แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในบริเวณใดของโลกมากที่สุด

แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในบริเวณใดของโลกมากที่สุด
แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในบริเวณใดของโลกมากที่สุด

ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา

แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในบริเวณใดของโลกมากที่สุด

แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในบริเวณใดของโลกมากที่สุด

" ธรณีวิทยา "  หรือ  " Geology "  คือ การศึกษาว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เกิดขึ้นอย่างไร และประกอบด้วย  หินอะไรบ้าง กุญแจไขประวัติศาสตร์ของโลกซ่อนอยู่ในหินทั้งหลายนั้นเอง

นักธรณีวิทยาจะสำรวจพื้นที่และขุดลงไปยังหินในเปลือกโลก อายุกับธรรมชาติของหินและฟอสซิลจะช่วยให้นักธรณีวิทยาเข้าใจกระบวนการของโลกได้ นักธรณีวิทยายังช่วยในการค้นหาแหล่งถ่านหิน น้ำมัน และแร่ที่มีประโยชน์อื่นๆ นอกจากพวกเขาจะศึกษาพื้นที่ก่อนทำการก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น เขื่อน เพื่อให้แน่ใจว่าพื้นดินสามารถรองรับน้ำหนักมหาศาลได้

วิชาธรณีวิทยา ก่อให้เกิดวิชาแขนงที่เกี่ยวข้องต่างๆ ตามมาอีกมาก เช่น

- วิชาแร่วิทยา (Mineralogy)

-  วิชาศิลาวิทยา (Petrology)

-  วิชาธรณีสัณฐาน (Geomorphology)

-  วิชาธรณีเคมี (Geochemistry)

-  วิชาธรณีฟิสิกส์ (Geophysics)

-  วิชาตะกอนวิทยา (Sedimentology)

-  วิชาธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology)

-  วิชาเศรษฐธรณีวิทยา (Economic Geology)

-  วิชาวิศวกรรมธรณี (Engineering Geology)

-  วิชาการลำดับชั้นหิน (Stratigraphy)

-  วิชาซากบรรพชีวิน หรือซากดึกดำบรรพ์ (Paleontology)

-  วิชาธรณีวิทยาปิโตรเลียม (Petroleum Geology)

และอื่นๆ อีกมากมาย
 

แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในบริเวณใดของโลกมากที่สุด
แผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในบริเวณใดของโลกมากที่สุด

http://dvice.com

-  เกิดจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกตามแนวรอยต่อของแผ่นธรณีภาค จนชั้นหินแตกหัก/เลื่อนตัวแล้วถ่ายโอนพลังงานศักย์ให้ชั้นหินอื่นที่ติดกันในรูปของคลื่นไหวสะเทือน

-  ตำแหน่งของจุดกำเนิดแผ่นดินไหว เรียกว่า ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ส่วนตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวเรียกว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว

-  เครื่องตรวจวัดและบันทึกการเกิดแผ่นดินไหวเรียกว่า ไซสโมกราฟ ทำงานโดยรับคลื่นไหวสะเทือนแล้วแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า

- มาตราเมอร์คัลลี่ เป็นมาตราที่นักธรณีวิทยาแผ่นดินไหวชาวอิตาเลียน กิเชปเป เมอร์คัลลี่ เป็นผู้คิดค้น สำหรับใช้ในการวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว  

- มาตราวัดขนาดของแผ่นดินไหว เรียกว่า มาตราริคเตอร์  เป็นมาตราที่นักธรณีวิทยาแผ่นดินไหว ซี.เอฟ.ริคเตอร์  เป็นผู้คิดค้นสำหรับใช้ในการกำหนดขนาดของแผ่นดินไหว

บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว

คือบริเวณรอยต่อของแผ่นธรณีภาค แนวรอยรอยต่อที่สำคัญ มี 3 แนวคือ

1. แนวรอยต่อล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก จัดว่าเป็นบริเวณที่เกิดค่อนข้างรุนแรงและมากที่สุด (80 %ของการเกิดแผ่นดินไหนทั่วโลก)

2. แนวรอยต่อภูเขาแอลป์ในยุโรปและหิมาลัยในเอเชีย (15 %)

3. แนวรอยต่อบริเวณแนวสันกลางมหาสมุทรต่างๆ (5%) เช่น เทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และ อาร์กติก
 

แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในบริเวณใดของโลกมากที่สุด
ภูเขาไฟ

แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในบริเวณใดของโลกมากที่สุด

http://www.rmutphysics.com/

-  เกิดจากการประทุของแมกมา ก๊าซ และเถ้าจากใต้เปลือกโลก
 

-  แมกมาจะถูกพ่นออกมาทางปล่องภูเขาไฟ หรือรอยแตกของภูเขาไฟ เมื่อขึ้นสู่ผิวโลกแล้วเรียกว่า ลาวา
 

-  เมื่อลาวาเย็นตัว จะกลายเป็นหินหลายชนิด เช่น หินบะซอลต์ หินพัมมิช เป็นต้น
 

-  เมื่อเกิดการระเบิดของภูเขาไฟแล้วจะทำให้เกิดภูมิประเทศใหม่ขึ้นมาหลายแบบ แต่แบบที่รู้จักกันมากและสวยงามคือ ภูเขาไฟรูปกรวย เกิดจาการทับถมซ้อนกันของลาวา เช่น ภูเขาไฟฟูจิยามา ภูเขาไฟเซนต์ เฮเลนส์ ในอเมริกา เป็นต้น

บริเวณที่มีภูเขาไฟของโลก

-  บริเวณที่เรียกว่า  วงแหวนแห่งไฟ  ได้แก่ประเทศ ประเทศญี่ปุ่น  ฟิลิปปินส์  ด้านตะวันตกของประเทศเม็กซิโก  และด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา 

-  เป็นบริเวณเดียวกันกับแหล่งที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยๆ
 

-  แผ่นธรณีภาคมีการเคลื่อนตัวตลอดเวลา โดยเฉพาะถ้าที่ชนกันแล้วมุดลอดเข้าไปใต้แผ่นธรณีภาคอีกแผ่นที่เป็นแผ่นทวีป จะเป็นสาเหตุการเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด

แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในบริเวณใดของโลกมากที่สุด
แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในบริเวณใดของโลกมากที่สุด

แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในบริเวณใดของโลกมากที่สุด