กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลาออก สมัครใหม่

ควรทำอย่างไรกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อออกจากงาน??

25 กันยายน 2558

สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ลาออกจากงาน มักจะมีคำถามว่า ควรทำอย่างไรกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดี ?

ตามที่ท่านทราบกันดีว่าเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ เงินสะสม (ส่วนที่สมาชิกจ่ายเข้ากองทุน) เงินสมทบ (ส่วนที่นายจ้างจ่ายให้) ผลประโยชน์เงินสะสม  และผลประโยชน์เงินสมทบ (สิ่งประโยชน์ที่งอกเงยจากการลงทุน)

เงินที่เป็นสิทธิของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแน่นอนคือ “เงินสะสม”และ”ผลประโยชน์เงินสะสม” ส่วน”เงินสมทบ”และ”ผลประโยชน์เงินสมทบ” จะได้รับก็ต่อเมื่อสมาชิกปฏิบัติตามเงื่อนไขของกองทุนฯ เช่น มีอายุงานถึงเกณฑ์ที่กำหนด เป็นต้น

เมื่อท่านออกจากงานจะมีวิธีในการจัดการกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างไรนั้น วันนี้เราขอนำเสนอทางเลือกสำหรับท่านสมาชิก 2 ทางคือ

1) ท่านสามารถขอรับเงินกองทุนทั้งก้อน โดยถือว่าเป็นการลาออกจากระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ

2) ยังไม่ประสงค์ที่จะรับเงินก้อนนี้ โดยขอคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก่อน

  1. ถ้าท่านประสงค์ที่จะรับเงินจากกองทุนทั้งจำนวน

ข้อพึงระวังคือ หากสมาชิกลาออกจากกองทุนโดยที่ยังไม่เข้าเงื่อนไขการได้รับการยกเว้นภาษี สมาชิกอาจจะเสียผลประโยชน์จากเงินสมทบที่จะได้รับไม่เต็มจำนวน อีกทั้ง เงินที่ได้รับจากกองทุนในส่วนของเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสะสม และเงินสมทบ จะต้องถูกหักภาษี ตามเงื่อนไขเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วย โดยขอชี้แจงหลักเกณฑ์ในเบื้องต้นดังนี้

สมาชิกจะต้องตรวจสอบว่าเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของสมาชิกทั้ง 3 ส่วน อันได้แก่ ผลประโยชน์เงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์เงินสมทบ เข้าเงื่อนไขการได้รับการยกเว้นภาษีหรือไม่ ซึ่งปกติเงินดังกล่าวจะได้รับการยกเว้นภาษีทั้งจำนวนก็ต่อเมื่อสมาชิกออกจากงานโดยมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่น้อยกว่า 5 ปี ตามหลักเกณฑ์ใหม่ที่เคยนำเสนอให้ท่านในวารสารครั้งที่แล้ว หรือกรณีเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพเท่านั้น

ถ้าสมาชิกไม่ได้เข้าเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น เงินกองทุนทั้ง 3 จำนวนสามารถนำมาใช้ลดหย่อนได้บางส่วนกรณีที่สมาชิกลาออกจากงานโดยอายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป (หักค่าใช้จ่ายได้ 2 ส่วน 7,000 x จำนวนปีที่ทำงาน ที่เหลือหักค่าใช้จ่ายได้ครึ่งหนึ่ง และสามารถนำไปแยกยื่นภาษีโดยไม่ต้องนำไปรวมกับรายได้อื่นเพื่อคำนวณภาษี) แต่ถ้าท่านมีอายุงานน้อยกว่า 5 ปีจะต้องนำเงินทั้ง 3 ส่วนนั้นไปรวมกับรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปี

  1.  ยังไม่ประสงค์ที่จะรับเงินก้อนนี้ โดย ”คงเงิน” ไว้ในระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

