กฎแห่งความปลอดภัยทางด้านร่างกาย

ความปลอดภัยในงานช่าง

กฎแห่งความปลอดภัยทางด้านร่างกาย

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในงานช่าง

1.เกิดจากตตัวบุคคล  อาจมีสาเหตุจากสภาพร่างกาย การแต่งตัวไม่รัดกุม เครื่องประดับ ทรงผมความสนใจและความตั้งใจที่มีต่องาน การทำงานที่ไม่ประสานสัมพันธ์กันของเพื่อนร่วมงานในทีมเดียวกัน ความประมาท ขาดความรอบคอบมักง่าย ไม่ได้วางแผนการทำงาน

2.เกิดจากเครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุต่างๆ เช่นเครื่องมือชำรุด เครื่องไม่คมหรือส่วนป้องกันอันตรายชำรุด ทำงานผิดพลาด การจัดเก็บและวางวัสดุที่ไม่เป็นระเบียบ ใช้เครื่องมือกผิดประเภท สายไฟฟ้าเก่าหรือมีรอยรั่ว

3.เกิดจากการจัดระบบการทำงานและสถานที่ใช้ปฎิบัติงาน อาจจะเกิดจากการวางแผนการทำงานไม่ดีไม่รอบคอบ ทำงานผิดขั้นตอน ไม่ประสานงานกับระบบของงาน สถานที่ไม่สะดวก การถ่ายเทอากาศไม่ดีแสงสว่างไม่เพียงพอ

กฎแห่งความปลอดภัยทางด้านร่างกาย

กฎโรงงานและการป้องกันอุบัติเหตุในโรงงาน

กฎโรงงานโดยทั่วไป ขึ้นอยู่กับเจ้าของและหัวหน้างาน ซึ่งแต่ละแห่งก็แตกต่างกันไป ตัวอย่างกำหนดแห่งความปลอดภัยหรือข้อบังคังทั่วๆไป ที่จะพบเห็นได้เสมอๆ ในการทำงานช่าง
1. ต้องสวมชุดปฎิบัติงานโดยเฉพาะและต้องเป็นชุดที่รัดกุมไม่รุ่มร่าม
2. ต้องสวมหมวกนิรภัยและสวมรองเท้าหุ้มส้น เพื่อป้องกันโลหะตกทับหรือเหยียบของมีคม
3. ต้องไม่นำเครื่องประดับต่างๆ เช่น แหวน สร้อยคอ นาฬิกา ในขณะปฎิบัติงาน
4. ต้องไม่นำเ่ครื่องมือมีคมติดต้ว หรือใส่ไว้ในกระเป๋าชุดทำงาน
5. ต้องไม่เล่นหรือหยอกล้อกันในขณะปฎิบัติงาน
6. ต้องใช้เครื่องมือที่อยู่ในสภาพดี
7. ถ้าไว้ผมยาวต้องผูกไว้ให้รัดกุม อย่าปล่อยให้รุ่มร่าม
8. ต้องไม่นำเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆออกไปใช้นอกโรงงาน
9. ต้องเตือนสติของตนเองอยู่เสมอว่า อวัยวะและชิ้นส่วนของร่างกายไม่มีอะไหล่เปลี่ยน พึ่งระวังความปลอดภัยจากอุบัติเหตุอยู่เสมอ
10. เมื่อมีอุบัติเหตุหรือเกิดการบาดเจ็บต้องรายงานให้ผู้ควบคุมทราบทันที
11.อย่านำวัสดุฝึกมาตัดเล่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
12.อย่ายกของหนักมากๆคนเดียว เพราะทำให้หลังเสีย
13.เมื่อเกิดอุบัติเหตุควรแจ้งหัวหน้าผู้คุมทราบทันที
14.พึงรักษาเครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์โรงงานเหมือนเป็นของตนเอง เพื่อให้ใช้งานนานยิ่งขึ้น
15.ขณะทำงานต้องระวังเพื่อนที่อยู่ใกล้เคียงหรืออยู่ด้านหลังเสมอ

