ตู้เย็น 10 คิว กินไฟกี่วัตต์

กำลังจะเข้าสู่หน้าร้อนแล้ว นอกจากเรื่องของอากาศที่ทำให้เราหงุดหงิดแล้ว "ค่าไฟฟ้า" เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นปัญหาทุกปี โดยเฉพาะบ้านไหนมีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชิ้น แถมจำนวนสมาชิกในบ้านยังมีหลายคน เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นจะทำให้เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายสำหรับเรา มาเช็กกันดีกว่าว่า มีเครื่องใช้อะไรบ้างที่สูบเงินในกระเป๋าเรามหาโหด จากนั้นไปดูว่ามีเทคนิคการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างไรไม่ให้สิ้นเปลืองค่าไฟฟ้า  และถ้าเรามีเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟเหล่านั้นอยู่ในบ้านจะใช้อย่างไรให้ประหยัดมากที่สุด

ตู้เย็น 10 คิว กินไฟกี่วัตต์

จัดอันดับเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟ

โดยทั่วไปแล้ว หน่วยวัดพลังงานไฟฟ้าจะใช้เป็นกิโลวัตต์ โดย 1 กิโลวัตต์/ชั่วโมง เท่ากับ 1,000 วัตต์ ซึ่งเป็นปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่เราใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ต่อหนึ่งชั่วโมง โดยเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟภายในบ้านที่เราใช้กันอยู่ทั่วไป มีดังนี้

1. เครื่องทำน้ำอุ่น ใช้ไฟ 2,500-12,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 10-47 บาท

2. เครื่องปรับอากาศ ใช้ไฟ 1,200-3,300 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 5-13 บาท

3. เครื่องซักผ้า ใช้ไฟ 3,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 12 บาท

4. เตารีดไฟฟ้า ใช้ไฟ 750-2,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 3-8 บาท

5. เครื่องดูดฝุ่น ใช้ไฟ 750-1,200 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 3-5 บาท

6. เครื่องปิ้งขนมปัง ใช้ไฟ 800-1,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 3-4 บาท

7. หม้อหุงข้าว ใช้ไฟ 450-1,500 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 2-6 บาท

8. เตาไมโครเวฟ ใช้ไฟ 100-1,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 0.40-4 บาท

9. เครื่องเป่าผม ใช้ไฟ 400-1,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 2-4 บาท

10. โทรทัศน์ ใช้ไฟ 80-180 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 30-70 สตางค์

11. ตู้เย็น 7-10 คิว ใช้ไฟ 70-145 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 25-60 สตางค์

12. พัดลมตั้งพื้น ใช้ไฟ 20-75 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 10-30 สตางค์

หมายเหตุ คิดจากค่าไฟฟ้าเฉลี่ย ประมาณ 3.9 บาท/หน่วย (ข้อมูลจากการไฟฟ้านครหลวง)

วิธีเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟ แบบช่วยประหยัด

หากเราเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม จะช่วยทั้งเรื่องการทำงานที่เหมาะกับการใช้งาน รวมทั้งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ อีกด้วย

1.เลือกขนาดให้เหมาะสม

อย่างการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศนั้นควรเลือกซื้อให้เหมาะกับพื้นที่บ้าน หรือพื้นที่ห้องที่จะติดตั้งเครื่องปรับอากาศ โดยบ้านที่มีพื้นที่ 2,000-2,500 ตารางฟุต ควรเลือกติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบ 34,000 BTU/ชั่วโมง ส่วนบ้านที่มีขนาด 1,000-1,200 ตารางฟุต อาจเลือกติดตั้งเครื่องปรับอากาศ 21,000-24,000 BTU/ชั่วโมง

2.มีเครื่องหมายประหยัดไฟกำกับ

ในปัจจุบันมีการตรวจสอบมาตรฐานเรื่องการใช้พลังงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ อยู่แล้ว ดังนั้นตรา หรือเครื่องหมายรับรองประหยัดไฟถือเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบไม่กินไฟได้ง่ายขึ้น เช่นฉลากเบอร์ 5 เป็นต้น

3.โหมดประหยัดพลังงาน

โหมดประหยัดพลังงานเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะมีส่วนช่วยให้ประหยัดไฟกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทเดียวกันที่ไม่มีโหมดประหยัดพลังงาน

