การพัฒนาทักษะอาชีพ หมาย ถึง

-          ช่วยให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเองและลดความล้าสมัย  การทำงานในตำแหน่งหนึ่ง ๆ อันอาจจะทำให้บุคลากรล้าหลังต่อความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังนั้น  การพัฒนาอาชีพจะช่วยให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา  ทั้งนี้เพราะบุคลากรเหล่านั้นจำเป็นต้องเพิ่มพูนความรู้และความสามารถต่าง ๆที่จำเป็นก่อนที่จะสามารถก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งอื่น ๆ

สภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองของประเทศไทยในปัจจุบัน ส่งผลให้จำนวนบัณฑิตจบใหม่สวนทางกับความต้องการในตลาดแรงงาน การแข่งขันเพื่อช่วงชิงเก้าอี้ในที่ทำงานเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกันกับจำนวนผู้ว่างงาน และนั่นเป็นปัญหาอย่างยิ่งกับกลุ่ม First Jobber ที่ต้องควานหางานด้วยประสบการณ์เพียงไม่มาก

เมื่อความต้องการแรงงานของผู้ประกอบการเหลือพื้นที่น้อยลง การคัดเลือกแรงงานจึงเน้นปัจจัยด้านคุณภาพมากขึ้น วิธีสร้างโอกาสของแรงงานเพื่อให้ตนเองกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจท่ามกลางคู่แข่งจำนวนมากคือ ทักษะการทำงาน (Hard Skills) และทักษะประกอบการทำงาน (Soft Skills) ที่มีติดตัว นั่นคือที่มาของหลักสูตรส่งเสริมอาชีพของโรงเรียนวิชูทิศ โรงเรียนสามัญศึกษาในสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ที่เปิดสอนให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมได้ทดลองทำงานจริงภายใต้ความดูแลของโรงเรียน เพื่อติดตั้งทักษะอันจำเป็นในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน

นำร่อง: หลักสูตรสายอาชีพในโรงเรียนสามัญศึกษา

โรงเรียนวิชูทิศได้เปิดสอนหลักสูตรขยายโอกาสด้านอาชีพให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 จนเมื่อถึง พ.ศ. 2544 ได้เริ่มสอนวิชาขนมอบเป็นครั้งแรกภายใต้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยเป็นวิชาเสรีบังคับเลือกและเปิดเป็นชมรมให้กับนักเรียนที่สนใจ

จุดเริ่มต้นของวิชาส่งเสริมอาชีพในรั้วโรงเรียนสามัญนี้เกิดขึ้นจากความต้องการผลักดันให้นักเรียนมีทักษะที่สามารถประกอบอาชีพได้จริง โดย สุพัตรา ฤกษ์บ่าย ผู้อำนวยการโรงเรียนวิชูทิศ อธิบายถึงที่มาของวิชาขนมอบว่าเป็นวิชาชีพที่สอดคล้องต่อความต้องการของชุมชน กล่าวคือ วิถีชีวิตของประชาชนในละแวกโรงเรียนวิชูทิศล้วนมีความเร่งรีบ เนื่องจากต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำงานเลี้ยงชีพ ดังนั้น การส่งเสริมทักษะอาชีพเกี่ยวกับการผลิตสินค้าเพื่อการบริโภคของคนในชุมชนจึงเป็นทางเลือกที่ตัวนักเรียนและผู้ปกครองเห็นพ้องต้องกัน 

หลังจากนั้นจึงนำไปสู่การพัฒนาจนกลายเป็นหลักสูตรขนมอบ (Special program in Bakery) ที่ได้การรับรองโดยสำนักการศึกษา กทม. และทำให้ได้รับเลือกเป็นโรงเรียนนำร่องในโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรเฉพาะทางในปี พ.ศ. 2548 และยังคงเปิดสอนมาจนถึงปัจจุบัน