การปฐมพยาบาล  (First Aid)  เป็นการให้ความช่วยเหลือต่อผู้บาดเจ็บ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่หาได้ ก่อนที่จะนำส่งโรงพยาบาล นอกจากนี้การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทั้งสาหัสและไม่สาหัสส่วนใหญ่ มักเกิดขึ้นที่บ้าน สมาชิกในครอบครัวได้นึกถึงความปลอดภัยให้สูงขึ้น และปฎิบัติวิธีการด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดก็จะเป็นการช่วยลดอุบัติเหตุในบ้านลงได้สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในงานช่าง

การแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการปฎิบัติงานช่างนั้นมีโอกาศที่จะเกิดขึ้นได้เสมอ แม้ว่าจะมีการวางแผนจัดระบบป้องกันไว้เป็นอย่างดีเพียงไรก็ตาม ดังนั้นนอกจากการวางแผนป้องกันไว้ก็ตาม ควรมีการวางแผนแก้ไขไว้ด้วยเพื่อลดความสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิตให้น้อยลง ในการแก้ไขอุบัติเหตุ อัคคีภัย พายุ วัสดุ เคมี อุทกภัย การวางระเบิดแผ่นดินไหว สารกัมมันตรังสี ให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความจำเป็นการป้องกันแก้ไข และจัดให้มีการฝึกซ้อม การแก้ไขอุบัติเหตุและภัยพิบัติต่างๆอย่างต่อเนื่อง

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในงานช่าง


ในสภาพการดำรงชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในสังคมที่มีความก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจ ชีวิตของคนเราจะเสี่ยงอันตรายจากอุบัติเหตุขึ้นเงาตามตัว จากสถิติที่ได้มีผู้สำรวจไว้พบว่า จำนวนอุบัติเหตุร้ายแรง ซึ่งเกิดขึ้นที่บ้านมีสถิติที่สูงมาก เกินกว่่าที่ประชาชนส่วนใหญ่จะเชื่อว่าเป็นไปด้านโดยประมาณ 30 %ของการเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในบ้านและรอบๆบ้าน นอกจากนี้การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทั้งสาหัสและไมสาหัสส่วนใหญ่ มักเกิดขึ้นที่บ้าน ถ้่าสมาชิกในครอบครัวได้ตระหนักถึงความปลอดภัยให้สูงขึ้น และปฎิบัติวิธีการ่ด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดก็จะเป็นการช่วยลดอุบัติเหตุในบ้านลงได้สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในงานช่าง

1. เกิดจากตัวของบุคคล ซึ่งอาจมีสาเหตุจากสภาพร่างกาย การแต่งการไม่รัดกุม เครื่องประดับ ทรงผมความสนใจ และความตั้งใจ และความตั้งใจที่มีต่องาน สภาพทางอารมณ์และสุขภาพในขณะปฎิบัติงาน การไม่ยอมใช้เครื่องป้องกันอันตราย การทำงานที่ไม่ประสานสัมพันธ์กันของเพื่อนร่วมงานในทีมเดียวกัน ความประมาท ขาดความรอบคอบมักง่าย ไม่ได้วางแผนการทำงานหรือไม่ทำงานตามที่กำหนด
2. เกิดจากเครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุต่างๆ เช่นเครื่องชำรุด เครื่องมือไม่คมหรือส่วนป้องกันอันตรายจากเครืี่องมือหรืออุปกรณ์ชำรุด ทำงานผิดพลาด การจัดเก็บและวางวัสดุที่ไม่เป็นระเบียบ ใช้เครื่องมือผิดประเภทและไม่ถูกต้องตามลักษณะงาน สายไฟฟ้าเก่าหรือมีรอยรั่ว เก็บวัาดุเชื้อเพลิงไม่ถูกหลักวิธี
3. เกิดจากการจัดระบบการทำงานและสถานที่ที่ใช้ปฎิบัติงาน ซึ่งอาจเกิดจากการวางแผนการทำงานไม่ดีไม่รอบคอบ ทำงานผิดขั้นตอน ไม่ประสานงานกันของระบบงาน สถานที่ทำงานไม่สะดวก การถ่ายเทอากาศไม่ดีแสงสว่างไม่เพียงพอ แท่นยึดอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่แน่น พื้นที่ปฎิบัติงานคับแคบแออัด จัดวางผังพื้นที่ปฎิบัติงานไม่เป็นระบบ

