ใบงานประวัติศาสตร์ ป.5 เรื่อง อาณาจักรอยุธยา

รหัส-ชื่อรายวิชา ส 151 £ £ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม: ประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 เวลา 7 ชั่วโมง 

ผู้สอน นายนริศ ศรวณีย์ โรงเรียนวัดสรรเพชญ (ทวีวิทยาคม)

มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย

ตัวชี้วัด

มฐ.ส 4.3 ป.5/1 อธิบายพัฒนาการของอาณาจักรอยุธยาและธนบุรีโดยสังเขป

มฐ.ส 4.3 ป.5/2 อธิบายปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และการปกครองของอาณาจักรอยุธยา

มฐ.ส 4.3 ป.5/3 บอกประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญสมัยอยุธยาและธนบุรีที่น่าภาคภูมิใจ

มฐ.ส 4.3 ป.5/4 อธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำคัญสมัยอยุธยาและธนบุรีที่น่าภาคภูมิใจและควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้

สาระสำคัญ 


 อยุธยาเป็นเมืองหลวงในประวัติศาสตร์ชาติไทย มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านการเมือง

การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และได้สืบทอดภูมิปัญญาให้แก่ลูกหลานไทยได้สืบต่อจนถึงปัจจุบัน


สาระการเรียนรู้

ความรู้

1. พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา

2. ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา

3. ภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยา

ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด

การจำแนก การสังเคราะห์ การให้เหตุผล การจัดระบบความคิดเป็นแผนภาพ

การสรุปความรู้

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ รักความเป็นไทย มีวินัย ใฝ่เรียนรู้

 

ชิ้นงานหรือภาระงาน (หลักฐาน ร่องรอยแสดงความรู้)

1. ใบงานที่ 6 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองของอาณาจักรอยุธยา

2. ใบงานที่ 7 ปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางด้านการปกครอง และเศรษฐกิจของอยุธยา

3. ใบงานที่ 8 ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา

4. ใบงานที่ 9 ภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยา

การประเมินผล

ใบงานที่ 6 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองของอาณาจักรอยุธยา

เกณฑ์การประเมิน

ระดับคะแนน

4

(10  คะแนน)

3

(9  คะแนน)

2

(7-8  คะแนน)

1

(5-6  คะแนน)

การจัดเรียงลำดับเหตุการณ์พัฒนาการด้านการปกครองของอาณาจักรอยุธยาและเขียนอธิบายสรุป

การจัดเรียงลำดับเหตุการณ์พัฒนาการด้านการปกครองของอาณาจักรอยุธยาและเขียนอธิบายสรุป ได้ สัมพันธ์เชื่อมโยงถูกต้องครบทุกข้อ  และเขียนอธิบายสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างเป็นเหตุเป็นผลอย่างชัดเจน

การจัดเรียงลำดับเหตุการณ์พัฒนาการด้านการปกครองของอาณาจักรอยุธยาและเขียนอธิบายสรุป  ได้สัมพันธ์เชื่อมโยงถูกต้องครบทุกข้อ  และเขียนอธิบายอย่างเป็นเหตุเป็นผลพอเข้าใจ

การจัดเรียงลำดับเหตุการณ์พัฒนาการด้านการปกครองของอาณาจักรอยุธยาและเขียนอธิบายสรุป ได้ สัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน แต่ไม่ถูกต้องครบทุกข้อและอธิบายได้พอเข้าใจ

การจัดเรียงลำดับเหตุการณ์พัฒนาการด้านการปกครองของอาณาจักรอยุธยาและเขียนอธิบายสรุป ได้ สัมพันธ์เชื่อมโยงกันแต่ไม่ถูกต้องครบทุกข้อและเขียนอธิบายได้ไม่ชัดเจน

ใบงานที่ 7 ปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางด้านการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจของอยุธยา

เกณฑ์การประเมิน

ระดับคะแนน

4

(10  คะแนน)

3

(9  คะแนน)

2

(7-8  คะแนน)

1

(5-6  คะแนน)

เขียนอธิบายหรือสรุปปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางด้านการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจ

ของอยุธยา

เขียนอธิบายหรือสรุปปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางด้านการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจของอยุธยา ได้ สัมพันธ์เชื่อมโยงให้เห็นเป็นภาพรวมแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับลักษณะพื้นที่ทาง

ภูมิประเทศและผู้คนอย่างชัดเจน

เขียนอธิบายหรือสรุปปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางด้านการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจของอยุธยา ได้ มีการจำแนกข้อมูล แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันอย่างเป็นเหตุเป็นผล

เขียนอธิบายหรือสรุปปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางด้านการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจของอยุธยา ได้สอดคล้องกับข้อมูล มีการเขียนขยายความ

และยกตัวอย่าง

ให้เข้าใจง่าย

เขียนอธิบายหรือ

สรุปปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางด้านการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจของอยุธยาได้ แต่ยัง ไม่สอดคล้องกับข้อมูลเขียนตามข้อมูลที่อ่านไม่มีการอธิบายเพิ่ม

เติม

ใบงานที่  8  ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา

เกณฑ์การประเมิน

ระดับคะแนน

4

(10  คะแนน)

3

(9  คะแนน)

2

(7-8  คะแนน)

1

(5-6  คะแนน)

เขียนอธิบายหรือสรุปประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา

เขียนอธิบายหรือสรุปประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา ได้สัมพันธ์เชื่อมโยงให้เห็นเป็นภาพรวม แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับตนเองและผู้อื่น

เขียนอธิบายหรือสรุปประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในสมัยอยุธยาได้ มีการจำแนกข้อมูล อธิบายแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับตนเองอย่างเป็นเหตุเป็นผล

เขียนอธิบายหรือสรุปประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในสมัยอยุธยาได้สอดคล้องกับข้อมูล มีการเขียนขยายความ และยกตัวอย่างเพิ่มเติมให้เข้าใจง่าย

เขียนอธิบายหรือสรุปประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในสมัยอยุธยาได้ แต่ยังไม่สอดคล้องกับข้อมูลเขียนตามข้อมูลที่อ่านไม่มีการอธิบายเพิ่มเติม

ใบงานที่  9  ภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยา

เกณฑ์การประเมิน

ระดับคะแนน

4

(10  คะแนน)

3

(9  คะแนน)

2

(7-8  คะแนน)

1

(5-6  คะแนน)

เขียนอธิบายหรือสรุปภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยาที่ตนเองภาคภูมิใจและนำเสนอแนวทางอนุรักษ์

เขียนอธิบายหรือสรุปภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยาที่ตนเองภาคภูมิใจและนำเสนอแนวทางอนุรักษ์ ได้สัมพันธ์เชื่อมโยงให้เห็นเป็นภาพรวม แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับตนเองและผู้อื่น

เขียนอธิบายหรือสรุปภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยาที่ตนเองภาคภูมิใจและนำเสนอแนวทางอนุรักษ์ได้ มีการจำแนกข้อมูล แสดงให้เห็นถึงความ

สัมพันธ์กับตนเองอย่างเป็นเหตุเป็นผล

เขียนอธิบายหรือ

สรุปภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยาที่ตนเองภาคภูมิใจและนำเสนอแนวทางอนุรักษ์ ได้สอดคล้องกับข้อมูล มีการเขียนขยายความยกตัวอย่างเพิ่มเติมให้เข้าใจง่าย

เขียนอธิบายหรือสรุปภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยาที่ตนเองภาคภูมิใจและนำเสนอแนวทางอนุรักษ์ ได้ แต่ยังไม่สอดคล้องกับข้อมูลเขียนตามข้อมูลที่อ่านไม่มีการอธิบายเพิ่มเติม

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

1. ครูนำแผนผังเมืองอยุธยามาให้นักเรียนร่วมกันศึกษา จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น

2. ให้นักเรียนร่วมกันศึกษาประวัติการสถาปนาอาณาจักรอยุธยาโดยครูใช้คำถามให้นักเรียนร่วมกันสนทนา

3. ให้นักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่ทรงปกครองในสมัยอยุธยา แล้วศึกษาการปกรองในสมัยอยุธยาโดยครูใช้คำถามให้นักเรียนร่วมกันสนทนา และจัดทำบัตรคำจตุสดมภ์ ให้นักเรียนศึกษาเปรียบเทียบกับการปกครองในสมัยปัจจุบัน

