หัวข้อวิจัยที่น่าสนใจ บัญชี

คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตั้งขึ้นเพื่อจัดเก็บและเผยแพร่ผลงานวิชาการของอาจารย์และนักศึกษา
โดยมุ่งหวังเพื่อเป็นแหล่งทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการศึกษาเท่านั้น ห้ามมิให้ใช้ไปในทางแสวงหาผลกำไร ซึ่งหากพบเห็นว่ามีข้อมูลใด อันจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
สามารถแจ้งให้ทราบเพื่อจะเร่งแก้ไขโดยทันที!

การทำวิจัยทางการบัญชี

การทำวิจัยด้านบัญชี เป็นการศึกษาวิจัยหาข้อเท็จจริงด้วยระบบอันมีระเบียบแบบแผน เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้หรือข้อเท็จจริงในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี โดยกระบวนการวิจัยทางด้านบัญชี  เริ่มต้นจากการเลือกหัวข้อวิจัย  จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ในรูปแบบของรายงานการวิจัย  การทำวิจัยบัญชี มีองค์ประกอบสำคัญ คือ ชื่อหัวเรื่อง ความสำคัญของปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ขอบเขต ประโยชน์ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ระเบียบวิธีวิจัย บุคลากรผู้ทำวิจัย งบประมาณ เอกสารอ้างอิงและภาคผนวก   การวิจัยด้านการบัญชีสามารถทำได้ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ  การทำวิจัยบัญชี สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การวิจัยด้านการบัญชีการเงินและการวิจัยด้านการบัญชีบริหาร   เริ่มจากการระบุหัวข้อวิจัย  การกำหนดประเด็นปัญหา วัตถุประสงค์ เพื่อนำไปสู่การกำหนดกรอบแนวคิดการศึกษา และแตกแนวคิดย่อยๆ ออกมาในรูปของตัวแปรหรือสิ่งที่สนใจจะศึกษาค้นคว้าด้านการบัญชี

ความเหมือนและความแตกต่างของการทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ทั่วไปและการวิจัยทางบัญชี

การบัญชีเป็นส่วนหนึ่งของสังคมศาสตร์ ดังนั้น การวิจัยบัญชีย่อมเป็นส่วนหนึ่งของ การทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ ทั่วไป กล่าวคือ เป็นกระบวนการหาข้อสรุปซึ่งเป็นข้อเท็จจริง เพื่ออธิบายปรากฎการณ์นั้นด้วยระบบระเบียบแบบแผน  การวิจัยทางบัญชี เป็นกระบวนการหาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี  โดยอาศัยองค์ประกอบที่เป็นศาสตร์ความรู้ที่พัฒนามาจากการพัฒนาทฤษฎีทางการบัญชี  วิชาชีพบัญชี การพัฒนาองค์กรธุรกิจและบุลากรทางการบัญชี  ซึ่งมีกระบวนการในการทำวิจัยเพื่อค้นหาคำตอบในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาวิชาชีพ

อย่างไรก็ตาม  เนื่องจากบัญชี หรือ การบัญชี เป็นศาสตร์ที่มีลักษณะเฉพาะ ดังนั้น การทำวิจัยด้านบัญชี จึงมีความแตกต่างจากการทำวิจัยสังคมศาสตร์ทั่วไป  ซึ่งอาจสรุปได้ดังนี้

