพาณิชย์ กลับได้รับเงินเดือนเริ่มต้นที่ 50,000 บาท เทียบเท่าเงินเดือนเริ่มต้นของแพทย์ ทีเดียว
แต่แม้จะมีแรงจูงใจในเรื่องการให้ค่าตอบแทนที่สูง แต่ยังมีปัญหาในเรื่องมาตรฐานของนักเดินเรือพาณิชย์ไทยที่ยังขาดทักษะด้านต่างๆ และต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

เรียน พาณิชย์นาวี เงินเดือน

Show
ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันยังไม่สามารถทำให้นักเดินเรือมีขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาชาติได้ด้วยหลายปัจจัย ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน (ASEAN) แล้วนักเดินเรือพาณิชย์ของประเทศไทยยังด้อยประสิทธิภาพกว่าประเทศฟิลิปปินส์อินโดนีเซีย มาเลเซียอย่างมากทั้งที่ฝีมือแรงงานของประเทศไทยไม่ได้ด้อยกว่าชาติอื่น
โดยจุดอ่อนของแรงงานไทยด้านพาณิชยนาวี คือ ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากลที่ใช้ในการปฏิบัติงานบนเรือ ทำให้ นักเดินเรือพาณิชย์ ไทยยังไม่เป็นที่ยอมรับในตลาดสากลได้
อีกทั้งประเทศไทยยังต้องทบทวนในเรื่องเทคโนโลยีและการถ่ายทอดวิชาความรู้ที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนนักเดินเรือให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ในการพัฒนานักเดินเรือพาณิชย์ไทยให้ได้คุณภาพต่อไป
โดยผู้ทำงานวิจัยชิ้นนี้ ได้เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ประกอบการเรือพาณิชย์และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติผู้ใช้งานนักเดินเรือ จำนวน 20 บริษัท บริษัท ละ 5 คน กับการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารโรงเรียนพาณิชยนาวี 9 คนโดยนำข้อมูลมาประมวลผล และได้ข้อค้นพบว่า
หนึ่ง : ควรกำหนดตัวชี้วัด (KPI) ในการประเมิน อาทิ การประเมินความรู้ความสามารถ ด้านบุคลิกภาพของนักเดินเรือ ด้านจริยธรรมของนักเดินเรือ ตลอดจนความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานของนักเดินเรือ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพนักเดินเรือพาณิชย์ไทย
สอง : ภาครัฐต้องสนับสนุนและส่งเสริมเรื่องอุปกรณ์เครื่องมือในการฝึกภาคสนาม เช่น เรือฝึก ห้องปฏิบัติเสมือนจริง (Simulator) เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ
สาม : จัดหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านพาณิชยนาวีมาเป็นอาจารย์ประจำ หรือ อาจารย์พิเศษ เพื่อยกระดับหลักสูตรพาณิชยนาวีของไทยให้ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดขององค์กรทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization: IMO)
สี่ : พัฒนาการตลาดในการสร้างแรงจูงใจให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เข้ามาลงทุนในการพัฒนานักเดินเรือให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดโลก
โดยทักษะที่ นักเดินเรือพาณิชย์อาชีพ ต้องมีตามมาตรฐานการเรียนการสอนตามหลักสากลและได้กำหนดมาตรฐานเทียบเคียงโรงเรียนพาณิชยนาวี เป็นไปตาม IMO Model course ประกอบด้วย ทักษะทางเรือ (Seaman ship) เดินเรือดาราศาสตร์ (Celestial navigation) เดินเรือชายฝั่ง (Terrestrial and coastal navigation) การวางแผนการเดินเรือ(Ship passage planning) เป็นต้น

เรียน พาณิชย์นาวี เงินเดือน

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ตลาดภายในประเทศนักเดินเรือพาณิชย์มีจำนวนตำแหน่งที่ว่างงานในอัตราที่สูงขึ้น เนื่องจากการผลิตนักเดินเรือมุ่งเน้นเพียงการเดินเรือในประเทศรวม กอปรกับจำนวนเรือไทยที่ลดน้อยลงและบางครั้ง บางบริษัทเรือก็ไม่ไดจำกัดอายในการเกษียณของนักเดินเรือพาณิชย์ ด้วยเหตุนี้ ถ้าไทยยังไม่ปรับปรุงมาตรฐานนักเดินเรือพาณิชย์ ก็จะทำให้ประเทศไทยเสียโอกาสในการผลิตนักเดินเรือที่มีคุณภาพเพื่อการแข่งขันในตลาดการเดินเรือโลกได้
เพราะฉะนั้น จึงต้องมีการประเมินประสิทธิภาพเพื่อเป็นการศึกษาแนวทางพัฒนานักเดินเรือพาณิชย์ไทยสำหรับผู้ประกอบการเดินเรือเพื่อผลักดันให้นักเดินเรือพาณิชย์ไทยเป็นที่ยอมรับและเป็นไปตามมาตรฐานสากลต่อไป

