กลยุทธ์ ธนาคารกรุงเทพ 2564

การเงิน

05 ก.พ. 2564 เวลา 7:00 น.2.3k

4แบงก์ใหญ่ ลั่นปี 2564 รุกธุรกิจใหม่เสริมรายได้ พร้อมสร้างการเติบโตต่างประเทศควบคู่ ด้าน BBL คาดสินเชื่อขยายตัว 3-4% ขณะที่ตั้งเป้าหนี้เสียอยู่ที่ระดับ 4.5% สำรองราว 2.2 หมื่นล้านบาท ‘กูรู’ มองกำไรกลุ่มธนาคารปีนี้บวก 10-12% หลังสำรองลด 

ปี 2564 ธนาคารพาณิชย์ไทยทยอยประกาศแผนธุรกิจการเงินออกมา ประเดิมด้วย 4 ธนาคารขนาดใหญ่ คือ ธนาคารกรุงเทพ(BBL) ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) 

โดยธนาคารกรุงเทพ เปิดกลยุทธ์ลงทุนในปี 2564 ถือว่าเซอร์ไพรส์ตลาด เพราะปกติไม่ค่อยเปิดประกาศแผน ซึ่งในปีนี้คงมุ่งเน้นในธุรกิจหลัก พร้อมมองหาธุรกิจใหม่ๆ เข้ามา เพื่อเป็นการสร้างรายได้ในอนาคต เช่น การเชื่อมต่อในภูมิภาคและเครือข่ายธุรกิจของ BBL เพิ่มขึ้น และเร่งเพิ่มขีดความสามารถในการเจาะกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี ขยายฐานลูกค้าและผลิตภัณฑ์ด้านการบริหารความมั่งคั่งมากขึ้น

สำหรับเป้าหมายทางการเงินปีนี้ คาดสินเชื่อจะเติบโตระดับ 3-4% ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล คาดอยู่ที่ราว 4.5% ขณะที่ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin หรือ NIM) คาดอยู่ที่ 2.1% ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิ (Net fee income) คาดอยู่ที่ราว 3.4% ขณะที่อัตราส่วนค่าใช้จ่ายดําเนินงานต่อรายได้รวม (Cost to Income Ratio) คาดต่ำกว่า 50% และ ผลขาดทุนด้านเครดิต คาดอยู่ที่ราว 2.2 หมื่นล้านบาทในปีนี้

นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ปีนี้ ธนาคารมีการตั้งเป้าหมายการดำเนินงาน โดยคาดการณ์สินเชื่ออยู่ที่ราว 3-5 % ทั้งนี้กลยุทธ์ธนาคารปีนี้จะมุ่งเน้นการเติบโตสินเชื่อเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่มีคุณภาพสูงมากขึ้น รวมถึงเน้นการเติบโตจากรายได้ค่าธรรมเนียม จากการขายประกันผ่านช่องทางธนาคาร (Bancassurance) และธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง ซึ่งคาดว่าจะมีการเติบโตแม้ว่าจะชะลอลงจากโควิด-19 รอบใหม่ และคาดเอ็นพีแอลจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4.0-4.5% ส่วนการตั้งสำรองจะยังคงอยู่ในระดับสูงแต่ไม่เกินกว่า2%

ขณะที่กสิกรไทย ตั้งเป้าสินเชื่อขยายตัวอยู่ที่ 4-6% โดยจะมุ่งเน้น การเติบโตสินเชื่อลูกค้าบุคคลที่ 11-13% ขณะที่สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี ตั้งเป้าเติบโต 2-4% และ สินเชื่อบรรษัทธุรกิจ ตั้งเป้าเติบโต 1-3% ส่วนเอ็นแอล คาดอยู่ในกรอบ 4.0-4.5% ขณะที่อัตราส่วนค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองของธนาคาร คาดไม่เกิน 1.6%

ด้าน ธนาคารกรุงศรีอยุธยาจำกัด (มหาชน) BAY ได้มีการประกาศเป้าหมายทางการเงินของธนาคาร สำหรับปี 2564 โดยด้านคาดการณ์การเติบโตของเงินให้สินเชื่ออยู่ที่ 3-5% และตั้งเป้าอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่ำกว่า 2.7% ด้านอัตราส่วนคำเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพสูงกว่า 140%

ด้านนายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน กล่าวว่า จากเป้าหมายการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ที่ทยอยออกมา ถือว่าไม่ได้สูงมาก โดยเฉพาะในด้านสินเชื่อ ที่มีโอกาสเป็นไปได้สูง เพราะไม่ได้ตั้งเป้าการเติบโตสูงมาก ส่วนคาดการณ์กำไรรวมคาดพลิกบวกมาโตระดับ 10-12% ได้ปีนี้ จากปีก่อนติดลบราว 32% จากแนวโน้มสำรองที่คาดลดลง 

