ส มา ร์ ท โฟน ใน สังคม ไทย

ทั้งหมดเมื่อคนในสังคมมีการใช้โทรศัพท์มือถือกันมากขึ้น อินเทอร์เน็ตก็เข้ามาในชีวิตประจำวัน การซื้อขายทางอินเทอร์เน็ตก็กลายเป็นความยอดนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งผู้ประกอบการหลายท่านก็หันมาให้ความสำคัญกับการซื้อขายผ่านช่องทางนี้ด้วยเช่นกัน

สำนักงาน กสทช.ได้ทำการสำรวจการใช้โทรศัพท์มือถือพบว่า คนไทยใช้มือถือโทร เฉลี่ย 50.61 นาทีต่อวัน แบ่งเป็นการใช้ทำงาน หรือทำธุรกิจหลัก 24.14 นาทีต่อวัน โดยเฉพาะช่วงอายุ 31 - 40 ปี เป็นช่วงอายุที่ใช้การโทรเพื่อสร้างรายได้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 38.99

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า สำนักงาน กสทช. มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดำเนินการสำรวจพฤติกรรมการใช้บริการโทรคมนาคมของประชากรไทย พ.ศ. 2559 พบว่า

จากผู้ตอบแบบสอบถามทั่วประเทศจำนวน 7,619 ราย
มีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เฉลี่ย 50.61 นาทีต่อวัน โดยเป็นใช้เพื่อการทำงานหรือทำธุรกิจหลักเฉลี่ย 24.14 นาทีต่อวัน
นอกจากนี้มีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อสร้างรายได้ คิดเป็นร้อยละ 27.28 โดยแบ่งตามช่วงอายุดังนี้
อายุไม่เกิน 20 ปี 9.47%
อายุ 21-30 ปี 28.60%
อายุ 31-40 ปี 38.99%  ( มากเป็นอันดับ 1 )
อายุ 41-50 ปี 34.51%
อายุ 51-60 ปี 29.26%
อายุ61ปีขึ้นไป 22.13%
ข้อมูลจาก คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

จากข้อมูลข้างต้นทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าในอนาคตอาจมีการใช้งานเพิ่มมากขึ้น ตามความทันสมัยและก้าวหน้าของเทคโนโลยี จะปรับเปลี่ยนให้สินค้าและบริการต่างๆ เข้ามาสู่ยุคออนไลน์อย่างสมบูรณ์แบบ อีกทั้งรูปแบบการใช้งานที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายเพียงไม่กี่คลิก

แน่นอนว่าเมื่อสมาร์ทโฟนมีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสียเช่นกัน มาดูข้อเสีย 12 อย่างของสมาร์ทโฟนที่ทำให้ชีวิตของคุณแย่ลง

1.สมาร์ทโฟนมีผลต่อการนอนหลับ

งานวิจัยพบว่าการใช้สมาร์ทโฟนก่อนนอนอาจทำให้หลับยากขึ้น เนื่องจากแสงสีฟ้าที่ปล่อยออกมาจากอุปกรณ์ดิจิทัลจะส่งผลต่อการนอนหลับ ทำให้หลับยากขึ้น และไม่เพียงแต่แสงสีฟ้าเท่านั้น แต่เรื่องราวบนโซเชียลมีเดียบางอย่างก็มีผลรบกวนจิตใจเราด้วย

2. ลดความโรแมนติกของคุณและคนรัก

สมาร์ทโฟนอาจทำลายความสัมพันธ์ที่โรแมนติกของผู้คน ลองนึกดูว่าคุณกำลังออกเดทอยู่ แต่คู่ของคุณกลับมองจอมือถือมากกว่าคุณเสียอีก

โดยการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่กับสมาร์ทโฟนตลอดเวลา อาจทำให้อีกฝ่ายรู้สึกไม่มีตัวตนหรือไม่ได้รับการสนใจ ทำให้อาจไปเลือกคนอื่นที่ให้ความสำคัญกับตนมากกว่า

มากไปกว่านั้น บางคู่รักใช้เวลากับโทรศัพท์ของตนเอง จนบางครั้งก็ลืมความสำคัญของของคนใกล้ชิด ไม่มีเวลาในการใกล้ชิดกัน แต่การสื่อสารของมนุษย์นั้นจำเป็นต้องรับข้อมูลผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า เพื่อเสริมสร้างความอบอุ่นให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสมาร์ทโฟนอาจทำให้สิ่งเหล่านี้หายไป

3.ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างมิตรภาพ

ส มา ร์ ท โฟน ใน สังคม ไทย

ในทำนองเดียวกันกับความสัมพันธ์กับคู่รัก สมาร์ทโฟนก็อาจทำลายความสัมพันธ์ระหว่างมิตรภาพได้ หลายคนอาจเคยเจอสถานการณ์ที่ว่าเพื่อนๆ ในกลุ่มนัดเจอกัน แต่พอมาเจอกันแล้วต่างคนต่างก้มหน้าก้มตาเล่นมือถือเสียอย่างนั้น

หรือบางกรณีก็คือ การที่มีอะไรแจ้งเตือนเข้ามา ฮอร์โมนและสัญชาตญาณบางอย่างบอกเราว่าต้องกดดู แต่เมื่อกดดูก็อาจทำให้เพื่อนไม่พอใจได้ เพราะหลายคนก็เป็น คือมักเข้าใจว่าการกดดูแจ้งเตือนนั้นเป็นการที่ไม่ให้ความสำคัญกับอีกฝ่ายหรือคนรอบตัว นำไปสู่ความไม่เข้าใจกันได้

4.มีอิทธิพลเชิงลบเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรหลาน

งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า เมื่อพ่อแม่ใช้สมาร์ทโฟนขณะที่อยู่กับลูกๆ เด็กอาจรู้สึกว่าถูกมองข้ามและรู้สึกว่าไม่สำคัญ ซึ่งอาจนำไปสู่ประเด็นปัญหาทางอารมณ์เชิงลบในเด็ก

5.สื่อสารผ่านสมาร์ทโฟนทำให้เกิดความขัดแย้ง

การสื่อสารผ่านสมาร์ทโฟนโดยเฉพาะการพูดคุยผ่านข้อความนั้นย่อมแตกต่างจากการพูดคุยกันแบบซึ่งๆ หน้าแน่นอน เพราะไม่ได้เห็นน้ำเสียง สีหน้า หรือแววตา ดังนั้นจึงเป็นการสื่อสารที่อาจทำให้ตีความหมายผิด และก่อให้เกิดความขัดแย้งในหลายๆ ด้าน เช่น การคุยงานในการทำธุรกิจ การสื่อสารที่ผิดพลาดจะส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ ดังนั้น ควรพูดคุยกันแบบเห็นหน้ามากกว่าผ่านสมาร์ทโฟน

6.คนมักคาดหวังให้เชื่อมต่อออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง

ส มา ร์ ท โฟน ใน สังคม ไทย

ในยุคของสมาร์ทโฟน ผู้คนมักคาดหวังให้คุณเชื่อมต่อบนสังคมออนไลน์ตลอดเวลา ชนิดที่ว่าตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันเลยทีเดียว ในและต้องการให้ส่งข้อความกลับไปหาพวกเขาทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอีเมล์และโซเชียลมีเดียอื่น ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเมื่อฝ่ายหนึ่งไม่ว่างในการติดต่อสื่อสาร

7.ขาดความมั่นใจในตัวเอง

สิ่งที่บางคนเป็นคือจะคอยดูอยู่ตลอดว่าอัพรูปไปยอดไลค์เท่าไหร่แล้ว ถ้าไลค์น้อยก็รู้สึกไม่ดี ดังนั้น เรียกได้ว่าสื่อสังคมออนไลน์มีผลต่อความเชื่อมั่นในตัวเอง บางคนมักจะเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นๆ บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย จนทำให้เกิดความไม่พอใจในตัวเอง และสูญเสียความมั่นใจไปในที่สุด

8.กระตุ้นให้เกิดโรค “กลัวตกกระแส”

สมาร์ทโฟนกระตุ้นให้เกิด Fear Of Missing Out (FOMO) คือ “การกลัวตกกระแส” หากผู้ใช้สมาร์ทโฟนไม่ได้อัพเดตเรื่องราวที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมผ่านสมาร์ทโฟน จะกลัวการตกข่าวหรือกลัวรู้ข่าวช้ากว่าคนอื่น เป็นผลให้ต้องคอยเล่นสมาร์ทโฟนอยู่ตลอดเวลา โดยมีผลวิจัยจากบทความเรื่อง “FOMO ภัยร้ายโรคกลัวการตกกระแส” จากเว็บ Infographic กล่าวว่า กว่า 80% ของชาวเอเชียเป็น “โรคกลัวการตกกระแส”

9.อ่านหนังสือบนสมาร์ทโฟนยากต่อการเรียนรู้และเข้าใจ

ส มา ร์ ท โฟน ใน สังคม ไทย

ด้วยความสะดวกของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ที่สามารถพกติดกระเป๋าไปได้ทุกที่ จึงสามารถเลือกอ่านคอนเทนต์จากสมาร์ทโฟนได้ง่ายกว่าการถือหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือหนังสือ อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยศึกษาพบว่า นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีจากสิ่งพิมพ์มากกว่าการเรียนรู้ผ่านระบบหน้าจอ นอกจากนี้ การเรียนรู้ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ยังช่วยลดผลกระทบเชิงลบจากข่าวที่เห็นในโซเชียลมีเดียอีกด้วย

10.ผู้คนลืมวิธีการออกเดทหรือสร้างมิตรภาพใหม่ๆ

เราพยายามทำความรู้จักกับคนแปลกหน้าในสังคมออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่นต่างๆ เช่น Tinder จนบางครั้งก็อาจลืมวิธีการต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตจริงไป เช่น การจีบหญิง การออกเดท หรือแม้แต่การสร้างมิตรภาพใหม่ๆ

11.งานวิจัยบางชิ้นระบุว่าสมาร์ทโฟนไม่ดีต่อสมอง

มีงานวิจัยบางชิ้นระบุว่า สมาร์ทโฟนไม่ดีสำหรับสมอง เพราะสามารถกระตุ้นให้เกิดความเกียจคร้านทางจิตใจ ตัวอย่างเช่น เมื่อไปรับประทานอาหารในร้านอาหารกับเพื่อนๆ และต้องเฉลี่ยราคาที่ต้องจ่ายต่อคน คุณอาจใช้เครื่องคิดเลขในโทรศัพท์แทนการคิดคำนวณจากสมอง ซึ่งงานวิจัยค้นพบว่า การใช้สมาร์ทโฟนอาจทำให้กระบวนการคิดของคุณช้าลง

12.ทำลายสุขภาพจิต

การใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้นอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล ตามที่นักวิจัยได้มีการศึกษาเกี่ยวกับนักศึกษาที่ใช้เฟซบุ๊กว่า ยิ่งใช้เฟซบุ๊กมากขึ้นเท่าไร ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นก็ลดลงอีกด้วย