ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน

ได้ตู้เย็นใบใหม่มา หลังจากตู้เย็นใบเดิม ยี่ห้อ M.. เสียไปแบบไม่น่าจะเสีย สองประตูเหมือนกัน น้ำยารั่วหมดตู้เลย ลองรื้อ ลองซ่อมแล้ว แต่ยังไม่สำเร็จ เพราะอะไรที่ไม่ได้ทำกันบ่อยๆ ก็เกินกำลังของช่างประจำบ้านไปสักนิด ต้องใช้เวลาสักหน่อย แต่อาหารสด อาหารแห้งที่เคยแช่ตู้เย็นเอาไว้ มันรอไม่ได้ ถ้าจะใส่ถังน้ำแข็ง แล้วต้องวิ่งซื้อน้ำแข็งทุกวันๆ ก็ไม่ไหว จึงจำเป็น ทำใจ ซื้อตู้เย็นใบใหม่มาใช้ซะเลย อ้าว แล้วทำไมไม่ส่งร้านซ่อมไปเสียเลยล่ะ ขอตอบว่าประเมินจากอาการแล้ว ค่าใช้จ่ายก็อาจจะทะลุ 3000 ยิ่งตอนแรกหาจุดรั่วไม่เจอ ยิ่งยาว ราคาอาจจะถีบตัวสูงขึ้นไปอีก เพราะช่างจะใช้วิธีสุ่มเปลี่ยน ถ้าการเปลี่ยนไม่ใช่ตัวที่เป็นปัญหา ก็เสียเงินฟรี แต่อาการเจ้าปัญหาไม่หาย (น่าจะมีหลายคน ที่มีประสบการณ์แบบนี้ โดยเฉพาะ ซ่อมรถ น่าจะเจอกันบ่อย) เลยกำเงิน ไปซื้อเครื่องไม้เครื่องมือ ไว้รื้อ ไว้ซ่อมเล่น หาประสบการณ์ดีกว่า เผื่อจะได้มีเรื่องซ่อมตู้เย็น มาเขียนให้อ่านกันในอนาคต ซ่อมเสร็จเมื่อไหร่ จะมาเล่าให้ฟังแล้วกัน

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
ตู้เย็น ที่เพิ่งซื้อมาใหม่ Sharp SJ-X380T

สิ่งที่จะนำมา Review วันนี้ เนื่องจากเป็นของชิ้นใหญ่ ที่ภรรยาเป็นเจ้าของ ใช้งานอยู่เกือบผู้เดียว และเพิ่งจะซื้อมาใหม่ๆ เอี่ยมๆ การชำแหละ แกะชิ้นส่วน ไขสกรู เปิดหน้ากาก ใดๆ จึงเป็นสิ่งต้องห้ามไม่อนุญาตให้ทำ อีกทั้งยังอาจจะหมดประกันเอาได้ง่ายๆ เพราะความซน จึงเป็นการรีวิวแบบภายนอกที่เห็นก็แล้วกัน แล้วจะบอกเล่าด้วยความเห็นส่วนตัว ว่าชอบ ไม่ชอบ ดี หรือไม่ดีตรงไหน เข้าใจตรงกันนะ

ตู้เย็นสองประตู ในขณะที่เขียนบทความนี้ ไม่ว่าจะสำรวจตรวจดูยี่ห้อไหนๆ รู้สึกว่า จะไม่มีระบบทำความเย็นแบบธรรมดาๆ เหมือนเดิมแล้ว แต่จะเป็นระบบ Inverter ทั้งหมดเลย ไม่ว่ายี่ห้อไหนๆ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า เพราะฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 หรือไม่ ที่ทำให้บริษัทต่างๆ ต้องพยายามลดค่าการใช้พลังงานให้ต่ำๆ เพื่อให้ได้คะแนนสูงๆ ให้ได้เบอร์ 5 มาแปะหน้าตู้ จนต้องปรับเปลี่ยนระบบควบคุมคอมเพรสเซอร์แบบเดิมๆ มาเป็นระบบ Inverer กันหมด

