การ ดํา รง ชีวิตของพืช ม. 4 doc

การ ดํา รง ชีวิตของพืช ม. 4 doc

ทุกวันจันทร์-ศุกร์ l 13:40-14:35 l เสาร์-อาทิตย์ l 14:30-15:30

วิทยาศาสตร์ : การดำรงชีวิตของพืช

12 ต.ค. 64 เวลา 13.40 น.

สารอินทรีย์ในพืชได้แก่อะไรบ้าง ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช รวมถึงการประยุกต์ใช้สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายฮอร์โมนพืช  เรียนรู้กลไกการดำรงชีวิตของพืช ไปกับพี่บ๊วย พีรยา สินพาณี

ติดตามชม "ห้องเรียนติวเข้ม ม.ปลาย" วันจันทร์ที่ 12 ต.ค.64 เวลา 13.40 - 14.40 น. ทาง ALTV ช่อง 4 ทีวีเรียนสนุก

รับชมได้ทาง #ALTVช่อง4ทีวีเรียนสนุก #ช่องหมายเลข4


ดาวน์โหลดเอกสาร


พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญต่อคนและสัตว์เป็นอย่างมาก เพราะเป็นแหล่งอาหารและอากาศซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคนและสัตว์และยังช่วยสร้างสมดุลให้แก่ธรรมชาติ

ความหมายและการจำแนกประเภทของพืช


พืช หมายถึง สิ่งมีชีวิตชั้นสูงที่สามารถสังเคราะห์อาหารเองได้ พืชจึงจัดเป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศ เช่น มะม่วง กุหลาบ มอส เห็ด รา แหน ฯลฯ

    พืชสามารถแบ่งออกได้ 2 พวกใหญ่ๆ คือ พืชมีดอกและพืชไม่มีดอก
    1. พืชมีดอก คือ พืชที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีอวัยวะส่วนต่างๆ ครบถ้วน คือ มีดอก ราก ลำต้น ใบ ผล และเมล็ด จัดเป็นพืชชั้นสูง

      ดอก คือ ส่วนที่มีองค์ประกอบของอวัยวะสืบพันธุ์และใช้ขยายพันธุ์ออกไป ได้แก่ พืชส่วนมากที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไป เช่น มะม่วง ลำไย กุหลาบ มะลิ ถั่ว พริก ข้าว กล้วย อ้อย ข้าวโพด มะละกอ มะเขือ ฯลฯ

      • พืชบางชนิดมีดอกขนาดเล็ก เช่น จอก แหน
      • พืชบางชนิดไม่ค่อยออกดอก เช่น ตะไคร้ พลูด่าง

    2. พืชไม่มีดอก คือ พืชที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะไม่มีดอกใช้สำหรับสืบพันธุ์ เป็นพืชที่มีวิวัฒนาการต่ำกว่าพืชมีดอก มีจำนวนชนิดไม่มากเท่าพืชมีดอก เราจึงพบได้น้อยกว่าพืชมีดอก เช่น มอส เห็ด รา เฟิร์น สน ปรง แป๊ะก๊วย หวายทะนอย หญ้าถอดปล้อง (หญ้าหางม้า) ฯลฯ


ส่วนประกอบที่สำคัญของพืชมีดอก คือ ราก ลำต้น ตา ใบ ดอก ผล และเมล็ด โดยโครงสร้างแต่ละส่วนมีความสำคัญอย่างไร เรามาศึกษาในรายละเอียดกันต่อไป

ลักษณะของราก

  1. เจริญเติบโตตามแรงดึงดูดของโลก

  2. ไม่มีข้อ ปล้อง

  3. ส่วนมากจะมีสีขาว และสีน้ำตาลอ่อน

  4. ส่วนโคนใหญ่ ส่วนปลายเล็ก


ส่วนประกอบของราก

  1. หมวกราก เป็นส่วนที่อยู่ปลายสุดของราก คือ ส่วนที่มีการเจริญเติบโต และยึดตัวดันให้ปลายรากหยั่งลึกลงไปในดิน และป้องกันอันตราย

  2. รากขนอ่อน อยู่บริเวณผิวของราก ทำหน้าที่ดูดอาหาร ได้แก่ น้ำ และสารอาหารของพืชที่เราเรียกว่า ปุ๋ย ซึ่งสารที่รากดูดจะต้องละลายในน้ำก่อนที่จะส่งขึ้นสู่ลำต้น