การพัฒนาทักษะอาชีพ หมาย ถึง
สุพัตรา ฤกษ์บ่าย ผู้อำนวยการโรงเรียนวิชูทิศ

ความสำเร็จของหลักสูตรขนมอบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงจากการตอบรับเป็นอย่างดีของตัวผู้เรียนและผู้ปกครอง หากแต่กระแสตอบรับและความต้องการเพื่อการบริโภคภายในชุมชนก็เพิ่มสูงตาม ซึ่ง ผอ.สุพัตรา กล่าวว่าทักษะทางอาชีพมีความสำคัญไม่แพ้ทักษะในด้านวิชาการ และสำคัญอย่างยิ่งต่อตลาดแรงงานในปัจจุบัน การผลักดันให้เด็กนักเรียนเกิดทักษะดังกล่าวจึงเป็นหัวใจสำคัญของหลักสูตรการขยายโอกาสทางการศึกษา และเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้โรงเรียนวิชูทิศเลือกส่งเสริมทักษะด้านอาชีพไปพร้อมๆ กับทักษะด้านวิชาการ

“หลักสูตรส่งเสริมทักษะอาชีพจะช่วยให้นักเรียนจะสามารถประเมินตัวเองได้ว่ามีความต้องการด้านไหน หรือชอบอะไร เขาก็พัฒนาตัวเองให้ตรงกับความต้องการของเขาได้ โดยอาศัยความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากโรงเรียน”

เนื่องจากโรงเรียนวิชูทิศเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จึงเป็นศูนย์รองรับการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนในละแวกใกล้เคียง การต่อยอดการศึกษาไปสู่อาชีพจึงเป็นความคาดหวังที่สำคัญสำหรับผู้ปกครองเช่นกัน โดย ผอ.สุพัตรา กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากหลักสูตรขนมอบแล้วยังมีหลักสูตรส่งเสริมด้านกีฬาให้กับนักเรียนที่มีความสนใจ ซึ่งจะสามารถพัฒนาไปสู่การศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา หรือการเลือกประกอบอาชีพในอนาคตได้เช่นกัน 

อย่างไรก็ตาม ผอ.โรงเรียนวิชูทิศ มองว่าหลักสูตรด้านอาชีพที่เปิดสอนอยู่ขณะนี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของทักษะอันเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานเท่านั้น ยังมีทักษะอีกหลายแขนงที่นักเรียนมีความสนใจ แต่ยังต้องรอการหารือในด้านข้อกำจัดของโรงเรียน

สำหรับหลักสูตรขนมอบ ปัจจุบันได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2551 นำมาพัฒนาหลักสูตรให้สามารถจัดการเรียนการสอนแบบครบวงจร ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการจัดการบัญชีและการจัดจำหน่าย เมื่อจบหลักสูตรแล้วจะได้รับวุฒิบัตรการศึกษาเฉพาะทาง หลักสูตรขนมอบ (Certificate of special program in Bakery) ในโรงเรียนมีศูนย์การเรียนรู้ทักษะอาชีพเพื่อให้นักเรียนสามารถผลิตและจัดจำหน่ายได้จริง และเปิดสอนการทำกาแฟและศูนย์ฝึกทักษะชงกาแฟ (ร้านหอมละมุน) โดยการเรียนการสอนทั้งหมดยังคงดำเนินควบคู่ไปกับรายวิชาหลักตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

นำทาง: ค้นหาอาชีพที่ใช่ ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง

ความโดดเด่นของหลักสูตรพัฒนาอาชีพในโรงเรียนวิชูทิศ คือการให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงตั้งแต่เริ่มต้นไปจนจบกระบวนการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความชำนาญ ซึ่งแตกต่างจากการเรียนผ่านตัวหนังสือหรือการทดลองทำเพียงครั้งคราว

โสภี บรรยงกะเสนา หรือ ครูโสภี ครูผู้สอนรายวิชาเพิ่มเติมขนมอบ โรงเรียนวิชูทิศ ผู้เป็นทั้งอาจารย์ แม่งาน และพี่เลี้ยงของนักเรียนในหลักสูตรขนมอบมากว่า 26 ปี ให้ความสำคัญกับการลงมือทำจริง อันเป็นการเรียนรู้ผ่านความเข้าใจที่ไม่ใช่การท่องจำ เนื่องจากทักษะการทำขนมและชงเครื่องดื่มไม่อาจสัมฤทธิ์ผลได้โดยการผสมตามสูตรเพียงอย่างเดียว

“ทักษะสำคัญอย่างการชั่งตวงต้องทำให้ได้แบบเป๊ะๆ เพราะถ้าทำไม่แม่น สูตรก็จะเพี้ยน เด็กที่เริ่มเรียนใหม่ๆ ทำคุกกี้สูตรเดียวกัน แต่ก็ออกมาไม่เหมือนกัน บางอันก็อร่อย บางอันก็แข็ง บางอันเค็ม บางอันหวาน เพราะฉะนั้นการได้ลองทำอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้รู้เทคนิคในการทำ ทั้งการใช้ระยะเวลาและการเก็บรายละเอียด”