ตู้เย็นใหม่ใบนี้ เป็นตู้เย็นที่เพิ่งจะผลิตในปีนี้ ต้นปี ฉลากประหยัดไฟ จึงเป็น เบอร์ 5 ติดดาว แต่เนื่องจาก บริษัทต่างๆ ยังปรับตัวกันไม่ทัน กับฉลากประหยัดไฟใบนี้ น่าจะรวมถึงทางการไฟฟ้าด้วย ตู้เย็นใบนี้จึงได้แค่ เบอร์ 5 ปกติ ยังไม่มีดาวสักดวงมาประดับ ซึ่งคาดว่า ภายในปีนี้ น่าจะมีตู้เย็น รุ่นใหม่ ติดดาว สวยๆ มาให้เลือกซื้อกันแน่นอน

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
เนื่องจากเป็นการรีวิวของบ้านนายช่าง ด้านในช่างมัน ขอชื่นชมด้านหลังก่อน

เนื่องจากเว็บนี้ เป็นเว็บเพื่อนำเสนอเรื่องราว ซ่อมแซม ซ่อมบำรุง หรือรีวิวแบบช่าง ก็ขอเริ่มต้นจากด้านหลังตู้เย็นก่อนก็แล้วกัน ด้านในจะเป็นยังไง เอาไว้ก่อน เริ่มจากส่วนของถาดรองรับน้ำทิ้ง จากช่องแช่แข็ง ถาดนี้วางอยู่เหนือตัวคอมเพรสเซอร์ ส่วนน้ำจะไหลมาจากช่องแช่แข็งโดยอัตโนมัติจากระบบ defrost ซึ่งผมไม่แน่ใจว่า กี่ชั่วโมง มันจะทำงานสักครั้งนะครับ แต่รับรองว่า ไม่มีน้ำแข็งเกาะแบบตู้เย็นประตูเดียวแน่ๆ ส่วนท่อที่ขดไปมาในถาดนั้น ไม่ใช่สายไฟ แต่เป็นท่อทองแดงหุ้มด้วยฉนวนพลาสติก ซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นพลาสติกอะไรชนิดไหน ที่แน่ๆ ทนความร้อนได้สูงถึง 105 องศาเซลเซียส ตามที่เขียนไว้บนท่อหุ้มสีดำๆ นี้

แล้วทำไมต้องเอาท่อทองแดงมาขดๆ ไว้ในถาดนี้ล่ะ? นั่นก็เพราะว่า น้ำที่ไหลออกมาจากช่องแช่แข็ง จะนองอยู่ในถาดน้ำทิ้งเล็กๆ นี้ ลำพังแค่คอมเพรสเซอร์ทำงาน จนเกิดความร้อนน่าจะไม่เพียงพอที่จะทำให้น้ำในถาดระเหยไปหมดอย่างรวดเร็ว ยิ่งระบบ Inverter ด้วย คอมเพรสเซอร์มักจะเดินด้วยรอบต่ำๆ ความร้อนก็จะไม่สูง ถ้ามีน้ำค้างอยู่นาน แล้วน้ำใหม่ไหลลงมา ก็อาจจะเกิดการล้นได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยระบายความร้อนให้กับท่อทองแดงนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคอยล์ร้อน ก็จะช่วยให้น้ำในถาดระเหยได้เร็วขึ้น และท่อทองแดงหุ้มพลาสติกนี้ก็จะลดความร้อนได้ดีขึ้นด้วย

แล้วทำไมท่อทองแดงต้องหุ้มพลาสติกล่ะ? ปล่อยโล่งๆ เปลือยๆ ระบายความร้อนได้ดีกว่าอีก ซึ่งมันก็ใช่ ทองแดงเปลือยระบายความร้อนได้ดีกว่า แต่ทองแดงที่แช่ในน้ำโดยตรง ยิ่งอยู่ในระบบงานไฟฟ้า มีเรื่องของประจุไฟฟ้ามาเกี่ยวข้อง ก็จะมีโอกาสผุกร่อนไปเรื่อยๆ จนในที่สุดจะเกิดเป็นตามดแดงเล็กๆ แล้วน้ำยาทำความเย็น ก็จะรั่วออกมาหมด จึงถูกออกแบบให้ท่อทองแดงส่วนที่จุ่มลงในถาดน้ำทิ้ง มีฉนวนหุ้มทั้งหมดแบบนี้

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
ยึดท่อทองแดงเอาไว้แน่นหนาดี

ตัวท่อทองแดงยึดเอาไว้แน่นหนาดี ไม่มีขยับ แม้เสียบปลั๊กเดินเครื่องแล้ว เพราะการขยับของท่อจะทำให้เกิดการเสียดสีกันเอง จนฉนวนบางลง หรือทะลุได้ และมีการยึดถึง 2 จุด น่าจะเป็นเพราะต้องขดท่อทองแดงหลายรอบ

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
อีกมุมนึง ก็มีขายึดท่อทองแดง

อีกด้านหนึ่งของถาดน้ำทิ้ง ก็มีขายึดท่อทองแดงเรียบร้อยดี แต่ไม่เข้าใจว่า การออกแบบผิดพลาดหรือไม่ ท่อทองแดงถึงได้ค้ำยันกับถาดน้ำทิ้งแบบนี้ ดูไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไหร่ แต่ก็ยังไม่ขอแก้ไขเอง รอหมดประกันก่อนค่อยว่ากันใหม่

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
ท่อทองแดงทั้งหมด วางตำแหน่งเรียบร้อยดี

ท่อทองแดงต่างๆ ออกแบบจัดวางได้เรียบร้อยดี ส่วนที่เป็นท่อรูเข็ม หรือแคปทิ้ว ก็วางตัวแนบไปกับท่อขาออก แรงดันสูงแนบสนิทเรียบร้อยมาก

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
ท่อรูเข็ม หรือแคปทิ้ว มีแต้มสีด้วย

สังเกตว่า ท่อรูเข็ม หรือแคปทิ้ว มีการแต้มสีด้วย สองสี คือสีดำ กับสีแดง คาดว่า จะเป็นการแต้มสี เพื่อให้แน่ใจว่า ผ่านการทดสอบ กระบวนการใดกระบวนการหนึ่งในขั้นตอนการผลิต เพราะท่อนี้ถือเป็นส่วนสำคัญของระบบเลยทีเดียว ท่อมันเล็กมาก ถ้าตันขึ้นมาเท่ากับพัง ตู้เย็นใช้งานไม่ได้แน่ๆ ถือว่าระบบการตรวจสอบไว้ใจได้ ถ้าสังเกตดีๆ ยังมีการแต้มสีในจุดอื่นๆ อีกด้วยเหมือนกัน

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
คอมเพรสเซอร์ โดย Panasonic

ตู้เย็นรุ่นนี้ใช้ คอมเพรสเซอร์ของ Panasonic และใช้น้ำยาทำความเย็น R600a ตัวใหม่ ซึ่งมีคุณสมบัติติดไฟได้ เพราะมันคือ isobutane ดังนั้น ใครคิดว่าซื้อมาแล้วจะซุกซน ตัดต่อ เชื่อมท่อ ให้ระวังไว้ให้ดีๆ ซึ่งน้ำยาตัวนี้ ทำความเย็นได้ดีกว่าน้ำยาตัวเดิมมาก (R134a) ตู้เย็นรุ่นใหม่ๆ ยี่ห้อไหนๆ ก็ใช้ตัวนี้ ตอบได้เลย (ผนังด้านหลังของตัวคอมเพรสเซอร์ มีเขียนเลข 13 มาด้วย สงสัยจะใบ้หวยมาให้ลูกค้ามั้งครับ 😛 ขอแซวนิดๆ หน่อยๆ )

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
ให้ดูสายไฟ ไม่ใช่ท่อทองแดง

ต้องการให้ดูสายไฟด้านล่างถัดจากท่อทองแดง ไม่ใช่ให้ดูท่อทองแดง สายไฟที่ถูกหุ้มด้วยขดสปริง ต่อออกจากคอมเพรสเซอร์ ไปเข้ากล่องควบคุม ที่เค้าหุ้มด้วยสปริงแบบนี้ คาดเดาเอาว่า กันสัตว์ฟันแทะทั้งหลาย ไม่ให้มาทำอันตรายกับสายไฟได้ เพราะต้องยอมรับว่าบางบ้านมีปัญหากับสัตว์ฟันแทะมาก ยิ่งอยู่ต่ำๆ กองกับพื้นแบบนี้ มีโอกาสมากทีเดียว ตรงนี้ชอบจริงๆ เก็บรายละเอียดของงานได้ดีมาก

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
รอยเชื่อมไม่สวย แต่ชอบ แน่นหนาดี

ท่อเซอร์วิส หรือท่อเติมน้ำยา ปิดสนิทเรียบร้อยดี แต่เนื่องจากระบบทำความเย็นใช้น้ำยา R600a ดังนั้น ไม่มีการเชื่อปิดปลายท่อแล้วนะครับ แค่ย้ำให้แน่นหนา เท่านั้น ส่วนรอยเชื่อมในจุดต่างๆ ถือว่าไม่สวย มีร่องรอยของลวดเชื่อมปูดเป็นก้อนเลย แต่แบบนี้แน่นหนาแน่ เชื่อมจนล้น และชัวร์ดี สวยไม่สวย ไม่เกี่ยง มีแต่ช่างด้วยกันที่รู้ คนทั่วไปไม่มีใครสนใจหรอก แล้วตู้เย็นเก่าที่มีปัญหาพังไป และยังไม่ได้ซ่อม ก็เกิดรั่วตรงรอยเชื่อมนี่แหละ เชื่อมเอาไว้ เหมือนไม่ได้เชื่อม แค่รอเวลารั่ว

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
สายไฟ มีการพันฉนวนหุ้มซ้ำ ป้องกันการขัดถู

สายไฟ มีฉนวนหุ้มให้เรียบร้อยอีกชั้นหนึ่ง บริเวณมุม ที่อาจจะมีการชน หรือขัดถูกับส่วนที่เป็นโลหะ ไม่แน่ใจว่าเพื่อป้องกันในระหว่างขนส่ง หรือใช้งานยาวๆ แต่เท่าที่ดู แน่นหนาดีมาก ส่วนตัวฐานตู้นั้น ขอบของตัวฐานที่เป็นเหล็ก และพับขึ้นมา (ขอบสูงๆ ที่สายไฟพาดอยู่) นั้น เก็บรายละเอียดดีมาก พับเก็บขอบของแผ่นโลหะเรียบร้อยดี ไม่มีส่วนคมให้สัมผัสโดนเลย แม้จะเป็นด้านหลังตู้ ที่ปกติไม่มีใครมาวุ่นวาย บางยี่ห้อมีความคม และไม่พับเก็บขอบให้เรียบร้อยแบบนี้ ส่วนสกรูที่เห็นอยู่ และสัญลักษณ์กลมๆนั้น คือจุดต่อสายดิน หรือสายกราวด์ การที่ตู้เย็นไม่ใช้ปลั๊ก 3 ขา หรือมีสายดินที่ปลั๊ก เพราะตู้เย็น จัดอยู่ในเครื่องใช้ไฟฟ้ากลุ่มที่ตัวปลั๊กไฟไม่ต้องมีสายดินกมาด้วยก็ได้ ไม่บังคับ ดังนั้น ถ้าต้องการ ต้องต่อเอง วันหลังจะมาแนะนำวิธีการกัน

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
ปลั๊กไฟตามมาตรฐาน มอก ใหม่

ปลั๊กไฟตู้เย็นใบนี้ เป็นปลั๊กไฟตามมาตรฐาน มอกใหม่แล้ว เป็นปลั๊กขากลม มีฉนวนหุ้มตรงโคน ป้องกันการสัมผัสโดนหน้าสัมผัสโลหะ ขณะที่ออกแรงดึงปลั๊กไฟแบบผิดวิธี แล้วพลาดไปโดน แต่เป็นสองขา ไม่ใช่สามขา เพราะไม่มีขากราวด์

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
ชัดๆ อีกครั้ง อย่าซน สารทำความเย็น R600a ติดไฟได้

ย้ำชัดๆ กันอีกครั้ง สารทำความเย็น R600a ติดไฟได้นะ อย่าซุกซน มารื้อ ทำลายท่อทองแดงเล่นล่ะ

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
ภาพโดยรวมอีกครั้ง ด้านหลังตู้ ที่ไม่มีใครเค้าดูกันหรอก

ภาพด้านหลังอีกครั้งหนึ่งโดยรวม ด้านหลังที่ปกติไม่มีใครสนใจกันหรอก ว่าจะเป็นยังไง แต่ผมเองกลับอยากเห็นก่อน เพราะมันบ่งบอกถึงความเรียบร้อย และมีความตั้งใจกับตัวสินค้ามากน้อยขนาดไหน ถ้าตั้งใจ วางอุปกรณ์ต่างๆ อย่างดี เรียบร้อย และใส่ใจในรายละเอียด เราก็จะวางใจได้ว่า ด้านใน ภายในตัวตู้แช่ ก็น่าจะถูกออกแบบไว้อย่างดีเช่นกัน

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
ตู้เย็นใบนี้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสุดๆ

น้ำยาทำความเย็น R600a แม้จะติดไฟได้ แต่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายโอโซน และด้วยความสามารถในการทำความเย็นได้ดีมาก ทำให้ระบบทำความเย็นของตู้เย็น ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำลงด้วย พูดง่ายๆ ก็ประหยัดไฟนั่นแหละ ส่วน Cyclo pentane นั่น เป็นก๊าซที่ใช้ในการก่อโฟมฉนวนทำความร้อนของตัวตู้เย็นใบนี้ สรุปว่า ตู้เย็นใบนี้รักโลกนะ แถมประหยัดไฟ ชอบใจจัง

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
รุ่น Inverter รับประกัน คอมเพรสเซอร์ 10 ปี

กลับมาสู่ด้านหน้าบ้าง ตู้เย็นใบนี้เป็นระบบ Inverter จึงรับประกันคอมเพรสเซอร์ให้ 10 ปี จากปกติจะรับประกันแค่ 5 ปี เท่านั้น เพราะตัวคอมเพรสเซอร์ จะทำงานด้วยความเร็วรอบต่ำๆ เมื่ออุณหภูมิถึงจุดที่ตั้งไว้แล้ว การสึกหรอจึงต่ำด้วย ถ้าใครคิดจะซื้อตู้เย็นแบบประตูเดียว คิดให้ดี เพราะแบบประตูเดียว ยังเป็นระบบเย็นตัด ร้อนต่อ แบบเดิมอยู่นะ

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
J-TECH Inverter บอกตามตรง หาข้อมูลยากจริง

บอกตามตรงว่าหาข้อมูลยากจริงๆ ว่ามันดียังไง ข้อมูลภาษาไทย ที่พอจะหาได้ มีเพียงแค่นี้ “เทคโนโลยีระบบอินเวิร์ตเตอร์ (J-Tech Inverter) ทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานสม่ำเสมอ เครื่องเดินเรียบจึงช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้า และ ไร้เสียงดังรบกวน” ซึ่งอ่านดู มันก็ระบบ Inverter ปกติทั่วไปนั่นแหละ ทำงานสม่ำเสมอ เดินเรียบ ไม่รู้สึกถึงความแตกต่างจากยี่ห้ออื่นๆ ต้องไปค้นหาภาษาอังกฤษ ค่อยมีข้อมูลมาขยายความหน่อย ด้านล่างเป็นข้อมูลจาก sharp.net.au ครับ

Sharp’s J-TECH Inverter uses a controlled compressor rotation that has a low-speed 36 step operation in accordance with the usage of the refrigerator.

This helps to maintain a more consistent temperature with less vibration and keeps noise to a minimum level compared to a Conventional Refrigerator. Wear and tear on the compressor is reduced for greater durability.

แปลแบบคร่าวๆ นะ ส่วนคำอธิบายชัดๆ คงต้องรอ sharp ไทย ใส่ให้อ่านกัน ระบบควบคุม J-tech Inverter เป็นระบบควบคุมความเร็วรอบในการหมุนของ คอมเพรสเซอร์ที่ความเร็วรอบต่ำถึง 36 step หรือระดับ ตามการใช้งานของตู้เย็น ซึ่งการที่มีจำนวนความเร็วรอบให้เลือกมากแบบนี้ น่าจะทำให้วงจรควมคุมการทำความเย็นเลือกจัดการได้ง่ายขึ้น ถ้าเย็นมากใกล้ถึงจุดความเย็นที่ตั้งไว้แล้ว ระบบสามารถที่จะลดความเร็วในการทำงาน มาที่ความเร็วต่ำๆ ได้ ส่วนจะเลือกใช้รอบความเร็วระดับไหน ก็แล้วแต่การใช้งานของตู้เย็น ทำให้การทำความเย็น มีประสิทธิภาพสูง และประหยัดไฟ ซึ่งถือว่าดีมาก แต่ยี่ห้ออื่นๆ อาจจะเป็นแบบนี้ คือมีถึง 36 step เหมือนกัน ทาง Sharp เลยไม่ได้ขยายความมาในการโฆษณา ผมไม่ได้ติดตามค้นหามาก่อน ถ้าใครสนใจ ก็หาข้อมูลเพิ่มเติมเอาได้ ส่วนอีกย่อหน้านึงนั้น เป็นคุณสมบัติปกติทั่วไปของระบบ Inverter อยู่แล้ว เดินเบา เสียงเงียบ และสึกหรอต่ำ