จำแนกประเภทของราก

    จำแนกตามตำแหน่งการเกิด ได้ดังนี้
    1. รากสามัญ คือ รากที่งอกมาจากเมล็ด ประกอบด้วย รากแก้ว รากแขนง รากกิ่ง

    2. รากวิสามัญ คือ รากที่ไม่ได้งอกมาจากเมล็ด แต่งอกมาจากส่วนอื่นๆ ของพืช เช่น ข้อ ใบ โคนต้น

    จำแนกรากตามลักษณะรูปร่าง ได้ดังนี้

    1. รากแก้ว เป็นรากที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะตอนโคนโต แล้วค่อยเรียวเล็กลงไปจนถึงตอนปลาย

      พืชใบเลี้ยงคู่ จะมีรากแก้ว เป็นรากที่งอกออกจากเมล็ด มีลักษณะใหญ่กว่ารากอื่นๆ รากที่แตกออกจากรากแก้ว เรียกว่า รากแขนง และรากฝอย ตามลำดับ เช่น ต้น มะม่วง มะขาม
      ชมพู่ เงาะ ฯลฯ

    2. รากแขนง เป็นรากที่เจริญโตแตกออกมาจากรากแก้ว และแตกแขนงออกเป็นทอดๆ
    3. รากฝอย เป็นรากเส้นเล็กๆ ที่มีขนาดเท่าๆ กัน งอกเป็นกระจุก

      พืชใบเลี้ยงเดี่ยว จะมีเฉพาะรากฝอย เช่น พืชจำพวก หญ้า ไผ่ ข้าว ข้าวโพด มะพร้าว ฯลฯ

การ ดํา รง ชีวิตของพืช ม. 4 doc

หน้าที่ของราก

  1. ทำหน้าที่ยึดลำต้นให้แข็งแรง ติดอยู่กับดินไม่ให้โค่นล้มได้ง่าย

  2. ทำหน้าที่ดูดน้ำและแร่ธาตุอาหารในดิน เพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของพืชด้วยวิธีออสโมซิส


การทำหน้าที่พิเศษของราก

  1. รากอากาศ เป็นรากที่เจริญออกจากลำต้นแล้วไม่ได้เจริญพุ่งลงสู่ดินแต่จะเกาะติดกับสิ่งอื่นหรือห้อยอยู่ในอากาศ ช่วยดูดความชื้นจากอากาศ เข้าสู่ลำต้น เช่น ไทร กล้วยไม้ ฯลฯ

  2. รากค้ำจุน เป็นรากที่เจริญออกมาจากลำต้น คล้ายรากอากาศ แต่จะหยั่งลึกลงสู่พื้นดินหรือพื้นน้ำ ช่วยค้ำจุนลำต้น เช่น โกงกาง ฯลฯ

  3. รากเกาะ เป็นรากที่แตกออกจากข้อของลำต้น เกาะไปตามหลัก เช่น พริกไทย พลู พลูด่าง ฯลฯ

  4. รากสะสมอาหาร เป็นรากที่มีลักษณะอวบ สะสมอาหาร และอุ้มน้ำ เช่น หัวผักกาด แครอท กระชาย ฯลฯ


ลำต้น คือ ส่วนของพืชที่เจริญเติบโตขึ้นสู่อากาศ และทำหน้าที่หลักเป็นโครงสร้างค้ำจุนและลำเลียงน้ำและธาตุอาหารโดยผ่านท่อลำเลียงน้ำไปยังส่วนต่างๆ

ภายในลำต้นพืชมีโครงสร้างที่ใช้ในการลำเลียงน้ำและธาตุอาหาร เรียกว่า ท่อลำเลียงน้ำ (Xylem) ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ที่เรียงต่อกันเป็นท่อยาวตั้งแต่รากไปยังลำต้น กิ่ง และใบ เพื่อลำเลียงน้ำ
และธาตุอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของพืช และลำเลียงน้ำไปสู่ใบเพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสง อาหารที่พืชสร้างได้จะถูกลำเลียงจากใบไปยังส่วนต่างๆ ของพืชโดยผ่านท่อลำเลียงอาหาร (Phloem) ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ที่เรียงตัวกันเป็นท่อยาวแทรกอยู่คู่กับท่อลำเลียงน้ำ