ใช้พื้นที่ EEC เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ ปลุก สมุทรานุภาพ ด้านพาณิชยนาวีของไทยให้ผงาด

ดังที่ งานวิจัยที่หยิบยกมาข้างต้นได้ระบุไว้ว่า “เมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน (ASEAN) แล้วนักเดินเรือพาณิชย์ของประเทศไทยยังด้อยประสิทธิภาพกว่าประเทศฟิลิปปินส์อินโดนีเซีย มาเลเซียอย่างมากทั้งที่ฝีมือแรงงานของประเทศไทยไม่ได้ด้อยกว่าชาติอื่น”
ด้วยเหตุนี้ ถ้าประเทศไทยไม่อยากตกขบวนการพัฒนาบุคลากรด้านพาณิชยนาวี โดยเฉพาะ นักเดินเรือพาณิชย์ ซึ่งเป็นอาชีพรายได้ดี ทุกฝ่ายต้องมาร่วมมือกันในการพัฒนาบุคลากรพาณิชยนาวีของไทย
เรียน พาณิชย์นาวี เงินเดือน
ดร.อภิชาต ทองอยู่ ประธานคณะทำงาน EEC HDC
ทั้งนี้ เพื่อสร้างต้นแบบการพัฒนาบุคลากรด้านนี้ในพื้นที่ยุทธศาสตร์อย่าง เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ทาง คณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC HDC) จึงได้ดำเนินการร่วมฟื้นอุตสาหกรรมพาณิชย์นาวีไทย โดย ดร.อภิชาต ทองอยู่ ประธานคณะทำงาน EEC HDC ได้อัปเดตถึงภารกิจนี้ไว้ใน Facebook : Apichart Thongyou ว่า
“พานิชย์นาวีเป็นอุตสาหกรรมสำคัญในระบบโลจิสติกส์​ มีมูลค่าเศรษฐกิจสูงในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ​ ซึ่งโลกวันนี้พานิชย์นาวีทวีความสำคัญขึ้นไปอีก จากที่โลจิสติกส์ทางทะเลระหว่างประเทศเป็นกลไกที่ต้นทุนต่ำที่สุด”
“ที่ผ่านมาการเดินทะเล-โลจิสติกส์ทางทะเลไทย​ ถูกละเลยมานาน​ มีสภาพถดถอยล้าหลัง​ อุปสรรคส่วนใหญ่มาจากวิสัยทัศน์ที่เลือนลางของผู้ที่เกี่ยวข้อง กับระบบ ระเบียบที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้เก่าครึ ไม่ถูกปรับเปลี่ยนให้ทันโลก”

เรียน พาณิชย์นาวี เงินเดือน

“ที่จริงโอกาสของโลจิสติกส์ทางทะเลของไทยนั้น ต้องคำนึงถึงอมิติของ “สมุทรานุภาพ” ที่เรามีศักยภาพจะพัฒนาได้ไม่แพ้ใคร​ในโลกและสามารถเป็นผู้นำอาเซียนได้ หากจัดปรับทิศทางให้ดี-แม่นตรง ทั้งอุตสาหกรรมต่อเรือ​ การเดินเรือ​ ท่าเรือ​ และห่วงโซ่อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ทางทะเลทั้งระบบ​ รวมถึงการคมนาคมทางน้ำและการท่องเที่ยว​ ฯลฯ”

“ห่วงโซ่อุตสาหกรรมนี้มูลค่ามหาศาล​ ต้องเร่งขับเคลื่อน-ฟื้นฟูให้จริงจังต่อเนื่อง​ ในส่วนของพื้นที่ EEC จะเริ่มขับเคลื่อนกลุ่มอุตสาหกรรมต่อเรือ ทั้งเรือขนส่งและเรือที่ใช้ในกิจการราชการของประเทศ ฯ ที่จะเชื่อมถึงการเดินเรือ​ การจัดการท่าเรือ การท่องเที่ยวทางทะเล และการผลิตบุคลากรป้อนห่วงโซ่การเดินสมุทรทั้งระบบ​ ที่มีเป้าหมายมุ่งสร้างบุคลากรในการพัฒนาสมุทรานุภาพไทยยุคใหม่”
“การทำงานเรื่องนี้จะมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือในกลุ่มผู้ชำนาญการ​ ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ-มีวิสัยทัศน์  ผู้ประกอบการทุกฝ่าย​ หน่วยงานหลายภาคส่วน และสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมนี้ให้พ้นความอึมครึมที่บดบังอนาคตสมุทรานุภาพไทยอยู่!”
“เพราะห่วงโซ่อุตสาหกรรมนี้มีมูลค่าสูงกว่าปีละกว่า 4 แสนล้านบาท​ ซึ่งเป็นโอกาสใหม่ของประเทศในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องใส่ใจให้มาก”