การคงเงินเป็นการส่งเสริมให้สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีการออมอย่างต่อเนื่องโดยไม่ขาดช่วงแม้มีการเปลี่ยนงาน จึงมีการเปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถขอคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมต่อไปได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน

ที่นี้มาดูประโยชน์จากการคงเงิน

อายุสมาชิกต่อเนื่องเมื่อมีการย้ายงาน

ถ้าท่านได้งานใหม่กับนายจ้างที่มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภายในก่อนสิ้นระยะเวลาการคงเงิน ท่านสามารถขอให้โอนเงินจากกองทุนเดิมไปเข้ากองทุนใหม่ได้โดยท่านไม่จำเป็นต้องรับเงินออกจากกองทุน ซึ่งจะช่วยให้สมาชิกยังไม่มีภาระภาษี เนื่องจากเงินที่ขอคงไว้ยังไม่ถือเป็นเงินได้ของสมาชิก

คงเงินไว้เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี

สมาชิกที่ต้องการคงเงินต่อเพื่อรออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี ตามเงื่อนไขของทางกรมสรรพากร เพื่อที่จะได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับเงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

เพื่อรอตลาดปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น

ตามที่ทราบกันว่าเงินที่อยู่ในกองทุนนั้นจะถูกนำไปลงทุนตามนโยบายการลงทุนที่ท่านกำหนด ซึ่งอาจมีทั้งกำไรและขาดทุน ขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดแต่ละขณะ โดยเฉพาะการลงทุนในนโยบายตราสารทุน ซึ่งเมื่อตลาดอยู่ภาวะที่มีความผันผวน และส่งผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนนั้นลดลง การคงเงินเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ท่านสามารถให้เงินในกองทุนยังคงลงทุนต่อเพื่อให้ตลาดมีการปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นและค่อยนำเงินออกจากกองทุนต่อไป

ทั้งนี้ ท่านสมาชิกอาจต้องศึกษาข้อบังคับกองทุนของตน ว่ามีระยะเวลาที่สามารถคงเงินไว้ในกองทุนได้นานเท่าใด ซึ่งข้อบังคับต้องกำหนดเวลาไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ออกจากงาน และมีค่าธรรมเนียมในการคงเงินอยู่ที่ 500 บาทต่อปี นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดให้สมาชิกดังกล่าวยังคงสภาพป็นสมาชิกกองทุนต่อเนื่อง ทำให้เงินที่สมาชิกคงไว้ในกองทุนสามารถนำไปลงทุนและได้รับผลประโยชน์งอกเงยได้ และสมาชิกก็จะยังคงได้รับ ”ใบรับรอง/รายงานยอดเงินสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund Statement)” แจ้งยอดเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ตนคงเงินไว้ตามรอบปกติอีกด้วย

ข่าวดีของคนกำลังจะลาออก: กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีทางเลือกแล้ว!

กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลาออก สมัครใหม่

กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลาออก สมัครใหม่

กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลาออก สมัครใหม่

คุณเป็นคนหนึ่งหรือไม่? ที่ลาออกจากงานก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกับเงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

บางคนลาออกไปไม่กี่เดือน ก็นำเงินไปใช้จ่ายจนเกือบหมดสิ้น

แล้วแบบนี้เราจะทำอย่างไรกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถ้าเราลาออกจากบริษัท?

มาดู 3 ทางเลือก ถ้าคุณลาออก คุณจะจัดการกับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้อย่างไรบ้าง?