มีข้อสังเกตอีกนิดนึง สำหรับระบบ Inverter ซึ่งเราจะเห็นว่า ยี่ห้อไหนๆ ก็จะรับประกันตัวคอมเพรสเซอร์ที่อายุ 10 ปีกันทั้งนั้น ในขณะที่ระบบปกติ จะรับประกันตัวคอมเพรสเซอร์เพียง 5 ปี นั่นก็เพราะระบบการทำงานที่แตกต่างกัน และการสึกหรอจากการทำงานที่ไม่เท่ากัน ระบบ Inverter จึงออกตัวแรง ประกันคอมเพรสเซอร์ให้ยาวๆ ถึง 10 ปีทีเดียว

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
ถาดน้ำแข็ง อยากใช้ก็ใช้ ไม่ชอบก็เอาออกได้

ชุดทำน้ำแข็ง และถาดน้ำแข็ง เป็นแบบวางตรงไหนก็ได้ แบบนี้ชอบใจคุณแม่บ้านผมเลย ถ้าจังหวะไหน มีอาหารจะแช่เยอะๆ ชุดทำน้ำแข็งไม่จำเป็น ก็เอาออกไปก่อนได้เลย

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
ภาพให้เห็น ภายในตู้

กับเรื่องชั้นวาง และรายละเอียดภายในตู้ ไม่ใช่สิ่งที่ผมรู้สึกว่า แตกต่างจากยี่ห้ออื่นๆ ไม่ได้สนใจอ่านคำโฆษณา คงเป็นเพราะผมแทบจะไม่ได้เปิดตู้เย็นเลยมั้ง มีแต่คุณภรรยาผม ใช้งานซะส่วนใหญ่

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
ช่องแช่ผัก ดูลึก และใหญ่ดี

ช่องแช่ผัก ดูลึกและใหญ่ดี ส่วนแผ่นโลหะสะท้อนแสงนั่น ไม่แน่ใจว่า เพื่อให้ตู้เย็นดูกว้าง ด้วยหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ ช่วยสะท้อนแสงสว่าง จากหลอด LED ด้านบน ให้สว่างทั่วทั้งตู้ได้

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
ควบคุมความเย็นทั้งตู้ ด้วยสี่ปุ่ม

Extra Cool ปุ่มเร่งความเย็นให้ช่องแช่อาหารสด (Fresh Room) อุณหภูมิลดต่ำได้ถึง 0-2 องศา
Express Freezing ปุ่มเร่งแช่แข็งด่วน สำหรับเร่งแช่อาหารได้ในเวลา 2 ชั่วโมง
ส่วนอีกสองปุ่มนั่น เอาไว้ปรับระดับความเย็น ของตู้แช่ด้านล่าง และช่องแช่แข็งด้านบน ตามแถบที่แสดงเลยครับ

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
ช่องนี้แหละ Extra Cool

ช่องแช่บนสุดนี่แหละ Extra Cool แต่อย่าลืมกดปุ่มล่ะ ถ้าต้องการความเย็นที่มากกว่าปกติ บอกตู้เย็นให้เค้ารู้ความต้องการของเราหน่อย ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติม เปิดคู่มืออ่านได้ หลังจากซื้อไปแล้ว

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
ภาพรวมตู้แช่ด้านล่างอีกภาพ

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
ช่องแช่ ขวดน้ำดื่มต่างๆ

ช่องแช่ขวดน้ำดื่มที่ประตูตู้ ดูดีๆ คิดนึงน้ำหนักกันหน่อย เดี๋ยวประตูตู้ชำรุดไว โดยไม่บอกกล่าว

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
ภาพนี้แบบ ฮาฟ ฮาฟ ครึ่งบน ครึ่งล่าง

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
ช่องแช่เข็ง ของตู้ใบนี้ เป่าลมออกมาจากด้านหลัง

ช่องแช่เข็งของตู้เย็นใบนี้ เป่าลมออกมาตามช่องต่างๆ ด้านหลัง ไม่มีท่อลมด้านหน้า ทำให้ไม่เลอะเทอะดี ทำความสะอาดได้ง่าย และกระจายความเย็นได้ทั่วตู้ดีด้วย เพราะช่องกระจายลม อยู่ในจุดที่เหมาะสม แต่ยี่ห้ออื่นเป็นยังไงไม่รู้นะ

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
ระบบกระจายความเย็นแบบ HyBrid

ตรงนี้ไม่รู้เหมือนกันว่าการหมุนเวียนของอากาศภายในตู้เป็นแบบไหน ล่างขึ้นบน หรือบนลงล่าง แต่เอาเป็นว่า ตู้เย็นยี่ห้อไหนๆ ก็ต้องออกแบบระบบกระจายความเย็นให้ดีที่สุดด้วยกันทั้งนั้น เพื่อให้ความเย็นกระจายทั่วทั้งตู้ได้ สำหรับผมจึงรู้สึกว่า ไม่ได้สำคัญอะไรมากมาย

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน
ตู้เย็นดีแค่ไหน ก็ช่วยอะไรไม่ได้

ภาพสุดท้าย ก่อนสรุป ขอบคุณ Sharp สำหรับความใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่คนจำนวนไม่น้อยชอบมองข้ามกัน ปลั๊กไฟไม่แน่น ปัญหาสำคัญ ที่ต้องไปตรวจเช็คให้ดี เมื่อเสียบปลั๊กลงในเต้าเสียบข้างผนังแล้ว ต้องแน่นหนาเท่านั้น ไม่ใช่ขยับติด ขยับดับ แบบนั้นใช้ไม่ได้นะครับ รีบแก้ไขซะ

สรุปสุดท้าย รีวิว ตู้เย็น Sharp รุ่น SJ-X380T-SL ในวันนี้ ไม่มีรายละเอียดภายในตู้มากมาย เพราะสำหรับผมแล้ว ไม่ค่อยได้เปิดตู้เย็นสักเท่าไหร่เลย การจัดการกับของภายในตู้เย็น คุณภรรยาแสนดีของผม จัดการทั้งหมด ดังนั้น รายละเอียดเหล่านี้จึงไม่ได้อยู่ในความสนใจ เพราะตู้เย็น ก็คือตู้เย็น รายละเอียดพวก ระบบกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ เป็นแค่ส่วนหนึ่งที่แต่ละยี่ห้อนำมาดึงดูดความสนใจและเพิ่มราคา ซึ่งก็แล้วแต่คนชอบไม่ชอบ และพร้อมจ่ายหรือไม่

แต่สิ่งที่ผมสนใจมากกว่าคือ ความเรียบร้อย และใส่ใจในงาน ซึ่งตู้เย็นใบนี้ เป็นการสั่งซื้อ Online แบบไม่เห็นตัวสินค้ามาก่อน คิดเพียงแค่ว่า อยากจะเปลี่ยนยี่ห้อบ้าง ซึ่งเมื่อได้สัมผัสกับชิ้นงาน และรายละเอียด กับความใส่ใจในชิ้นงาน แล้ว ไม่รู้สึกผิดหวังกับยี่ห้อนี้เลย รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจในการออกแบบ ดังนั้น ช่องแช่ต่างๆ ภายในตู้ จึงไม่ทำให้รู้สึกเป็นกังวลเลย ว่าจะออกแบบมาไม่ดีพอ

งานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน

วิธีเลือกซื้อหลอดไฟ ที่ประหยัดไฟ และพลังงาน

วิธีการเลือกซื้อหลอดไฟฟ้าประหยัดไฟ ประหยัดพลังงานนั้น เราคุ้นเคยกับการอ่านแต่ค่ากำลังไฟของหลอดไฟฟ้า นั่นก็คือ วัตต์ หรือ Watt กันมาเป็นเวลานานมากแล้ว ตั้งแต่เราใช้หลอดไฟแบบไส้กันมา เพราะหลอดไฟหลอดไส้ในสมัยก่อนนั้น ...