ลักษณะของลำต้น

  1. ลำต้นเจริญเติบโตสู่อากาศ ต้านแรงดึงดูดโลก

  2. ลำต้นมีข้อ ปล้อง ตา

  3. ลำต้นมีคลอโรฟิลล์


ส่วนประกอบของลำต้น

  1. ปลายยอด เป็นบริเวณที่มีการเจริญเติบโต เป็นส่วนที่ทำให้ลำต้นขยายขนาด ทั้งความยาวและความกว้าง

  2. ตา เป็นโครงสร้างเล็กๆ ที่ยอด หรือที่ซอกใบจะเจริญเป็นกิ่งหรือดอกไม้

  3. กิ่ง เป็นส่วนที่เจริญแตกออกมาจากลำต้น

  4. ข้อ เป็นบริเวณลำต้นที่มีใบเห็นรอยต่อเป็นระยะๆ

  5. ปล้อง เป็นบริเวณลำต้นที่อยู่ระหว่างข้อ 2 ข้อ

รูปร่างของลำต้น

ลำต้นอาจจะเปลี่ยนแปลงรูปร่างและหน้าที่ไป ทำให้มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ดังนี้

  1. ลำต้นยึดเกาะ เป็นลำต้นที่อยู่บนดินและมีลักษณะพิเศษคือเป็นเหมือนมือเกาะยึด เป็นลำต้นที่เปลี่ยนไปทำหน้าที่ยึดเกาะกับหลักที่อยู่ใกล้เคียง เช่น บวบ ฟักทอง ตำลึง ฯลฯ

  2. ลำต้นไหล เป็นลำต้นที่ทอดไปตามพื้น ส่วนของปล้องยาวทอดออกไป ที่บริเวณข้อจะเกิดเป็นราก, ใบ เช่น บัว

  3. ลำต้นคล้ายใบ ลำต้นจะมีสีเขียวลักษณะคล้ายใบ และทำหน้าที่สร้างอาหาร เช่น สลัดได

  4. ลำต้นที่อยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่สะสมอาหารมีลักษณะอวบอ้วน เช่น มันฝรั่ง แห้ว เผือก และลำต้นใต้ดินบางชนิดอัดซ้อนกันแน่น เช่น หอม กระเทียม

  5. ลำต้นเป็นเหง้า เป็นลำต้นสะสมอาหารที่มีปล้องและข้อสั้นๆ เจริญขนานกับพื้น ที่ข้อมีใบเล็กๆ คล้ายเกล็ดหุ้ม เช่น ข่า ขิง

ตา คือ ส่วนเล็กๆ ที่ยอดหรือซอกใบ และสามารถเจริญเป็นกิ่งหรือดอกได้

ตาข้าง

ส่วนประกอบของตา

  1. ตายอด คือ จะอยู่ส่วนปลายสุดของลำต้น

  2. ตาข้าง คือ จะอยู่ด้านข้างของลำต้นหรือที่ง่ามใบ


ชนิดของตา

เราสามารถจำแนกชนิดของตาออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  1. ตาใบ คือ ส่วนของตาที่เจริญไปเป็นใบ

  2. ตาดอก คือ ส่วนของตาที่เจริญไปเป็นดอก

  3. ตารวม คือ ส่วนของตาที่เจริญไปเป็นทั้งใบและดอก


ใบ เป็นส่วนประกอบของพืชที่มีสีเขียว ทำหน้าที่สร้างอาหาร อาหารที่สร้างขึ้นคือ น้ำตาล แล้วเปลี่ยนเป็นแป้ง การสร้างอาหารของพืชต้องใช้น้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แสง 

และคลอโรงฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียวในใบพืช กระบวนการนี้เรียกว่า การสังเคราะห์แสง ผลที่ได้จากการสังเคราะห์แสงนั้น นอกจากจะได้น้ำตาลแล้วยังได้ก๊าซออกซิเจน และน้ำออกมาด้วย

ใบนอกจากจะทำหน้าที่สร้างอาหารเป็นหน้าที่หลักแล้ว ยังทำหน้าที่คายน้ำ หายใจ และสะสมอาหารอีกด้วย

ส่วนประกอบของใบ

    ใบมีส่วนประกอบ ดังนี้
      ก้านใบ เป็นส่วนที่ต่อจากลำต้นไปเส้นใบแผ่นใบ ลักษณะใบมีสีเขียว มีรูปร่างต่างๆ กันเส้นใบ เป็นเส้นภายในใบ ทำหน้าที่ลำเลียงสาร


ชนิดของใบ

    จำแนกตามหน้าที่ ได้เป็น 3 ชนิด คือ
    1. ใบเลี้ยง

    2. ใบแท้

    3. ใบดอก

    จำแนกตามจำนวนใบที่แยกออกจากก้านใบ ได้เป็น 2 ชนิด คือ
    1. ใบเดี่ยว คือ ใบที่แตกออกจากก้านใบ หรือกิ่งออกมาเป็นใบโดดๆ เพียงใบเดียว

    2. ใบประกอบ ใบซึ่งประกอบด้วยใบย่อยๆ หลายๆ ใบติดอยู่กับก้านใบ 1 ก้านเช่น
      • ใบย่อยแตกออกจากกิ่งตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ เช่น ใบมะยม

      • ใบย่อยออกจากกิ่งตำแหน่งเดียวกันเป็นวงกลม เช่น ลั่นทม

    จำแนกตามลักษณะใบเลี้ยงของพืช
    1. พืชใบเลี้ยงคู่ มีเส้นใบเรียบขนานกัน เช่น ไผ่ หญ้า มะพร้าว

    2. พืชใบเลี้ยงเดี่ยว จะมีเส้นใบตรงกลาง และมีแขนงแตกออกมาเป็นร่างแห

หน้าที่ของใบ

  1. สังเคราะห์แสง (photosynthesis)

  2. หายใจ (respiration) พืชมีการหายใจตามปกติ โดยพืชจะหายใจโดยเอาก๊าซออกซิเจนเข้าไป และคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ดังนั้น ในเวลากลางคืนที่พืชไม่ได้สังเคราะห์แสง เราจึงไม่ควรอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ เพราะจะแย่งก๊าซออกซิเจนกับเรา

  3. คายน้ำ (transpiration) การคายน้ำของพืชเกิดขึ้นที่ปากใบ (stomata) ซึ่งเป็นรูเล็กๆ กระจายอยู่ที่ใบ พืชบกส่วนมากจะพบปากใบบริเวณท้องใบ (ผิวใบด้านล่าง) มากกว่าหลังใบ (ผิวใบด้านบน) เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่ถ้ามองผ่านกล้องจุลทรรศน์ จะเห็นปากใบมีลักษณะดังภาพด้านล่าง


    การคายน้ำมีประโยชน์ต่อต้นพืช เพราะทำให้ต้นพืชมีการลำเลียงน้ำและธาตุอาหารเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังช่วยลดความร้อนให้พืชด้วย

เส้นใบ
    ลักษณะของเส้นใบมีอยู่ 2 แบบ คือ
    1. เส้นใบที่เรียงขนานกัน
      • เส้นใบที่เรียงขนานกันจากฐานใบถึงปลายใบ เช่น หญ้า ข้าวโพด อ้อย ต้นไผ่
    2. เส้นใบที่ขนานจากเส้นกลางใบถึงขอบใบ เช่น ขิง กล้วย พุทธรักษา

  • เส้นใบที่สานเป็นร่างแห มีความแตกต่างกัน 2 แบบ คือ
    • มีเส้นใบแยกจากจุดเดียวกันที่โคนไปถึงปลายใบ เช่น ตำลึง มะละกอ

    • มีเส้นใบแยกออกจากเส้นกลางใบ เช่น ชบา ฯลฯ

      • ดอก คือ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ ลักษณะดอกของพืชแต่ละชนิดแตกต่างกันทั้งรูปร่าง ขนาด สี และกลิ่น
        ชนิดของดอก
        1. ดอกเดี่ยว คือ ดอกที่ขึ้นมาจากก้านชูดอกเพียงก้านเดียว เช่น กุหลาบ บัว ชบา ทิวลิป ฯลฯ

        2. ดอกช่อ คือ ดอกหลายๆ ดอกที่ออกมาจากกิ่งเดียวกัน ถ้ารวมเป็นกระจุกแน่นมักเรียกว่า ดอกรวม เช่น ดอกเฟื่องฟ้า ดอกเข็ม ฯลฯ

