ติดแผง โซ ล่า เซลล์บนหลังคาบ้าน

วิธีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์รับพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาแต่ละแบบ เพื่อเปลี่ยนหลังคาให้ทำเงิน 
การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาจะเปลี่ยนไปตามลักษณะและชนิดของหลังคาแต่ละแบบ เพื่อความแข็งแรง และ เหมาะสม ลงตัว ตามลักษณะหลังคาแต่และแบบ    นอกจากนี้ยังการติดตั้งโซล่าเซลล์บนพื้นดิน และ ในน้ำ Solar Floating  โดยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาแต่ละแบบพอจะแบ่งออกเป็นออกเป็นตามลักษณะหลังคาดังต่อไปนี้

1.การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาซีแพคโมเนีย
2.การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาเมทัลชีท
3.การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคากระเบื้องลอนคู่
4.การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาดาดฟ้าพื้นปูน
5.การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาแบบอื่นๆ 
6.การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนพื้นดิน
7.การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ในน้ำ Solar Floating 

ติดแผง โซ ล่า เซลล์บนหลังคาบ้าน

 

   โดยปกติแล้วการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จะต้องคำนึงถึงทิศทางในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ด้วย เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการรับพลังงานแสงอาทิตย์ตลอดทั้งวัน  เพื่อให้ได้ค่าพลังงาน หรือการผลิตให้ได้มากที่สุด ตรงนี้จะขึ้นอยู่กับหน้างานการติดตั้ง ตามลักษณะหลังคาอาคารเป้าหมายด้วย แต่โดยปกติการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จะหันแผงโซล่าเซลล์ทำมุมลาดเอียงไปทางทิศใต้ เพื่อสอดสอดคล้องกับการโคจรของพระอาทิตย์ ที่ขึ้นทางทิศตะวันออก และ ตกทางทิศตะวันตก  และ ที่สำคัญต้องไม่มีร่มเงาบังจากต้นไม้ หรือ  อาคารบ้าน เรือน ตึก สูงต่างๆ  

อุปกรณ์และเครื่องมือการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาซีแพคโมเนีย
Cpack Hook 
รางอลูมิเนียม Solar Alu rail 
ตัวจับยึดระหว่างแผงโซลาร์เซลล์Middle Clamp (Mid Clamp)
ตัวจับยึดปิดท้ายแผงโซลาร์เซลล์ End Clamp Clamp (End Clamp)

อุปกรณ์และเครื่องมือการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาเมทัลชีท
Metal Sheet  Hook 
รางอลูมิเนียม Solar Alu rail 
ตัวจับยึดระหว่างแผงโซลาร์เซลล์Middle Clamp (Mid Clamp)
ตัวจับยึดปิดท้ายแผงโซลาร์เซลล์ End Clamp Clamp (End Clamp)

อุปกรณ์และเครื่องมือการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคากระเบื้องลอนคู่
Doudle Corrugated Tiles Hook 
รางอลูมิเนียม Solar Alu rail 
ตัวจับยึดระหว่างแผงโซลาร์เซลล์Middle Clamp (Mid Clamp)
ตัวจับยึดปิดท้ายแผงโซลาร์เซลล์ End Clamp Clamp (End Clamp)

อุปกรณ์และเครื่องมือการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาดาดฟ้าพื้นปูน
 Hook  หรือขาตั้ง ตัวจับยึดแบบต่างๆ สำหรับดาดฟ้าพื้นปูน
รางอลูมิเนียม Solar Alu rail 
ตัวจับยึดระหว่างแผงโซลาร์เซลล์Middle Clamp (Mid Clamp)
ตัวจับยึดปิดท้ายแผงโซลาร์เซลล์ End Clamp Clamp (End Clamp)

อุปกรณ์และเครื่องมือการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนพื้นดิน

 Hook  หรือขาตั้ง ตัวจับยึดแบบต่างๆ สำหรับพื้นดิน
รางอลูมิเนียม Solar Alu rail 
ตัวจับยึดระหว่างแผงโซลาร์เซลล์Middle Clamp (Mid Clamp)
ตัวจับยึดปิดท้ายแผงโซลาร์เซลล์ End Clamp Clamp (End Clamp)

อุปกรณ์และเครื่องมือการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ในน้ำ Solar Floating 

Solar Floating 
รางอลูมิเนียม Solar Alu rail 
ตัวจับยึดระหว่างแผงโซลาร์เซลล์Middle Clamp (Mid Clamp)
ตัวจับยึดปิดท้ายแผงโซลาร์เซลล์ End Clamp Clamp (End Clamp)

ประเด็นสำคัญ

  • การติดแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้านเป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะช่วยลดค่าไฟภายในบ้าน ลงทุนติดตั้งครั้งหนึ่งก็ใช้งานได้ยาวนานหลายสิบปี และถ้าผลิตไฟมากกว่าที่ต้องการก็ยังขายคืนให้กับการไฟฟ้าได้อีกด้วย
  • แต่ก่อนจะการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาควรจะรู้จักกับประเภทของแผงโซล่าเซลล์ และควรสำรวจหลาย ๆ อย่าง เช่น กำลังไฟบ้าน รูปทรง ความแข็งแรง ความลาดเอียง และพื้นที่บนหลังคา ไปจนถึงทิศทางแสง เพื่อให้เลือกแผงโซล่าเซลล์ได้ตอบโจทย์มากที่สุด

ทุกวันนี้การติดแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้านถือเป็นเทรนด์ที่คนยุคนี้ให้ความสนใจกันมากขึ้น เพราะช่วยประหยัดค่าไฟในบ้าน แถมยังเป็นพลังงานสะอาดที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และถ้าผลิตไฟได้มากเกินกว่าจำนวนที่ต้องการก็ยังขายไฟฟ้าคืนให้กับการไฟฟ้าได้อีกด้วย นอกจากนี้การติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาก็ยังใช้งานได้ยาวนานถึง 20-30 ปี เรียกได้ว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากเลยทีเดียว แต่สำหรับใครที่สนใจจะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์กันที่บ้าน ก็อย่าลืมศึกษารายละเอียดให้ดีเสียก่อนเพื่อให้เลือกติดได้เหมาะกับบ้านมากที่สุด วันนี้จระเข้จึงมี 7 สิ่งที่ควรรู้ก่อนติดแผงโซล่าเซลล์บนหลังคามาฝากกัน!

7 สิ่งที่ควรรู้ก่อนติดแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน

1. รู้จักกับระบบแผงโซล่าเซลล์

ติดแผง โซ ล่า เซลล์บนหลังคาบ้าน

ภาพ: การติดแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน

โซล่าเซลล์ (Solar Cell) เป็นการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ซึ่งถือเป็นพลังงานสะอาดที่ใช้กระบวนการ Photovoltaic Effect  เปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง จากนั้นจะส่งไปยังอินเวอร์เตอร์ เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับ เพื่อให้ใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ในบ้านได้โดยแผงโซล่าเซลล์นั้นมีให้เลือกถึง 3 ระบบ ก่อนจะติดแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้านจึงควรจะรู้จักกันเสียก่อน โดยเลือกได้ตามความต้องการ ได้แก่

  1. ระบบออนกริด (On-Grid System) เป็นระบบที่นิยมใช้กันในบ้านทั่วไป เพราะเชื่อมเข้ากับระบบของการไฟฟ้านครหลวง โดยเชื่อมแผงโซล่าเซลล์เข้ากับกริดไทอินเวอร์เตอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณไฟฟ้าจากกระแสตรงเป็นกระแสสลับ หากผลิตไฟฟ้าได้มากก็ขายคืนได้ แต่จะต้องขออนุญาตก่อนติดตั้งเสมอ
  2. ระบบออฟกริด (Off-Grid System) เป็นระบบที่คล้ายกับระบบออนกริด แต่ต่างกันที่ไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้า จึงไม่ต้องขออนุญาตก่อน และยังชาร์ตไฟเข้าในแบตเตอรีสำรองสำหรับใช้ในเวลาอื่น ๆ ได้ ส่วนใหญ่จะใช้กับบ้านที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่กระแสไฟฟ้ายังไปไม่ถึง 
  3. ระบบไฮบริด (Hybrid) ระบบนี้เหมาะสำหรับบ้านที่ไฟตกบ่อย ๆ เพราะมีแบตเตอรีสำหรับชาร์ตไฟฟ้าไว้ใช้งานภายหลังที่ไม่มีแสงอาทิตย์ได้ โดยระบบจะนำกระแสไฟฟ้าที่ผลิตออกมาเกิน ชาร์ตเข้าไปในแบตเตอรี ทำให้นำไปใช้เวลาอื่น ๆ ต่อได้นั่นเอง

2. ประเภทแผงโซล่าเซลล์ที่จะนำมาติดตั้ง

ติดแผง โซ ล่า เซลล์บนหลังคาบ้าน

ภาพ: แผงโซล่าเซลล์แบบพอลิคริสตัลไลน์

นอกจากระบบของแผงโซล่าเซลล์แล้ว ประเภทของแผงโซล่าเซลล์ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะส่งผลถึงประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า ระยะเวลาการใช้งาน ไปจนถึงความสวยงามของหลังคาบ้านด้วยนั่นเอง โดยประเภทแผงโซล่าเซลล์ที่ควรรู้จัก จระเข้นำมาฝากกันแล้ว ไปรู้จักกันได้เลย

