ตัวอย่าง การ หลีก เลี่ยงภาษี

เวลาพูดถึงคำว่า “หนีภาษี” หลายคนมักจะเข้าใจสับสนกับอีก 2 คำ นั่นคือ เลี่ยงภาษี และ วางแผนภาษี ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะความสนุกของภาษาไทยที่ทำให้เราเข้าใจความหมายของทั้ง 3 คำนี้แตกต่างกัน และอีกส่วนหนึ่งมันอาจจะมาจากความรู้สึกไม่อยากจ่ายภาษีที่ซ่อนอยู่ในก้นบึ้งของหัวใจ

Advertisements

แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผมอยากเพิ่มเติมความเข้าใจให้กับทุกคนในบทความนี้ ไม่ใช่หลักการหนีภาษีอย่างถูกกฎหมาย แต่เป็นความเข้าใจใน 2 ด้าน นั่นคือ นิยามของการจัดการภาษีทั้ง 3 คำที่ว่ามาก่อนหน้านี้ และ ทางเลือกแต่ละทางที่คนเขาบอกว่าดีนั้น จริง ๆ มันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่อชีวิตเราได้เหมือนกันครับ

สำหรับคนที่ไม่มีเวลา สามารถเลือกอ่านเฉพาะหัวข้อที่สนใจได้เลยครับ

1) ความแตกต่างของ หนีภาษี เลี่ยงภาษีและวางแผนภาษี

2) หนีภาษีด้วยวิธีถูกกฎหมาย มีจริงไหม?

3) หลักการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและวิธีการในการวางแผนภาษี

3.1) แยกหน่วยภาษี หรือ มีคนมารับรายได้แทน

3.2) เปลี่ยนรายได้ให้เป็นรายได้ยกเว้นภาษี หรือ ใช้สิทธิ์ Final TAX

3.3) เลื่อนการรับรู้รายได้ (ข้ามปี)

3.4) ย้ายประเภทเงินได้ให้หักค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น

3.5) ลดหย่อนให้เต็มที่ ใช้ให้คุ้มทุกสิทธิ์ประโยชน์

4) สรุป

ความแตกต่างของ หนีภาษี เลี่ยงภาษีและวางแผนภาษี

ถ้าให้สรุปแบบง่าย ๆ คงต้องบอกว่า ระหว่างคำว่า “หนีภาษี” “การเลี่ยงภาษี” และ “การวางแผนภาษี” ซึ่งเป็น 3 คำที่ทำให้เราได้ผลทางด้านภาษีเหมือนกัน คือ เสียภาษีน้อยลง แต่ความหมายของแต่ละคำนั้นมีความแตกต่างกันดังนี้ครับ

Advertisements

การหนีภาษี (Tax Evasion) คือ การ “ฝ่าฝืน” บทบัญญัติแห่งกฎหมายด้วยการดำเนินการอย่างบิดเบือนของผู้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี หรือสรุปง่าย ๆ ก็คือการไม่จ่ายภาษี (ชักดาบ) เพราะว่ากฎหมายกำหนดให้คนทุกคนต้องเสียภาษีแต่คุณเลือกที่จะไม่เสีย ซึ่งการหนีภาษีนี้ ไม่ต้องใช้เทคนิคอะไรเลย แค่เพียงเลือกที่จะไม่จ่ายภาษีเท่านั้นเองครับ

การเลี่ยงภาษี (Tax Avoidance) คือ การหา “ช่องว่าง” ทางกฎหมายโดย “การบิดเบือน” ดังนั้นจะเป็นวิธีการที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง เช่น การซื้อขายในราคาที่ต่ำหรือสูงกว่าราคาตลาดด้วยความจงใจ หรือ การโอนรายได้ให้คนอื่นเพื่อกระจายฐานภาษี หรือวิธีอื่น ๆ ที่กฎหมายไม่ได้ให้แนวทางไว้ แต่อาศัยความสับสนหรือซับซ้อนบางอย่างแทน

การวางแผนภาษี (Tax Planning) คือ การเตรียมการจัดการภาษี โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือเน้นไปที่ความถูกต้อง ซึ่งประเด็นนี้มองที่ความถูกต้องทางกฎหมายมาก่อน หลังจากนั้นจึงประเมินว่าจะประหยัดหรือลดภาระภาษีได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาก็เลือกใช้กองทุนต่าง ๆ ในการลดหย่อนภาษีตามสิทธิ์ประโยชน์ที่กฎหมายกำหนด หรือ นิติบุคคลก็ใช้แนวทางสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เช่น รายจ่ายที่กฎหมายให้หักได้เพิ่ม

Advertisements

อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมาเทคโนโลยีมีการพัฒนาขึ้น ระบบการตรวจสอบต่าง ๆ ของกรมสรรพากรเองก็ดีขึ้นตามไปด้วย ทำให้การหนีภาษีหรือการเลี่ยงภาษีทำได้ยากขึ้น โดยผมได้อธิบายเรื่องนี้ไว้ที่คลิปด้านล่างนี้ครับ

Advertisements

หนีภาษีด้วยวิธีถูกกฎหมาย มีจริงไหม?

ถ้าเราดูจากนิยามข้างต้น จะเห็นว่าการกระทำแบบนี้เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะการหนีนั้น มันคือการไม่จ่ายภาษีตั้งแต่แรก แต่อย่างไรก็ดี หลายคนมักจะใช้คำนี้ในบริบทของการวางแผนภาษี เพื่อให้เข้าใจว่าเราสามารถประหยัดภาษีได้เช่นเดียวกัน

แต่อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะคำไหนก็ตาม เป้าหมายจริง ๆ คือ การลดภาษีที่ต้องจ่าย จึงทำให้เกิดเทคนิคต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย โดยเฉพาะการวางแผน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทีกระทบต่อผู้เสียภาษีจำนวนมาก ซึ่งแต่ละคนก็อยากได้เทคนิคและวิธีการแตกต่างกันไป

ผมเคยได้ยินคำแนะนำเทคนิคหลายอย่าง โดยเริ่มจากคำชักชวนที่ว่า ถ้าอยากเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาน้อย ๆ ลองใช้เทคนิคต่าง ๆ แบบนี้สิ เป็นคำพูดที่ง่าย ไว และรวดเร็ว แต่ว่าในบางทีแล้วมันมีปัญหาบางอย่างซ่อนอยู่ในนั้น ซึ่งบทความนี้จะพาทุกคนไปเห็นอีกด้านหนึ่งของการจัดการภาษีด้วยวิธีต่าง ๆ เหล่านี้ครับ

หลักการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและวิธีการในการวางแผนภาษี

ถ้าใครเข้าใจเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะเห็นว่าวิธีการลดภาษีนั้นไม่ได้ซับซ้อนอะไร ขอเพียงทำให้ตัว “เงินได้สุทธิ” (ที่ต้องนำมาคูณกับอัตราภาษี) น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื่องจากจะทำให้เราเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาน้อยลงตามไปด้วย

ตัวอย่าง การ หลีก เลี่ยงภาษี

แต่อย่างที่ว่าก็คือ แล้วเทคนิคต่าง ๆ ที่เราเลือกใช้และมองว่าดี สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ อาจจะทำให้เรามีปัญหามากขึ้นบ้างหรือเปล่า เพราะถ้าหากเราใช้อย่างไม่ถูกทาง สุดท้ายแล้วอาจจะสร้างความลำบากให้กับเราได้เหมือนกัน

อย่างไรก็ตาม ขออนุญาตย้ำอีกทีว่า วิธีการเหล่านี้ไม่ใช่ว่าเป็นวิธีที่ไม่ได้ผล แต่ต้องการอธิบายเพื่อลดความสับสนในการเชื่อว่า วิธีเหล่านี้จะใช้ได้ในทุกสถานการณ์ เพราะมันมีข้อจำกัดบางอย่างรวมถึงความเข้าใจผิดซ่อนอยู่ครับ

เอาล่ะครับ… เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า

ตัวอย่าง การ หลีก เลี่ยงภาษี

Advertisements

ถ้าแยกการคำนวณเงินได้สุทธิออกมา จะเห็นว่ามีองค์ประกอบคือ รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน ซึ่งแน่นอนว่าการทำให้เงินได้สุทธิยิ่งน้อยจะเป็นเรื่องดี เพราะจะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาน้อยลงจากจำนวนเงินและอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ลดลงไปด้วย

ตัวอย่าง การ หลีก เลี่ยงภาษี

จากความสัมพันธ์ที่ว่ามา ทางเลือกที่เราเลือกเพื่อให้เงินได้สุทธิลดลงนั้น มันมีอยู่ 3 ทาง คือ ลดรายได้ เพิ่มค่าใช้จ่าย เพิ่มค่าลดหย่อน โดยผมขอเริ่มต้นจากการจัดการรายได้ก่อน ซึ่งคำแนะนำมักจะมีอยู่ 3 แนวทางดังนี้

แยกหน่วยภาษี หรือ มีคนมารับรายได้แทน

การ แยกหน่วยภาษี หาคนมารับรายได้แทน เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพราะลดต้นตอของการคำนวณภาษีได้ตั้งแต่แรก เมื่อรายได้เราลดลง เราก็ไม่ต้องวางแผนค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน แต่ปัญหาคือ …

  • การโอนรายได้ให้คนอื่นมามีรายได้แทนเราโดยที่ไม่ได้มีรายได้จริง ถือเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ถ้าโดนตรวจสอบขึ้นมา ก็ถือว่ามีความผิด ตั้งแต่เสียภาษีไม่ถูกต้อง ต้องจ่ายเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม (ดอกเบี้ย) ต่าง ๆ และเป็นไปได้ว่าอาจจะโดนความผิดอาญาตามมาด้วย (กรณีผู้ที่ถูกใช้ชื่อไม่ยินยอม)
  • ก่อนหน้านี้จะมีวิธีการจัดตั้ง ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล ที่นิยมกัน แต่ในปัจจุบัน การแยกจัดตั้งแบบนี้ จะเสียภาษี 2 รอบ โดยรอบแรกเสียภาษีในส่วนของรายได้ที่ได้รับ และเมื่อมีการจ่ายกำไรให้กับหุ้นส่วนก็จะต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้อีกทีหนึ่ง (กฎหมายแก้ไขเมื่อปี 2557)

เปลี่ยนรายได้ให้เป็นรายได้ยกเว้นภาษี หรือ ใช้สิทธิ์ Final TAX

แนวคิดอีกอันที่นิยมก็คือ การทำให้รายได้ไม่ต้องเสียภาษีตั้งแต่แรก แต่คำถามกลับก็คือ แล้วเราจะเปลี่ยนรายได้ได้ยังไง ในเมื่อทุกวันนี้รายได้ที่มีจากการทำงาน มันต้องเสียภาษีตามปกติ จะให้เปลี่ยนอาชีพไปทำรายได้ยกเว้นภาษีมันก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด

เพราะรายได้ที่ยกเว้นภาษี มีแต่รายได้จากการลงทุนต่างๆ กำไรจากการขายหุ้น กำไรจากการขายกองทุน ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาทต่อปี ดอกเบี้ยสหกรณ์ สลากออมสิน ถูกสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือไม่งั้นก็ต้องไปทำอาชีพที่ยกเว้นภาษีอย่าง ชาวนาที่มีรายได้จากการขายข้าวที่ปลูกเอง

หรือในเรื่องของการได้รับรายได้ที่เลือกสิทธิ์ Final TAX ได้อย่าง ดอกเบี้ย (15%) เงินปันผล (10%) ก็ดูเหมือนว่าเราต้องเป็นนักลงทุนที่มีเงินก้อนใหญ่เสียก่อน ถึงจะเลือกวิธีแบบนี้แล้วคุ้มค่า หรือ ใช้สิทธิ์จากที่เรามีตามปกติ ไม่ได้สามารถเปลี่ยนชีวิตไปเป็นนักลงทุนได้ทันที

ตัวอย่าง การ หลีก เลี่ยงภาษี

ดังนั้น ถ้าหากมองจริง ๆ มันก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดและทำได้จริงในทันที ต้องดูเป็นแต่ละกรณีประกอบกันไปตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคลด้วยครับ

เลื่อนการรับรู้รายได้ (ข้ามปี)

เลื่อนรับรู้รายได้ไปคนละปี ก็ลดภาษีได้ เพราะคำนวณภาษีใช้เกณฑ์เงินสด และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคิดเป็นรายปีปฎิทิน (มกราคม – ธันวาคม) เพียงแค่ขอให้เงินรายได้ที่เกิดขึ้นในปีนี้ ไปจ่ายในปีหน้าแทน ก็จะช่วยลดรายได้ในปีนี้ได้ และภาษีที่คำนวณได้ก็น้อยลงตามไปด้วย

แต่คำถาม คือ ปีหน้ารายได้เราจะลดลงหรือเปล่า และคนที่จ่ายให้ เขาสามารถทำได้หรือเปล่า เพราะเขาอาจจะจำเป็นต้องใช้เป็นค่าใช้จ่ายในปีนี้ (กรณีของนิติบุคคล) และที่สำคัญที่สุด คือ ถ้าคนจ่ายเจ็งขึ้นมาหรือหนีหายไป เราจะไม่ได้จบแค่ประหยัดภาษี แต่จะไม่มีรายได้ตามไปด้วย

ในมุมของรายได้ที่ใช้ในการประหยัดและวางแผนภาษีก็มีประมาณนี้ ทีนี้เราจะมาต่อกันในส่วนของ ค่าใช้จ่ายกับค่าลดหย่อนกันบ้างครับ

ย้ายประเภทเงินได้ให้หักค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น

การหัก ค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะมีทั้งการหักค่าใช้จ่ายทั้งเหมาและตามจริง ขึ้นอยู่กับประเภทของเงินได้ที่ต้องนำมาคำนวณภาษี โดยคำแนะนำในส่วนนี้ก็คือ ถ้าเราสามารถเปลี่ยนเงินได้ให้เป็นประเภทที่ 5-8 ได้ น่าจะทำให้เราหักค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น เพราะมีทั้งวิธีการหักค่าใช้จ่ายทั้งเหมาและจริงให้เลือกหักตามความเหมาะสม

ตัวอย่าง การ หลีก เลี่ยงภาษี

แต่สำหรับหลายคนที่เป็นมนุษย์เงินเดือนก็อาจจะติดข้อจำกัดทีว่า ไม่สามารถเปลี่ยนประเภทได้ตามคำแนะนำนี้ เพราะว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะกลายเป็นเจ้าของธุรกิจได้ รวมถึง เงินได้บางกลุ่มเมื่อเปลี่ยนแล้วก็อาจจะลำบากกว่าเก่า เช่น กลุ่มฟรีแลนซ์ที่ไม่ใช่วิชาชีพอิสระ (เงินได้ประเภทที่ 6) หากจะเปลี่ยนก็ต้องไปประเภทที่ 8 ซึ่งต้องหักค่าใช้จ่ายตามจริงเพียงอย่างเดียว

ดังนั้นทางเลือกที่ว่า อาจจะต้องดูความเหมาะสมของสายงานที่ทำ ประกอบกับโครงสร้างในการบริหารจัดการ เพราะบางครั้ง การเลือก จดบริษัท เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไปเลยอาจจะคุ้มค่ากว่าก็ได้ครับ

ลดหย่อนให้เต็มที่ ใช้ให้คุ้มทุกสิทธิ์ประโยชน์

ข้อสุดท้ายนี้เป็นเรื่องของการลดหย่อนภาษีครับ เรามักจะเห็นตัวอย่างการวางแผนภาษีโดยการลดหย่อนเต็มที่ เช่น การซื้อประกัน กองทุนต่าง ๆ หรือใช้ช่องทางตามที่รัฐมีนโยบายให้ในแต่ละปี ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ดีและถูกต้องตามหลักการวางแผนภาษีครับ

แต่อย่าลืมว่ารายการลดหย่อนภาษีต่าง ๆ นั้น มีความสัมพันธ์กับกระแสเงินสดที่เรามี ถ้าใครอยากลดหย่อนให้เต็มที่ก็ต้องมาดูที่เงินในกระเป๋าประกอบกันไปด้วย และถ้าหากลดหย่อนไปแล้ว ทำไม่ได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น เวนคืนประกันก่อน ขายกองทุนก่อน เรายังต้องคืนภาษี และอาจจะต้องเสียเงินเพิ่ม (ดอกเบี้ย) แบบไม่คุ้มค่าอีกด้วยครับ

ผมสรุปเรื่องราวทั้งหมดเป็นคลิปไว้ที่ด้านล่างนี้ หากใครสนใจดูในรูปแบบวีดีโอ สามารถคลิกดูที่ช่องยูทูป TAXBugnoms รวมถึงคลิปเกี่ยวกับภาษีเรื่องอื่น ๆ ได้ที่ช่องนี้เช่นกันครับ

สรุป

มาถึงตรงนี้แล้ว สิ่งที่ผมอยากสรุปสั้น ๆ เกี่ยวกับเรื่องหนีภาษีอย่างถูกกฎหมาย หรือ การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างถูกต้อง นั้น เราควรต้องเข้าใจ 3 เรื่องหลัก ๆ นี้ครับ นั่นคือ

  1. คำนวณภาษีให้เป็น รู้ว่าตัวเองเสียเท่าไร ถ้าเรารู้ตัวเลขที่เสียภาษี เราจะวางแผนและเข้าใจได้ว่า เราควรจะจัดการอย่างไร แบบไหนดี มากกว่าวางแผนไปก่อนโดยที่ไม่รู้ว่าเราจะประหยัดภาษีได้เท่าไร แบบไหนบ้าง ?
  2. มีเงินกระแสเงินสดพอลดหย่อนไหม การจัดการภาษีที่ดี ควรมีทั้งความสบายใจในด้านการเงิน ประกอบกับจำนวนเงินที่ประหยัดภาษีได้ ซึ่งแต่ละคนอาจจะรับได้แตกต่างกัน แต่ถ้าหากต้องการลดหย่อนภาษีแล้ว ขอให้เรามั่นใจว่าจำนวนเงินที่เราเลือกนั้นมันเหมาะสมกับเราจริง ๆ ครับ
  3. หาทางประหยัดและวางแผนตามที่เหมาะสม จากเทคนิคทั้งหมดที่ว่ามา ถ้าหากเราเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสไตล์ของเราและแนวทางของกฎหมาย โดยที่ไม่ได้เอาเรื่องของการลดภาษีสูงสุดมาเป็นที่ตั้ง จะทำให้เราสามารถเลือกใช้มันได้อย่างถูกต้องตามหลักของกฎหมาย และสบายต่อเงินในกระเป๋าของเราอย่างแน่นอนครับ

สุดท้าย คำถามที่มีต่อการวางแผนภาษีของเราทุกคน อาจจะเป็นคำถามง่าย ๆ สั้น ๆ อย่าง …

เรากำลังใช้วิธีวางแผนภาษีแบบไหนอยู่
และมันถูกต้องตามกฎหมายหรือเปล่า

TAXBugnoms

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

TaxBugnoms

คือ นามปากกาของพรี่หนอม (ถนอม เกตุเอม) ผู้มีความเชื่อว่าภาษีเป็นเรื่องยาก แต่กลับชื่นชอบในการทำให้ภาษีกลายเป็นเรื่องเรียบง่าย และกลายเป็นส่วนหนึ่งของความเข้าใจในการใช้ชีวิต

เลี่ยงภาษีคืออะไร

การเลี่ยงภาษีอากร หรือ Tax Avoidance เมื่อพิจารณาความหมายในเชิงเปรียบเทียบกับ การหนีภาษีแล้ว หมายถึง การกระท าที่มีเจตนาในการเสียภาษีให้น้อยลงนอกเหนือไปจากการหนี ภาษี ซึ่งการเลี่ยงภาษีนี้โดยทั่วไปถือว่าเป็นที่ยอมรับได้ในทางกฎหมาย (วิลาวัลย์ สมพรานนท์, ๒๕๔๖, น. ๗) เช่น การใช้ช่องโหว่ของกฎหมาย หรือท านิติกรรมหรือสัญญา ...

เลี่ยงภาษี มีอะไรบ้าง

5 วิธี “หนีภาษี” แบบถูกกฎหมาย.
1. กระจายหน่วยภาษี และกระจายเงินได้ ช่วย “หนีภาษี” ได้ ... .
2. การลดเงินได้สุทธิ ... .
3. การแปลงประเภทเงินได้ เพื่อหักค่าใช้จ่าย ... .
4. การกำหนดเวลาการรับเงินได้ ... .
5. “หนีภาษี” ด้วยการเลือกรวมหรือไม่รวมเสียภาษีปลายปี.

ข้อใดหมายถึงการหลบหนีภาษี

1. การหนีภาษี (Tax Evasion) หมายถึง การฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายด้วยการดำเนินการอย่างบิดเบือนของผู้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี หรือสรุปง่าย ๆ ก็คือการไม่จ่ายภาษี (ชักดาบ) เพราะกฎหมายกำหนดให้ต้องเสียภาษีแต่คุณเลือกที่จะไม่เสีย ดังนั้น การหนีภาษี ก็คือ รู้แน่ๆ ว่ามีคุณมีรายได้แต่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ซึ่งการหนีภาษีนี้ ไม่ ...

อะไรคือปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษีอากร

ปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษีนั้นเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งในแง่รายได้ของภาครัฐ โครงสร้างความเป็นธรรมของระบบเศรษฐกิจ และเป็นปัญหาระดับโลกที่หน่วยงานภาครัฐต้องแก้ไขจัดการ ซึ่งการออกแบบนโยบายภาษีเพื่อการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เสียภาษีปฏิบัติตามได้ถูกต้องตามภาระที่แท้จริงนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ดังนั้น ความเข้าใจในปัจจัยและ ...