        หน้าที่ของดอก

        หน้าที่สำคัญของดอก คือ สืบพันธุ์โดยมีเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย เป็นตัวการในการผสมพันธุ์

        1. เกสรตัวผู้ ประกอบด้วย ก้านชูอับละอองเรณู อับละอองเรณู ละอองเรณู

        2. เกสรตัวเมีย ประกอบด้วย ยอดเกสรตัวเมีย รังไข่

        ส่วนประกอบของดอก
        1. กลีบเลี้ยง เป็นกลีบที่อยู่นอกสุด มักมีสีเขียว ทำหน้าที่ป้องกันดอกเมื่อดอกยังอ่อนอยู่

        2. กลีบดอก มีสีสันสวยงาม ทำหน้าที่ล่อแมลงให้เข้ามาช่วยในการผสมพันธุ์ และช่วยห่อหุ้มเกสรในขณะที่ดอกยังไม่บาน

        3. เกสรตัวผู้ มีอับเกสรตัวผู้ ทำหน้าที่ผสมพันธุ์พืชดอก

        4. เกสรตัวเมีย ประกอบด้วย ยอดเกสรตัวเมีย คอเกสรตัวเมีย และรังไข่

        5. ฐานรองดอก เป็นที่รองรับกลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย

        6. ก้านดอก ทำหน้าที่ชูดอกให้เด่น เพื่อสะดวกในการผสมพันธุ์

        ขั้นตอนการผสมพันธุ์ของดอก มีดังนี้
        1. การถ่ายละอองเรณู คือ การที่ละอองเรณูไปตกบนยอดเกสรตัวเมีย

        2. การปฏิสนธิ เกิดขึ้นเมื่อละอองเรณูได้รับอาหารที่ยอดเกสรตัวเมีย แล้วเข้าไปผสมกับไข่ (ออวุล) ในรังไข่ของเกสรตัวเมีย

        3. การเปลี่ยนแปลงหลังการปฏิสนธิ รังไข่จะเจริญเป็นผลและออวุลจะเจริญเป็นเมล็ดต่อไป

        โดยปกติดอกไม้ที่มี กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย ครบ 4 อย่างหลักนี้ จัดเป็น ดอกสมบูรณ์ แต่ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ครบ 4 อย่างนี้ เรียกว่า ดอกไม่สมบูรณ์

        ดอกไม้ส่วนใหญ่จะมีเกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมียอยู่ในดอกเดียวกัน เราเรียกว่า ดอกสมบูรณ์เพศ เช่น ดอกกุหลาบ โหระพา กระเพรา พริก มะเขือ แต่มีดอกไม้บางชนิดที่มีเกสรเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เราเรียกว่า ดอกไม่สมบูรณ์เพศ เช่น บวบ มะระ แตงชนิดต่างๆ ฟักทอง ตำลึง มะพร้าว ดอกที่มีแต่เกสรตัวผู้เรียกว่า ดอกเพศผู้ และดอกที่มีแต่เกสรตัวเมียเรียกว่า ดอกเพศเมีย

        ดอกไม้บางชนิดไม่มีกลีบดอก เช่น ดอกหน้าวัว ดอกคริสมาสต์ บางชนิดมีกลีบดอกเล็ก ไม่เด่นออกมา เช่น ดอกเฟื้องฟ้า ดอกดอนย่า ดอกไม้เหล่านี้จะมีส่วนที่เป็นใบเปลี่ยนแปลงไปเหมือนกลีบดอกทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นกลีบดอกได้ดังรูปตัวอย่าง

        ผล คือ ส่วนของรังไข่ที่เจริญเติบโตภายหลังจากการผสมพันธุ์แล้ว ผนังรังไข่ชั้นนอกสุด จะเจริญเป็นเปลือกของผล แต่ผลบางชนิดไม่ได้เจริญเติบโตมาจากรังไข่ แต่เจริญเติบโตมาจากฐานรองดอก เรียกว่า ผลเทียม เช่น ฝรั่ง
        ส่วนประกอบของผล

        มี 3 ส่วน คือ เปลือก เนื้อ เมล็ด

        ผลบางชนิดมีเปลือก 3 ชั้นด้วยกันคือ

        1. เปลือกชั้นนอกสุด ส่วนมากมักเรียบเหนียวและเป็นมัน

        2. เปลือกชั้นกลาง ในผลไม้บางชนิดจะบางมาก แต่บางชนิดก็มีเนื้อเยื่อที่หนามาก

        3. เปลือกชั้นในสุด ประกอบด้วย เซลล์ชั้นเดียวหรือหลายชั้นจนหนามาก บางครั้งก็เป็นเนื้อนุ่มใช้รับประทานได้