การพัฒนาทักษะอาชีพ หมาย ถึง
การพัฒนาทักษะอาชีพ หมาย ถึง
โสภี บรรยงกะเสนา ครูผู้สอนรายวิชาเพิ่มเติมขนมอบ โรงเรียนวิชูทิศ

ครูโสภีอธิบายว่า การจัดการเรียนการสอนวิชาขนมอบของแต่ละระดับชั้นต้องคำนึงถึงความสอดคล้องด้านการพัฒนาทักษะ โดยนักเรียนชั้นมัธยมต้นจะได้ฝึกทำคุกกี้ เค้ก ขนมปัง และพาย เพราะวิธีการทำขนมดังกล่าวเป็นกรรมวิธีขั้นพื้นฐานที่สามารถนำไปปรับใช้กับการทำขนมชนิดอื่นๆ ที่มีกระบวนการยากและซับซ้อนขึ้นในชั้นมัธยมปลาย โดยทั้งครูโสภีและนักเรียนจะศึกษากรรมวิธีและคิดสูตรร่วมกันก่อนจะลงมือปฏิบัติจริง

เมื่อกระบวนผลิตเสร็จสิ้น ผลงานบางชิ้นอาจตกถึงท้องของเหล่าแม่ครัวพ่อครัว ขณะที่บางชิ้นได้รับเชิญให้ไปอยู่บนชั้นวางจำหน่ายภายในโรงเรียน ซึ่งรายได้จากการขายจะถูกนำมาหมุนเวียนเป็นต้นทุนการผลิตให้นักเรียนได้บริหารจัดสรรเพื่อใช้สำหรับวันต่อไป ในส่วนนี้ครูโสภีจะเป็นผู้ที่คอยดูแลควบคุมการผลิตจนกว่าเด็กๆ ในความดูแลจะถูกประเมินให้ผ่าน แล้วจึงจะสามารถดำเนินการผลิตต่อไปได้ด้วยตนเอง

นอกเหนือจากการทำขนมอยู่ในครัว หลักสูตรขนมอบยังมีวิชาการทำเครื่องดื่มซึ่งจะถูกฝึกฝนในคาบเรียนเพื่อไปนำผลิตขายจริงที่หน้าร้านร้านหอมละมุนซึ่งเป็นศูนย์ฝึกทักษะชงกาแฟ โดยนักเรียนจะได้รับการประเมินศักยภาพตามความจริงก่อนเริ่มงาน ครูโสภีอธิบายว่าการฝึกทักษะและจัดจำหน่ายนี้ จะช่วยให้นักเรียนเกิดความชำนาญทั้งในด้านทักษะการผลิต การจำหน่าย รวมไปถึงการสื่อสารกับลูกค้าและความรับผิดชอบในการทำงาน

เช่นเดียวกันกับ ศิริพร อสิพงษ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนวิชูทิศ ที่มองว่าการได้เรียนรู้พัฒนาทักษะด้านอาชีพจะช่วยให้นักเรียนสามารถนำไปต่อยอดด้านการทำงานได้ในอนาคต โดยรอง ผอ.ศิริพร ได้ให้ข้อมูลว่านักเรียนส่วนใหญ่ในโรงเรียนวิชูทิศเป็นเด็กที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด แต่ต้องมาเรียนใน กทม. เนื่องจากติดตามมากับผู้ปกครองซึ่งย้ายถิ่นฐานมาทำงานในเมืองหลวง ทำให้สภาพทางการเงินของเด็กแต่ละคนอยู่ในระดับปานกลางไปจนถึงยากจน การติดตั้งทักษะอันเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพในอนาคตจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

การพัฒนาทักษะอาชีพ หมาย ถึง
ศิริพร อสิพงษ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนวิชูทิศ

ศิริพรเล่าว่า มีเด็กหลายคนที่ด้อยโอกาสด้านการศึกษาในระดับสูง หรืออาจไม่ได้รับการส่งเสริมในด้านวิชาการอย่างเต็มที่เนื่องจากมีศักยภาพที่น้อยกว่าคนอื่น แต่ทักษะที่โรงเรียนมอบให้ทั้ง Hard Skills และ Soft Skills ภายใต้หลักสูตรด้านอาชีพนี้จะเป็นประโยชน์และสามารถนำไปต่อยอดให้กับการทำงานได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

“เราไม่ได้คาดหวังว่าทุกคนเรียนจบแล้วจะต้องไปทำขนมขาย เพราะเด็กที่เขาไม่ได้ถนัดทางนี้เขาก็ได้เรียนรู้ Soft Skills เรื่องความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความมุ่งมั่นในการทำงาน และทักษะการสื่อสาร ถ้าเขาสามารถเอาทักษะเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ ก็ถือว่าเป็นความสำเร็จของหลักสูตร”

นำไปใช้: ฝึกฝนจนเชี่ยวชาญ ก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต

ตัววัดผลแห่งความสำเร็จของหลักสูตรขนมอบ ไม่ใช่แค่ขนมที่มีรสชาติอร่อยหรือเครื่องดื่มชั้นเลิศ แต่คือการปั้นผู้เชี่ยวชาญด้านขนมและเครื่องดื่มให้เก่งกาจและเป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการ 

หัทยา เพชรกาศ และ ณีรนุช เพชรเทียม 2 สาวเบเกอร์ชั้น ม.ปลาย ปีสุดท้าย กับอีกหนุ่มบาริสต้า สุรชาติ นาราษฎร์ นักเรียน ม.ปลาย ปีแรก คือกลุ่มนักเรียนในชมรมขนมอบที่ได้รับการการันตีฝีมือโดยผู้สอนว่าสามารถรังสรรค์ผลงานอาหารได้เป็นอย่างดี โดยเด็กๆ ทั้งสามคนได้เข้าเรียนหลักสูตรขนมอบทั้งสาขาการทำขนมและเครื่องดื่ม จนสามารถค้นหาความถนัดของตัวเองได้และทำมันออกมาด้วยความชอบและเต็มใจ 

การพัฒนาทักษะอาชีพ หมาย ถึง
หัทยา เพชรกาศ / ณีรนุช เพชรเทียม / สุรชาติ นาราษฎร์
นักเรียนโรงเรียนวิชูทิศ

หัทยาเล่าว่า ตนรับหน้าที่ทำเค้กในช่วงเช้าก่อนเข้าแถว ส่วนณีรนุชอยู่ฝ่ายขนมปัง กระบวนการในห้องอบขนมจะมีการแบ่งเวรประจำวันเพื่อรับผิดชอบหน้าที่ทำขนมส่งขาย โดยปกติจะทำขายในโรงเรียนและวางขายที่ศูนย์ฝึกทักษะชงกาแฟ แต่หากช่วงไหนได้รับออเดอร์ใหญ่จากลูกค้าภายนอกก็อาจต้องแบ่งเวลาช่วงเที่ยงและเย็นมาทำด้วย

“ได้เรียนรู้สิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน จนตอนนี้ก็สามารถนำทักษะการทำขนมมาเป็นอาชีพเสริมได้”

หัทยาระบุว่า การทำขนมในโรงเรียนจะได้รับค่าจ้างรายวันจากคุณครู อย่างตนที่รับหน้าที่ทำเค้กเพียงคนเดียวจะได้วันละ 100 บาท ส่วนการทำขนมปังที่ใช้จำนวนคนมากกว่าจะได้ค่าจ้างวันละ 60 บาท ซึ่งเป็นรายรับที่ทั้งหัทยาและณีรนุชพึงพอใจ

ในส่วนของการทำเครื่องดื่ม สุรชาติซึ่งเป็นเด็กหนุ่ม ม.4 บอกเล่าผ่านสีหน้าที่ซื่อตรงว่า ตนเองชอบและสนใจการชงกาแฟเป็นอย่างยิ่ง รู้สึกดีใจที่โรงเรียนเพิ่มวิชาการทำเครื่องดื่มเข้ามา โดยหน้าที่บาริสต้าเองก็จะมีการแบ่งเวรประจำวันเพื่อไปประจำการขายเครื่องดื่มที่ร้านหอมละมุน ซึ่งเป็นศูนย์ฝึกทักษะชงกาแฟที่อยู่ภายในโรงเรียน และได้รับค่าจ้างวันละ 80 บาท