อย่างไรก็ตามที่น่าสนใจ จากการประกาศกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ พบว่า ธนาคารพาณิชย์มีการหันไปหารายอื่นๆมากขึ้น เช่นการออกไปโตต่างประเทศ เพราะมองการเติบโตในประเทศค่อนข้างมีจำกัด รวมถึงมุ่งหารายได้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น จากการเพิ่มสัดส่วนการเติบโตด้านดิจิทัลมากขึ้นด้วย

ธนาคารกรุงเทพ ปรับ Mobile Banking เวอร์ชัน 2021 ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ผู้ใช้งานให้ง่ายขึ้น ชูกลยุทธ์ ผ่านคอนเซปต์ "เปลี่ยนไป ไม่เหมือนเดิม เข้าใจคุณมากกว่าเดิม"

เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 64 นางปรัศนี อุยยามะพันธุ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า ภายหลังโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ (Bangkok Bank Mobile Banking) ทำการปรับดีไซน์ครั้งใหญ่ไปเมื่อช่วงกลางปี 2020 ให้มีความทันสมัยและใช้งานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ มีฐานผู้ใช้งานอยู่กว่า 10 ล้านราย และคาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้น 30% ในสิ้นปี 64 นี้ ทำให้จำนวนผู้ใช้งานจะเพิ่มขึ้นเป็น 13 ล้านราย

ทั้งนี้ เราคาดว่าจะสามารถขยับเพิ่มสัดส่วนกลุ่มคนรุ่นใหม่ จากเดิมที่ 31.1% เป็น 40% ขณะเดียวกันจะสามารถขยายและกระจายฐานผู้ใช้งานออกไปยังทั่วประเทศได้เพิ่มขึ้น โดยปริมาณยอดธุรกรรมการใช้งานล่าสุดในช่วงเดือนก.พ. 64 ที่ผ่านมา มีสัดส่วนการใช้งานที่ใกล้เคียงกันระหว่างลูกค้าในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยอยู่ที่ 43.7% และ 56.3% ตามลำดับ สะท้อนถึงความสามารถในการขยายการให้บริการและฐานผู้ใช้งานให้เติบโตได้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด ธนาคารกรุงเทพได้พัฒนาระบบต่างๆ ในโมบายแบงก์กิ้ง เติมเต็มความต้องการและประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้งาน ทำให้สามารถรองรับได้ทั้งการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน การมีฟีเจอร์การลงทุนที่หลากหลายสำหรับกลุ่มลูกค้านักลงทุน รวมไปถึงสามารถแลกรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากการใช้งานผ่านแพลตฟอร์ม เพื่อช่วยเติมเต็ม Digital Lifestyle ที่สอดคล้องกับความต้องการผู้ใช้งานทุกกลุ่มได้อย่างสมบูรณ์อีกด้วย

สำหรับ การสื่อสารเรื่อง โมบายแบงก์กิ้ง ของธนาคารกรุงเทพ ในเวอร์ชันปี 2021 นั้นเราได้จัดทำคลิปวิดีโอรวมทั้งสิ้น 6 คลิป แบ่งเป็น Feature VDO ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ จำนวน 5 เรื่อง เน้นสร้างการรับรู้และจดจำฟีเจอร์ต่างๆ ที่มีอยู่ในโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ ไม่ว่าจะเป็น ถอน-โอน, เติม-จ่าย, การลงทุน, การแลกรีวอร์ด และการเปิดบัญชีออนไลน์

ส่วนอีก 1 เรื่อง คือ Hero VDO ภายใต้คอนเซปต์ เหมือนเดิมแต่ไม่เหมือนเดิม เพราะเข้าใจคุณมากกว่าเดิม เพื่อตอกย้ำคอนเซปต์และ Key Message ที่ต้องการสื่อสาร รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการใช้งานจริงได้มากขึ้นจาก #ไปลองซะ ที่มีอยู่ในช่วงท้ายคลิปวิดีโอ

โดยจะเลือกโฟกัสกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเข้าถึงโดยเฉพาะหรือ Targeted Marketing ควบคู่ไปกับการสื่อสารผ่านสื่อทั้ง Online และ Offline Marketing อาทิ Out of Home ในพื้นที่กลยุทธ์ที่เข้าถึงผู้บริโภคได้ในวงกว้าง เพื่อให้การสื่อสารเกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด