การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5e สสวท

เป็นการสืบเสาะหาความรู้เป็นแนวคิดที่มีความซับซ้อนและมีความหมายแตกต่างกันไปตามบริบทที่ใช้และผู้ที่ให้คำจำกัดความ โดยศูนย์กลางของการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้นั้น มีต้นกำเนิดจากนักวิทยาศาสตร์ ครู และ นักเรียน (Budnitz, 2003)

การสืบเสาะหาความรู้   เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ซึ่งกล่าวไว้ว่าเป็นกระบวนการที่นักเรียนจะต้องสืบค้น เสาะหา  สำรวจตรวจสอบ และ ค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ จนทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ และ เกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย จึงจะสามารถสร้างเป็นองค์ความรู้ของนักเรียนเอง และเก็บเป็นข้อมูลไว้ในสมองได้อย่างยาวนาน สามารถนำมาใช้ได้เมื่อมีสถานการณ์ใดๆ มาเผชิญหน้า (สาขาชีววิทยา สสวท.2550)

การสืบเสาะหาความรู้   คือ  การถามคำถามที่สงสัยและเป็นปัญหา ที่สามารถสืบค้นหาคำตอบได้ และสื่อสารคำตอบออกมาได้

การสืบเสาะหาความรู้ เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย คือ การถามคำถาม ออกแบบการสำรวจข้อมูลการสำรวจข้อมูล  การวิเคราะห์ การสรุปผล การคิดค้นประดิษฐ์  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสื่อสารคำอธิบาย

การสืบเสาะหาความรู้เป็นกระบวนการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ศึกษาอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐาน ของหลักฐานหรือเหตุผลต่างๆ และอีกความหมายคือเป็นกระบวนการที่นักเรียนใช้ในการค้นคว้า หาคำตอบอย่างมีระบบเพื่ออธิบายเหตุการณ์ต่างๆ  ที่ต้องการศึกษากระบวนการสืบเสาะหาความรู้ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนสามารถเลือกจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านกระบวนการต่างๆ ในการสืบเสาะหาความรู้ตามบริบทของผู้สอน ผู้เรียน โรงเรียน และแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ตามความเหมาะสมโดยครูเป็นผู้สนับสนุนให้นักเรียนได้สำรวจปรากฏการณ์ต่างๆและกระตุ้นให้นักเรียนสร้างความเข้าใจ    ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง

1.2 กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry) 5Es

ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้

                       

1.2.1 ขั้นสร้างความสนใจ (engagement)

เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเอง หรือเกิดจากการอภิปรายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่อง ที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนรู้มาแล้ว เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษาในกรณีที่ยังไม่มีประเด็นใดน่าสนใจ ครูอาจให้ศึกษาจากสื่อต่างๆ หรือเป็นผู้กระตุ้น ด้วยการเสนอประเด็นขึ้นมาก่อน แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือคำถามที่ครูกำลังสนใจเป็นเรื่องที่จะใช้ศึกษา เมื่อมีคำถามที่น่าสนใจ และนักเรียนส่วนใหญ่ยอมรับให้เป็นประเด็น   ที่ต้องการศึกษาจึงร่วมกันกำหนดขอบเขตและแจกแจงรายละเอียดของเรื่องที่จะศึกษาให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น อาจรวมทั้งการรวบรวมความรู้ประสบการณ์เดิม หรือความรู้จากแหล่งต่างๆ ที่จะ ช่วยให้นำไปสู่ความเข้าใจเรื่อง หรือประเด็นที่จะศึกษามากขึ้น และมีแนวทางที่ใช้ในการสำรวจตรวจสอบอย่างหลากหลาย

1.2.2 ขั้นสำรวจและค้นหา (exploration)

เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี เช่น ทำการทดลอง ทำกิจกรรมภาคสนาม การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง (simulation) การศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงหรือจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป

1.2.3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (explanation)

เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้ว จึงนำข้อมูล ข้อสนเทศที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่างๆ เช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ หรือวาดรูป สร้างตาราง ฯลฯ การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นไปได้หลายทาง เช่น สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้โต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ได้กำหนดไว้ แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปใดก็สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้

                        1.2.4 ขั้นขยายความรู้ (elaboration)

เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมหรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ถ้าใช้อธิบายเรื่องต่างๆ ได้มาก็แสดงว่าข้อจำกัดน้อย ซึ่งก็จะช่วยให้เชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น

                        1.2.5 ขั้นประเมิน (evaluation)

เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไรและมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ การนำความรู้หรือแบบจำลองไปใช้อธิบายหรือประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์หรือเรื่องอื่นๆ จะนำไปสู่ข้อโต้แย้งหรือข้อจำกัดซึ่งก่อให้เป็นประเด็นหรือคำถาม หรือปัญหาที่จะต้องสำรวจตรวจสอบต่อไป ทำให้เกิดเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ จึงเรียกว่า inquiry cycle

กระบวนการสืบเสาะหาความรู้จึงช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งเนื้อหาหลัก และหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้ความรู้ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ต่อไป

1.3 รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycles (5Es)

            นักการศึกษากลุ่ม BSCS (Biological Science Curriculum Study) ได้นำวิธีการสอนแบบ Inquiry มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ โดยเสนอขั้นตอนในการเรียนการสอนเป็น 5 ขั้นตอน เรียกว่า การเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle หรือ 5Es ได้แก่ Engage   Explore Explain Elaborate และ Evaluate กระบวนการเรียนการสอน ในแต่ละขั้นตอนการสอน ของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle (5Es) ซึ่งมีขอบข่ายรายละเอียด ดังนี้ 

1.3.1 การสร้างความสนใจ (Engage)

เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัยหรือความสนใจของตัวนักเรียนเอง หรือเกิดจากการอภิปรายภายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนมารู้มาแล้วเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษา ในกรณีที่ยังไม่มีประเด็นใดน่าสนใจ ครูอาจะจะจัด กิจกรรมหรือสถานการณ์เพื่อกระตุ้น ยั่วยุ หรือท้าทายให้นักเรียนตื่นเต้น สงสัย อยากรู้อยากเห็น หรือขัดแย้ง เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา การศึกษา ค้นคว้า หรือการทดลอง แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือปัญหาที่ครูกำลังสนใจ เป็นเรื่องที่จะศึกษา ทำได้หลายแบบ เช่น สาธิต ทดลอง นำเสนอข้อมูล เล่าเรื่อง เหตุการณ์  ให้ค้นคว้าอ่านเรื่อง อภิปราย พูดคุย สนทนา ใช้เกม ใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์ สร้างสถานการณ์ ปัญหาที่น่าสนใจ ที่น่าสงสัยแปลกใจ

1.3.2 การสำรวจและค้นคว้า (Explore)

นักเรียนดำเนินการสำรวจ ทดลอง ค้นหาและรวบรวมข้อมูล วางแผนกำหนดการสำรวจตรวจสอบ หรือออกแบบการทดลอง ลงมือปฏิบัติ เช่น สังเกต วัด ทดลอง รวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ

1.3.3 การอธิบาย (Explain)

นักเรียนนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและค้นหามาวิเคราะห์ แปลผล สรุปและอภิปราย พร้อมทั้งนำเสนอผลงานในรูปแบบต่างๆ ซึ่งอาจเป็นรูปวาด ตาราง แผนผัง ผลงานมีความหลากหลาย สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือโต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่กำหนดไว้ โดยมีการอ้างอิงความรู้ประกอบการให้สมเหตุสมผล การลงข้อสรุปถูกต้องเชื่อถือได้มีเอกสารอ้างอิงและหลักฐานชัดเจน

1.3.4 การขยายความรู้ (Evaborate)

                        1.3.4.1 ครูจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ลึกซึ้งขึ้น หรือขยายกรอบความคิดกว้างขึ้นหรือเชื่อมโยงความรู้เดิมสู่ความรู้ใหม่หรือนำไปสู่การศึกษาค้นคว้า ทดลอง เพิ่มขึ้น เช่น ตั้งประเด็นเพื่อให้นักเรียน ชี้แจงหรือร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซักถามให้นักเรียนชัดเจนหรือกระจ่างในความรู้ที่ได้หรือเชื่อมโยงความรู้ที่ได้กับความรู้เดิม

                                    1.3.4.2 นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่น อธิบายและขยายความรู้เพิ่มเติมมีความละเอียดมากขึ้น ยกสถานการณ์ ตัวอย่าง อธิบายเชื่อมโยงความรู้ที่ได้เป็นระบบและลึกซึ้งยิ่งขึ้น หรือสมบูรณ์ละเอียดขึ้น นำไปสู่ความรู้ใหม่หรือความรู้ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ประยุกต์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในเรื่องอื่นหรือสถานการณ์อื่นๆ หรือสร้างคำถามใหม่และออกแบบการสำรวจ ค้นหา และรวบรวมเพื่อนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่

          1.3.5 การประเมิน (Evaluate)

                        1.3.5.1 นักเรียนระบุสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งด้านกระบวนการและผลผลิต

                        1.3.5.2 นักเรียนตรวจสอบความถูกต้องของความรู้ที่ได้ เช่น วิเคราะห์วิจารณ์แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน คิดพิจารณาให้รอบคอบทั้งกระบวนการและผลงาน อภิปราย ประเมินปรับปรุง เพิ่มเติมและสรุป ถ้ายังมีปัญหา ให้ศึกษาทบทวนใหม่อีกครั้ง อ้างอิงทฤษฎีหรือหลักการและเกณฑ์ เปรียบเทียบผลกับสมมติฐาน เปรียบเทียบความรู้ใหม่กับความรู้เดิม

                        1.3.5.3 นักเรียนทราบจุดเด่น จุดด้อยในการศึกษาค้นคว้า หรือทดลองการพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยวิธีการสืบเสาะและสืบสวนหาความรู้

วิธีการสอนแบบสืบสอบเป็นวิธีการที่ให้ผู้เรียนค้นหาความรู้ด้วยตนเอง ด้วยกระบวนการ

ทางวิทยาศาสตร์ และมีผู้สอนเป็นเพียงผู้อำนวยการความสะดวก ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ในการหาความรู้ ซึ่งผู้เรียนต้องอาศัยปัจจัยสำคัญ คือ

          1. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) หมายถึง ขั้นตอนการหาความรู้โดยเริ่มตั้งแต่การระบุปัญหา การตั้งสมมติฐาน การออบแบบการทดลอง และทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์และสรุปผล

          2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science Process Skills) ซึ่งหมายถึง ทักษะการคิด ทั้งทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน และทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นผสมที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง


1.4 บรรยากาศการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้

องค์ประกอบสำคัญในการทาให้เกิดบรรยากาศการเรียนการสอนคือครูผู้สอนและผู้เรียนที่ต่างมีบทบาทในการสร้างบรรยากาศครูจะเป็นผู้ริเริ่มสร้างบรรยากาศผู้เรียนเป็นผู้ตอบสนองและเติมสีสันให้กับบรรยากาศการเรียนการสอนให้เป็นไปในรูปแบบต่างๆกันผู้สอนควรให้ความอบอุ่นทั้งทางกายและจิตใจสร้างความรู้สึกไว้วางใจให้กับผู้เรียนผู้เรียนได้รับความเข้าใจเป็นมิตรเอื้ออาทรห่วงใยตลอดจนให้ความดูแลช่วยเหลือจะทาให้ผู้เรียนมีความกล้าและอยากเรียนรู้มากขึ้นบรรยากาศการเรียนการสอนที่มีการยอมรับมองเห็นคุณค่าในตัวผู้เรียนผู้เรียนเป็นบุคคลสำคัญและสามารถเรียนได้ผู้สอนควรแสดงความรู้สึกการยอมรับผู้เรียนอย่างจริงใจกระตุ้นผู้เรียนให้ยอมรับกันเองและเชื่อมั่นว่าสามารถทาได้สำเร็จบรรยากาศการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนากระบวนการคิดควรมีลักษณะดังนี้ (สสวท.,2549)

1.4.1 บรรยากาศภายในห้องเรียน

1.4.1.1 เป็นบรรยากาศการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

1.4.1.2 เป็นบรรยากาศการโต้ตอบกันระหว่างครูกับนักเรียนและนักเรียนกับนักเรียนอย่างสร้างสรรค์สมเหตุสมผล

1.4.1.3 เป็นบรรยากาศที่นักเรียนรู้สึกอบอุ่นใจปลอดภัยปราศจากการตาหนิวิพากษ์วิจารณ์ความคิดไม่มีการตัดสินว่าถูกหรือผิด

1.4.1.4 บรรยากาศตื่นเต้นน่าสนใจสนุกสนานมีชีวิตชีวา

1.4.1.5 นักเรียนสนใจกระตือรือร้นให้ความร่วมมือในการทากิจกรรม

1.4.1.6 บรรยากาศการเรียนรู้เป็นแบบสร้างสรรค์และอิสระ

1.4.2 ปฎิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน

1.4.2.1 ครูเป็นกัลยาณมิตรกับนักเรียนเป็นกันเองให้กาลังใจแก่นักเรียน

1.4.2.2 ครูใจกว้างให้นักเรียนโต้แย้งได้ยอมรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน

1.4.2.3 ครูให้คาปรึกษาชี้แนะและช่วยเหลือนักเรียน

1.4.3 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน

1.43.1 ร่วมมือร่วมใจในการทากิจกรรมช่วยกันคิดช่วยกันทางานถ้อยทีถ้อยอาศัย

1.4.3.2 อภิปรายซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันและโต้แย้งกันอย่างสร้างสรรค์

1.4.3.3 ยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

1.5 บทบาทของครูและนักเรียนในการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 

(Inquiry Cycle)

ในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ครูผู้สอนต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ถ่ายทอดความรู้ไปสู่การเป็นผู้จัดการเรียนรู้โดยอานวยความสะดวกให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้เรียนส่วนผู้เรียนเองก็มีบทบาทสำคัญที่จะทำให้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ประสบผลสำเร็จซึ่งสามารถสรุปเป็นตารางดังนี้(สสวท.,2549)

ขั้นตอนการเรียนการสอน

สิ่งที่ครูควรทำ

สอดคล้องกับ 5Es

ไม่สอดคล้องกับ 5Es

1. การสร้างความสนใจ

(Engagement)

สร้างความสนใจ

สร้างความอยากรู้อยากเห็น

ตั้งคาถามกระตุ้นให้นักเรียนคิด

ดึงเอาคาตอบที่ยังไม่ครอบคลุมสิ่งที่นักเรียนรู้หรือความคิดเกี่ยวกับความคิดรวบยอดหรือเนื้อหาสาระ

อธิบายความคิดรวบยอด

ให้คาจากัดความและคาตอบ

สรุปประเด็นให้

จัดคาตอบให้เป็นหมวดหมู่

บรรยาย

2. การสารวจและค้นหา

(Exploration)

ส่งเสริมให้นักเรียนทางานร่วมกันในการสารวจตรวจสอบ

สังเกตและฟังการโต้ตอบกันระหว่างนักเรียนกับนักเรียน

ซักถามเพื่อนาไปสู่การสารวจตรวจสอบของนักเรียน

ให้เวลานักเรียนในการคิดข้อสงสัยตลอดจนปัญหาต่างๆ

ทาหน้าที่ให้คาปรึกษาแก่นักเรียน

เตรียมคาตอบไว้ให้

บอกหรืออธิบายวิธีแก้ปัญหา

จัดคาตอบให้เป็นหมวดหมู่

บอกนักเรียนเมื่อนักเรียนทาไม่ถูก

ให้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ใช้ในการแก้ปัญหา

นานักเรียนแก้ปัญหาทีละขั้นตอน


ตาราง แสดงบทบาทของครูในการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle (5Es) (ต่อ)

ขั้นตอนการเรียนการสอน

สิ่งที่ครูควรทำ

สอดคล้องกับ 5Es

ไม่สอดคล้องกับ 5Es

 3. การอธิบาย (Explanation)

ส่งเสริมให้นักเรียนอธิบายความคิดรวบยอดหรือแนวคิด หรือให้คาจากัดความด้วยคาพูดของนักเรียนเอง

ให้นักเรียนแสดงหลักฐาน ให้เหตุผลและอธิบายให้กระจ่าง

ให้นักเรียนอธิบายให้คาจากัดความและชี้บอกส่วนประกอบต่าง ๆในแผนภาพ

ให้นักเรียนใช้ประสบการณ์เดิม ของตน เป็นพื้นฐานในการอธิบายความคิดรวบยอดหรือแนวคิด

ยอมรับคาอธิบายโดยไม่มีหลักฐาน หรือให้เหตุผลประกอบ

ไม่สนใจคาอธิบายของนักเรียน

แนะนานักเรียนโดยปราศจากการเชื่อมโยงแนวคิด หรือความคิดรวบยอด หรือทักษะ

 4. การขยายความรู้

(Elaboration)

คาดหวังให้นักเรียนได้ใช้ประโยชน์จากการชี้บอกส่วนประกอบต่าง ๆในแผนภาพ คาจากัดความและการอธิบายสิ่งที่นักเรียนรู้มาแล้ว

ส่งเสริมให้นักเรียนนาสิ่งที่นักเรียน ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้หรือขยายความรู้หรือทักษะในสถานการณ์ใหม่

ให้นักเรียนอธิบายอย่างหลากหลาย

ให้นักเรียนอ้างอิงข้อมูลที่มีอยู่พร้อมทั้งแสดงหลักฐาน และถามคาถามนักเรียนว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง หรือได้แนวคิดอะไร (ที่จะนากลวิธีจากการสารวจตรวจสอบครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้)

ให้คาตอบที่ชัดเจน

บอกนักเรียนเมื่อนักเรียนทา ไม่ถูก

ใช้เวลามากในการบรรยาย

นานักเรียนแก้ปัญหาทีละขั้นตอน

อธิบายวิธีแก้ปัญหา


ตาราง แสดงบทบาทของครูในการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle (5Es) (ต่อ)

ขั้นตอนการเรียนการสอน

สิ่งที่ครูควรทำ

สอดคล้องกับ 5Es

ไม่สอดคล้องกับ 5Es

5. การประเมินผล

(Evaluation)

สังเกตนักเรียนในการนาความคิดรวบยอดและทักษะใหม่ไปประยุกต์ใช้

ประเมินความรู้และทักษะของนักเรียน

หาหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนได้เปลี่ยนความคิด หรือพฤติกรรม

ให้นักเรียนประเมินตนเองเกี่ยวกับการเรียนรู้และทักษะกระบวนการกลุ่ม

ถามคาถามปลายเปิด เช่น ทาไมนักเรียนจึงคิดเช่นนั้น มีหลักฐานอะไรนักเรียนเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับสิ่งนั้น และจะอธิบายสิ่งนั้นอย่างไร

ทดสอบคานิยามศัพท์และข้อเท็จจริง

ให้แนวคิดหรือความคิดรวบยอดใหม่

ทาให้คลุมเครือ

ส่งเสริมการอภิปรายที่ไม่เชื่อมโยงความคิดรวบยอดหรือทักษะ


ตาราง แสดงบทบาทของนักเรียนในการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle (5Es)


ขั้นตอนการเรียนการสอน

สิ่งที่ครูควรทำ

สอดคล้องกับ 5Es

ไม่สอดคล้องกับ 5Es

1. การสร้างความสนใจ (Engagement)

ถามคาถามเช่น ทาไม สิ่งนี้จึง เกิดขึ้น ฉันได้เรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับสิ่งนี้

แสดงความสนใจ

ถามหาคาตอบที่ถูก

ตอบเฉพาะคาตอบที่ถูก

ยืนยันคาตอบหรือคาอธิบาย

ค้นหาวิธีการแก้ปัญหาเพียงวิธีเดียว


ตาราง แสดงบทบาทของนักเรียนในการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle (5Es)(ต่อ)

ขั้นตอนการเรียนการสอน

สิ่งที่ครูควรทำ

สอดคล้องกับ 5Es

ไม่สอดคล้องกับ 5Es

2. การสารวจและค้นหา (Exploration)

คิดอย่างอิสระแต่อยู่ในขอบเขตของกิจกรรม

ทดสอบการคาดคะเนและสมมติฐาน

คาดคะเนและตั้งสมมติฐานใหม่

พยายามหาทางเลือกในการแก้ปัญหาและอภิปรายทางเลือกเหล่านั้นกับคนอื่น ๆ

บันทึกการสังเกตและให้ข้อคิดเห็น

ลงข้อสรุป

ให้คนอื่นคิดและสารวจตรวจสอบ

ทางานเพียงลาพังโดยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อยมาก

ปฏิบัติอย่างสับสนไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน

เมื่อแก้ปัญหาได้แล้วก็ไม่ คิดต่อ

3. การอธิบาย (Explanation

อธิบายการแก้ปัญหาหรือคาตอบที่เป็นไปได้

ฟังคาอธิบายของคนอื่นอย่างคิดวิเคราะห์

ถามคาถามเกี่ยวกับสิ่งที่คนอื่นได้อธิบาย

ฟังและพยายามทาความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ครูอธิบาย

อ้างอิงกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติมาแล้ว

ใช้ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกการสังเกตประกอบคาอธิบาย

อธิบายโดยไม่มีการเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม

ยกตัวอย่างและประสบการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน

ยอมรับคาอธิบายโดยไม่ให้เหตุผล

ไม่สนใจคาอธิบายของคนอื่นซึ่งมีเหตุผลพอที่จะเชื่อถือได้

4. การขยายความรู้ (Elaboration)

นาการชี้บอกส่วนประกอบต่าง ๆ ในแผนภาพ คาจากัดความ คาอธิบายและทักษะไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ที่คล้ายกับสถานการณ์เดิม

ใช้ข้อมูลเดิมในการถามคาถามกาหนดจุดประสงค์ในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ และออกแบบการทดลอง


ปฏิบัติโดยไม่มีเป้าหมายชัดเจน

ไม่สนใจข้อมูลหรือหลักฐานที่มีอยู่

อธิบายเหมือนกับที่ครูจัดเตรียมไว้หรือกาหนดไว้

ตาราง แสดงบทบาทของนักเรียนในการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle (5Es)(ต่อ)

ขั้นตอนการเรียนการสอน

สิ่งที่ครูควรทำ

สอดคล้องกับ 5Es

ไม่สอดคล้องกับ 5Es


ลงข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากหลักฐานที่ปรากฏ

บันทึกการสังเกตและอธิบาย

ตรวจสอบความเข้าใจกับเพื่อน




5. การประเมินผล (Evaluation)

ตอบคาถามปลายเปิดโดยใช้การสังเกต หลักฐานและคาอธิบายที่ยอมรับมาแล้ว

แสดงออกถึงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอดหรือทักษะ

ประเมินความก้าวหน้าหรือความรู้ด้วยตนเอง

ถามคาถามที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมให้มีการสารวจตรวจสอบต่อไป

ลงข้อสรุปโดยปราศจากหลักฐานหรือคาอธิบายที่เป็น ที่ยอมรับมาแล้ว

ตอบแต่เพียงว่าถูกหรือผิดและอธิบายให้คาจากัดความโดยใช้ความจา

ไม่สามารถอธิบายเพื่อแสดงความเข้าใจด้วยคาพูดของตนเอง


2. การสอนแบบเน้นกระบวนการคิดด้วยเทคนิค 7Eหรือ การเรียนโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ7E

2.1 หลักการและความสำคัญของการสอนแบบ 7E

พรพันธุ์ บุ่งนาแซง (2550) กล่าวว่า การสอนแบบเน้นกระบวนการคิดด้วยเทคนิค 7Eหรือ การเรียนโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7Eหรือการสืบเสาะโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ (Learning Cycle) เป็นการสอนในรูปแบบเดียวกัน และเป็นการสอนอีกขั้นหนึ่งต่อจาก 5E

การสอนตามแบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เป็นการสอนที่เน้นการถ่ายโอนการเรียนรู้และ ให้ความสำคัญเกี่ยวกับ การตรวจสอบความรู้เดิมของเด็ก ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูละเลยไม่ได้และการตรวจ สอบความรู้พื้นฐานเดิมของเด็กจะทำให้ครูค้นพบว่านักเรียนต้องเรียนรู้อะไรก่อนก่อนที่จะเรียนรู้ใน เนื้อหาบทเรียนนั้นๆ ซึ่งจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ


2.2 ขั้นของการเรียนรู้ตามแนว คิดของ Eisenkraft

ขั้นของการเรียนรู้ตามแนว คิดของ Eisenkraftมีเนื้อหาสาระ ดังนี้

2.2.1 ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม (Elicitation Phase)

ในขั้นนี้จะเป็นขั้นที่ครูจะตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้เดิมออกมา เพื่อครูจะได้รู้ว่า เด็กแต่ละคนมีพื้นความรู้เดิมเท่าไร จะได้วางแผนการสอนได้ถูกต้อง และครูได้รู้ว่านักเรียนควรจะเรียนเนื้อหาใดก่อนที่จะเรียนในเนื้อหานั้น ๆ

2.2.2 ขั้นเร้าความสนใจ (Engagement Phase)

เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเองหรือเกิดจากการอภิปรายภายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เด็กเพิ่งเรียนรู้มาแล้ว ครูเป็นคนกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถามกำหนดประเด็นที่ที่จะกระตุ้นโดยการเสนอประเด็นขึ้นก่อน แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือคำถามที่ครูกำลังสนใจเป็นเรื่องที่จะใช้ศึกษา

2.2.3 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration Phase)

ในขั้นนี้จะต่อเนื่องจากขั้นเร้าความสนใจ ซึ่งเมื่อนักเรียนทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้วก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางควรสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมุติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี เช่น ทำการทดลอง ทำกิจกรรมภาคสนาม การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation) การศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป

2.2.4 ขั้นอธิบาย (Explanation Phase)

ในขั้นนี้เมื่อนักเรียนได้ข้อมูลมาอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้ว จึงนำข้อมูล ข้อสนเทศที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่าง ๆ เช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ หรือรูปวาด สร้างตารางฯลฯการค้นพบในด้านนี้อาจเป็นไปได้หลายทาง เช่น สนับสนุนสมมุติฐานที่ตั้งไว้ โต้แย้งกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ได้กำหนดไว้ แต้ผลที่ได้จะอยู่ในรูปใดก็สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้

2.2.5 ขั้นขยายความคิด (Expansion Phase/Elaboration Phase)

เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม หรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่นๆ ถ้าใช้อธิบายเรื่องต่างๆ ได้มากก็แสดงว่าข้อกำกัดน้อย ซึ่งก็จะช่วยให้เชื่อมโยงกับเรื่องราวต่างๆ และทำให้เกิดความรู้สึกกว้างขวางขึ้น

2.2.6 ขั้นประเมินผล (Evaluation Phase)

ในขั้นนี้เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆ

2.2.7 ขั้นนำความรู้ไปใช้ (Extension Phase)

ในขั้นนี้เป็นที่ครูจะต้องมีการจัดเตรียมโอกาสให้นักเรียนได้นำสิ่งที่ได้เรียนมาไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ครูจะเป็นผู้กระตุ้นให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปสร้างเป็นความรู้ที่เรียกว่า “การถ่ายโอนการเรียนรู้

จากขั้นตอนต่าง ๆ ในรูปแบบการสอนโดยวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น จะเห็นได้ว่ารูปแบบการสอนโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น จะเน้นการถ่ายโอนการเรียนรู้และให้ความสำคัญกับกาตรวจสอบความรู้เดิมของเด็กซึ่งเป็นสิ่งที่ครูไม่ควรละเลย หรือละทิ้ง เนื่องจาก การตรวจสอบพื้นความรู้เดิมของเด็กจะทำให้ครูได้ค้นพบว่านักเรียนจะต้องเรียนรู้อะไรก่อนที่จะเรียนในเนื้อหานั้น ๆ นักเรียนจะสร้างความรู้จากพื้นความรู้เดิมที่เด็กมี ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายและไม่คิดแนวความคิดที่ผิดพลาด

การละเลยหรือเพิกเฉยในขั้นนี้จะทำให้ยากแก่การพัฒนาแนวความคิดของเด็กซึ่งจะไม่เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ นอกจากนี้ยังเน้นให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

2.3 เปรียบเทียบการสอนแบบเน้นการสืบเสาะโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7กับ 5E

พรพันธุ์ บุ่งนาแซง. (2550)กล่าว่าขั้นตอนต่าง ๆ ในรูปแบบการสอนแบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น จะเน้นการถ่ายโอนการเรียนรู้และให้ความสำคัญกับการตรวจสอบความรู้เดิมของเด็ก ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูไม่ควรจะละเลยหรือละทิ้ง เนื่องจากการตรวจสอบพื้นความรู้เดิมของเด็กจะทำให้ครูได้ค้นพบว่า นักเรียนจะต้องเรียนรู้อะไรก่อนที่จะเรียนในเนื้อหานั้น ๆ นักเรียนจะสร้างความรู้จากพื้นความรู้เดิมที่เด็กมี ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายและไม่เกิดแนวความคิดที่ผิดพลาด การละเลยหรือเพิกเฉยในขั้นนี้จะทำให้ยากแก่การพัฒนาแนวความคิดของเด็ก ซึ่งจะไม่เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้นอกจากนี้ยังเน้นให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ (Bransford, Brown and Cocking. 2000) จากรูปแบบการสอนวัฏจักรการเรียนรู้ทั้งแบบ สามารถเปรียบเทียบกันได้ดังตาราง

ตาราง การเปรียบเทียบรูปแบบการสอนแบบวัฎจักรการเรียนรู้ทั้ง 4 แบบ


แบบ 5E

แบบ 7E

1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

2. ขั้นสำรวจ

1. ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม

2. ขั้นเร้าความสนใจ

3. ขั้นสำรวจและค้นหา

3. ขั้นอธิบาย

4. ขั้นอธิบาย

4. ขั้นขยายหรือประยุกต์

ใช้มโนทัศน์

5. ขั้นขยายความคิด

5. ขั้นประเมินผล

6. ขั้นประเมินผล

7. ขั้นนำความรู้ไปใช้


3. ข้อดี ข้อด้อย

3.1 ข้อดี

            3.1.1นักเรียนมีโอกาสได้พัฒนาความคิดอย่างเต็มที่ ได้ศึกษาด้วยตนเองจึงมีความอยากรู้อยู่ตลอดเวลา

            3.1.2นักเรียนมีโอกาสได้ฝึกความคิด และฝึกการกระทำ ทำให้ได้เรียนรู้วิธีจัดระบบความคิดและวิธีสืบเสาะแสวงหาความรู้ด้วยตนเองทำให้ความรู้คงทนและถ่ายโยงการเรียนรู้ได้ กล่าวคือทำให้สามารถจดจำได้นานและนำไปใช้ในสถานการณ์ใหม่อีกด้วย

            3.1.3นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน

            3.1.4นักเรียนสามารถเรียนรู้มโนทัศน์และหลักการได้เร็วขึ้น

            3.1.5นักเรียนจะเป็นผู้มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนการสอนโดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์

          3.2 ข้อด้อย

                   3.2.1ในการสอนแต่ละครั้งต้องใช้เวลาในการสอนมาก

                   3.2.2ถ้าสถานการณ์ที่ครูสร้างขึ้นไม่ทำให้น่าสงสัยแปลกใจ จะทำให้นักเรียนเบื่อหน่าย ถ้าครูไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ในการสอนวิธีนี้มุ่งควบคุมพฤติกรรมของนักเรียนมากเกินไปจะทำให้นักเรียนไม่มีโอกาสได้สืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง

                   3.2.3ในกรณีที่นักเรียนมีระดับสติปัญญาต่ำและเนื้อหาค่อนข้างยาก นักเรียนอาจจะไม่สามารถศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองได้

                   3.2.4นักเรียนบางคนที่ยังไม่เป็นผู้ใหญ่พอ ทำให้ขาดแรงจูงใจที่จะศึกษาปัญหาและนักเรียนที่ต้องการแรงกระตุ้นเพื่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนมาก ๆ อาจจะพอตอบคำถามได้ แต่นักเรียนไม่ประสบความสำเร็จในการเรียนด้วยวิธีนี้เท่าที่ควร