เทคโนโลยีใหม่ ๆ ใน คลังสินค้า

3. สร้างความโปร่งใสในการขนส่งด้วย Internet of Things (IoT)

Inventory Visibility (รู้สถานะสินค้าคงคลัง) นั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ในการจัดการคลังสินค้า หากมองในมุมเจ้าของธุรกิจ เราจะรู้ว่ามีพื้นที่ตรงไหนที่ว่างอยู่ สินค้าชนิดไหนใกล้จะหมด จะเป็นจะต้องสั่งมาสต็อกเพิ่ม หรือ สินค้าแต่ละชนิดเก็บไว้อยู่ตรงไหน ทั้งหมดนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้า แต่ถ้ามองในมุมลูกค้า การมี Visibility จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าได้ เพราะลูกค้าต้องการรู้ว่าสินค้าอยู่ที่ไหน หรือ อยู่ในกระบวนการใดของคลังสินค้า

Internet of Things คือเทคโนโลยีที่ทำให้คุณมองเห็นภาพรวมของสินค้าคงคลัง และ ความจุของคลังสินค้าได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งข้อดีของเทคโนโลยียี้ก็คือ การที่อุปกรณ์แต่ละอันสามารถส่งข้อมูลระหว่างกันได้แบบ real-time ฉะนั้นการที่เราใช้อุปกรณ์ IoT ในการขนส่ง ยังมีประโยชน์กับคุณในด้านอื่น ๆ อีก เช่น

  • การระบุปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิด หรือ กำลังเกิดขึ้นใน Supply Chain
  • ส่งเสริมการสื่อสารระหว่างคู่ค้าใน Supply Chain  
  • ลดการเกิดสินค้าสูญหาย หรือ เสียหาย
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง และ อื่น ๆ

4. คลังสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Warehouse)

Green Warehouse นอกจากจะช่วยจะให้คุณตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปแล้ว คุณยังได้รับความชื่นชมจากลูกค้าอีกด้วย โดยในปัจจุบันเราได้เห็นคลังสินค้าหลาย ๆ แห่ง เริ่มปรับเปลี่ยนการใช้พลังไฟฟ้า หรือ กระบวนการทำงานต่าง ๆ ให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น เช่น

  • แผงโซล่าเซลล์
  • การใช้ระบบหลังคาแบบ Cool-Roof
  • Skylights
  • หรือใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการทำงาน

แนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากจะส่งผลดีต่อบริษัทในด้านต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายแล้ว ยังเป็นที่ต้องการของตลาดด้วย เนื่องจากลูกค้าจะปรับเปลี่ยนการใช้จ่ายให้สอดคล้องกับค่านิยมมากขึ้น ซึ่งหมายความว่า บริษัทที่ทำงานแบลเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะสามารถสร้างรายได้และความภักดีได้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น SCG Logistics ได้มีการตรวจเช็คสภาพรถอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้รถทำงานได้ปกติ ออกมาตรการการขับขี่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ มีข้อกำหนดเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เข้มงวด เป็นต้น

อ้างอิงบทความ และ รูปภาพจาก : Freepik.com, easyship.com, Forbes.com

ปัจจุบันนโยบาย 4.0 ได้กระจายการเข้าถึงของเทคโนโลยีไปยังทุกภาคส่วน เสริมสร้างความสะดวกสบายให้กับชีวิตประจำวัน รวมถึงอัพเกรดประสิทธิภาพของการทำงานในอุตสาหกรรมต่างๆ

Warehouse 4.0 คือหนึ่งในนวัตกรรมที่ผ่านการอัพเกรด ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงคลังที่มีหน้าที่เพียงจัดเก็บสินค้าอีกต่อไป แต่กลายเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ ผ่านการพัฒนาระบบด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่

มาทำความรู้จักกับนวัตกรรม Warehouse 4.0 อนาคตใหม่แห่งอุตสาหกรรม Logistics ข้อดีต่างๆ และทุกรายละเอียดสำคัญที่คุณควรรู้

เทคโนโลยีใหม่ ๆ ใน คลังสินค้า

Warehouse 4.0 คลังสินค้าที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี

ปัจจุบันเทคโนโลยีได้ทำกาารบีบ Supply Chain ให้แคบลง ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องพบหน้าค่าตากันเหมือนเมื่อก่อนก็ทำการสั่งซื้อสินค้าได้ การแข่งขันใหม่ของอุตสาหกรรม Logistics จึงตกไปอยู่ที่ ความรวดเร็วและคุณภาพของการจัดส่งสินค้า