        หน้าที่ของผล

        ผลมีหน้าที่ห่อหุ้มเมล็ด ผลเปลี่ยนมาจากรังไข่หรือฐานรองดอกภายหลังที่ดอกได้รับการปฏิสนธิแล้ว

        เมล็ด คือ ส่วนที่เจริญมาจากออวุล หลังจากปฏิสนธิแล้ว เมล็ดของพืชแต่ละชนิดมีรูปร่างและขนาดต่างกันส่วนประกอบของเมล็ด
        1. เปลือกหุ้มเมล็ด เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดของเมล็ดมีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อ 2 ชั้น เปลือกชั้นนอกจะหนา แข็งและเหนียว ช่วยป้องกันอันตรายจากแมลงและจุลินทรีย์

        2. ใบเลี้ยง เป็นส่วนที่อยู่ติดกับต้นอ่อน ในพืชใบเลี้ยงคู่จะมีใบเลี้ยง 2 ใบ ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีใบเลี้ยง 1 ใบ และเก็บสะสมอาหารไว้สำหรับเลี้ยงต้นอ่อน

        3. ต้นอ่อน เป็นส่วนที่ติดอยู่กับใบเลี้ยง ส่วนนี้จะมีการพัฒนาการเป็นราก และต้นอ่อน

        หน้าที่ของเมล็ด

        เมล็ดมีหน้าที่ในการแพร่พันธุ์พืช โดยอาศัยลม น้ำ คน และสัตว์พาไป หรือโดยการดีดกระเด็นไปเอง

        การงอกของเมล็ด

        เมล็ดพืชหลายชนิดจะงอกได้ทันทีที่อยู่ในสภาพแวดล้อมและความพร้อมของเมล็ดพืชเอื้ออำนวยต่อการงอก เช่น เมล็ดข้าว เมล็ดถั่ว ฯลฯ

        บางชนิดจะมีการพักตัวของเมล็ด ถึงแม้จะตกไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็ตาม ก็จะไม่งอก ต้องเก็บไว้สักระยะหนึ่งแล้วนำไปเพาะ

        จึงจะงอก  เช่น พุทรา ฝรั่ง เมล็ดพืชบางชนิด เช่น ขนุน มะละกอ โกงกาง จะงอกเร็วมาก จนบางครั้งงอกทั้งๆ ที่เมล็ดยังอยู่ในผล และที่ยังไม่หล่นจากต้น

        ปัจจัยในการงอกของเมล็ด

        1. สภาพของเมล็ด เมล็ดต้องอยู่ในสภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ และแก่เต็มที่ ไม่มีแมลงและรารบกวน

        2. น้ำและความชื้น น้ำจะช่วยทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนนุ่มและแตกออกรากและยอดของต้นอ่อนสามารถงอกโผล่ออกมาได้

        3. อุณหภูมิพอเหมาะ เมล็ดพืชจะงอกได้ในสภาพแวดล้อมเหมาะสมไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส

        4. ก๊าซออกซิเจน พืชต้องการก๊าซออกซิเจนเพื่อเผาผลาญสารอาหารให้เปลี่ยนเป็นพลังงาน สำหรับใช้ในการงอกของเมล็ด

        ประโยชน์ของเมล็ดพืช
        1. การดำรงพันธุ์ของพืช

        2. เป็นอาหารของสิ่งมีชีวิต

        3. การอุตสาหกรรม เช่น ข้าวบาร์เลย์ ใช้ในอุตสาหกรรมเบียร์

        4. การเพาะปลูก

        การเจริญเติบโตและวัฏจักรชีวิตของพืช

        พืชเป็นสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกับคนและสัตว์ และเจริญเติบโตได้ในที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบนดิน ในน้ำ ในทะเล ในทะเลทราย หรือบนต้นไม้อื่นๆ แต่ไม่ว่าจะดำรงชีวิตในแหล่งที่อยู่แบบใดก็ตาม พืชเหล่านี้ต้องการสิ่งที่จำเป็นในการเจริญเติบโตเช่นเดียวกัน การเจริญเติบโตของพืชสังเกตได้จากการเพิ่มขนาด ทั้งขนาดตามยาวและตามขวาง เช่น มีลำต้นสูงขึ้น มีกิ่งก้านเพิ่มมากขึ้น มีใบใหญ่ขึ้น มีรากยาวขึ้น และมีการออกดอกเพิ่มมากขึ้น ฯลฯ

        พืชมีดอกเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะออกดอก เมื่อเกิดการปฏิสนธิจะเกิดผล ผลมีเมล็ด เมล็ดสามารถงอกใหม่เป็นต้นพืชได้ เราเรียกว่า วัฏจักรชีวิตของพืชมีดอก

        การปฏิสนธิของพืชดอก

        เมื่อละอองเรณูตกลงสู่ยอดเกสรตัวเมีย ละอองเรณูจะงอกท่อยาวเรียกว่า พอลเลนทิวบ์ (pollen tube) ลงสู่คอเกสรตัวเมีย ทิวบ์นิวเคลียสจะเคลื่อนตัวไปตามท่อในขณะที่เจเนเรทิฟนิวเคลียส จะแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิสได้สเปิร์มนิวเคลียส (sperm nucleus) 2 ตัว สเปิร์มนิวเคลียสตัวที่ 1 เข้าผสมกับนิวเคลียสของไข่ได้เป็น

        ไซโกต (มีโครโมโซม 2n) ซึ่งจะเจริญไปเป็นเอมบริโอต่อไป ส่วนนิวเคลียสตัวที่ 2 จะเข้าผสมกับโพลาร์นิวคลีไอเป็นไพรมารีเอนโดสเปิร์ม (primary endosperm) (มีโครโมโซม 3n) และจะเจริญไปเป็นเอนโดสเปิร์ม หรือเนื้อเยื่อที่สะสมอาหารในเมล็ด การรวมตัวกันของสเปิร์มทั้งสองกับนิวเคลียสของแกมมีโทไซต์เพศเมียในเวลาเดียวกัน เรียกว่า การปฏิสนธิซ้อน (double fertilization) ซึ่งพบเฉพาะในดอกเท่านั้น หลังการปฏิสนธิ ออวุลจะกลายเป็นเมล็ด การสร้างเมล็ดเป็นการปรับตัวที่สำคัญอันหนึ่งของพืชบก เป็นผลให้พืชมีเมล็ด เป็นพืชที่มีมาในโลกปัจจุบัน ในพืชหลายชนิด เอนโนสเปิร์มสลายไปก่อนที่เมล็ดจะโตเต็มที่ ดังนั้นเมล็ดจึงสะสมอาหารไว้ในใบเลี้ยง ซึ่งเป็นส่วนของเอมบริโอปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพืช

        พืชเหมือนสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอยู่ เรามาดูกันว่า พืชต้องการอะไรบ้างในการดำรงชีวิต

        1. พืชต้องการน้ำ เพื่อใช้ในการละลายธาตุอาหารที่อยู่ในดิน และใช้น้ำเป็นตัวลำเลียงอาหารไปยังส่วนต่างๆ ของพืช นอกจากนี้ น้ำยังเป็นปัจจัยสำคัญที่พืชใช้ในการสร้างอาหารด้วย

        2. พืชต้องการแสงแดด เพื่อใช้ในการสร้างอาหารหรือการสังเคราะห์แสง

        3. พืชต้องการอากาศ อากาศที่พืชใช้ในการหายใจคือ ก๊าซออกซิเจน และต้องการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการสร้างอาหาร

        4. พืชต้องการแร่ธาตุในดิน เพื่อใช้เลี้ยงส่วนต่างๆ ของพืช ธาตุอาหารในดินที่พืชต้องการคือ ไนโตรเจน (N)ฟอสฟอรัส (P)และโพแทสเซียม (K)

        ปัจจัยที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์แสงของพืช

        กระบวนการสร้างอาหารของพืชเราเรียกว่า กระบวนการสังเคราะห์แสง ในใบพืชที่มีสีต่างๆ กันนั้น จะมีสารสีเขียวตัวหนึ่งเราเรียกว่า คลอโรฟิลล์ ใบพืชที่มีสีเขียวจะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากที่สุด เรามาดูกันว่า ในกระบวนการสังเคราะห์แสงนี้ สารแต่ละตัวมีความสำคัญอย่างไร?


