การประเมินภายใน ภายนอก ประวัติศาสตร์

การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

สารบัญ Show

  • การประเมินคุณค่าของหลักฐานภายนอกภายในต่างกันอย่างไร
  • การประเมินคุณค่าของหลักฐานหมายถึงอะไร
  • การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานภายนอกคืออะไร
  • การประเมินคุณภาพภายในหมายถึงอะไร

       ขั้นตอนที่สามของวิธีการทางประวัติศาสตร์ คือการประเมินหลักฐาน ขั้นตอนนี้ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะใช้ในการตรวจหลักฐานว่ามีคุณค่าและความน่าเชื่อถือเพียงพอหรือไม่ก่อนที่จะนำมาใช้ศึกษาประวัติศาสตร์การประเมินหลักฐานมี 2 วิธีดังนี้

การประเมินภายนอก

       การประเมินภายนอก เป็นการประเมินที่มุ่งพิสูจน์หลักฐานว่าเป็นของจริงหรือปลอม โดยมีข้อพิจารณาเบื้องต้นดังนี้

การประเมินภายใน

       การประเมินภายใน เป็นการประเมินสิ่งที่ปรากฏบนหลักฐาน อาทิ ตัวอักษร รูปภาพ ร่องจารึก ตำหนิ ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด มีข้อความใดที่น่าสงสัย หรือกล่าวไว้ไม่ถูกต้อง

คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอกการวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายในการวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism) คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐาน เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความเป็นจริงวิธีการประเมินหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มีอยู่ 2 กรณีคือ

1. การประเมินหลักฐานภายนอก - เป็นการประเมินตัวหลักฐานจากภายนอก ว่าใครเป็นผู้บันทึกหลักฐานนั้น มีสถานภาพใดในขณะนั้น บันทึกโดยจุดมุ่งหมายใด มีความเป็นกลางเพียงใด
2. การประเมินหลักฐานภายใน - เป็นการประเมินเนื้อหาของข้อมูลที่ปรากาฏในหลักฐานนั้นๆ ว่าน่าเชื่อถือ และมีอคติหรือไม่ ตรงกับข้อเท็จจริงหรือมีการบิดเบือนข้อมูลหรือไม่

การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

การตรวจสอบและประเมินหลักฐาน

           การประเมินคุณค่าของหลักฐาน คือ การประเมินหลักฐานผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะใช้ในการตรวจหลักฐานว่ามีคุณค่าและความน่าเชื่อถือเพียงพอหรือไม่ก่อนที่จะนำมาใช้ศึกษาประวัติศาสตร์

          วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

1. การประเมินภายนอก

          การพิจารณาจากลักษณะภายนอกของหลักฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้รู้จักตัวหลักฐานนั้นเป็นอย่างดี รวมทั้งรู้ว่าเป็นหลักฐานจริงหรือปลอม สิ่งที่ควรพิจารณาได้แก่

          1. อายุของหลักฐาน การรู้ว่าหลักฐานสร้างหรือเขียนขึ้นเมื่อไร ทำให้เราตีความสำนวนภาษาที่ใช้ได้ถูกต้อง และเข้าใจสิ่งที่หลักฐานกล่าวถึงโดยอาศัยสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ของยุคสมัยนั้นมาประกอบ

          2. ผู้สร้างหรือผู้เขียนหลักฐาน การรู้ว่าใครเป็นผู้สร้างหรือผู้เขียนหลักฐานทำให้เราสืบค้นได้ว่า ผู้นั้นมีภูมิหลังอย่างไร เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับเหตุการณ์หรือไม่ มีอคติต่อสิ่งที่สร้างหรือเขียนหรือไม่

          3. จุดมุ่งหมายของหลักฐาน การรู้จุดมุ่งหมายของหลักฐานช่วยให้ประเมินความน่าเชื่อถือได้ เช่น โคลงที่แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ย่อมหลีกเลี่ยงที่จะไม่กล่าวถึงด้านลบของพระมหากษัตริย์องค์นั้น จากหลักฐานที่ยกตัวอย่างมานั้น เมื่อนำมาใช้จะต้องแยกแยะข้อเท็จจริงออกมาให้ได้

          4. รูปเดิมของหลักฐาน หลักฐานเป็นจำนวนมาไม่ใช่หลักฐานดั้งเดิม แต่ผ่านการคัดลอกต่อๆ กันมาจึงเกิดความคลาดเคลื่อนได้ หลักฐานประเภทพระราชพงศาวดารที่ผ่านการชำระมักมีการตัดทอนหรือเพิ่มเติมเนื้อความ แก้ไขสำนวนโวหาร รวมทั้งแทรกทัศนคติของยุคสมัยที่มีการชำระพระราชพงศาวดารนั้นลงไปด้วย ทำให้ผิดไปจากหลักฐานเดิม

2. การประเมินภายใน

           เป็นการประเมินสิ่งที่ปรากฏบนหลักฐาน อาทิ ตัวอักษร รูปภาพ ร่องจารึก ตำหนิ ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด มีข้อความใดที่น่าสงสัย หรือกล่าวไว้ไม่ถูกต้อง

           ตัวอย่าง ปีที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างพระวิหารวัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลก ในพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ ระบุไว้ตรงกันบ้างไม่ตรงกันบ้าง เช่น

          พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับของบริติช มิวเซียม และ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ว่าสร้างเมื่อศักราช 810 ปีมะโรงสัมฤทธิศก (ตรงกับพ.ศ. 1991)

          พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ ว่าสร้างเมื่อศักราช 826 วอกศก (ตรงกับพ.ศ. 2007)

          จะเห็นว่า หลักฐานชิ้นหลังระบุเวลาห่างจากหลักฐาน 2 ชิ้นแรก 16 ปี

          หลักฐานทั้งหมดที่ยกมาเป็นหลักฐานชั้นรอง ควรหาหลักฐานชั้นต้นมาเทียบ คือ ศิลาจารึกวัดจุฬามณี ปรากฏว่าจารึกระบุว่า พระวิหารวัดจุฬามณีสร้างเมื่อ “ศักราช 826 ปีวอกนักษัตร” ตรงกับพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ

          หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ ต้องเป็นหลักฐานที่ให้ข้อมูลที่เป็นจริง หลักฐานที่ให้ข้อมูลจริงบ้างเท็จบ้าง นำส่วนที่เป็นจริงไปใช้ได้ ส่วนหลักฐานที่เป็นเท็จทั้งหมดไม่นำไปใช้ในการศึกษา

การประเมินคุณค่าของหลักฐานภายนอกภายในต่างกันอย่างไร

การประเมินหลักฐานภายนอก เป็นการที่เราดูว่าหลักฐานนี้จริงหรือปลอม ส่วนการประเมินหลักฐานภายใน เป็นการประเมินสิ่งที่มีอยู่บนหลักฐาน เช่น รูปภาพ ตัวอักษร ว่ามีความน่าเชื่อถือมั้ย ค่า 5. แสดงความคิดเห็น

การประเมินคุณค่าของหลักฐานหมายถึงอะไร

การประเมินคุณค่าของหลักฐาน คือ การประเมินหลักฐานผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะใช้ในการตรวจหลักฐานว่ามีคุณค่าและความน่าเชื่อถือเพียงพอหรือไม่ก่อนที่จะนำมาใช้ศึกษาประวัติศาสตร์

การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานภายนอกคืออะไร

๒. การประเมินคุณค่าหลักฐานจากภายนอกเป็นการมุ่งวิเคราะห์และพิสูจน์หลักฐานว่าเป็นของจริงหรือของปลอมไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด โดยอาศัยวิธีการเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่น อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบหลักฐานว่าจริงหรือปลอมนั้นผู้ศึกษาไม่สามารถตรวจสอบด้วยตนเองได้ทั้งหมดเพราะต้องใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะทางจริงๆจึงต้องอาศัยผลงาน ...

การประเมินคุณภาพภายในหมายถึงอะไร

การประเมินคุณภาพภายใน (Internal Quality Assessment) เป็น ระบบและกลไกในการควบคุม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของ สถานศึกษา ให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดโดยสถานศึกษาและ/หรือหน่วยงาน ต้นสังกัด ต้องดำเนินการให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา อย่างต่อเนื่อง กระบวนการประเมินคุณภาพภายในเป็นการประเมินคุณภาพ การศึกษา ...

การประเมินภายนอกมีประโยชน์อย่างไร ประวัติศาสตร์

1. การประเมินภายนอกหรือการวิพากษ์ภายนอก เป็นการพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้ แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด เป็นการประเมินลักษณะทั่วไปของหลักฐานนั้น เพื่อดูว่าเป็นของจริงหรือ ของปลอม โดยพิจารณา เช่น ใครเป็นผู้ท าหรือเขียน ท าหรือเขียนขึ้นเมื่อใด ท าหรือเขียนขึ้นท าไม ท าหรือ เขียนขึ้นที่ไหน ทั้งนี้ การ ...

การประเมินหลักฐานภายนอก คืออะไร

การประเมินหลักฐานภายนอกเป็นการประเมินตัวหลักฐานจากภายนอกว่าใครเป็นผู้บันทึก หลักฐานนั้น ผู้บันทึกหลักฐานมีสถานภาพใดในขณะนั้น บันทึกขึ้นโดยจุดมุ่งหมายใด มีความเป็นกลาง เพียงใด ทั้งนี้เพราะบางครั้งผู้บันทึกอาจบันทึกขึ้นโดยคำาสั่งของผู้มีอำานาจ หรือบันทึกจากอคติส่วนตัว โดยยึดผลประโยชน์และมุมมองของตนเป็นสำาคัญ

การประเมินภายในต้องพิจารณาเกี่ยวกับอะไร

2. การประเมินภายใน เป็นการประเมินสิ่งที่ปรากฏบนหลักฐาน อาทิ ตัวอักษร รูปภาพ ร่องจารึก ตำหนิ ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด มีข้อความใดที่น่าสงสัย หรือกล่าวไว้ไม่ถูกต้อง ตัวอย่าง ปีที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างพระวิหารวัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลก ในพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ ระบุไว้ตรงกันบ้างไม่ตรงกันบ้าง เช่น

การประเมินหลักฐานทางประวัติศาสตร์มีความสําคัญอย่างไร

การประเมินหลักฐานเป็นขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งของวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพราะหลักฐานทางประวัติศาสตร์มีจำนวนมาก จึงต้องมีการตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ การประเมินคุณค่าของหลักฐาน ในวิธีการทางประวัติศาสตร์ และสามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารในโลกยุคปัจจุบันที่มีการสร้างข้อมูลเท็จ ...