พลิกวิกฤตเป็นโอกาส พัฒนาบุคลากรพาณิชยนาวีไทย สถานศึกษา vs” สถานประกอบการต้องร่วมมือกัน ตามแนวทาง Demand driven

จาก บทสัมภาษณ์ เฉลิมวุฒิ แท่นสุวรรณ์ ประธานกรรมการบริหาร วิทยาลัยเทคโนโลยีทางทะเลแห่งเอเชีย หรือ AMCOL ซึ่งเผยแพร่ในเว็บไซต์สาลิกา โดย AMCOL เป็นสถาบันการศึกษาที่สร้างบุคลากรวิชาชีพด้านพาณิชยนาวีตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมมาอย่างยาวนาน ทำให้รู้ว่า ทางภาคการศึกษา ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจในการพัฒนาทั้งหลักสูตรและวิธีการที่จะช่วยยกระดับการผลิตบุคลากรด้านนี้ให้ตอบโจทย์สถานประกอบการ และล่าสุดก็ได้ทำงานร่วมกับทาง EEC HDC ในการผลิตบุคลากรตามแนวทาง Demand driven ด้วย
เรียน พาณิชย์นาวี เงินเดือน
เฉลิมวุฒิ แท่นสุวรรณ์ ประธานกรรมการบริหาร วิทยาลัยเทคโนโลยีทางทะเลแห่งเอเชีย
“ในตอนนี้เราจึงพยายามเก็บข้อมูลเป็น Database คนที่ทำงานในท่าเรือและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องที่ทำงานเกี่ยวกับการขนส่งทางทะเล โดยทางคณะกรรมการประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรตอบสนองอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี ก็กำลังทำงานประสานกับผู้ประกอบการเพื่อให้ได้ตัวเลขมาให้เร็วที่สุด เพราะมิเช่นนั้นจะวางแผนด้านการผลิตกำลังคนได้ยากมาก ซึ่งคาดการณ์ว่าตัวเลขแท้จริงของความต้องการกำลังคนด้านพาณิชยนาวีมีเป็นหลักแสนคน”
“จากประสบการณ์ที่ได้ไปสำรวจความต้องการกำลังคนในท่าเรือต่างๆ พบว่า ปัญหาหลัก คือ มีบุคลากรบางส่วนที่ไม่ได้จบมาตรงสาขาที่จะมาทำงานด้านพาณิชยนาวี ซึ่งนี่เป็นตัวชี้วัดว่าระบบการศึกษาไทยยังมีความสูญเสียมากพอสมควร การศึกษาไทยยังคงมีปัญหาผลิตคนไม่ตรงกับงาน นั่นเป็นตัวชี้วัดได้ว่าการผลิตคนตรงสาขา ยังทำได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร”
“โดยผลเสียของการรับบุคลากรที่เรียนจบมาไม่ตรงกับสายงาน นั่นคือการสูญเสียทรัพยากรเวลา ในการต้องมาฝึกสอนงานกันใหม่ นอกจากนั้น ยังเป็นปัญหาในเรื่องของความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในการทำงาน ไปจนถึงการมีมายด์เซตที่ดีในการทำงานด้วย”

เรียน พาณิชย์นาวี เงินเดือน

“นอกจากนั้น ความท้าทายที่สุดของการทำภารกิจด้านการพัฒนาบุคลากรและกำลังด้านพาณิชยนาวี คือ การดึงสถานประกอบการทุกระดับ ที่ทำเกี่ยวกับพาณิชยนาวีเข้ามาในการทำงานร่วมกัน ซึ่งนี่เป็น Key success factor สำคัญ”
“และเชื่อว่าถ้าในอนาคต สถานศึกษาได้รู้ถึงจำนวนคนที่ต้องผลิต ย่อมทำให้เกิดความสอดคล้องกันระหว่างความต้องการของสถานประกอบการและภาคการศึกษา เพื่อร่วมพัฒนาทั้งหลักสูตร แหล่งฝึกงาน ร่วมกันด้วย”

อัปเดตอาชีพดาวรุ่งมาแรง ที่คุณอาจคิดไม่ถึง กันได้ต่อ

ทำความรู้จัก อาชีพปิดทองหลังพระ ‘นักทดสอบกลิ่น (Panelist)’ ผู้ถือกุญแจไขปมปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม

10 อาชีพแปลก ที่กำลังเป็นอาชีพมาแรง ทำรายได้สูงสุดบนแพลตฟอร์ม Taobao ในจีน

นักอนาคตศาสตร์ กลุ่มอาชีพมาแรง ชี้ชะตาสังคมและเศรษฐกิจไทย เดินต่ออย่างไรหลังวิกฤตผ่านพ้น

Post Views: 1,483