ขายสินค้าและบริการในราคาที่ยุติธรรม

“จริยธรรม” มาจากคำ 2 คำคือ จริย + ธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติกิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ

อลิสโตเติล กล่าวว่า พฤติกรรมที่เหมาะสม คือควรปฏิบัติตามกฎการเดินสายกลาง golden mean of moderation คือการไม่ทำอะไร สุดโต่ง เช่น ร่ำรวยเกินไป ยากจนเกินไป

ความหมายของจริยธรรมธุรกิจ

จรรยาบรรณ หมายถึง มาตรฐานคุณค่าแห่งความดีงามของการกระทำหนึ่ง ๆ และหรือพฤติกรรมโดยรวม ธุรกิจ หมายถึง บุคคล นิติบุคคลหรือองค์กรใด ๆ ที่ดำเนินการผลิตสินค้าบริการเพื่อผลตอบแทนในการลงทุน (กำไร) จรรยาบรรณทางธุรกิจ หมายถึง มาตรฐานการผลิตสินค้าและการให้บริการเพื่อผลตอบแทนตามคุณค่าของการลงทุนโดยเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายเจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้ร่วมงาน ผู้บริโภค ผู้รับบริการรัฐบาล สังคม ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจร่วมกัน

 

องค์ประกอบสำคัญของจริยธรรม

  1. ความเฉลียวฉลาด (wisdom)
  2. ความกล้าหาญ (courage)
  3. ความรู้จักเพียงพอ (temperance)
  4. ความยุติธรรม (justice)
  5. ความมีสติ (conscience)

 

ประโยชน์ของจริยธรรมธุรกิจ

  1. จริยธรรมก่อให้เกิดความมุ่งมั่นของพนักงานในองค์กร
  2. จริยธรรมก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์กร
  3. จริยธรรมก่อให้เกิดความมั่นใจของนักลงทุน
  4. จริยธรรมก่อให้เกิดความสงบสุขของสังคม
  5. จริยธรรมก่อให้เกิดความเจริญของประเทศชาติ

 

ความจำเป็นที่ต้องมีจริยธรรมธุรกิจ

  1. เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขัน
  2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
  3. เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค
  4. เพื่อรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อม

 

ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับกฎหมาย

  1. การบังคับใช้
  2. เหตุแห่งการเกิด
  3. บทลงโทษ
  4. การยกย่องสรรเสริญ
  5. เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสิน

 

โดยสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้

  1. การบังคับใช้
    - กฎหมายเป็นสิ่งที่ผู้นำตั้งขึ้นตามความเหมาะสม จะปฎิเสธว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้
    - จริยธรรมขึ้นอยู่กับบุคคล อยู่ที่จิตใต้สำนึก ไม่บังคับใช้อยู่ที่ความสมัครใจ
  2. เหตุแห่งการเกิด
    - กฎหมายเกิดอย่างเป็นกระบวนการเป็นทางการสามารถเปลี่ยนตามสภาวะสังคม
    - จริยธรรมเกิดจากพื้นฐานทางสังคมที่แท้จริงโดยอาศัยระยะเวลาในการยอมรับ
  3. บทลงโทษ
    - กฎหมายมีการกำหนดบทลงโทษไว้เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน
    - จริยธรรมมีการกำหนดบทลงโทษแตกต่างกันไม่มีกำหนด
  4. การยกย่องสรรเสริญ
    - บุคคลที่สามารถปฏิบัติอยู่ภายใต้กฎหมายได้ถือเป็นพลเมืองดี
    - จริยธรรมต้องสั่งสมและต้องสร้างจากภายในออกสู่ภายนอก
  5. เกณฑ์การใช้ในการตัดสิน
    - หลักกฎหมายมีระบุชัดเจน เกณฑ์ที่ใช้การตัดสินมีผิด,ไม่ผิด
    - จริยธรรมมีความยืดหยุ่นมาก เกณฑ์ที่ใช้การตัดสินมีควรหรือไม่ควร

สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ สิ่งที่เป็นจริยธรรม (ethics) นั้นจะมีความแตกต่างจาก กฎหมาย (law) อยู่หลายประการ คือ
- สิ่งที่เป็นจริยธรรม ก่อเกิดจากภายในตัวของผู้กระทำเอง เป็นสิ่งที่ควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ในระดับสูง การลงโทษก็เป็นการควบคุม
- ส่วนกฎหมายนั้น เป็นเรื่องของการบังคับให้ปฏิบัติ มิได้ก่อเกิดจากรากฐานภายในจิตใจ และกฎหมายอาจเป็นดั่งบรรทัดฐาน (norms) แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ทั้งจริยธรรมและกฎหมาย ก็เป็นสิ่งที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในการทำให้สังคมนั้นดีจากสังคม (social sanction)