        • คลอโรฟิลล์ เป็นสารสีเขียวที่พบมากในใบพืช จะเป็นตัวดูดกลืนพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์เข้ามาใช้เป็นแหล่งพลังงานในการเปลี่ยนน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นน้ำตาล
          และก๊าซออกซิเจน
        • ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พืชดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าทางปากใบ เพื่อใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบในการสังเคราะห์แสง
        • น้ำ พืชดูดน้ำผ่านรากและลำเลียงขึ้นสู่ใบ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์แสง

        การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช

        สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าในการดำรงชีวิตเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตให้อยู่ได้ การตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นต่างก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม จึงกล่าวได้ว่า สภาพแวดล้อมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต

        สิ่งเร้าที่มีผลต่อพืช เช่น แสง เสียง อุณหภูมิ การสัมผัส ฯลฯ เรามาดูกันว่า การตอบสนองต่อสิ่งเร้าแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

          การตอบสนองต่อแสง

          ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ดอกทานตะวัน เป็นพืชที่มีลักษณะพิเศษในการตอบสนองต่อแสง โดยที่ลำต้นสามารถที่จะบิดหมุนไปตามแสงอาทิตย์ เราจึงเห็นดอกทานตะวันหันตามดวงอาทิตย์เสมอ นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างอื่นอีกเช่น ดอกพุดตานจะเปลี่ยนสีในเวลากลางวันเมื่อได้รับแสงที่แตกต่างกัน ดอกบัวจะบานในตอนกลางวันและหุบในตอนกลางคืน ดอกคุณนายตื่นสายจะบานเมื่อได้รับแสงแดด หรือพืชที่ปลูกไว้ในที่ร่ม ต้นพืชจะเอนไปด้านที่มีแสงทันที ฯลฯ

          การตอบสนองต่อเสียง

          เสียงเป็นสิ่งเร้าที่อยู่ในรูปของพลังงาน มีการศึกษาพบว่า พืชที่ได้รับการกระตุ้นด้วยคลื่นเสียงที่เหมาะสมจะทำให้พืชเติบโตได้ดี และให้ผลผลิตมาก เช่น ต้นช้อยนางรำ มีการตอบสนองต่อเสียง โดยเมื่อมีเสียงดนตรีหรือเสียงปรบมือ โคนของยอดใบอ่อนของลำต้นจะขยับหรือกระดกเป็นจังหวะ เราจึงเคยเห็นชาวไร่ชาวสวนบางคนใช้วิทยุเปิดเสียงให้กับต้นไม้ฟัง

          การตอบสนองต่ออุณหภูมิ

          ในสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง พืชบางชนิดมีการสร้างเปลือกลำต้นให้หนาเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายนอก เช่น ไม้เต็ง ไม้รัง ฯลฯ

          ขณะที่เมื่อถึงฤดูหนาวอาการเย็น พืชบางชนิด เช่น ต้นเมเปิ้ล ต้นสัก ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ จะมีการผลัดใบสลัดใบทิ้งเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ และจะเริ่มผลิใบอีกครั้งเมื่อถึงฤดูฝน

          การตอบสนองต่อการสัมผัส

          พืชบางชนิดเมื่อถูกสัมผัสจะมีการตอบสนองทันที เช่น ต้นกาบหอยแครง ใช้กาบใบเป็นที่ดักแมลงเป็นอาหาร เมื่อมีแมลงมาเกาะที่ด้านในกาบใบ มันจะหุบกาบใบทันที ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง จะมีถุงหรือกระเปาะที่บรรจุน้ำหวานไว้ล่อแมลง เมื่อมีแมลงมาเกาะหรือตกลงไป จะถูกย่อยเป็นอาหาร ต้นหยาดน้ำค้าง ที่ผิวใบจะมีขนปลายเป็นตุ่ม มีน้ำเมือกใส เมื่อมีแมลงมาเกาะจะติดอยู่ทันที ฯลฯ

          การตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของโลก

          พืชมีการตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของโลก โดยรากของพืชจะเจริญลงดิน


        ที่มาข้อมูล : หนังสือแบบเรียนวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 กระทรวงศึกษาธิการ 2551
        คู่มือครูสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 กระทรวงศึกษาธิการ 2551