จังหวัดใดในประเทศไทยมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว เพราะเหตุใด (ยกตัวอย่าง 1 จังหวัด)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แผ่นดินไหวในอำเภอแม่ลาว พ.ศ. 2557

จังหวัดใดในประเทศไทยมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว เพราะเหตุใด (ยกตัวอย่าง 1 จังหวัด)

วัดร่องขุ่น อำเภอเมืองเชียงราย ได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว

จังหวัดใดในประเทศไทยมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว เพราะเหตุใด (ยกตัวอย่าง 1 จังหวัด)

จังหวัดใดในประเทศไทยมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว เพราะเหตุใด (ยกตัวอย่าง 1 จังหวัด)

จังหวัดใดในประเทศไทยมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว เพราะเหตุใด (ยกตัวอย่าง 1 จังหวัด)

กรุงเทพมหานคร

จังหวัดใดในประเทศไทยมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว เพราะเหตุใด (ยกตัวอย่าง 1 จังหวัด)

เชียงราย

จังหวัดใดในประเทศไทยมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว เพราะเหตุใด (ยกตัวอย่าง 1 จังหวัด)

เชียงใหม่

แผนที่แสดงจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว

เวลาสากลเชิงพิกัด2014-05-05 11:08:43
รหัสเหตุการณ์ ISC 604514202
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น5 พฤษภาคม 2557
เวลาท้องถิ่น18:08:43 ICT (UTC+7)
ขนาด6.1 Mw (USGS)[1]
ความลึก7.4 กิโลเมตร (5 ไมล์)
ศูนย์กลาง19°40′N 99°40′E / 19.66°N 99.67°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 19°40′N 99°40′E / 19.66°N 99.67°E[1]
ประเทศที่ได้รับผลกระทบไทย
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้VIII (อย่างรุนแรง)
แผ่นดินไหวตาม274 ครั้ง[2]
ผู้ประสบภัยเสียชีวิต 1 คน,[3] บาดเจ็บ 23 คน

แผ่นดินไหวในอำเภอแม่ลาว พ.ศ. 2557 เกิดขึ้นเมื่อเวลา 18.08.43 น. ตามเวลาท้องถิ่นของประเทศไทย (UTC+7) ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ในตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย[4] ต่อมา กรมทรัพยากรธรณี ระบุว่า การใช้เครื่องมือตรวจวัดได้ข้อสรุปใหม่ว่าศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวอยู่ที่ตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย เนื่องจากพบแนวรอยแยกปรากฏอยู่จำนวนมาก[5] ส่วน USGS รายงานว่าจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากอำเภอแม่ลาวไปทางใต้ 9 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดเชียงรายไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 27 กิโลเมตร[1][6] แผ่นดินไหวครั้งนี้มีขนาด 6.3 (ML) จากการวัดของกรมอุตุฯ มีขนาด 6.1 จากการวัดโดย USGS ลึก 7.4 กิโลเมตร มีผู้เสียชีวิต 2 ราย[7]

ข้อมูลทางธรณีวิทยา[แก้]

จังหวัดใดในประเทศไทยมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว เพราะเหตุใด (ยกตัวอย่าง 1 จังหวัด)

แผนที่ของ USGS แสดงความรุนแรงของแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นจากการปลดปล่อยพลังงานของรอยเลื่อนพะเยา จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ลึกลงไปใต้ดิน 6 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าตื้น ทำให้มีความรุนแรงและความเสียหายเป็นอย่างมาก โดยแรงสั่นสะเทือนทำให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งปลูกสร้างในระยะ 30 กิโลเมตรจากจุดศูนย์กลาง และมีแผ่นดินไหวตามกว่า 730 ครั้ง [8] ทั้งนี้ยังมีการให้เฝ้าระวังแผ่นดินไหวตามที่อาจเกิดขึ้นจากรอยเลื่อนพะเยาในจังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยาและจังหวัดลำปาง[9]

แผ่นดินไหว[แก้]

แผ่นดินไหวครั้งนี้ถูกบันทึกว่าเป็นแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรง เกิดแรงสั่นสะเทือนทั้งภาคเหนือของประเทศไทยและพม่าในช่วงเย็น ประชาชนหลายจังหวัดภาคเหนือ (รวมถึงเชียงราย เชียงใหม่และลำปาง) สามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้[10] หน้าต่าง ผนัง ถนนและวัดได้รับความเดือดร้อนจากแรงสั่นสะเทือน ในช่วงแรกยังไม่มีการค้นพบผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต[11] จนต่อมามีรายงานข่าวพบผู้เสียชีวิตสองราย และผู้บาดเจ็บอีกหลายคน[3]

ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงราย ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว ได้อพยพผู้โดยสารออกจากอาคารผู้โดยสารในทันที ขณะที่ดำรง คล่องอักขระ ผอ.การท่าอากาศยานฯ กล่าวว่า รันเวย์และเที่ยวบินไม่ได้รับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือน[3][11]

เจ้าหน้าตำรวจในจังหวัดเชียงรายนายหนึ่งเล่าว่า สิ่งของในร้านค้ากระจัดกระจายไปทั่ว มีรอยแตกปรากฏตามอาคาร และพบถนนบางสายมีรอยแตกขนาดใหญ่[12]

อาคารสูงในกรุงเทพมหานครได้รับอิทธิพลจากแผ่นดินไหว และยังรู้สึกได้จากย่างกุ้ง ประเทศพม่า ด้วย[12]

ผลกระทบ[แก้]

จังหวัดใดในประเทศไทยมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว เพราะเหตุใด (ยกตัวอย่าง 1 จังหวัด)

สภาพความเสียหายของวัดอุดมวารีและพระพุทธอุดมมงคล

จะเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงในรัศมีประมาณ 30 กิโลเมตร จากศูนย์กลางแผ่นดินไหว[13] ส่วนใหญ่เป็นความเสียหายด้านอาคารสถานที่ ทั้งโบราณสถาน สถานที่ราชการ เส้นทางคมนาคมและบ้านเรือนของประชาชน ในพื้นที่ที่รับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนโดยมีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด 7 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน แพร่ ลำปาง และกำแพงเพชร[14] ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแผ่นดินไหว จังหวัดเชียงราย สรุปสถานการณ์พื้นที่ประสบภัยในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ว่ามีพื้นที่ประสบภัยพิบัติ รวมทั้งสิ้น 7 อำเภอ 47 ตำบล 478 หมู่บ้าน บ้านเรือนเสียหายรวม 8,935 หลัง โดยที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลัง 116 หลัง ได้รับความเสียหายบางส่วน 8,463 หลัง, วัด 99 แห่ง, โบสตถ์คริสต์ 7 แห่ง, โรงเรียน 35 แห่ง, มหาวิทยาลัย 1 แห่ง, สถานพยาบาล 25 แห่ง โรงงานอุตสาหกรรม 6 แห่ง, โรงแรม 1 แห่ง, ถนน 5 สาย ตลิ่งพัง 1 แห่ง สะพาน 1 แห่ง และคอสะพาน 5 แห่ง[15]

โบราณสถาน ศาสนสถาน[แก้]

วัดร่องขุ่น มีรูปภาพบนผนังในโบสถ์ ที่ใช้เวลาสร้างมากกว่า 20 ปี และคาดว่าต้องใช้เวลาในการซ่อมกว่า 2 ปี โดยความเสียหายปัจจุบัน ได้แก่ ผนังภาพจิตรกรรมในโบสถ์ เป็นรอยร้าวยาว แผ่นสีภาพแตกร่อนออกมา สะพานด้านข้างโบสถ์แตกเสียหาย ยอดเจดีย์หักเบี้ยว หลังคาหอแสดงภาพจิตรกรรมแตก ทุกสิ่งทุกอย่างที่สร้างมานานต้องมาพังพินาศภายในวันเดียว เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ ผู้บุกเบิกสร้างวัดร่องขุ่น กล่าวว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นความเสียหายที่มีค่ามาก ไม่ใช่มูลค่าของสิ่งที่สร้าง แต่เป็นคุณค่าทางจิตใจ สร้างวัดนี้ขึ้นมาไม่เคยขอเงินใคร เป็นเงินที่ตนหามาเอง เฉลิมชัยกล่าวอีกว่า ส่วนไหนที่สามารถซ่อมได้ก็จะซ่อม แต่ถ้าส่วนไหนที่ซ่อมไม่ได้ก็จะปล่อยให้มันคงอยู่อย่างเดิม ไม่ทำลาย เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงการเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว[16]

วัดอุดมวารี ตำบลทรายขาว เศียรพระพุทธรูปปูนปั้นนามว่า พระพุทธอุดมมงคล หักลงเนื่องจากได้รับความเสียหาย และอาคารของวัดเกิดรอยแตก และเพดานได้รับความเสียหาย[11] วัดอื่น ๆ ก็ได้รับความเสียหายเช่นกัน[3] มีโบราณสถานเสียหาย 17 แห่งแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ยอดหักเอียงตามแรงเหวี่ยงของแผ่นดินไหว รวมถึงโครงสร้างแตกร้าว

สถานที่ราชการ[แก้]

มีสถานพยาบาลในสังกัดได้รับความเสียหาย 7 แห่ง ส่วนใหญ่มีรอยร้าว แต่ไม่กระทบต่อโครงสร้างอาคาร ที่รุนแรง เช่น โรงพยาบาลแม่ลาว มีอาคารผู้ป่วยเดิมร้าวและทรุด เสาบางแห่งเห็นเหล็กโครงสร้าง สามารถให้บริการเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินได้เท่านั้น[17] ที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ อาคารเกิดรอยแยกและ แผ่นหินแตกออก กระจกในอาคารแตก โรงพยาบาลที่ได้รับความเสียหายหนักที่สุดได้แก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงเทพนิมิตร ตำบลป่าอ้อดอนชัย[18] มีโรงเรียนได้รับผลกระทบ 73 แห่ง มีโรงเรียนที่เสียหายหนัก 5 โรงเรียน อยู่ในอำเภอพาน อำเภอแม่ลาว และอำเภอแม่สรวย[19]

เส้นทางคมนาคม[แก้]

ในอำเภอพาน มีถนนถูกฉีกตามรอยแตกที่รุนแรง กรมทางหลวง เปิดเผยข้อมูลหลังเกิดหลังแผ่นดินไหวว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นบนทางหลวง ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย มี 2 แห่ง ในทางหลวงสาย 118 ที่ตัดผ่านอำเภอแม่ลาว ช่วง กม. 147-152 มีการบิดตัวเสียรูปทรงเกือบทั้งหมด ผิวการจราจรแตกหักเสียหาย ทำให้ผิวจราจรต่างระดับกันเล็กน้อย[20]

ประชาชนบาดเจ็บเสียชีวิต[แก้]

มีผู้เสียชีวิต 2 คน คนหนึ่งอยู่ในพื้นที่ ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว เนื่องจากถูกผนังบ้านล้มทับบริเวณศีรษะ[7] อีกคนหนึ่ง อยู่ในพื้นที่ ตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว เนื่องจากหัวใจวาย[21] มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 23 ราย[22]

ความช่วยเหลือ[แก้]

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ตั้ง ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแผ่นดินไหว จังหวัดเชียงราย ณ ศาลากลางจังหวัดเชียงราย มีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายเป็นประธาน[23] โดยเจ้าหน้าที่ได้ให้การช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัยด้วยการตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว 2 จุด และการช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้ประสบภัย และส่งทีมสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นกับที่อยู่อาศัยของประชาชน โดยสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเชียงราย ร่วมกับสถาวิศวกรรมสถาน ชมรมช่างท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย ชมรมช่างท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ และวิศวกรอาสา จัดทีมช่างและวิศวกรลงพื้นที่ออกตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้างอาคารและสิ่งกอ่สร้าง บ้านเรือนประชาชนก่อนที่เข้าไปอยู่อาศัย กว่า 200 คน จัดทีมแพทย์และเตรียมทำหนังสือขอขยายวงเงินการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่บ้านเสียหายทั้งหลัง จากเดิมที่สามารถชดเชยเงินให้ 33,000 บาท ให้สามารถชดเชยเงินได้สูงขึ้น