กฎแห่งความปลอดภัยทางด้านร่างกาย

กฎโรงงานและการป้องกันอุบัติเหตุในโรงงาน

กฎโรงงานโดยทั่วไป ขึ้นอยู่กับเจ้าของและหัวหน้างาน จะกไหนดกฎเกณฑ์เอาไว้ ซึ่งแต่ละแห่งก็แตกต่างกันไป ตัวอย่างกำหนดแห่งความปลอดภัยหรือข้อบังคังทั่วๆไป ที่จะพบเห็นได้เสมอๆ ในการทำงานช่าง คือ
1. ต้องสวมชุดปฎิบัติงานโดยเฉพาะและต้องเป็นชุดที่รัดกุมไม่รุ่มร่าม
2. ต้องสวมหมวกนิรภัยและสวมรองเท้าหุ้มส้น เพื่อป้องกันโลหะตกทับหรือเหยียบของมีคม
3. ต้องไม่นำเครื่องประดับต่างๆ เช่น แหวน สร้อยคอ นาฬิกา ในขณะปฎิบัติงาน
4. ต้องไม่นำเ่ครื่องมือมีคมติดต้ว หรือใส่ไว้ในกระเป๋าชุดทำงาน
5. ต้องไม่เล่นกรือหยอกล้อกันในขณะปฎิบัติงาน
6. ต้องใช้เครื่องมือที่อยู่ในสภาพดี
7. ถ้่าไว้ผมยาวต้องผูกไว้ให้รัดกุม อย่าปล่อยให้รุ่มร่าม
8. ต้องไม่นำเครื่องมือ อุปกาณ์ต่างๆออกไปใช้นอกโรงงาน
9. ต้องเตือนสติของตนเองอยู่เสมอว่า อวัยวะและชิ้นส่วนของร่างกายไม่มีอะไหล่เปลี่ยน พึ่งระวังความปลอดภัยจากอุบัติเหตุอยู่เสมอ
10. เมื่อมีอุบัติเหตุหรือเกิดการบาดเจ็บต้องรายงานให้ผู้ควบคุมทราบทันที
11.อย่านำวัสดุฝึกมาตัดเล่นโดยครูไม่อนุญาต
12.อย่ายกของหนักมากๆคนเดียว เพราะทำให้หลังเสีย
13.เมื่อเกิดอุบัติเหตุควรแจ้งครูผู้คุมทราบทันที
14.พึงรักษาเครื่องมือเครื่องจัักรและอุปกรณ์โรงงานเหมือนเป็นของตนเอง เพื่อให้ใช้งานนานยิ่งขึ้น
15.ขณะทำงานต้องระวังเพื่อนที่อยู่ใกล้เคียงหรืออยู่ด้านหลังเสมอ

ความปลอดภัยและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

1. หลักความปลอดภัย ในการทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องมือ ( Hand Tool) เช่น งานไฟฟ้า งานปูน งานไม้ งานโลหะเครื่องกล ถึงแม้จะเป็นงานพื้นฐานก็ตาม โอกาศที่จะเกิดอุบัติเหตุมีอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นงานที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของคนเราก็ตาม ดังนั้น การทำสิ่งใดจะต้องหมั่นสังเกต พิจารณา วิเคราะห์ คิด ฟัง ดู ให้ดีเสียก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยไว้เป็นหลัก โดนพิจารณาความปลอดภัยดังนี้
– ร่างกายของคนเราไม่มีอะไหล่ จะทำการใดให้คิดให้ดี
– แต่งกายให้เรียบร้อย ขณะทำงานไม่ใส่เครื่องประดับ
– ขณะที่ทำงานจะต้องไม่โมโห เจ้าอารมณ์
– ไม่อวดเด่นขณะทำงาน
– อย่าเกรียจคร้านขณะทำงาน
– ร่างการเหนื่อยต้องหยุดพัก อย่าฝืนทำ
– ทำงานด้วยความมีสติ ต้องไม่หลงลืม
– ไม่รู้อย่าอวดทำ อันตรายจะเกิด
– ไม่ทำงานด้วยความประมาท
– ตรวจดูบริเวณที่ทำงาน ก่อนจะลงมือทำงาน
– อย่าทำสกปรกเลอะเทอะ
2. การปฐมพยาบาล เป็นหัวใจของการระวังรักษาความปลอดภัย ในงานช่างพื้นฐานการปฎิบัติงานช่างไม่ว่าจะเป็นช่างอะำรในบ้าน เพื่อการซ่อมแซมดัดแปลงเครื่องใช้ในบ้าน หรือโรงฝึกงาน อาจเกิดอันตรายจากการใช้เครื่องมือช่าง และการทำงานอื่นได้ ดังนั้นภายในบ้านหรือโรงฝึกงาน ควรมีอุปกรณ์และยาสามัญประจำบ้่านสำหรับรักษาอาการบาดเจ็บ และการเจ็บไข้ เช่น การรักษาบาดแผลสด อาการไข้ ปวดท้อง ท้องเสีย เป็นต้น นอกจากนี้ สิ่งที่ควรระวังอีกประการหนึ่งที่พึงสังวรในการทำงานอย่างยิ่งเกี่ยวกับการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่อยู่ภายในบ้่านเรือนที่อยู่อาศัย และสำนักงาน โรงฝึกงาน เพราะหากเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือสายไฟฟ้าชำรุด มีการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้าลงสู่พื้น หรือตัวนำไฟฟ้าอื่นๆ อาจทำให้ผู้ใช้หรือผู้ถูกกระแสไฟฟ้าในปริมาณที่มากพอ เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ จึงมีความจำเป็่นที่จะต้องเรียนรู้การรักษาความปลอดภัย และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นไ้ว้ใช้ในคาวจำเป็นเพื่อช่วยเหลือตนเอง และเพื่อนร่วมงานที่อยู่ใกล้เคียงที่เกิดจากอุบัติเหตุ จากสิ่งที่คาดไม่ถึง หรือเกิดจากความประมาืท
– กรณีคนถูกไฟฟ้าดูดติดกับเสา ผนัง หรือสิ่งอื่นใดจะต้องใช้ไม้แห้งงัดออกให้ห่างเสียก่อน แล้วจึงทำการช่วยเหลือต่อไป
– ตัดสะพานไฟก่อนทุกครั้ง เพื่อหยุดกระแสไฟฟ้า
– กรณีัที่ผู้เกิดอุบัติเหตุกำสายไฟ หรือราวเหล็กที่มีกระแสไฟไหลผ่านไว้แน่น ผู้ช่วยเหลือจะต้องสวมถุงมือ ทุบให้มือที่กำหลุดออกมาเสียก่อน
3.ช่วยระบบการไหลเวียน เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจเอาอากาศได้จะต้องผายปอด โดยการใช้ฝ่ามือทั้งสองทาบให้ตั้งฉากซึ่งกันและกัน โดยวางมือลงบริเวณส่วนล่างของกระดูกหน้าอกเหนือลิ้นปี่ แขนเหยียดตรง ใช้น้ำหนักกดลง ให้กระดูกหน้าอกส่วนล่างต่ำลงราว 40-50 มม. และผ่านน้ำหนักให้หน้าอกขยายทำการติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอด้่วยความเร็วไม่ต่ำกว่่า 60 ครั้งต่อนาืที และความแรงที่กดต้องคลำชีพจรได้
การช่วยเกลือภาวะหัวใจหยุดเต้น เมื่อมีผู้ช่วยเหลือเพียงคนเดียวให้กดหน้าอก 15 ครั้ง และเป่าปากให้ปอดขยาย 2 ครั้ง
การช่วยเหลือเมื่อมีผู้ช่วยเหลือ 2 คน ให้กดหน้าอก 5 ครั้งเป่าปอดให้ขยาย 1 ครั้ง และเป่าปากระยะที่ผู้กดอกไม่ได้กด
4. ช่วยการหายใจ ด้วยการบีบจมูก เพื่อที่จะได้เป่าอากาศเข้าไปในปากของผู้ป่วย เป่าปากผู้ป่วยหมดสติด้วยการเป่าอากาศเข้าเต็มปอด หน้าอกของผู้ป่วยจะขยายตัว ระบบการหายใจจะเริ่มทำงาน
5. ช่วยผู้ป่วยหมดสติ ล้วงคอเอาสิ่งที่่ติดอยู่ในปากออกให้หมด แหงนคอตั้งเชิดไม่ให้ลิ้นตกอุดทางการหายใจของผู้ป่วย แยกลิ้่นให้หลุดออกจากหลอดลม โดยยกคอให้สูง กดศีรษะลงให้หน้าหงาย ลิ้นจะหลุดออกจากหลอดลม อากาศไหลได้สะดวก
6. เคลื่อนย้ายผู้ป่วย จะต้องทำอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่กระดูกหัก การเกร็งเมื่อหยุดหายใจเมื่อถูกไฟฟ้าดูด เป็นลม ช็อก