 

ความหมายของคำว่าจริยธรรมและจริยธรรมทางธุรกิจ


จริยธรรม (ethics) หมายถึง หลักแห่งความประพฤติหรือแนวทางของความประพฤติ
จริยธรรมทางธุรกิจ (business ethics) หมายถึง การแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม

 

จริยธรรมของผู้ประกอบธุรกิจ

มูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย (IMET) ได้เสนอหลักจริยธรรมของผู้ประกอบธุรกิจหรือนักธุรกิจไว้เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติได้แก่

  1. จริยธรรมของนักธุรกิจต่อลูกค้า
    - ขายสินค้าและบริการในราคาที่ยุติธรรม
    - สินค้าและบริการต้องมีคุณภาพ
    - ดูแลให้บริการแก่ลูกค้าทุกคนเท่าเทียมกัน
    - ละเว้นการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ราคาสูงขึ้นโดยไม่มีเหตุผล
    - ปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างมีน้ำใจ
  2. จริยธรรมของนักธุรกิจต่อคู่แข่งขัน
    - ละเว้นจากการกลั่นแกล้ง ให้ร้ายป้ายสี ข่มขู่หรือกีดกัน ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม
    - ควรให้ความร่วมมือในการแข่งขัน เช่น การให้ข้อมูลความรู้ในด้านต่าง ๆ
  3. จริยธรรมของนักธุรกิจต่อหน่วยงานราชการ
    - การทำธุรกิจควรตรงไปตรงมา
    - ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายในการทำธุรกิจ
    - ละเว้นจากการติดสินบนเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการ
    - ไม่สนับสนุนข้าราชการทำทุจริต
    - ละเว้นการให้ของขวัญหรือของกำนัลแก่ข้าราชการ
    - มีทัศนคติที่ดีและมีความเชื่อถือต่อหน่วยงานราชการ
    - ให้ความร่วมมือเป็นพลเมืองที่ดี
  4. จริยธรรมของนักธุรกิจต่อพนักงาน
    - ให้ค่าจ้างเหมาะสม
    - เอาใจใส่ต่อสวัสดิการและความปลอดภัยในการทำงาน
    - พัฒนาให้ความรู้เพิ่มความชำนาญ
    - ให้ความเป็นธรรม และโอกาสที่เท่าเทียมกัน
    - ศึกษานิสัยใจคอและความถนัดของพนักงาน
    - เคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน
    - ให้ความเชื่อถือและไว้เนื้อเชื่อใจ
    - ให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษา
    - สนับสนุนให้พนักงานเป็นคนดี
  5. จริยธรรมของนักธุรกิจต่อสังคม
    - ละเว้นการประกอบธุรกิจที่ทำให้สังคมเสื่อมลง
    - ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    - เคารพสิทธิทางปัญญาของบุคคลอื่น
    - ให้ความร่วมมือกับชุมชนเพื่อสร้างสรรค์สังคม
    - ให้ความสนใจเรื่องการสร้างงานแก่คนในสังคม
  6. จริยธรรมของนักธุรกิจต่อนักธุรกิจ
    - มีความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติงาน
    - รักษาและรับผิดชอบทรัพย์สินของนายจ้างให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่
    - ระมัดระวังเรื่องการวางตัวในสังคม
    - หลีกเลี่ยงการขัดผลประโยชน์ของนายจ้าง
    - ละเว้นการทำงานให้ผู้อื่น
  7. คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจ
    - มีความรับผิดชอบในการทำงานไม่ว่าจะได้กำไรหรือขาดทุน
    - กล้าเสี่ยงพอสมควร
    - มีความมั่นใจในตนเอง
    - มั่นใจในการประเมินผลงานกิจการของตนเอง
    - กระตือรือร้นในการทำงาน
    - มองการณ์ไกล
    - มีความสามารถในการคัดคนเข้าทำงาน
    - คำนึงถึงความสำเร็จของงานมากกว่าคน
    - มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ
    - มนุษยสัมพันธ์และบุคลิกภาพดี
    - มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร
    - มีความชำนาญในงานที่ทำ
    - มีความสามารถในการจัดการและการวางแผน
    - มีจริยธรรมหรือจรรยาบรรณต่อวิชาชีพของตนเอง

จริยธรรมทางธุรกิจคือการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม พยายามสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ดำเนินงานอยู่ไม่ว่าจะเป็นบุคคลใด เพื่อให้ธุรกิจมีความก้าวหน้าและเติบโตไปได้อย่างมั่นคง

 

ผู้บริหารกับจรรยาบรรณทางธุรกิจ

 

จรรยาบรรณทางธุรกิจ (business ethics) เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจและกล่าวถึงอยู่เสมอในแวดวงของการบริหารงานยุคใหม่ โดยถือว่าเป็นสิ่งที่ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายจัดการ จะต้องตระหนักและเสริมสร้างให้เกิดขึ้นกับพนักงานและองค์การของตน