เพื่อตอบสนองต่อการแข่งขันเหล่านี้ Warehouse 4.0 ได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนระบบภายในเพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาทิเช่น Machine Learning เซ็นเซอร์อัจฉริยะ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) Big Data ฯลฯ

กระบวนการพื้นฐานภายในถูกเข้าแทนที่ด้วยเทคโนโลยี เครื่องจักร และหุ่นยนต์ เพื่อความรวดเร็ว ลดความผิดพลาดจาก Human Error อีกทั้งยังประหยัดงบประมาณจากการจ้างแรงงานมนุษย์อีกด้วย

ยกตัวอย่าง Warehouse 4.0 ประเทศสิงคโปร์ ที่สามารถทำการส่งออกสินค้าได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังจากมีการสั่งซื้อ โดยมีเทคโนโลยีจัดการให้ทั้งหมดแบบอัตโนมัติตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อ ไปจนถึงนำเข้ากระบวนการขนส่ง

ความรวดเร็วในการจัดส่ง นอกจากจะสร้างความประทับใจให้กับตัวผู้ซื้อสินค้าแล้ว ยังเป็นการประหยัดเวลาให้สามารถนำไปดำเนินการอย่างอื่นต่อได้อีกด้วย

นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ใน Warehouse 4.0 ไม่ได้มีผลเพียงแค่ความรวดเร็ว และลดความผิดพลาดของการทำงานเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการใช้ระบบ AI ในการวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data เพื่อนำเอาผลลัพธ์ที่ได้มาช่วยในการพัฒนาระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

WMS ส่วนประกอบสำคัญของ Warehouse 4.0

การพัฒนาเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ทำให้มีการนำเอาเทคโนโลยีอย่าง ระบบการจัดการคลังสินค้า หรือ WMS (Warehouse Management Software) เข้ามาใช้ในการบริหารระบบภายใน

โดย WMS เป็นการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการควบคุมคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นหัวใจสำคัญของ Warehouse 4.0 โดยครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการสั่งซื้อสินค้า ตำแหน่งของสินค้าแต่ละชิ้น การเคลื่อนย้าย การคำนวณพื้นที่จัดเก็บ ไปจนถึงการจัดเตรียมขนส่ง

ระบบ WMS ทำหน้าที่เหมือนสมองส่วนกลางที่ใช้ควบคุมระบบภายใน คอยเชื่อมโยงข้อมูล จัดเก็บ ประมวลผล และออกคำสั่งไปยังส่วนต่างๆ ภายในคลังสินค้า อย่างเช่นเครื่องจักร หรือหุ่นยนต์ปฏิบัติการ โดยเข้าถึงผ่านระบบออนไลน์

นอกจากนี้ยังสามารถบริหารได้หลายคลังสินค้า (Multi-Warehouse) ไปพร้อมๆ กัน ทำให้ควบคุมได้โดยการใช้เจ้าหน้าที่เพียงไม่กี่คนเท่านั้น จึงช่วยประหยัดเวลา และควบคุมค่าใช้จ่ายได้กระชับยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีใหม่ ๆ ใน คลังสินค้า

ข้อดีของ Warehouse 4.0

หลังจากที่ได้ทราบรายละเอียดกันไปแล้ว ทีนี้มาดูกันว่าการอัพเกรดคลังสินค้าให้เป็น Warehouse 4.0 นั้นส่งผลดีอย่างไรบ้าง

  • ประเมินสินค้าในสต็อกได้แม่นยำมากขึ้น 

การใช้ระบบ WMS ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ไร้สาย ทำให้ผู้ประกอบการสามารถประเมินจำนวนสินค้าในสต็อกได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น

โดยเซ็นเซอร์จะทำหน้าที่บอกตำแหน่งของสล็อตภายในคลังสินค้าที่ยังว่าง ทำให้บริหารจัดการได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ระบุชื่อรายการสินค้า จำนวนที่มี และสถานที่จัดเก็บได้อีกด้วย

  • กระบวนการสั่งซื้อจัดการได้อย่างรวดเร็ว

ระบบ WMS สามารถเข้าถึงการทำงานของระบบภายในคลังสินค้าได้ทุกส่วนงาน เมื่อมีคำสั่งซื้อปรากฎขึ้น ระบบจะทำหน้าที่เบิกจ่ายสินค้าให้พร้อมส่งโดยอัตโนมัติผ่านเครื่องจักร ทำให้กระบวนการสั่งซื้อสินค้าถูกจัดการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง

  • การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่สะดวกมากขึ้น

โดยปกติการดำเนินการในคลังสินค้านั้นจะใช้แรงงานมนุษย์เป็นจำนวนมาก และต้องใช้ยานพาหนะขับเคลื่อนไปมาภายในคลังสินค้าที่มีขนาดใหญ่ การจะขนส่งหรือค้นหาสินค้าแต่ละชิ้นเป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างลำบาก
แต่ Warehouse 4.0 ใช้ระบบปฏิบัติการส่วนใหญ่ผ่านเครื่องจักร และควบคุมด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัล ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถค้นหาสินค้า เช็คสต็อก และทำการเบิกจ่ายได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ช่วยประหยัดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเป็นอย่างยิ่ง

เทคโนโลยีใหม่ ๆ ใน คลังสินค้า

  • จัดเก็บสินค้าในพื้นที่จำกัดได้มากยิ่งขึ้น

คลังสินค้าทั่วไปมักจะใช้พื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ในการจัดเก็บสินค้า แต่ Warehouse 4.0 สามารถช่วยให้จัดเก็บสินค้าในพื้นที่จำกัดได้มากยิ่งขึ้น โดยใช้ระบบจัดเก็บและเบิกจ่ายสินค้าแบบอัตโนมัติ หรือ AS/RS (Automated Storage and Retrieval System)

โดยมีองค์ประกอบเป็นโครงสร้างเหล็กคล้ายชั้นวางสินค้าซ้อนกันเป็นชั้นๆ ในแนวดิ่ง ทำงานร่วมกับระบบ WMS เพื่อใช้อุปกรณ์เครนในการเคลื่อนย้ายสินค้า ทำให้แม้มีพื้นที่จำกัดก็สามารถจัดเก็บสินค้าจำนวนมากได้เป็นอย่างดี

  • ลดความผิดพลาดของการทำงานลง ช่วยให้สามารถทำงานได้เร็วมากขึ้น

Human Error หรือความผิดพลาดที่เกิดจากแรงงานมนุษย์นั้นเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ค่อนข้างยาก ซึ่งการใช้เครื่องจักและระบบดิจิทัลแทน ทำให้สามารถลดความเสี่ยงที่จะผิดพลาดในจุดนี้ไปได้เป็นอย่างมาก

ประกอบกับเครื่องจักรนั้นสามารถดำเนินงานต่อไปได้เรื่อยๆ โดยไม่มีวันเหนื่อย การดำเนินงานจึงทำได้เร็วกว่ามนุษย์ค่อนข้างมาก

  • ตรวจสอบคุณภาพสินค้าในคลังได้

นอกจากการบันทึกรายการสินค้า และตำแหน่งแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ระบบ Warehouse 4.0 ทำได้เป็นอย่างดีนั่นก็คือการตรวจสอบคุณภาพของสินค้านั่นเอง

เพราะสินค้าแต่ละชิ้นนั้นมีระยะเวลาการเสื่อมสภาพ และการดูแลรักษาที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหารที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ ระบบ WMS จึงสามารถลงบันทึกเวลาการเสื่อมสภาพของสินค้าแต่ละชิ้นเอาไว้ได้อย่างละเอียด เพื่อลำดับในการนำส่งสินค้าที่ถูกต้อง

จากโมเดลของ Warehouse 4.0 ที่ได้กล่าวถึงในบทความนี้ มีผู้ประกอบการในไทยจำนวนไม่น้อยที่เริ่มทำการอัพเกรดคลังสินค้าของตัวเองเพื่อเข้าสู่การแข่งขันของอุตสาหกรรม Logistics ในยุคใหม่

ต่อไปนี้คลังสินค้าจะไม่ใช่เพียงแหล่งจัดเก็บและขนส่งสินค้าเท่านั้น แต่ก็กลายเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับเหล่าลูกค้า

หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการด้าน Logistics หากไม่รีบปรับตัวให้ทันเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นทุกวัน ในอนาคตข้างหน้าธุรกิจของคุณอาจจะตามกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงของโลกไม่ทัน รีบเรียนรู้และปรับตัวเพื่อให้คุณยืนได้ท่ามกลางแข่งขันทางธุรกิจในอนาคต