4.ดีไซน์

เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชิ้นการดีไซน์ช่วยให้ประหยัดไฟฟ้าได้มากขึ้น อย่างเช่นตู้เย็นแบบที่มีประตูเดียว ประหยัดไฟมากกว่าตู้เย็นแบบสองประตู เพราะไม่ต้องแยกประตูระหว่างช่องแช่แข็งและช่องแช่ธรรมดา

ตู้เย็น 10 คิว กินไฟกี่วัตต์

เทคนิคใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ใช้แบบไหนช่วยประหยัดไฟ

1.หากไม่ใช้เครื่องไฟฟ้าชิ้นใดแล้ว ให้ดึงปลั๊กออกทุกครั้ง

2.หากเราใช้ปลั๊กพ่วงสำหรับเสียบอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมกัน เมื่อใช้งานเสร็จแล้วให้ดึงปลั๊กพ่วง และปิดสวิตซ์ทีเดียว

3.หากอากาศไม่ร้อนเกินไป ควรเปิดบ้านให้รับลมธรรมชาติ ลดการใช้เครื่องปรับอากาศ

4.ตั้งค่าเทอโมสเตทเมื่อใช้เครื่องปรับอากาศ เพราะจะช่วยลดระดับอุณหภูมิให้เหมาะสม ทำให้เราใช้ไฟฟ้าไม่เกินความจำเป็น

5. หากใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นใดมานานจนเกินไป ควรเปลี่ยน เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นเก่านั้นกินไฟมากกว่า

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีส่วนในทำกรรมและอำนวยความสะดวกให้กับเรามากยิ่งขึ้น ดังนั้นหากมีคู่มือนี้ไว้รับรองช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าได้แน่นอน

เรียบเรียงเนื้อหาโดย www.sanook.com

เปิดข้อมูลเครื่องใช้ไฟฟ้า 10 อันดับ "กินไฟ" มากสุดที่เราใช้ในชีวิตประจำวันในช่วงฤดูร้อน ด้านกฟผ.แนะวิธีช่วยประหยัดค่าไฟง่ายๆ ด้วยตัวเอง

เข้าสู่ฤดูร้อนทีไร มักจะมาพร้อมกับค่าไฟที่แสนจะแพงทุกที เพราะยิ่งร้อนก็ยิ่งใช้ไฟเยอะโดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ การเปิด ปิด ตู้เย็นบ่อยๆ เป็นต้น

ซึ่งนายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กกพ. เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2565 ได้มีมติให้ปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในรอบเดือนพ.ค.- ส.ค. 2565 ให้เรียกเก็บที่ 24.77 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 23.38 สตางค์ต่อหน่วย เป็น 4.00 บาทต่อหน่วย ส่วนบ้านที่ใช้ไฟไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือนจะจ่ายค่าไฟอยู่ที่อัตราเดียวกับเดือนม.ค.-เม.ย.3565 

ดังนั้น ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องรับมือกับค่าไฟฟ้าที่มีแนวโน้มสูงขึ้นได้ด้วยการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด เพราะการคิดค่าไฟฟ้าของประเทศไทยเป็นอัตราก้าวหน้าแบบขั้นบันได คือ ยิ่งใช้ไฟมาก หน่วยการใช้ไฟเยอะ ค่าไฟยิ่งพุ่ง

ทั้งนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เผยผลการศึกษา 10 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันว่าแต่ละประเภท เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทไหนกินไฟสูงสุด เริ่มกันที่

อันดับ 1 เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า 3,500 – 8,000 วัตต์

อันดับ 2 เตารีดไฟฟ้า (แห้ง – ไอน้ำ) 1,000 – 2,600 วัตต์

อันดับ 3 ไดร์เป่าผม 1,000 – 2,200 วัตต์

อันดับ 4 เตาไมโครเวฟ (20 - 32 L) 1,000 – 1,880 วัตต์

อันดับ 5 เครื่องปรับอากาศ ชนิด FIXED SPEED (9,000 – 36,000 BTU/hr) 730 – 3,300 วัตต์

อันดับ 6 เครื่องปรับอากาศ ชนิด INVERTER (9,000 – 36,000 Btu/hr) 455 – 3,300 วัตต์

อันดับ 7 เครื่องซักผ้า (แบบตั้ง, ถังนอน) 450 – 2,500 วัตต์

อันดับ 8 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า (1 - 3L) 450 – 1,000 วัตต์

