กฎหมายห้องพยาบาลในสถานประกอบการ

สวัสดิการนอกเหนือกฎหมายที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานนำเสนอเป็นทางเลือกสำหรับสถานประกอบกิจการจัดเพิ่มเติม แบ่งออกได้เป็นหมวดใหญ่ๆ ดังนี้

1. สวัสดิการที่มุ่งพัฒนาลูกจ้าง เช่น

– การส่งเสริมการศึกษาทั้งในและนอกเวลาทำงาน

– การจัดตั้งโรงเรียนในโรงงาน

– จัดระบบฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการทำงานทั้งในและนอกสถานที่ทำงาน

– การจัดให้มีห้องสมุด หรือมุมอ่านหนังสือ ฯลฯ เป็นต้น

2. สวัสดิการที่ช่วยเหลือในเรื่องค่าครองชีพ

– การจัดตั้งร้านค้าสวัสดิการหรือสหกรณ์ร้านค้า

– การให้เงินช่วยเหลือต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานอุปสมบท งานศพ

– การจัดชุดทำงาน

– การจัดหอพัก

– การจัดให้มีรถรับ-ส่ง

– เงินโบนัส ค่าครองชีพ เบี้ยขยัน ค่าเข้ากะ

3. สวัสดิการที่ช่วยเหลือการออมของลูกจ้าง เช่น

– สหกรณ์ออมทรัพย์

– กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

4. สวัสดิการที่พัฒนาสถาบันครอบครัวของลูกจ้าง เช่น

– การจัดสถานเลี้ยงดูบุตรของลูกจ้าง

– การช่วยค่ารักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว

– การช่วยเหลือค่าเล่าเรียนบุตรของลูกจ้าง

– การประกันชีวิตให้กับลูกจ้าง

5. สวัสดิการที่ส่งเสริมความมั่นคงในอนาคต เช่น

– เงินบำเหน็จ

– เงินรางวัลทำงานนาน

– ให้ลูกจ้างซื้อหุ้นของบริษัท

– กองทุนฌาปนกิจ

– เงินกู้เพื่อสวัสดิการที่พักอาศัย

6. สวัสดิการนันทนาการ เช่น

– การจัดทัศนศึกษา

– การแข่งขันกีฬา

– การจัดงานเลี้ยงสังสรรค์พนักงาน

7. สวัสดิการด้านสุขภาพอนามัย

– การให้ความรู้เรื่องสุขภาพอนามัย

– การตรวจสุขภาพประจำปี

– การจัดสวัสดิการด้านสุขภาพแบบครบวงจร


กฎกระทรวง
การจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๔๘

กฎหมายห้องพยาบาลในสถานประกอบการ

สวัสดิการแรงงานตามที่กฎหมายกำหนด เป็นสวัสดิการที่ได้มีการพิจารณาแล้วว่าเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ
ซึ่งกฎหมายที่ใช้บังคับเพื่อให้สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่
1 คนขึ้นไปต้องมีการจัดสวัสดิการประเภทนี้ คือ ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กำหนดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย สำหรับลูกจ้าง โดยในประกาศฉบับนี้ได้กำหนดรายละเอียด
และรูปแบบของสวัสดิการแรงงานที่สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีโดยสรุปดังนี้


1. ในสถานที่ทำงานของลูกจ้าง ให้นายจ้างจัดให้มี

กฎหมายห้องพยาบาลในสถานประกอบการ

(1) น้ำสะอาดสำหรับดื่มไม่น้อยกว่าหนึ่งที่สำหรับลูกจ้างไม่เกิน 40 คน และเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนหนึ่งที่สำหรับลูกจ้างทุกๆ 40คน เศษของ 40คนถ้าเกิน 20คน ให้ถือเป็น 40คน

กฎหมายห้องพยาบาลในสถานประกอบการ

(2) ห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุม อาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ให้นายจ้างจัดให้มีห้องน้ำและห้องส้วมแยกสำหรับลูกจ้างชายและลูกจ้างหญิง และในกรณีที่มีลูกจ้างที่เป็นคนพิการ ให้นายจ้างจัดให้มีห้องน้ำและห้องส้วมสำหรับคนพิการแยกไว้โดยเฉพาะ

2. ในสถานที่ทำงานของลูกจ้าง ให้นายจ้างจัดให้มีสิ่งจำเป็นในการปฐมพยาบาลและการรักษาพยาบาล ดังต่อไปนี้

กฎหมายห้องพยาบาลในสถานประกอบการ

(2.1) สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ต้องจัดให้มีเวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลในจำนวนที่เพียงพอ อย่างน้อยตามรายการที่กำหนดทั้ง 29 รายการ อาทิ กรรไกร แก้วยาน้ำ และแก้วยาเม็ด เข็มกลัด สายยางรัดห้ามเลือด ฯลฯ

กฎหมายห้องพยาบาลในสถานประกอบการ

2.2 สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่สองร้อยคนขึ้นไป ต้องจัดให้มี

     (ก) เวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลตาม ( 1 )

     (ข) ห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้อย่างน้อยหนึ่งเตียง เวชภัณฑ์และยานอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ตามความจำเป็นและเพียงพอแก่การรักษาพยาบาลเบื้องต้น

     (ค) พยาบาลตั้งแต่ระดับพยาบาลเทคนิคขึ้นไปไว้ประจำอย่างน้อยหนึ่งคนตลอดเวลาทำงาน

     (ง) แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคน เพื่อตรวจรักษาพยาบาลไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละสองครั้งและเมื่อรวมเวลาแล้วต้อง ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละหกชั่วโมงในเวลาทำงาน

กฎหมายห้องพยาบาลในสถานประกอบการ

2.3 สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่หนึ่งพันคนขึ้นไป ต้องจัดให้มี

     (ก) เวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลตาม ( 1 )

     (ข) ห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้อย่างน้อยหนึ่งเตียง เวชภัณฑ์และยานอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ตามความจำเป็นและเพียงพอแก่การรักษาพยาบาล เบื้องต้น

     (ค) พยาบาลตั้งแต่ระดับพยาบาลเทคนิคขึ้นไปไว้ประจำอย่างน้อยสองคนตลอดเวลาทำงาน

     (ง) แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคน เพื่อตรวจรักษาพยาบาลไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละสองครั้งและเมื่อรวมเวลาแล้วต้อง ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละหกชั่วโมงในเวลาทำงาน

     (จ) ยานพาหนะซึ่งพร้อมที่จะนำลูกจ้างส่งสถานพยาบาลเพื่อให้การรักษาพยาบาล

กฎหมายห้องพยาบาลในสถานประกอบการ