จรรยาบรรณทางธุรกิจ มีความหมายครอบคลุมถึงหลักการ กฎเกณฑ์ที่บ่งบอกว่าพฤติกรรมหรือการกระทำใดที่จัดว่าเป็นพฤติกรรมที่ดี เลว ผิด ถูก ซึ่งจะช่วยให้พนักงานในองค์การ สามารถแยกแยะปฏิบัติได้ว่าการกระทำใดเป็นสิ่งที่ควรกระทำ การกระใดเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ละเว้นหรือไม่ควรปฏิบัติ การสร้างหลักเกณฑ์นั้นอาจไม่ยากเท่ากับการโน้มน้าวให้พนักงานนำไปปฏิบัติจริง ลักษณะของการประพฤติบางอย่างต้องวินิจฉัยว่าผิดหรือถูกจรรยาบรรณ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากพอควรที่จะปฏิบัติ แต่อย่างไรก็ตาม การประพฤติผิดจรรยาบรรณจะสามารถบรรเทาลงได้หากผู้บริหารให้ความสนใจจริงจังที่จะแก้ไข และกระทำการอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะให้สังคมและองค์การของตนดีขึ้นในอนาคต

 

แนวทางที่ธุรกิจสามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดการกระทำที่มีจรรยาบรรณได้นั้นมีอยู่หลายหนทาง อาทิ

  1. จัดทำสิ่งพิมพ์ ที่ระบุว่าสิ่งใดเป็นข้อความปฏิบัติหรือจรรยาบรรณที่พึงประสงค์ สิ่งใดที่องค์การไม่ยอมรับ หรือถือว่าผิดจรรยาบรรณ การระบุเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมกับการจำแนกตัวอย่างให้เห็นอย่างเด่นชัด เป็นวิธีแรกที่ธุรกิจสามารถกระทำได้
  2. จัดให้มีการอบรมและสัมมนา เกี่ยวกับจรรยาบรรณทางธุรกิจให้แก่ระดับผู้บริหารหรือระดับหัวหน้า และมอบหมายให้แต่ละคน แต่ละฝ่าย นำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดพร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาของตนเองทราบและยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป
  3. จัดให้มีโครงการยุติธรรมภายในองค์การธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการกระทำที่ถูกต้องและขจัดการกระทำที่ไม่ถูกต้องให้หมดไปจากองค์การ อาทิ การจัดให้มีการรับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้ที่ได้รับการกระทำที่ไม่เป็นธรรมจากผู้บริหารหรือจากผู้ร่วมงานต่าง ๆ และเมื่อพิจารณาผลการร้องทุกข์ดังกล่าวแล้ว ก็จะมีการประกาศผลให้ทราบโดยทั่วกัน ให้พนักงานตระหนักว่าบริษัทให้ความสำคัญกับนโยบายเรื่องนี้ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้เป็นตัวอย่างและบรรทัดฐานแก่ผู้อื่นที่จะไม่ทำให้เกิดกรณีดังกล่าวขึ้นอีก
  4. จัดให้มีคณะกรรมการติดตามสอดส่องการปฏิบัติงาน ให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณที่ควรจะเป็นหากมีการกระทำที่ไม่ถูกต้องเกิดขึ้น ก็ให้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการชุดนี้เพื่อวินิจฉัยหาหนทางปรับปรุงแก้ไขและดำเนินการตามแต่กรณีไป
    5. จัดให้มีระบบการตอบแทนหรือการให้รางวัล แก่ผู้ที่มีความประพฤติดี เหมาะสมแก่องค์การ ในทางกลับกันกำหนดให้มีบทลงโทษผู้ที่ประพฤติปฏิบัติผิดกฎเกณฑ์ โดยทุกอย่างต้องกระทำอย่างชัดเจนโปร่งใสให้พนักงานได้ทราบโดยทั่วกัน

 

บทสรุป


จริยธรรมเข้าไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานทุกด้านขององค์การ การทำงานภายใต้ระบบทุนนิยมและกระแสเศรษฐกิจใหม่ ถ้าไม่คำนึงถึงเรื่องจริยธรรม จะสร้างผลกระทบในทางลบได้อย่างรุนแรงและกว้างขวางมากกว่ายุคใด ๆ

 

แนวทางในการเสริมสร้างปลูกฝังจริยธรรมนั้น มีผู้เสนอแนวความคิดโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้และทำการพัฒนา ต่อมาให้เป็นทฤษฎีในการปลูกฝังและเสริมสร้างจริยธรรม ซึ่งมีอยู่ 4 รูปแบบ (ชัยพร วิชชาวุธ 2530) คือ