อันดับ 9 ตู้เย็น (40 - 735 ลิตร, 1.4 – 26 คิว) 70 – 145 วัตต์

และอันดับ 10 พัดลมไฟฟ้า (12 นิ้ว – 18 นิ้ว) 35 – 80 วัตต์

นอกจากนี้ ยังมีวิธีง่ายๆ ที่ช่วยประหยัดพลังงานและค่าไฟฟ้าได้เหมือนกัน และหากเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 นอกจากจะช่วยประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้น ยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและประหยัดไฟยิ่งกว่าเดิมเมื่อเทียบกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่มีฉลากเบอร์ 5

เครื่องปรับอากาศ  ควรเลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่มีฉลากเบอร์ 5 ติดดาว มีขนาดเหมาะสมกับขนาดห้อง ปิดประตูและหน้าต่างให้สนิท ตั้งอุณหภูมิที่ 25-26 องศาเซลเซียสเพราะอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศาจะช่วยลดค่าไฟฟ้าประมาณ 10 % และล้างแอร์อย่างน้อยทุก 6 เดือน สามารถประหยัดไฟได้เพิ่มขึ้น 47% 

ตู้เย็น  ควรเลือกใช้ตู้เย็นที่มีฉลากเบอร์ 5 ติดดาว ลดการเปิด-ปิดประตูตู้เย็นทิ้งไว้นานเกินความจำเป็น ไม่ใส่ของที่อุณหภูมิสูง ไม่ใส่ของแน่นเกินไป และควรวางตู้เย็นห่างจากผนังอย่างน้อย 15 เซนติเมตร สามารถประหยัดไฟได้เพิ่มขึ้น 49% 

หลอดไฟ เลือกใช้หลอดไฟแอลอีดี (E27) ขนาด 7 วัตต์ แทนหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (CFL) ขนาด 13 วัตต์ และปิดสวิตซ์ทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน สามารถประหยัดไฟได้เพิ่มขึ้น 57%

พัดลม  เลือกใช้พัดลมที่มีฉลากเบอร์ 5 ติดดาว มีขนาดเหมาะสมกับการใช้งาน เปิดพัดลมเบอร์ 1 ปิดและถอดปลั๊กทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน และหมั่นทำความสะอาดพัดลมอยู่เสมอ สามารถประหยัดไฟได้เพิ่มขึ้น 43%

เตารีด เลือกใช้เตารีดที่มีฉลากเบอร์ 5 ติดดาว รีดผ้าครั้งละมากๆ ไม่พรมน้ำมากเกินไป และถอดปลั๊กก่อนเสร็จสิ้นการรีดประมาณ 2 นาที เพราะความร้อนที่เหลืออยู่ในเตารีดไฟฟ้ายังสามารถรีดผ้าชนิดที่ไม่ต้องการความร้อนมาก สามารถประหยัดไฟได้เพิ่มขึ้น 43%

ในขณะที่ โทรทัศน์ เลือกใช้โทรทัศน์ที่มีฉลากเบอร์ 5 ติดดาว และถอดปลั๊กทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน สามารถประหยัดไฟได้เพิ่มขึ้น 51%

ตู้แช่แข็ง 10 คิว กินไฟกี่วัตต์

ความจุ 10 คิว / 280 ลิตร ช่วงอุณหภูมิ 0 ถึง 10 หรือ ≤18 องศาเซลเซียส น้ำยาทำความเย็น R-134a. กำลังการกินไฟ 150 วัตต์

ตู้เย็น กินไฟกี่ VA

ตู้เย็นและอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านกินไฟฟ้ากี่วัตต์ และต้องจ่ายค่าไฟฟ้ากี่บาท/ชั่วโมง!?.

ตู้ เย็น 5 คิว ใช้ ไฟ กี่ วัตต์

เป็นตู้เย็นขนาดที่ค่อนข้างเล็ก ทำให้มีความเหมาะสมกับคนที่ใช้ชีวิตอยู่เพียงลำพังคนเดียวที่ไม่ค่อยได้ทำอาหารกินเองสักเท่าใดนัก ทำให้ส่วนใหญ่จึงมักนาใช้ในการแช่เครื่องดื่มและอาหารบ้างจนทำให้มักถูกเรียกกันอย่างติดปากว่า “ตู้เย็นมินิบาร์” นั่นเอง ซึ่งตู้เย็น 5 คิว จะมีการกินไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 70-80 วัตต์ ซึ่งถือว่าเป็นจำนวน ...

ตู้เย็น12คิว กี่วัตต์

- ตู้เย็น (2-12 คิว) 53-194 วัตต์