การพัฒนาทักษะอาชีพ หมาย ถึง

การพัฒนาทักษะอาชีพ หมาย ถึง

การพัฒนาทักษะอาชีพ หมาย ถึง

การพัฒนาทักษะอาชีพ หมาย ถึง

การพัฒนาทักษะอาชีพ หมาย ถึง

  • การพัฒนาทักษะอาชีพ หมาย ถึง
  • การพัฒนาทักษะอาชีพ หมาย ถึง

เด็ก ม.ปลาย ทั้งสามคนเลือกเรียนสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ซึ่งทั้งสามบอกตรงกันว่า ในหนึ่งวันต้องใช้เวลากับการเรียนมากพอสมควร การทำขนมและเครื่องดื่มจึงกลายเป็นงานอดิเรกที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดจากการเรียนวิชาหลัก

ณีรนุชเล่าว่า ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้ตนเองต้องเรียนออนไลน์ตั้งแต่ ม.4 เป็นเวลากว่า 2 ปี จนเมื่อได้เรียนในโรงเรียนอีกครั้งก็ขึ้นชั้น ม.6 แล้ว เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็วโดยที่ตนเองก็ยังรู้สึกไม่พร้อมกับการศึกษาต่อในระดับชั้นมหาวิทยาลัย เช่นเดียวกันกับหัทยาที่ยังคงไม่มั่นใจกับการเลือกคณะที่อยากเรียน แต่ทั้งสองมีความเห็นตรงกันว่า ทักษะการทำขนมที่มีติดตัวช่วยให้รู้สึกอุ่นใจในเรื่องลู่ทางการประกอบอาชีพและการหารายได้

ขณะเดียวกัน สุรชาติซึ่งยังอยู่ในช่วงค้นหาความชอบและความสนใจก็มุ่งมั่นที่จะพัฒนาฝีมือการชงกาแฟของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น เด็กหนุ่มบอกเล่าความฝันว่า อยากลองคิดค้นสูตรเมนูใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยทำมาก่อน และหากความสามารถตรงนี้สามารถต่อยอดได้ก็อาจนำไปพิจารณาในการศึกษาต่อ รวมถึงประกอบอาชีพในอนาคต

การพัฒนาทักษะอาชีพ มีอะไรบ้าง

หลักสำคัญที่องค์กรต้องบริหารจัดการการพัฒนาอาชีพ (Career Management) ให้กับพนักงาน.
1.การวางโครงสร้างตำแหน่งงานให้เหมาะสม (Organization Structure) ... .
2.วางแผนการสืบทอดตำแหน่ง (Success Plan) ... .
3.จัดทำเส้นทางอาชีพ (Career Path) ให้เห็นอย่างชัดเจน ... .
4.ประเมินผล (Evaluation) ตามความเป็นจริงอย่างถูกต้องและยุติธรรม.

ทักษะการพัฒนาอาชีพหมายถึงอะไร

การพัฒนาอาชีพ หรือ Career development หมายถึง ความก้าวหน้าหรือการเติบโตของพนักงานในการทำงาน ซึ่งการพัฒนาอาชีพที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีปัจจัยสำคัญดังต่อไปนี้ ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายของอาชีพ (Career Goal) การวางแผนด้านอาชีพ (Career Planning) เพื่อให้ดำเนินไปตามเส้นทางอาชีพ (Career Path) ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ประกอบไป ...

การพัฒนาอาชีพหมายถึงข้อใดมากที่สุด

การพัฒนาอาชีพ (Career development) จึงหมายถึง กระบวนการซึ่งองค์การจัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือบุคลากรในการจัดการกับอาชีพของตนเอง (De Cenzo & Robbins, 1994) ซึ่งอาจจะได้แก่การประเมินศักยภาพของบุคคล กำหนดเส้นทางอาชีพที่เหมาะสม วางแผน และฝึกอบรม เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีกรพัฒนาและความก้าวหน้าในงาน ประโยชน์ของการพัฒนาอาชีพ

จุดประสงค์ในการพัฒนาทักษะอาชีพคืออะไร

วัตถุประสงค์ 1.เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ ทักษะ ในการประกอบอาชีพ 2.เพื่อฝึกทักษะกระบวนการคิดในการทำงานของนักเรียน 3.เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานและอาชีพให้กับนักเรียนให้มีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้แก่ตนเองและครอบครัว