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 1.2 "M6.3 - 9km S of Mae Lao, Thailand". USGS. May 5, 2014. สืบค้นเมื่อ May 5, 2014.
  2. "Very strong deadly earthquake close to Chiang Rai, Thailand – At least 1 dead and 32 injuries". Earthquake-Report.com. 5 May 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2014. สืบค้นเมื่อ 9 May 2014.
  3. ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "One dies, dozens injured after earthquake in Thailand". Voice of Russia. 2014-05-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-06. สืบค้นเมื่อ 2014-05-08.
  4. รายการค้นหาแผ่นดิวไหวภายในประเทศและใกล้เคียง
  5. กรมทรัพย์ฯ ยันศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ อ.แม่ลาว
  6. "M6.0 - 9km S of Mae Lao, Thailand". USGS. May 5, 2014. สืบค้นเมื่อ May 5, 2014.
  7. ↑ 7.0 7.1 แผ่นดินไหวเชียงราย ดับแล้ว 1 ราย - อาฟเตอร์ช็อกเพียบ[ลิงก์เสีย]. news.voicetv.วันที่ 6 พฤษภาคม 2557
  8. แผ่นดินไหวอีก ขนาด 5.0 ศูนย์กลางเชียงราย
  9. แผ่นดินไหวอีก ขนาด 6.0 ศูนย์กลางเชียงราย
  10. "6.0 quake in northern Thailand". Bangkok Post. May 5, 2014. สืบค้นเมื่อ May 5, 2014.
  11. ↑ 11.0 11.1 11.2 Doksone, Thanyarat (May 5, 2014). "Earthquake Cracks Walls, Roads in North Thailand". Associated Press. ABC News. สืบค้นเมื่อ May 5, 2014.
  12. ↑ 12.0 12.1 Bacon, John (May 5, 2014). "Magnitude-6.0 quake rattles Thailand". USA Today. สืบค้นเมื่อ May 5, 2014.
  13. "ถอดบทเรียนแผ่นดินไหว จ.เชียงราย 5 พฤษภาคม 2557 เพื่อการเตรียมพร้อมรับมือแผ่นดินไหวในอนาคต5 MAY 2014 CHIANG RAI EARTHQUAKE LESSON LEARNED FOR FUTURE EARTHQUAKE PREPAREDNESS". ph02.tci-thaijo.org. ชยานนท์ หรรษภิญโญ. สืบค้นเมื่อ 25 April 2022.
  14. "6.0 quake in northern Thailand"[ลิงก์เสีย]
  15. ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแผ่นดินไหว จังหวัดเชียงราย
  16. หวั่นตึกเก่ากทม.พัง
  17. สำนักนโยบายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  18. ความเสียหายของโรงพยาบาลจากเหตุแผ่นดินไหว
  19. แผ่นดินไหวในอำเภอแม่ลาว โรงเรียนได้รับผลกระทบ 73 แห่ง
  20. กรมทางหลวงแจ้ง แผ่นดินไหว ทำทางหลวงสาย 118 พัง 1 จุด
  21. "เหยื่อแผ่นดินไหวเชียงรายเพิ่มอีก 1 ศพ" เก็บถาวร 2014-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. วันที่ 12 พฤษภาคม 2557
  22. แผ่นดินไหวในอำเภอแม่ลาว มีผู้ได้รับบาดเจ็บถึง 23 ราย
  23. ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแผ่นดินไหว จังหวัดเชียงราย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • สุคนธ์เมธ จิตรมหันตกุล, รอยเลื่อนและแผ่นดินไหว จ.เชียงราย 2557 วิชาการธรณีไทย, GeoThai.net