วิจัย ทักษะการ ทำงาน ร่วมกัน

  • DSpace Home
  • บัณฑิตวิทยาลัย
  • รายงานการประชุม/สัมมนา (Conferences/Proceedings)
  • View Item

JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การศึกษาทักษะการทำงานร่วมกัน โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง ระบอบการปกครอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

สมศักดิ์, เกรัมย์

Date: 2016

Description:

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียนที่ เรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง ระบอบการปกครอง 3) ศึกษาเจตคติของ นักเรียนที่มีต่อการเรียน โดยใช้การเรียนแบบรว่ มมือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4/3 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนห้วยราชพิทยาคม อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำนวน 36 คนได้จากการเลือกแบบ เจาะจง ซึ่งเป็นนักเรียนที่ได้รับการจัดชั้นเรียนโดยคละความสามารถ ดำเนินการทดลองกับกลุ่ม ตัวอย่างโดยใช้เวลาในห้องเรียนรวม 17 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการ จัดการเรียนรู้ เรื่อง ระบอบการปกครอง สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิต ในสังคม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบอบ การปกครอง 3) แบบประเมินทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียน เป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า กำหนดเกณฑ์การตัดสินคุณภาพเป็น 4 ระดับ ประกอบด้วยทักษะ 4 ทักษะ จำนวน 20 ข้อ 4) แบบสอบถามวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า กำหนดเกณฑ์การตัดสินคุณภาพเป็น 5 ระดับ ประกอบด้วยข้อคำถาม 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยใช้ค่า t (One Sample t - test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่เรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง ระบอบการปกครอง มีทักษะ การทำงานร่วมกันอยู่ในระดับดี ร้อยละ 83.33 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง ระบอบการปกครอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีเจตคติต่อการเรียนแบบร่วมมือ ในระดับมากขึ้น ไป มากกว่าร้อยละ 80

Show full item record

Files in this item

วิจัย ทักษะการ ทำงาน ร่วมกัน

Name: สมศักดิ์ เกรัมย์.pdf

Size: 779.3Kb

Format: PDF

This item appears in the following Collection(s)

  • รายงานการประชุม/สัมมนา (Conferences/Proceedings) [453]

Search DSpace

Browse

  • All of DSpace

    • Communities & Collections
    • By Issue Date
    • Authors
    • Titles
    • Subjects
  • This Collection

    • By Issue Date
    • Authors
    • Titles
    • Subjects

My Account

  • Login
  • Register

Statistics

  • View Usage Statistics

Title การพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง สภาพสมดุล โดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวทางการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา
Publication Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication 2558
Authors ปิยวรรณ มัธยมนันทน์
Degree วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
Institution คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
City อุบลราชธานี
Call Number LB ป619 2558
Keywords STEM, การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา, การทำงานเป็นทีม, การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์, กิจกรรมการเรียนการสอน
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ โดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวทางการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา เรื่อง สภาพสมดุล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองในครั้งนี้ คือ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย จำนวน 34 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจงจากประชากร รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินการปฏิบัติงานผู้เรียน แบบประเมินตนเองของผู้เรียนในการทำงานร่วมกันเป็นทีม แบบวัดความพึงพอใจ ชุดกิจกรรมตามแนวทางการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา เรื่อง สภาพสมดุล ค่าสถิติในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที แบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test) และค่าความก้าวหน้าทางการเรียนแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความก้าวหน้าทางการเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 0.65 อยู่ในระดับปานกลาง (Medium gain) และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมตามแนวทางการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา อยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าชุดกิจกรรมตามแนวทางการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา ช่วยเพิ่มความก้าวหน้าทางการเรียน เรื่อง สภาพสมดุล

Title Alternate Developing grade 10 students' teamwork in equilibrium using science activity learning packages based STEM education