  • ความแตกต่างด้านการจัดประเภทการวิจัย การวิจัยทางการบัญชี สามารถจำแนกตามประเภทของการวิจัย  ออกเป็นการวิจัยด้านบัญชีการเงิน และ บัญชีด้านการบัญชีบริหาร
  • ความแตกต่างด้านขอบเขตของการวิจัย การวิจัยทางการบัญชี สามารถนำข้อมูลในงบการเงินเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์  ด้วยกระบวนการทางการบัญชี  ตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือการจดบันทึก  การจำแนกประเภทบัญชี  การปรับปรุงรายการทางบัญชี และการจัดทำงบการเงิน (Finance Report) ซึ่งทั้งหมดจะอยู่ภายใต้หลักการบัญชีที่ได้รับการรับรอง  และกระบวนการทำวิจัยบัญชี จะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความน่าเชื่อถือของข้อมูลทางการบัญชี ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย
  • ความแตกต่างด้านการกำหนดตัวแปร (Variable) เนื่องจากตัวแปรหรือปัจจัย เป็นสิ่งที่กำหนดมูลค่า หรือ จำนวนสำหรับการทำวิจัย โดยได้มาจากโครงสร้างของกรอบแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย  โดยในการทำวิจัยบัญชีนั้น จะมีกรอบแนวคิดด้านนโยบายบัญชีที่ชัดเจนและรัดกุม  เพื่อให้นักบัญชียึดถือปฏิบัติในการปฏิบัติงาน  โดยกรอบแนวคิดนี้ สามารถนำมาใช้ในการกำหนดเป็นตัวแปรในการทำวิจัยได้ เช่น กรอบแนวคิดวัตถุประสงค์ของงบการเงิน  ตัวแปรการวิจัยที่สามารถใช้เป็นข้อมูลแสดงถึงฐานะทางการเงิน  ข้อมูลที่เกี่ยวกับผลการดำเนินงาน โดยเฉพาะผลการดำเนินงานด้านบัญชีและการเงิน  รวมไปถึง กรอบแนวคิดด้านนโยบายการบัญชี  ซึ่งตัวแปรที่สามารถเลือกมาใช้ในกรอบแนวคิดสำหรับการทำวิจัยด้านบัญชี มักจะเกี่ยวข้องกับการรับรู้รายการสินทรัพย์  หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รวมทั้ง รายได้และค่าใช้จ่าย เป็นต้น  ล้วนแล้วแต่เป็นข้อมูลที่ปรากฎในงบการเงินทั้งสิ้น
  • ความแตกต่างด้านลักษณะทางการบัญชี ข้อมูลทางการบัญชีมีทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลขและข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลข  แต่สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเบื้องต้นของผู้บริหารบริษัทหรือองค์กรธุรกิจ  ข้อมูลทางการบัญชีมีประโยชน์ด้วยการเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงสถานะทางการเงิน  การดำเนินงาน  ทำให้ผู้บริหารสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อการคาดการณ์และพยากรณ์ ถึงความอยู่รอดและแนวโน้มการประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวในการดำเนินงานขององค์กร  ซึ่งการวิจัยทางการบัญชีจะทำให้สามารถค้นพบปัญหา และนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพต่อไป
  • ความแตกต่างด้านทฤษฎี เนื่องจากการบัญชี มีลักษณะของการปฏิบัติงานด้วยการจัดเก็บ จดบันทึก รวบรวมเอกสารหลักฐานทางการบัญชี  การจำแนก  การวิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่เป็นตัวเลขหรือตัวเงิน  โดยยึดหลักการในเรื่องของความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล  ข้อมูลหรือรายงานทางการเงินโดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งผู้บริหาร  ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ นักลงทุน ตลอดจนประชาชนที่สนใจ  สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการตัดสินใจในด้านต่างๆ ได้อย่างถูกต้องมากที่สุดจากข้อมูลเหล่านี้  ด้วยเหตุนี้  นักบัญชี หรือ ผู้ทำบัญชี  ย่อมมีหน้าที่ในการปฏิบัติงานด้วยการคำนึงถึงความถูกต้อง  และประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ไม่เฉพาะแต่ในองค์กรธุรกิจของตนเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายนอกด้วย  ด้วยการปฏิบัติงานด้วยความเป็นมืออาชีพ คำนึงถึงประโยชน์ของทุกฝ่าย ทำหน้าที่พิทักษ์ผลประโยชน์ให้กับทุกฝ่าย  ด้วยการจัดทำรายงานทางการเงินอย่างถูกต้อง และมีความระมัดระวัง  ซึ่งมีทฤษฎีทางการบัญชีที่เกี่ยวข้องและนำมาใช้เป็นหัวข้อสำหรับการทำวิจัยทางการบัญชีอย่างแพร่หลาย ได้แก่ ทฤษฎีพิทักษ์ผลประโยชน์ (Stewardship Theory) ทฤษฎีการส่งสัญญาณ (Signaling  Theory)  ทฤษฎีบัญชีเชิงบวก (Positive Accounting Theory) และ ทฤษฎีตัวแทน (Agency Theory) เป็นต้น

จากความแตกต่างสำคัญทั้ง 5 ประการดังกล่าว จะเห็นว่า การทำวิจัยด้านบัญชี เป็นการศึกษาอย่างมีระบบแบบแผน  เป็นไปตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็น หลักการสำคัญของ การทำวิจัย กล่าวคือ มีการกำหนดข้อสมมติฐาน (Assumption) การเก็บรวบรวมข้อมูล และการสรุปผล  โดยการวิจัยทางการบัญชี จะมีลักษณะเหมือนกับการทำวิจัยด้านสังคมศาสตร์ การวิจัยทางบัญชีสามารถทำได้หลายรูปแบบ ทั้ง การทำวิจัยเชิงปริมาณ การทำวิจัยเชิงคุณภาพ และการทำวิจัยด้วยเทคนิคผสมผสาน  อย่างไรก็ตาม  นักวิจัยต้องมีคุณลักษณะที่ดี ตามข้อกำหนดเบื้องต้น เพื่อให้การดำเนินการวิจัยอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์และหลักการทางวิชาการ

