ระเบียบค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2564 อปท

ค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการประชุมต่างๆ ยังไม่ปลดล็อคงั้นหรือ !! .......โดยให้เบิกจ่าย ตามหนังสือ ที่ นร​....

Posted by พัสดุรุ่นใหม่ 2560 on Tuesday, February 4, 2020

วันที่ 2 ตุลาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการจริยธรรม สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธาน จะมีการประชุมคณะกรรมการจริยธรรมในวันที่ 3 ตุลาคม 2565 เพื่อพิจารณาเรื่องที่ พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ เตมียาเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ขอให้ตรวจสอบกรณี นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ครอบครองที่ดินบริเวณ “ป่าดงพะทาย” ตำบลพะทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการจริยธรรมได้พิจารณาตรวจสอบ กลั่นกรองเรื่องร้องเรียนแล้วเห็นว่า การร้องเรียนเป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการ 2563 และระเบียบคณะกรรมการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎรว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎร 2563 และอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณา ตามข้อ 25 (2) ของข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการ 2563

“รับฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติได้ว่า ราษฎรที่ได้รับอนุญาตให้จับจองที่ดินทั้ง 34 แปลง ได้ขายที่ดินให้แก่นายศุภชัย (ผู้ถูกร้อง) ซึ่งยังอยู่ระหว่างห้ามโอนตามกฎหมาย นิติกรรมการซื้อขายและส่งมอบการครอบครองที่ดินตามใบจองทั้ง 34 แปลงดังล่าว เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 และถือว่าที่ดินตามใบจองทั้ง 34 แปลง ยังเป็นของรัฐอันบุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน”

“แต่นายศุภชัยเข้าครอบครองภายหลังจากประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ และไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้ผู้ถูกร้องจะเข้าครอบครองก่อนเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจนถึงปัจจุบัน ผู้ถูกร้องยังคงครอบครองที่ดินดังกล่าวอยู่ จึงเป็นการครอบครองที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย”

“ดังนั้น จากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์การกระทำของผู้ถูกร้องดังกล่าวข้างต้น จึงเชื่อได้ว่าเรื่องร้องเรียนนี้มีมูลกล่าวหาว่ากระทำผิดจริง คณะอนุกรรมการฯจึงเห็นควรรับเรื่องร้องเรียนไว้พิจารณา” เอกสารวาระการประชุมระบุ

คำร้องเรียนมีมูล จึงรับพิจารณา

เอกสารดังกล่าวยังระบุอีกว่า เมื่อผู้ถูกร้องได้กระทำการครอบครองที่ดินตามใบจอง (น.ส.2) บริเวณป่าดงพะทาย ตำบลพะทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ตามที่ผู้ร้องได้กล่าวหาตามเรื่องร้องเรียนจริง การกระทำของผู้ถูกร้องย่อมเป็นการผิดกฎหมายและเป็นการจงใจหรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมฯ ข้อ 8 ข้อ 10 และมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ข้อ 11 ข้อ 17 และข้อ 21 จึงควรเสนอที่ประชุมคณะกรรมการฯรับเรื่องร้องเรียนไว้พิจารณาตามระเบียบคณะกรรมการจริยธรรมข้อ 24

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามระเบียบคณะกรรมการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎร ว่าด้วยหลกัเกณฑ์ และวิธีพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2563 ในหมวดที่ 5 ได้ระบุการวินิจฉัยและคำวินิจฉัย ไว้ดังนี้

ข้อ 42 ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่ามีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักรับฟังได้ และที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยว่าผู้ถูกร้องฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม ให้คณะกรรมการมีอำนาจที่จะลงโทษโดยการตักเตือน ตำหนิ ให้ขอโทษต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรตามที่คณะกรรมการกาหนด หรือประณามให้เป็นที่ประจักษ์

ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่าไม่มีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักรับฟังได้ว่าผู้ถูกร้องฝ่าฝืนหรือ ไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมหรือไม่มีพยานหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้ถูกร้องฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ประมวลจริยธรรมอันเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ให้คณะกรรมการยกเรื่องร้องเรียนโดยเร็ว ทั้งนี้ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด

ข้อ 43 ระบุว่า ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่ามีพยานหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ผู้ถูกร้องฝ่าฝืนหรือ ไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมอันเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ให้คณะกรรมการเสนอความเห็นต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณา

เจ้าตัวแจงถือครองที่ดินมาตั้งแต่ปี 2530

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ที่มี พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ เตมียาเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย เป็นประธานได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าว และยื่นให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบเมื่อเดือนกันยายน 2564 โดย ป.ป.ช.ได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นไต่สวน

อย่างไรก็ตาม นายศุภชัยได้ออกมาชี้แจงเรื่องดังกล่าวเมื่อ 23 กันยายน 2564 ว่า ที่ดินทำกินบริเวณผืนป่าดงพะทาย จ.นครพนม เป็นการจัดที่ดินเพื่อประชาชนในตำบลดงพะทาย ตามระเบียบว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อประชาชน

โดยมีมติที่ประชุมของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2518 โดยมีสาระสำคัญ คือ เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งมิใช่ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน มิใช่พื้นที่สงวนหวงห้าม

เช่น ที่ป่าสงวนแห่งชาติหรือที่ราชพัสดุ ดังนั้น ทางราชการจึงสามารถนำมาจัดสรรหรือออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ ซึ่งในปัจจุบัน (2518-2564) จัดสรรทั้งหมด จำนวน 1,492 แปลง แยกเป็น น.ส.3 ก. จำนวน 32 แปลง เป็นโฉนด จำนวน 30 แปลง คงเหลือเป็นใบจอง จำนวน 1,430 แปลง

ต่อมาราษฎรที่ได้รับการจัดที่ดินไม่ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ โดยนำมาขายให้กับบุคคลอื่นก่อน และต่อมาตกมายังตนเอง ที่ดินนั้นก็ยังเป็นที่ดินประเภทที่รกร้างว่างเปล่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (1) ซึ่งตนเองเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์จึงสามารถนำมาขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน (โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์) ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1334

และเนื่องจากเป็นที่ดินที่ถือว่าผู้ครอบครองได้ครอบครองและทำประโยชน์ภายหลังจากวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (หลังวันที่ 1 ธันวาคม 2497) ซึ่งสามารถนำที่ดินมานำเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินได้ตามมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (3)

“สำหรับกรณีเรื่องนี้นั้นได้มีการตรวจสอบจากหน่วยงานของรัฐอย่างละเอียดเมื่อครั้งที่ยังดำรงตำแหน่ง รมช.เกษตรและสหกรณ์ โดยหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบได้มีหนังสือยืนยันความถูกต้องของการถือครองที่ดินดงพะทาย โดยมีหนังสือจากกรมที่ดิน เลขที่ มท 0516.3/40984 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2553 และหนังสือจากสำนักงาน ป.ป.ช. ออกเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2552”

“โดยตลอดระยะเวลา 34 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ พ.ศ. 2530 ซึ่งในขณะนั้นเป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านท่าหนามแก้ว ต.พะทาย ในสมัยนั้น ปัจจุบันชื่อ ต.หนองเทา และได้ทำการเกษตรในที่ดินแปลงดังกล่าวมาโดยตลอด จนเมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงได้แสดงในบัญชีทรัพย์สิน โดยยึดถือเจตนาบริสุทธิ์ เนื่องจากได้รับประโยชน์จากที่ดินแปลงดังกล่าว และเข้าใจว่ามีสิทธิในการครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย” นายศุภชัยชี้แจง