เจตคติทางวิทยาศาสตร์ที่สําคัญ

เป็นคุณลักษณะหรือลักษณะนิสัยของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการคิดแบบวิทยาศาสตร์ ความเชื่อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ หรือการแสดงออกถึงการมีจิตใจที่เป็นวิทยาศาสตร์ โดยเริ่มตั้งแต่การตั้งคำถาม การค้นหาข้อมูล การพิจารณาหลักฐานข้อมูล และผลที่จะเกิดตามมา เป็นต้น คุณลักษณะดังกล่าว เช่น ความอยากรู้อยากเห็น ความมีเหตุผล ความซื่อสัตย์ ความรอบคอบ เป็นต้น


เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitudes) เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้น เป็นเสมือนตัวกำกับความคิด การกระทำ การตัดสินใจในการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์
             
ลักษณะของเจตคติทางวิทยาศาสตร์ แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
            
1. เจตคติที่เกิดจากการใช้ความรู้
              1.1
กฎเกณฑ์ ทฤษฎี และหลักการต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์
              1.2
การอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยถือผลที่เกิดจากการสังเกต ทดลอง ตามที่เกิดจริง โดยอาศัยข้อมูลองค์ประกอบที่เหมาะสม
     
      2. เจตคติที่เกิดจากความรู้สึก
           
2.1 กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์มุ่งที่ก่อให้เกิดความคิดใหม่ๆ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ คุณค่าสำคัญจึงอยู่ที่การสร้างทฤษฎี
           2.2
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์จะมีมากขึ้นถ้าได้รับการสนับสนุนจากบุคคล
           2.3
การเป็นนักวิทยาศาสตร์ หรือการทำงานที่ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่น่าสนใจและมีคุณค่า
                         
  คุณลักษณะของบุคคลที่มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สรุปได้ดังนี้
        
1. มีเหตุผล
        2.
มีความอยากรู้อยากเห็น
        3.
มีใจกว้าง
        4.
มีความซื่อสัตย์และมีใจเป็นกลาง
        5.
มีความเพียรพยายาม
        6.
มีความละเอียดรอบคอบ

เจตคติทางวิทยาศาสตร์ที่สําคัญ


������ԭ����˹�ҷҧ�Է����ʵ�����෤����� �պ��ҷ�Ӥѭ��ͪ��Ե��Ш��ѹ ��÷����Ҩ����������ҧ�ѹ�š��зѹ�˵ء�ó� ���繵�ͧ�֡���Ҥ������ҧ�Է����ʵ������ �������� �����Է����ʵ���ջ���ª������Ǣ�ͧ�Ѻ���Ե �������ǹ˹�觢ͧ������ҧ�س�Ҿ��������Ե

เจตคติทางวิทยาศาสตร์
        หมายถึง บุคคลที่มีลักษณะหรือบุคลิกภาพที่แสดงว่ามีวิธีการคิด ท่าที หรือพฤติกรรมที่แสดงต่อเนื้อหาวิชาและกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ หรืออื่นๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความรู้หรือหลักการ ทางวิทยาศาสตร์มาประกอบการพิจารณา การที่ปัจจุบันความรู้ทางวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และมีการ ค้นพบความรู้ใหม่ๆอีกมากมาย นั้น นอกจากรู้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้ว จำเป็นจะต้องมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ คือต้องเกิดจากความอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย เมื่อสงสัยก็อยากทราบคำตอบ จึงคิดหาวิธีการที่จะทำให้ได้คำตอบนั้น ในการที่จะให้ได้ คำตอบจำเป็นต้องอดทนรอคอยความรู้จากความพยายามโดยไม่สนใจว่าความรู้นั้น จะให้ประโยชน์อะไรแก่ตนหรือไม่ คุณลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า เจตคติทางวิทยาศาสตร์

เจตคติทางวิทยาศาสตร์มี 6 ประการ ดังนี้
 (1) มีความอยากรู้อยากเห็น
- มีความพยายามที่จะเสาะแสวงหาความรู้ในสถานการณ์ใหม่ๆ ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยความรู้ที่มีอยู่เดิม
- ตระหนักถึงความสำคัญของการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม
- ช่างซัก ช่างถาม ช่างอ่าน เพื่อให้ได้คำตอบเป็นความรู้ที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
- ให้ความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญในชีวิตประจำวัน
(2) มีใจกว้าง
- ยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ และยินดีให้มีการพิสูจน์ตามเหตุผลและข้อเท็จจริง
- เต็มใจที่จะรับรู้ความคิดใหม่ๆ
- เต็มใจที่จะเผยแพร่ความรู้และความคิดเห็นแก่ผู้อื่น
- ตระหนักและยอมรับข้อจำกัดของความรู้ที่ค้นพบในปัจจุบัน
(3) มีความซื่อสัตย์และมีใจเป็นกลาง
- สังเกตและบันทึกผลต่างๆโดยปราศจากความลำเอียงหรืออคติ
- ไม่นำสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองมาเกี่ยวข้องกับการตีความหมายผลงานต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์
- ไม่ยอมให้ความชอบหรือไม่ชอบส่วนตัวมามีอิทธิพลเหนือการตัดสินใดๆ
- มีความมั่นคง หนักแน่น ต่อผลที่ได้จากการพิสูจน์
- เป็นผู้ซื่อตรง อดทน ยุติธรรม และละเอียดรอบคอบ
(4) มีความเพียรพยายาม
- ทำกิจการงานที่ได้รับมอบหมายอย่างสมบูรณ์
- ไม่ท้อถอย เมื่อการทดลองมีอุปสรรคหรือล้มเหลว
- มีความตั้งใจแน่วแน่ต่อการเสาะแสวงหาความรู้
(5) มีเหตุผล
- เชื่อในความสำคัญของเหตุผล
- ไม่เชื่อโชคลาง คำทำนาย หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่ไม่สามารถอธิบายทางวิทยาศาสตร์ได้
- แสวงหาสาเหตุของเหตุการณ์ต่างๆ และหาความสัมพันธ์ของสาเหตุนั้นกับผลที่เกิดขึ้นได้
- ต้องการที่จะรู้ปรากฏการณ์ต่างๆ นั้นเป็นอย่างไร และทำไมจึงเป็นอย่างนั้น
(6) มีความละเอียดรอบคอบก่อนการตัดสินใจ
- ใช้วิจารณญาณก่อนที่จะตัดสินใจใดๆ
- ไม่ยอมรับสิ่งใดว่าเป็นความจริงทันที ถ้ายังไม่มีการพิสูจน์ที่เชื่อถือได้
- หลีกเลี่ยงการตัดสินใจและการสรุปที่รวดเร็วเกินไป