หัวข้อวิจัยที่น่าสนใจ บัญชี

การทำวิจัยด้านบัญชี การทำวิจัยด้านบัญชี เทคนิคการทำวิจัยบัญชี

วัตถุประสงค์ของ การทำวิจัยด้านบัญชี

การดำเนินการวิจัยทางการบัญชี มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำ (สรชัย พิศาลบุตร,
2554; สุมินทร เบ้าธรรม, 2558) ดังนี้
1. เพื่อข้อค้นพบที่เกิดขึ้น จากงานวิจัยนำมาใช้ประโยชน์กับงานบัญชีทั้งในส่วนของ การวางแผน การตัดสินใจ การควบคุมและการประเมินผลการปฏิบัติงาน
2. เพื่อให้มีการพัฒนา ความรู้ทางการบัญชี ทั้งใน ด้านทฤษฎี และ การปฏิบัติให้เกิดการขยายขอบเขตมากขึ้น
3. เพื่อเป็นแนวทาง ในการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานขององค์กร รวมทั้ง การประเมินปัญหา และ ผลกระทบต่างๆ ต่อสังคม
4. เพื่อศึกษากลยุทธ์ที่นำมาใช้ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตที่จะนำกลยุทธ์ ด้านการบัญชีบริหารมาใช้
5. เพื่อศึกษา การประยุกต์ใช้ การบัญชีบริหาร เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น
6. เพื่อศึกษา สถานประกอบการ เกี่ยวกับความต้องการ ในการใช้ข้อมูลทางการบัญชีบริหาร
7. เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ของข้อมูลทางธุรกิจกับวิธีการในการปฏิบัติเกี่ยวกับบัญชี ที่จะนำมาใช้ ในการบริหารภายในของธุรกิจ
8. เพื่อการพิสูจน์แนวคิดต่างๆ หรือเป็นการสร้างทฤษฎีโดยใช้เครื่องมือทางด้านสถิติ

ลักษณะของการทำวิจัยด้านบัญชี

การวิจัยทางการบัญชีมุ่งเน้นการค้นหาข้อเท็จจริง เพิ่มพูนความรู้ใหม่ในสาขาวิชาอย่างมีระบบ เพื่อให้ได้ข้อสรุป และ การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องแม่นยำ การได้มาซึ่งงานวิจัยที่มีคุณภาพ เป็นไปตามระเบียบวิธีวิจัย และ หลักวิชาการตามสาขาวิชาการบัญชีนั้น มีลักษณะของการวิจัย ดังนี้
1. การวิจัยจะต้องนำไปสู่การแก้ปัญหา
2. การวิจัยควรเป็นการพัฒนาข้อสรุปทั้งที่เป็นนัยทั่วไป (Generalization) และทฤษฎี
(Theory)

3. การวิจัยอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ที่สามารถสังเกตได้ (Observable Experience) หรือ หลักฐานเชิงประจักษ์ (Empirical Evidence)
4. การวิจัยต้องมีการสังเกตที่ถูกต้อง (Accurate observation) และต้องพรรณนาความได้ ซึ่งผู้วิจัยสามารถเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมในการค้นหาคำตอบ
5. การวิจัยเกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูลใหม่ คือ เป็นการใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วสำหรับ วัตถุประสงค์เรื่องใหม่

นอกจากลักษณะของการวิจัยดังกล่าวแล้ว  การทำงานวิจัยด้านบัญชี ยังจำเป็นต้องอาศัยความรู้ ความ
ชำนาญ ความเพียร ซื่อสัตย์ ความมีระบบ มีเหตุผล มีเป้าหมาย ต้องมีเครื่องมือหรือเทคนิคใน การเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งต้องมีการบันทึก และ ต้องเขียนรายงานวิจัยอย่างระมัดระวัง