การป้องกันอุบัติเหตในงานช่าง

1. การป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากตัวบุคคล
การป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากตัวบุคคล ทำไ้ด้โดยการใช้วิธีสร้างเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อความปลอดภัยให้เิกิดขึ้นในต้วบุคคล การสร้างลักษณะนิสัยการทำงานที่ดีและการตัดสินใจอย่างใีสติรอบคอมถือว่าเป็นวิธีหนึ่งที่ได้ผลในการป้องกันอุบัติเหตุ และสร้างความตระหนักในความปลอดภัยส่วนตัว ลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงานที่สร้างความปลอดภัยให้แก่ตนเองมีดังนี้
1.ถ้าสวมเสื้อผ้าหลายชั้นควรถอดเสื้อนอก เช่น เสื้อกันหนาวออกแขวนไว้ก่อนปฏิบัติงาน
2 ถ้ามีผ้ากันเปื้อนหรือชุดสำหรับสวมใส่ ในขณะปฏิบัติงานควรใช้ทุกครั้ง
3.ถ้าใส่เสื้อที่ผูกเนคไท ควรถอดเน็คไทออกเสียก่อนทุกครั้ง
4.ถ้าใช้เสื้อแขนยาวที่แขนเสื้อหลวมๆ ควรพับหรือม้วนแขนเสื้อขึ้นอยู่เหนือศอก
5.ถ้าสวมใส่เครื่องประดับ เช่น แหวน นาฬิกา ควรถอดออกก่อน
6.ถ้าผมยาวก็ต้องรวบผมให้เข้าที่ให้เรียบร้อย
7.มือที่ใช้ปฏิบัติงานต้องสะอาด
8.หลีกเลี่ยงการนำเอาวัสดุเล็กๆเข้าปาก เช่น ตะปู
9.ต้องไม่ทำตลกหรือหยอกล้อกันขณะทำงาน
10.ต้องทำงานด้วยความขยัน อดทน รับผิดชอบและรอบคอบอยู่เสมอ
11.เตรียมระวังสภาพการทที่ไม่ปลอดภัย