4. ครูแสดงแผนภาพการปกครองส่วนหัวเมืองในสมัยอยุธยาตอนต้นบนกระดานให้นักเรียนดู และศึกษาเปรียบเทียบกับการปกครองในสมัยอยุธยาตอนกลาง และศึกษาการปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย

5. ให้นักเรียนร่วมกันศึกษาถึงพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจของกรุงศรีอยุธยา โดยครูใช้คำถามให้นักเรียนร่วมกันสนทนา

6. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางด้านการเมือง การปกครองและเศรษฐกิจของอาณาจักรอยุธยา โดยให้แต่ละกลุ่มเขียนบันทึก แล้วออกนำเสนอหน้าชั้นเรียนจบแล้วร่วมกันสรุปความรู้เป็นแผนภาพบนกระดาน

7. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ศึกษา และนำเสนอประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา ดังนี้

7.1 ประวัติและผลงานของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)

7.2 ประวัติและผลงานของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

7.3 ประวัติและผลงานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

7.4 ประวัติและผลงานของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

จบการนำเสนอครูและนักเรียนร่วมกันสรุปประวัติและผลงานของพระมหากษัตริย์ กรุงศรีอยุธยาเป็นแผนภาพบนกระดาน

8. ครูนำแถบประโยคคำขวัญของจังหวัดพระนครศรีอยุธยามาติดบนกระดานให้นักเรียนร่วมกันอ่าน และร่วมกันสนทนา จากนั้นแบ่งกลุ่มศึกษาภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยา บันทึกและ
ออกนำเสนอหน้าชั้นเรียน และเสนอแนวทางอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย

สื่อการเรียนรู้

1. ภาพแผนผังกรุงศรีอยุธยา

2. บัตรคำ พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองของอาณาจักรอยุธยา

3. VCD, DVD ภาพยนตร์เรื่องสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

http://www.youtube.com/watch?v=JqwzQTT34m4 

http://www.youtube.com/watch?v=5gvg-jytohc&list=PLfR5ja2aIkBYkcVHo0WMhpLIGU10Sg24I

4. ใบงาน

แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre - Test)


วิชา ประวัติศาสตร์ (รหัส ส15102) ระดับ ประถมศึกษาปีที่ 5
เรื่อง อาณาจักรอยุธยา จำนวน 10 ข้อ
โดย นริศ ศรวณีย์ โรงเรียน วัดสรรเพชญ (ทวีวิทยาคม)
คำสั่ง เลือก หรือ เติมคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

แบบทดสอบหลังเรียน (Post - Test)

วิชา ประวัติศาสตร์ (รหัส ส15102) ระดับ ประถมศึกษาปีที่ 5
เรื่อง อาณาจักรอยุธยา จำนวน 10 ข้อ
โดย นริศ ศรวณีย์ โรงเรียน วัดสรรเพชญ (ทวีวิทยาคม)
คำสั่ง เลือก หรือ เติมคำตอบที่ถูกต้องที่สุด


แบบบันทึกสรุปผลการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน

ชื่อ-นามสกุล...................................... เลขที่ ............................................ ชั้น ..................................

วันที่ ................................................ เดือน ........................................................... พ.ศ. ..................

คำชี้แจง  ให้นักเรียนบันทึกสรุปผลการเรียนรู้จากหน่วยการเรียนรู้นี้


หน่วยการเรียนรู้ที่..........



นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไร หลังจากที่เรียนหน่วยการเรียนรู้นี้แล้ว

............................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................................

นักเรียนได้รับความรู้เรื่องใดบ้างจากหน่วยการเรียนรู้นี้

............................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................................

นักเรียนได้ทำกิจกรรมอะไรบ้างในหน่วยการเรียนรู้นี้

............................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................................

ผลงานที่นักเรียนชอบและต้องการคัดเลือกเป็นผลงานดีเด่นจาก หน่วยการเรียนรู้นี้คือผลงานใดบ้าง
เพราะอะไร

............................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................................

นักเรียนจะสามารถนำความรู้ ความเข้าใจจากหน่วยการเรียนรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง

............................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................................

นักเรียนยังไม่เข้าใจเรื่องใดอีกบ้างที่เกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้นี้ ซึ่งต้องการให้ครูอธิบายเพิ่มเติม

............................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................................

หมายเหตุ ให้ครูสำเนาแบบบันทึกนี้เพื่อให้นักเรียนบันทึกทุกหน่วยการเรียนรู้