ประเภทของ การวิจัยด้านบัญชี

การวิจัยตามศาสตร์ของการบัญชี สามารถจำแนกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ (สุนา สิทธิเลิศ
ประสิทธิ์, 2554)
1. การวิจัยด้านการบัญชีการเงิน (Research of financial accounting) เป็นการวิจัยทางการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การรวบรวม การจำแนก และรายการข้อมูลทาง ด้านการเงินที่เกิดขึ้นในอดีต โดยถือหลักการปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือเป็นไปตาม มาตรฐานการบัญชี
2. การวิจัยด้านการบัญชีบริหาร (Research of managerial accounting) เป็นการวิจัยทางการบัญชี มุ่งให้ข้อมูลภายในองค์กรเพื่อนำมาใช้ในการวางแผน การสั่งการ การควบคุม และ การตัดสินใจสำหรับการดำเนินงานภายในองค์กร รูปแบบรายงานด้านการบัญชีบริหารไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความต้องการข้อมูลของผู้บริหาร

ประเภทของการวิจัยทางการบัญชี นอกจากจะแบ่งเป็น การวิจัยด้านการบัญชีการเงิน และ การวิจัยด้านการบัญชีบริหารแล้วนั้น การวิจัยทางการบัญชี สามารถจัดทำได้ตาม พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 โดยกำหนดไว้เป็น 8 ประเภท ดังนี้
1. การทำบัญชีเป็นงานเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูล การรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการจัดทำรายงานการเงิน
2. การสอบบัญชีเป็นการตรวจสอบเอกสารประกอบการลงบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชีและสมุดบัญชีเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของงบการเงิน
3. การบัญชีบริหาร เป็นการจัดทำบัญชีรวมทั้งรายงานทางการเงินเพื่อใช้ในการวางแผนงาน การควบคุมและการตัดสินใจ โดยจะเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล

4. การวางระบบบัญชีเป็นการออกแบบแผนการปฏิบัติงานด้านการบัญชีเกี่ยวกับการ ใช้และการเก็บรักษา ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลทางด้านการเงิน การแยกประเภทบัญชีการบันทึกบัญชีและเอกสารและสมุดบัญชีต่างๆ
5. การบัญชีภาษีอากร เป็นการปรับหลักการบัญชีหรือมาตรฐานการบัญชีให้มีความสอดคล้องกับประมวลรัษฎากรและกฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้อง
6. การศึกษาและเทคโนโลยีบัญชีเป็นการประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการต่างๆโดยการนำศาสตร์ด้านการบัญชีมาจัดการเรียนการสอน
7. การกำหนดมาตรฐานบัญชีเป็นการกำหนดแนวคิดหรือวิธีการในการปฏิบัติงานด้านการบัญชีซึ่งเกิดจากนักบัญชีมีความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีจะต้องบันทึกเมื่อใด มีมูลค่าเท่าใดและจะทำการเสนอรายงานในงบการเงินอย่างไร ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตาม หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
8. การพัฒนาวิชาชีพบัญชีคือ กระบวนการต่างๆ ในการพัฒนาความสามารถ(Capability) ส่งเสริมศักยภาพ (Potential) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีให้มีสมรรถนะ(Competence) ด้านวิชาชีพบัญชีเพิ่มขึ้น

หัวข้อวิทยานิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี ที่ตีพิมพ์ในปี 2564-2565  สำหรับเป็นแนวทาง การทำวิจัยด้านบัญชี

1 การศึกษาเปรียบเทียบแนวปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีไทยกับหลักเกณฑ์ตามประมวลรัษฎากรของธุรกิจ SMEs
By : รัชดาภรณ์ ลูณสาคร
Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis
Institute : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสำนักงานบัญชีคุณภาพ ในมุมมองของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดนนทบุรี
By : เกรียงจิตติ วิรัตน์
Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis
Institute : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
3 รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาเปรียบเทียบแนวปฏิบัติทางบัญชีกับหลักเกณฑ์ทางภาษีอากรของกิจการขายผ่อนชำระ เช่าซื้อ และลิสซิ่ง
By : สุรชัย เอมอักษร;จินตนา โสมโสดา;สุกัญญา วงษ์ละคร
Date Create : Type : งานวิจัย/Research report
Institute : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
4 ต้นทุนฐานกิจกรรมของกระบวนการประสานรายการยาแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลคามิลเลียน กรุงเทพมหานคร
By : เกล็ดดาว ธิมา
Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis
Institute : มหาวิทยาลัยนเรศวร
5 การศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศตามกรอบงาน COBIT 5
By : ณัฐนันท์ เสริฐสุวรรณกุล
Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis
Institute : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
6 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ระบบกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติในงานบัญชี
By : มงคล เฉียดผักแว่น
Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis
Institute : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
7 การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการใช้ระบบบริการจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์
By : สุธีกานต์ สุขโกมล
Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis
Institute : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
8 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้งานระบบบัญชีออนไลน์ผ่านเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งของสำนักงานบัญชี
By : โอชิล เหิมขุนทด
Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis
Institute : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
9 การวิเคราะห์ต้นทุนการเลี้ยงโค 3 สายพันธุ์ โดยใช้ต้นทุนตามฐานกิจกรรม
By : ลัดดา ศรียอดแส
Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis
Institute : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
10 ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงระดับการผลิตสินค้าคงเหลือต่อผลตอบแทนหลักทรัพย์
By : วีรชัย เจริญรังสรรค์
Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis
Institute : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11 ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สารสนเทศทางการบัญชีบริหารกับผลการดำเนินงานขององค์กร
By : วราภรณ์ เหลืองวิลัย
Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis
Institute : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการใช้ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ e-LAAS ของนักบัญชีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ น่าน
By : เฉลียง วงค์จินดา
Date Create : Type : งานวิจัย/Research report
Institute : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
13 คุณภาพของข้อมูลทางบัญชีด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและต้นทุนของเงินทุน : บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ และ ดัชนี SET 100
By : ชนิดา จันทนฤมาน
Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis
Institute : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
14 ผลกระทบของการบัญชีดิจิทัลที่มีต่อคุณภาพของรายงานการเงิน
By : พิมพาภรณ์ พึ่งบุญพานิชย์;นภา นาคแย้ม
Date Create : Type : งานวิจัย/Research report
Institute : มหาวิทยาลัยคริสเตียน
15 ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นและกำไรสุทธิต่อหุ้นวิธีมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุน:บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
By : รัชดาภรณ์ เสมาขันธ์
Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis
Institute : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
16 การพัฒนานวัตกรรมทางการบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
By : สรารีย์ จิรังดา
Date Create : Type : Article/Proceeding
Institute : มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
17 การวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรมตามเกณฑ์เวลาของผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีหัตถการสวนหัวใจสำหรับกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ กรณีศึกษาโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
By : ชัชฎาภรณ์ นาคแก้ว;เสกสรร สุธรรมานนท์;อารีย์ ธีรภาพเสรี;ภาสุรี แสงศุภวานิช;สิริรัตน์ สุวัชรชัยติวงศ์;นิกร ศิริวงศ์ไพศาล
Date Create : Type : บทความ/Article
Institute : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
18 การลดต้นทุนโลจิสติกสด้วยเทคนิคการบัญชีต้นทุนฐานกิจกรรมของบริษัทเหมืองแร่หินปูน
By : ฤทัยภัทร ศุกระศร;อภิชาต โสภาแดง
Date Create : Type : บทความ/Article
Institute : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
19 การศึกษาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรม FINCIAL
By : ภัทธิยะ วันธงชัย
Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis
Institute : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
20 คุณสมบัติของสำนักงานบัญชีที่ส่งผลต่อการเลือกสำนักงานบัญชี
By :
Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis
Institute : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

การทำวิจัยด้านบัญชี  ตัวอย่าง หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ด้านการบัญชี

  1. คุณภาพข้อมูลทางบัญชี ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ และ ต้นทุนของเงินทุน  :  บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI และ ดัชนี SET 100 (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบัญชี,  2563)
  2. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบัญชีแบบลีนและผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย (THE FACTORS IMPACT ON LEAN ACCOUNTING AND PERFORMANCE OF THAI’S SMALL AND MEDIUM ENTERPRISES)  (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบัญชี, 2563)
  3. ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในประเทศไทย THE CAUSAL  RELATIONSHIP MODEL OF  FACTORS INFLUENCING ON GROWTH OF  SMALL AND MEDIUM ENTERPRISES IN THAILAND (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบัญชี, 2562) 
  4. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการบัญชีภาษีอากรสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี  The development of a training program to enhance tax accounting knowledge of professional accountants  (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบัญชี, 2562)

เนื้อหาทั้งหมดข้างต้น รวมถึง หัวข้อ วิทยานิพนธ์บัญชี และ ดุษฎีนิพนธ์ หรือวิจัยปริญญาเอกสาขาการบัญชี  สามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการตัดสินใจเบื้องต้น สำหรับการนำมาประยุกต์ใช้ ตั้งแต่การกำหนดหัวข้อวิจัย วิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ทางการบัญชี  การกำหนดตัวแปรในกรอบแนวคิด ไปจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูล และการเขียนผลวิทยานิพนธ์ ผลดุษฎีนิพนธ์ ที่ได้รับการยอมรับในเชิงวิชาการระดับสูงได้เป็นอย่างดี