  1. โมโนคริสตัลไลน์ (Mono Crystalline Solar Cell) มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่ลบมุมนำมาวางเรียงต่อกันดูสวยงาม ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่งบ้านได้เลย และแผงโซล่าเซลล์ประเภทนี้ก็ยังผลิตไฟได้สูงมากแม้มีแสงน้อย แต่แน่นอนว่ามีราคาสูงมากตามไปด้วย อายุการใช้งานนาน 25 ปีขึ้นไป
  2. พอลิคริสตัลไลน์ (Poly Crystalline Solar Cell) มีลักษณะเป็นแผงสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินวางเรียงต่อกันโดยไม่ตัดมุม ผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในช่วงที่มีอุณหภูมิสูง และมีราคาถูกกว่าโมโนคริสตัลไลน์ แต่อายุการใช้งานนาน 20-25 ปี
  3. อะมอร์ฟัสโซล่าเซลล์ (Amorphous Solar Cell) หรือโซล่าเซลล์แบบฟิล์มบาง ผลิตจากสารที่เปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้า นำมาฉาบทับกันเป็นชั้นฟิล์มบาง ๆ จึงเป็นแผงโซล่าเซลล์ที่มีราคาถูกที่สุด แต่ก็ผลิตไฟได้น้อยกว่าแบบอื่น และมีอายุการใช้งานน้อยกว่าด้วย 

3. งบประมาณ

ติดแผง โซ ล่า เซลล์บนหลังคาบ้าน

ภาพ: ติดแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาใช้งบประมาณจำนวนมาก

ถึงแม้ว่าการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาจะช่วยประหยัดค่าไฟบ้านในระยะยาว แต่ต้นทุนของแผงโซล่าเซลล์นั้นก็ไม่ใช่ถูก ๆ เลยทีเดียว เพราะโดยเฉลี่ยจะอยู่ในหลักแสนบาท ขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนของแผ่นโซล่าเซลล์ อุปกรณ์ต่าง ๆ  ไปจนถึงขั้นตอนการติดตั้งด้วย จึงควรศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจติดตั้ง เพื่อให้คุ้มค่ามากที่สุด

ปัจจุบันก็มีผู้ให้บริการหลายราย จึงควรเลือกผู้ให้บริการที่เชี่ยวชาญ เชื่อถือได้ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจตามมา และที่สำคัญควรเลือกผู้ให้บริการที่มีการรับประกันและบริการหลังการขายที่ครอบคลุมอุปกรณ์ทุกจุด เผื่อกรณีเกิดปัญหาจะได้ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีช่างผู้เชี่ยวชาญมาดูแล

4. รูปทรงหลังคาบ้าน

ติดแผง โซ ล่า เซลล์บนหลังคาบ้าน

ภาพ: การติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาทรงจั่ว

อย่าลืมสำรวจดูก่อนว่าหลังคาที่บ้านของเรามีรูปทรงแบบไหน เพราะรูปทรงหลังคาจะส่งผลต่อความสะดวกในการติดตั้ง และการบำรุงรักษาในระยะยาว โดยการติดแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้านส่วนใหญ่จะติดได้แทบทุกรูปแบบ แต่ก็มีข้อจำกัดในบางจุดที่ควรจะรู้จักกันไว้ก่อน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ติดแผง โซ ล่า เซลล์บนหลังคาบ้าน

5. ความแข็งแรงของหลังคาบ้าน

ติดแผง โซ ล่า เซลล์บนหลังคาบ้าน

ภาพ: หลังคาต้องรับน้ำหนักแผงโซล่าเซลล์เป็นจำนวนมาก

โดยปกติแผงโซล่าเซลล์จะมีน้ำหนักแผ่นละประมาณ 22 กิโลกรัม และมีขนาดอยู่ที่ 1x2 เมตร ดังนั้นควรตรวจสอบดูว่าวัสดุมุงหลังคาที่บ้านนั้นรับน้ำหนักได้มากเพียงพอหรือไม่ หลังคาที่เหมาะสมควรจะรับน้ำหนักได้ 50 กก./ตร.ม. และหากมีปัญหารั่วซึม แตกร้าว หลุดล่อนเสียหาย ควรจะจัดการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่เสียก่อน 

