การ บำรุง รักษา ตามสภาพ คือ

การบำรุงรักษา คือ การรักษาสภาพเครื่องมือและอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานได้อยู่เสมอ เพื่อให้กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถดำเนินงานไปได้อย่างราบรื่น โดยปราศจากปัญหาและอุปสรรค

การ บำรุง รักษา ตามสภาพ คือ

การบำรุงรักษา

นำวิวัฒน์ ตระหนักและให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตามหลักมาตรฐาน เพื่อสนับสนุนงานการทำให้ปราศจากเชื้อให้สามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมงานบริการด้านการบำรุงรักษา เพื่อความปลอดภัย ช่วยยืดอายุการใช้งานและคงสภาพผลิตภัณฑ์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

ผลิตภัณฑ์บริการด้านการบำรุงรักษา ที่บริษัทฯ ได้จัดทำขึ้นเพิ่มเติม เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้งาน มีดังนี้

   – การซ่อมบำรุงเมื่ออุปกรณ์หรือเครื่องมือเกิดการชำรุดเสียหาย (ฺBreakdown maintenance)
  
– การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive maintenance) คือ บริการเพิ่มเติมที่จัดทำขึ้น โดยมีกำหนดระยะเวลาในการเข้าบำรุงรักษาที่แน่นอนตามแผน ก่อนที่อุปกรณ์นั้น ๆ จะเกิดการชำรุดเสียหาย เพื่อช่วยลดผลกระทบด้านการศูนย์เสียเวลาและการหยุดชะงักของงาน

   – การบำรุงรักษาเชิงปรับปรุงแก้ไข (Corrective maintenance) คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพของอุปกรณ์ให้มีคุณสมบัติและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น เพื่อลดค่าใช้จ่ายและความเสียหายอันอาจเกิดจากการเสื่อมสภาพหรือความล้าสมัยของผลิตภัณฑ์

          ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่นั้น มีการวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว แต่การวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างเหมาะสมนั้นจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของเครื่องจักร และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอีกด้วย สำหรับในบทความตอนนี้ ผมคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญทีเดียว ในการเป็นพื้นฐานไปสู่การทำ maintenance strategy, asset life cycle และ asset management ที่เกี่ยวข้องกับความน่าเชื่อถือของเครื่องจักร ซึ่งหากเราเข้าใจความหมายของการบำรุงรักษาเครื่องจักรไม่ชัดเจน จะทำให้การจัดการ และการสื่อสารภายในองกรมีความคลาดเคลื่อน สับสนไปด้วย โดยตามหลักการบำรุงรักษา เราจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

  1. Breakdown maintenance

  2. Preventive maintenance

  3. Predictive maintenance 

  4. Proactive maintenance  

ซึ่งการบำรุงรักษาแต่ละแบบมีนิยาม ข้อดี และข้อเสีย ตามด้านล่างนี้ครับ

1. Breakdown maintenance

          คือ การซ่อมบำรุงเมื่อเครื่องจักร หรือ อุปกรณ์เสียหาย ใช้งานอีกไม่ได้แล้ว หรือ ใช้งานจนพัง “run to failure” ในที่นี้คือการใช้งานเครื่องจักรโดยที่เราไม่ได้เข้าไปดูแล โดยปกติเหมาะกับเครื่องจักรขนาดเล็ก ที่เมื่อเสียหายแล้วไม่มีผลกับกระบวนการผลิต และค่าซ่อมไม่แพง หรือซื้อตัวใหม่มาใช้คุ้มกว่าซ่อม

ข้อดี

  • ไม่มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักร

  • เครื่องจักรไม่พบกับปัญหาบำรุงรักษามากเกินไป

ข้อเสีย

  • เกิดเครื่องจักรเสียหายโดยไม่รู้ล่วงหน้า

  • เสียหายอย่างรุนแรง และการเสียหายอาจมีผลกระทบต่อเนื่องไปยังส่วนอื่น

  • ค่าซ่อมแพง

  • ไม่สามารถควบคุม และวางแผนการซ่อมได้

2. Preventive maintenance

          การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ในนิยามปัจจุบันมักจะให้ Preventive maintenance(PM) คือ time based maintenance เพราะเป้าหมายของ PM คือการเปลี่ยนอะไหล่ โดยใช้อายุการใช้งานเป็นเกณฑ์วัด โดยไม่ได้พิจารณาถึงสภาพที่แท้จริงของเครื่องจักร

ข้อดี

  • วางแผนซ่อมบำรุงง่าย

  • เครื่องจักรที่เสียหายแบบไม่คาดคิดควรจะลดลง

  • ดังนั้นความเสียหายต่อเนื่อง และเสียหายอย่างรุนแรง ก็ลดลงด้วย

  • สามารถควบคุมอะไหล่ และค่าใช้จ่ายได้ง่าย

ข้อเสีย

  • เครื่องจักรต้องหยุดเปลี่ยนชื้นส่วน ทั้งๆ ที่ไม่มีอะไรเสียหาย

  • บางครั้งการซ่อมยังทำให้เครื่องจักรมีปัญหามากกว่าเดิม

  • ยังคงเกิดปัญหาเครื่องจักรเสียหายแบบไม่คาดคิดอยู่

  • แผนงานในการซ่อมเป็นแบบเดียวกันสำหรับเครื่องจักรประเภทเดียวกัน โดยไม่ได้คำนึงถึงตัวแปรอื่น ๆ ประกอบ เช่น สภาพแวดล้อม และภาระการทำงานของเครื่องจักร

3. Predictive Maintenance

          การบำรุงรักษาจากสภาพเครื่องจักร หรือ condition base maintenance โดยวิธีการนี้เป็นการบำรุงรักษาโดยใช้สภาพของเครื่องจักรมาเป็นเกณฑ์ในการซ่อมบำรุง เช่น การตรวจระดับน้ำมัน ตรวจสภาพซีลต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้เครื่องมือเฉพาะ เช่น เครื่องวัดการสั่นสะเทือน เครื่องมือวัดเสียง ultrasonic  กล้องถ่ายภาพความร้อน เป็นต้น เพื่อช่วยในการตรวจสอบสถาพของเครื่องจักรให้ได้ใกล้เคียงความจริงที่สุด

ข้อดี

  • ลดการเสียหายแบบไม่คาดคิด

  • ลดการเก็บอะไหล่สำรอง โดยสั่งอะไหล่ เฉพาะเมื่อต้องการ

  • การซ่อมบำรุงเครื่องจักรทำเมื่อจำเป็น 

  • ใช้งานเครื่องจักรเต็มอายุการใช้งาน

  • ลดการเปลี่ยนอะไหล่ที่ไม่จำเป็น

  • เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

  • เพิ่มความปลอดภัย

  • เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า

ข้อเสีย

  • ราคาของอุปกรณ์ ระบบ และผู้เชี่ยวชาญมีราคาสูง

  • ยังไม่สามารถยืดอายุการทำงานของเครื่องจักรได้ 

4.Proactive maintenance

          การซ่อมบำรุงแบบแก้ปัญหาที่สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากลับมาซ้ำซาก “Fix it once, fix it right!” โดยการทำ root cause analysis (RCA) และ failure mode and effect analysis (FMEA)

ข้อดี

  • สามารถยืดอายุของเครื่องจักรให้ยาวนานขึ้น

  • ความน่าเชื่อถือของเครื่องจักรเพิ่มขึ้น

  • ลดความรุนแรงของการเสียหาย

  • ลดค่าใช้จ่ายรวมในการซ่อมบำรุง

ข้อเสีย

  • ใช้เวลาในการตรวจสอบปัญหาของเครื่องจักรมากกว่าวิธีอื่น ๆ

  • ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมวิเคราะห์

Ease of Maintenance คืออะไร

9.การซ่อมบ ารุงรักษา (Ease of maintenance) นักออกแบบควรค านึงถึงเรื่อง ของความสะดวกต่อการบ ารุงรักษาให้เปลี่ยนง่าย ถอดสะดวก โดยเน้นกลุ่มผลิตภัณฑ์จักรกล เครื่องยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความซับซ้อน จากการใช้งานที่ท าให้เกิดความเสื่อมสภาพหรือการใช้ งานในทางที่ผิด

การบํารุงรักษา มีอะไรบ้าง

ประเภทของการบำรุงรักษา Breakdown Maintenance (การบำรุงรักษาโดยการซ่อมแซมส่วนที่เสีย) Planned/Preventive maintenance (การบำรุงรักษาตามแผน) Predictive maintenance (การบำรุงรักษาโดยการคาดคะเน) Proactive maintenance (เป็นแนวคิดใหม่ในวงการบำรุงรักษา โดยการแก้ที่สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา)

หลักการบำรุงรักษาตามระยะคืออะไร

เป็นการบำรุงรักษาตามวาระหรือระยะเวลาการใช้งานที่กำหนด เพื่อรักษาสภาพทำงานของเครื่องจักรให้เหมาะสมก่อนที่จะมีการหยุดชะงัก โดยอาจใช้ประสบการณ์ของฝ่ายบำรุงรักษาหรือ คู่มือการใช้งานของเครื่องจักรนั้น ๆ อย่างไรก็ตามการชำรุดของเครื่องจักรโดยไม่คาดคิดก็สามารถเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้รูปแบบการชำรุดของเครื่องลักษณะนี้มีการกระจายอยู่ ...

การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามระยะเวลาคืออะไร

การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventing Maintenance) ตามเวลา คือแผนการบำรุงรักษาที่ดำเนินการตามช่วงระยะเวลาที่กำหนด เช่น การบำรุงรักษาเชิงป้องกันทุกสิ้นปี รายไตรมาส รายเดือน และรายสัปดาห์ เป็นต้น ซึ่งผู้ประกอบการและผู้จัดการโรงงานควรอ่านคู่มือการบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องจักรต่างๆ จากผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอย่างละเอียด เพื่อ ...