1. ยังคงไว้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้างต่อได้อีก 1 ปี

คุณยังได้รับเงินผลประโยชน์ในการลงทุนต่อ แต่จะไม่มีเงินสมทบ แล้วรอจนกระทั่งคุณพร้อมกับการทำงานที่ใหม่ซึ่งคุณอาจจะโอนย้ายไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้างใหม่ได้

2. โอนย้ายไปยังกองทุนรวม RMF

ข้อดีคือ เพื่อช่วยให้ลูกจ้างสามารถออมเงินต่อเนื่องได้เท่าที่ต้องการ สามารถที่จะเลือกนโยบายการลงทุนได้เอง และช่วยเรื่องภาษีอีกด้วยคือ ใช้ลดหย่อนภาษีได้

Update: นักลงทุนสามารถซื้อกองทุน SSF-RMF กับ FINNOMENA ได้แล้ว
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและเริ่มต้นลงทุนได้ที่ https://finno.me/tax-saving-fund1452

3. นำเงินไปลงทุนต่อเอง

ถ้าเป็นทางเลือกนี้จะต้องดูว่าท่านเสียภาษีอย่างไรและเท่าไร และที่สำคัญ คุณต้องสามารถลงทุนได้ผลตอบแทนที่ชนะทั้งผลตอบแทนของ SET Index  และ กองทุนประเภทหุ้น แบบ Active Fund

3.1) อายุงานน้อยกว่า 5 ปี ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี จะต้องยื่นรวมไปกับเงินได้ประจำปีภาษี

โดยเงินที่จะต้องคำนวณการเสียภาษี คือ เงินที่นายจ้างสมทบและผลประโยชน์จากการลงทุน

เช่น ทำงานมา 4 ปี ได้รับเงินจากกองทุน 150,000 บาท โดยมีเงินสะสมของตัวเอง 70,000 บาท

และมีเงินสมทบจากนายจ้าง 70,000 บาท พร้อมผลประโยชน์จากการลงทุน 10,000 บาท

ดังนั้น เงินได้ที่จะนำมาคำนวณภาษี คือ เงินสมทบจากนายจ้าง 70,000  + ผลประโยชน์ 10,000 = 80,000

จะเสียเงินสำหรับภาษีเท่าไร ก็ให้คำนวณจากฐานการเสียภาษีอีกครั้ง

3.2) อายุงาน 5 ปีขึ้นไป แต่อายุไม่เกิน 55 ปี จะต้องยื่นแยกในการเสียภาษี

ดังนั้น เงินได้ที่จะนำมาคำนวณภาษี  คือ

[(เงินสมทบจากนายจ้าง+เงินผลประโยชน์การลงทุน)(7,000 x อายุงาน)] / 2

โดยเงินก้อนนี้นำไปแยกยื่นได้ ไม่ต้องไปรวมกับ เงินได้ประจำปีภาษี

เช่น ทำงานมาแล้ว 6 ปี  ได้รับเงินจากกองทุน  250,000 โดยเป็นเงินสะสมของตัวเอง 100,000

และมีเงินสมทบจากนายจ้าง 100,000 พร้อมผลประโยชน์จากการลงทุน 50,000

ดังนั้น เงินได้ที่จะนำมาคำนวณภาษี คือ 150,000  = เงินสมทบจากนายจ้าง 100,000  + ผลประโยชน์ 50,000 = 150,000

เงินที่จะต้องนำไปคิดเสียภาษี  คือ [ (150,000 – (6×7,000)]/2 = 54,000 บาท

จะเสียเงินสำหรับภาษีเท่าไร ก็ให้คำนวณจากฐานการเสียภาษีอีกครั้ง

3.3) อายุสมาชิกของกองทุน 5 ปีขึ้นไป และ อายุ 55 ปีขึ้นไป ไม่ต้องเสียภาษี

แม้จะมีหลายทางเลือก  แต่ทางเลือกที่ดี คือ ทางเลือกที่จะทำให้คุณมีออมต่อเนื่อง และเลือกนโยบายการลงทุนเองได้ คือ โอนย้ายไปยัง กองทุนรวม RMF หรือ โอนไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทใหม่

สมพจน์ พัดสุวรรณ
WealthGuru

กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลาออก สมัครใหม่

ผู้เขียน

กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลาออก สมัครใหม่

WealthGuru

คุณ สมพจน์ พัดสุวรรณ CEO BMK Wealth Management ผู้ก่อตั้งเพจ WealthGuru