และเนื่องจากการติดแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้านครั้งหนึ่งจะใช้ไปอีกเป็นหลายสิบปี ควรจะติดแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้านให้มีพื้นที่บนหลังคาเหลืออยู่อย่างน้อย 20% ของพื้นที่ทั้งหมด เพื่อให้สะดวกต่อการทำความสะอาด และบำรุงรักษาแผงโซล่าเซลล์ในอนาคต

6. ทิศทางแสง

ติดแผง โซ ล่า เซลล์บนหลังคาบ้าน

ภาพ: แผงโซล่าเซลล์รับแสงได้เต็มที่

แน่นอนว่าเมื่อเป็นการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาก็ต้องห้ามลืมเรื่องทิศทางแสงโดยเด็ดขาด เพราะถึงแม้จะติดตั้งไปแล้ว แต่ติดทางทิศที่โดนแสงน้อย การลงทุนครั้งนี้จะเสียเปล่าอย่างแน่นอน สำหรับทิศที่จระเข้ขอแนะนำเลยก็คือทิศตะวันตก และทิศตะวันตกเฉียงใต้ เพราะเป็นทิศทางที่ได้รับแสงแดดจัดแบบเต็ม ๆ แต่ก็ไม่ควรอาคารหรือต้นไม้ไม่บดบังทิศทางแสง และควรจะติดแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาให้ลาดชันประมาณ 15-20 องศากับพื้นดิน เพื่อให้แสงกระทบกับแผงโซล่าเซลล์ได้เต็มที่มากที่สุดนั่นเอง

7. หมั่นบำรุงรักษาเป็นประจำ

ติดแผง โซ ล่า เซลล์บนหลังคาบ้าน

ภาพ: การทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์

หลังติดแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้านกันไปเรียบร้อยแล้ว ก็อย่าลืมบำรุงรักษาแผงโซล่าเซลล์เป็นประจำ ทั้งการทำความสะอาด การสำรวจชิ้นส่วนต่าง ๆ โดยจะทำเองที่บ้านหรือใช้บริการช่างผู้เชี่ยวชาญก็ได้ทั้งสิ้น เพื่อให้แผงโซล่าเซลล์ที่บ้านผลิตไฟได้เต็มกำลัง ประหยัดไฟกันไปยาว ๆ สำหรับวิธีบำรุงรักษาเบื้องต้น จระเข้มีขั้นตอนง่าย ๆ มาฝากกัน

  1. การทำความสะอาด ใช้ผ้านุ่ม ฟองน้ำ หรือแปรงขนไนล่อน ชุบน้ำเปล่าเช็ดทำความสะอาด 4-5 ครั้งต่อปี เพื่อกำจัดฝุ่นและคราบสกปรกต่าง ๆ 
  2. หมั่นสำรวจความผิดปกติ หมั่นสำรวจดูว่าแผงโซล่าเซลล์มีสีสันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือมีรอยร้าว รอยแตกตรงจุดไหนหรือไม่ หากพบควรเรียกช่างมาซ่อมแซมทันที
  3. หมั่นตรวจสอบความผิดปกติที่อุปกรณ์ นอกจากแผงโซล่าเซลล์แล้ว อย่าลืมตรวจสอบดูความผิดปกติที่อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น สายไฟ แบตเตอรี ว่ามีสัตว์หรือแมลงมากัดแทะทำให้เสียหายหรือไม่

ปกป้องหลังคาก่อนติดแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้านด้วย จระเข้ รูฟ ชิลด์

ติดแผง โซ ล่า เซลล์บนหลังคาบ้าน

ภาพ: จระเข้ รูฟ ชิลด์

เมื่อได้รู้จักกับ 7 เรื่องที่ควรรู้ก่อนติดแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้านกันไปแล้ว ก็เลือกแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะกับบ้านเราได้เลย แต่ก่อนการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาอย่าลืมปกป้องหลังคาจากการรั่วซึมด้วยจระเข้ รูฟ ชิลด์ อะคริลิกทากันซึมสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน ผลิตจากอะคริลิกคุณภาพสูง ทนทานการแช่น้ำได้นานกว่าอะคริลิกทั่วไป ยืดหยุ่นตัวสูงกว่า 500% เมื่อแห้งตัวจะมีลักษณะเป็นแผ่นยางบาง ๆ เคลือบพื้นผิววัสดุมุงหลังคาไว้ มีคุณสมบัติป้องกันการซึมผ่านของน้ำ ทนฝน ทนรังสี UV จึงช่วยป้องกันปัญหารั่วซึมบนหลังคา ที่ส่งผลเสียต่อโครงสร้างบ้านหลายส่วน แถมยังเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเป็นจำนวนมากด้วย