2.การป้องกันอุบัตเหตเนื่องจากเครื่องมือและอุปกรณ์และวัสดุต่าง ๆ
ข้อควรระวังทั่วไปที่ผู้ปฎิบัติงานช่างทุกคนต้องรู้ คือ
1. เครื่องมือที่มีส่วนคม ชำรุด ขึ้นสนิม มีปลายเยินหรือบานไม่ควรนำมาใช้
2. เครื่องมือที่มีส่วนเข้่าด้ามหลวม หรือด้ามแตกไม่ควรนำมาใช้
3.เครื่องมือที่มีคมแหลม เมื่อถือหรือนำเคลื่อนย้ายไปควรจัดวางในกล่องหรือถาดวางเครื่องมือ
4. เครื่องมือที่มีคมหรือแหลม เช่น สิ่ว เหล็กหมาด ดอกสว่าน ไขควง ไม่ควรจะพกกระเป๋าเสื้อหรือกระเป๋ากางเกง
5. เมื่อจะต่อไฟฟ้าหรือต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าต้องแน่ใจว่ามือทั้งสองไม่เปียกน้ำ สวิตซ์ปิดอยู่และสายไฟฟ้าอยู่ในสภาพดีไม่ชำรุด
6. เมื่อใช้เครื่องมือกล เช่น สว่านไฟฟ้า แม่แรงอัดไม้ ผู้ใช้ควรเป็นผู้ปิด-เปิดเครื่องและบังคับควบคุมด้วยตนเอง
7.เมื่อจะทำความสะอาดหรือปรับแต่งเครื่องมือกลหรือหยอดน้ำมัน ไม่ควรทำขณะเครื่องมือกลนั้นๆกำลังอยู่ระหว่างการใช้งาน
8. เศษผ้าหรือวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำความสะอาด ควรวางให้ห่างจากส่วนที่หมุนหรือเคลื่อนที่ของเครื่องมือกล
9.การจัดเก็บและวางเครื่องมือภายหลังจากการมช้แล้ว ควรวางในที่จัดเก็บเฉพาะและต้องทำความสะอาดหรือชโลมน้ำมันกันสนิมทุกครั้ง
10. การใช้เครื่องมือกล หากมีเสียงดงผิดปกติ ต้องหยุดใช้และปิดเครื่องทันที
11. เมื่อมีการชำรุดของเครื่องมือเกิดขึ้นในระหว่างการใช้งาน ต้องรายงานให้ครูผู้ควบคุมทราบทันที

3. การป้องกันอุบัติเหตุจากการจัดระบบทำงาน และสถานทีี่่ที่ใช้ปฎิบัติงาน
1. จัดทำแผนปฎิบัติงานด้วยการวิเคราะห์งานให้รอบคอบ
2. จัดสภาพห้องเรียน ห้องปฎิบัติงานให้สะอาดเป็นระเบียบและน่าเรียน
3. จัดเก็บวัสดุที่เหลือใช้ วัสดุฝึกงานและเศษวัสดุให้เป็นที่และปลอดภัย
4. จัดระบบแสงสว่างและระบบระบายอากาศในห้องปฎิบัติการให้ดี
5. การเดินสายไฟ และืท่อน้ำต้องมิดชิดปลอดภัยและตรวจสอบได้ง่าย
6. ต้องจัดให้มีระบบตรวจสอบครุภัณฑ์และอาคารตลอดสิ่งประกอบต่างๆที่ดี ทั้งก่อนทำงาน ระหว่างทำงาน และหลังเสร็จสิ้นการทำงาน
7. จัดมห้มีการรายงานอุบัติเหตุของนักเรียน เพื่อใช้บันทึกและรายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแก่นักเรียนทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน

กฎแห่งความปลอดภัยทางด้านร่างกาย
กฎแห่งความปลอดภัยทางด้านร่างกาย

การแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการปฎิบัติงานช่างนั้นมีโอกาศที่จะเกิดขึ้นได้เสมอ แม้ว่าจะมีการวางแผนจัดระบบป้องกันไว้เป็นอย่างดีเพียงไรก็ตาม ดังนั้นนอกจากการวางแผนป้องกันไว้ก็ตาม ควรมีการวางแผนแก้ไขไว้ด้วยเพื่อลดความสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิตให้น้อยลง ในการแก้ไขอุบัติเหตุ อัคคีภัย พายุ วัสดุ เคมี อุทกภัย การวางระเบิดแผ่นดินไหว สารกัมมัม่ตรังสี ให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความจำเป็นการป้องกันแก้ไข และจัดให้มีการฝึกซ้อม การแก้ไขอุบัติเหตุและภัยพิบัติต่างๆอย่างต่อเนื่อง
เรื่องที่่นักเรียนควรศึกษาและฝึกปฎิบัติ เช่น
1. การศึกษาและการฝึกซ้อมการหนีภัย และการดับเพลิง
2. การศึกษาและการฝึกซ้อมออกจากห้องเรียนห้องปฎิบัติการ
3. การฝึกซ้อมการปฐมพยาบาลผู้ได้รับอุบัติเหตุ
4. การฝึกซ้อมการใช้อุปกรณ์ช่วยในกรณีต่างๆ
5. การฝึกซ้อมการใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการปฐมพยาบาล
6. การทบทวนการใช้ยาและการแก้ไขการใช้ยาผิดประเภท

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...