ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการ เรียนการสอน

  DSpace Repository

การศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการเพิ่มสมรรถภาพความรู้และการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ จังหวัดชลบุรี ในโรงเรียนสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  • DSpace Home
  • มหาวิทยาลัยบูรพา
  • บทความวารสาร
  • View Item

JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการเพิ่มสมรรถภาพความรู้และการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ จังหวัดชลบุรี ในโรงเรียนสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร

Date: 2555

Abstract:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการเพิ่มสมรรถภาพความรู้และการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ จังหวัดชลบุรี ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเพื่อเปรียบเทียบสภาพ ปัญหา และความต้องการเพิ่มสมรรถภาพความรู้และการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ จังหวัดชลบุรี ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามวุฒิการศึกษา สาขาวิชาที่จบ และประสบการณ์ในการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ จังหวัดชลบุรี จำนวน 109 คน ในโรงเรียนสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเรื่องสภาพ ปัญหา และความต้องการเพิ่มสมรรถภาพความรู้และการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ จังหวัดชลบุรี ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9985 และ แบบสัมภาษณ์เพื่อการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับสภาพ ปัญหา และความต้องการเพิ่มสมรรถภาพความรู้และการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์โดยรวมอยู่ในระดับมาก (-x=3.948) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการเตรียมการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ครูคณิตศาสตร์มีการปฏิบัติในระดับมากทุกด้าน 2. ปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์โดยรวมอยู่ในระดับน้อย (-x=2.045) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการเตรียมการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ครูคณิตศาสตร์มีปัญหาในระดับน้อยทุกด้าน 3. ความต้องการเพิ่มสมรรถภาพความรู้และการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์โดยรวมอยู่ในระดับมาก (-x=3.571) และเมื่อพิจาณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการเตรียมการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และความสามารถในการเป็นครูคณิตศาสตร์ ครูคณิตศาสตร์มีความต้องการเพิ่มสมรรถภาพในระดับมากทุกด้าน ส่วนด้านความรู้ เนื้อหาคณิตศาสตร์ ครูคณิตศาสตร์มีความต้องการเพิ่มสมรรถภาพในระดับปานกลาง 4. ครูคณิตศาสตร์ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีสภาพ และปัญหาการจัดการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน และมีความต้องการเพิ่มสมรรถภาพความรู้และการจัดการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5. ครูคณิตศาสตร์ที่จบสาขาวิชาต่างกันมีสภาพ ปัญหา และความต้องการเพิ่มสมรรถภาพความรู้และการจัดการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน 6. ครูคณิตศาสตร์ที่มีประสบการณ์ในการสอนต่างกันมีสภาพ และปัญหาการจัดการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน แต่มีความต้องการเพิ่มสมรรถภาพความรู้และการจัดการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Show full item record

Files in this item

ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการ เรียนการสอน

Name: p44-57.pdf

Size: 4.592Mb

Format: PDF

This item appears in the following Collection(s)

  • บทความวารสาร

Search DSpace

Browse

  • All of DSpace

    • Communities & Collections
    • By Issue Date
    • Authors
    • Titles
    • Subjects
  • This Collection

    • By Issue Date
    • Authors
    • Titles
    • Subjects

My Account

  • Login
  • Register

ผู้แต่ง

คำสำคัญ:

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, การจัดการเรียนการสอน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนของครูที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เปรียบเทียบรูปแบบและสภาพการจัดการเรียนการสอนของครูที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เมื่อประสบการณ์การสอนและสังกัดต่างกัน และศึกษาสภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอนของครูที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 426 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถามการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน แบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามและรูปแบบการจัดการเรียนการสอนของครู ตอนที่ 2 คือ สภาพการจัดการเรียนการสอนของครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน และตอนที่ 3 คือ สภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอนของครูเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติอนุมาน
ผลการวิจัยพบว่า ครูส่วนใหญ่ใช้รูปแบบการจัดการสอนแบบบรรยาย รองลงมาคือ การทำกิจกรรมกลุ่ม การสอนแบบสาธิต และการอภิปราย นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบยังพบว่า 1) เมื่อประสบการณ์การสอนและกลุ่มสาระที่ต่างกัน ครูมีการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแตกต่างกัน 2) เมื่อประสบการณ์การสอนต่างกัน พบว่า สภาพการจัดการเรียนการสอนทั้ง 5 แบบ ไม่แตกต่างกัน และเมื่อครูสอนกลุ่มสาระต่างกัน พบว่า สภาพการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือแตกต่างกัน 3) เมื่อครูมีประสบการณ์การสอนที่ต่างกันจะมีสภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้านความรู้ในการจัดการเรียนรู้ ด้านสภาพแวดล้อมในการจัดการเรียนรู้ และด้านทัศนคติที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ แตกต่างกัน และไม่พบความแตกต่างของสภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอนเมื่อผู้สอนมีกลุ่มสาระที่ต่างกัน

Downloads

Download data is not yet available.

ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการ เรียนการสอน