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน

รีดประสิทธิภาพ แอร์เคลื่อนที่ ให้เย็นสุดๆ

แอร์เคลื่อนที่ยังไม่จบ วันนี้ขอต่อกันที่เรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำความเย็น ให้กับแอร์เคลื่อนที่ เนื่องจากเกือบทุกยี่ห้อ ที่ทำออกมาขาย จะเป็นระบบท่ออากาศท่อเดียว (เท่าที่ค้นหาข้อมูลมาได้ มีเพียงยี่ห้อเดียวเอง ที่ทำระบบท่ออากาศสองท่อ) ...

ซ่อมของใช้ในบ้าน

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน

ลับมีดปอกเปลือกผลไม้ เรื่องง่ายๆ เราทำได้

มีดปอกเปลือกผลไม้ ก็ลับคมได้เหมือนกัน แทนที่เราจะต้องซื้อใหม่กันบ่อยๆ และทิ้งของเก่าให้เป็นขยะไป เรามาดูวิธีการลับคมกันดีกว่า จะได้ไม่ต้องทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย แต่จริงๆแล้ว มีดปอกเปลือกผลไม้ ผักต่างๆ แบบนี้ ...

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน

งานช่างในสวน

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน

งานซ่อมประปา

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน

งานสวย ซ่อมยาก ค่าจ้างแพง อย่าบ่น เพราะเราเลือกเอง

เวลาที่เราต้องการทำอะไรสักอย่างหนึ่งออกมา บางทีมันมีเรื่องคาบเกี่ยวอยู่ระหว่าง ความสวย และการใช้งาน อยู่ที่ว่าเราจะให้น้ำหนักไปทางไหนมากกว่ากัน เรื่องของห้องน้ำก็เช่นกัน การรีโนเวตห้องน้ำเก่า ให้ออกมามีหน้าตาใหม่ๆ สวยงามน่าใช้งานกว่าเดิม หรือแม้กระทั่งการสร้างห้องน้ำใหม่ ...

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน

เก็บมาคิดหยิบมาเล่า

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน

ปลอดภัยไว้ก่อน ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า อย่าลืมคำเตือน

เรื่องนี้ เป็นอุทาหรณ์ สั้นๆ ที่ยังไม่เกิดเป็นอุบัติเหตุ แต่ก็เก็บเอามาเล่าเตือนใจกัน ให้ระมัดระวังให้มากๆ ในการซ่อมบำรุงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ถ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นปลั๊กไฟ แม้จะถอดปลั๊กไฟออกได้ง่ายๆ แต่ก็ต้องระมัดระวังว่าจะมีใครในบ้าน ...

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน

Review รีวิว

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน

รีวิว anitech ปลั๊กพ่วง (extension cord)

ปลั๊กพ่วง หรือ Extensiton cord ที่มีวางขายอยู่ในร้าน ในห้างทั่วไป มีให้เลือกซื้อเลือกหามาใช้กันกันอยู่หลายแบบ หลายยี่ห้อ แต่ถ้าเราเน้นที่จะซื้อแต่ถูกท่าเดียว รับรองได้ว่าจะต้องมานั่งเสียใจภายหลังแน่ๆ ...

เครื่องไม้เครื่องมือช่าง

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน

วิธีใช้ไม้วัดระยะลึก หรือแท่งวัดความลึกของสว่านไฟฟ้า

วันนี้ขอพูดถึงอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่มักจะแถมมาพร้อมๆ กับสว่านไฟฟ้าเสมอๆ แต่ว่าเรามักจะไม่ค่อยได้นำมาใช้งานกัน นั่นก็คือ ไม้วัดระยะความลึก หรือก้านวัดระยะ หรือแท่งวัดระยะ จะเรียกยังไงก็ตาม บางคนก็ไม่รู้ว่าจะนำมาใช้งานยังไง หรือบางคนก็เลือกที่จะไม่ใช้ ...

ตู้เย็น sharp ด้านข้างร้อน

วิธีขูดร่องยาแนวเก่า ด้วยใบเลื่อยโลหะ

การปูกระเบื้องโดยทั่วไป ไม่ว่าพื้นห้องน้ำ พื้นครัว หรือพื้นบ้านส่วนอื่นๆก็ตาม หลังจากที่ช่างได้ปูกระเบื้อง และทิ้งไว้จนแห้งแล้ว จะต้องลงยาแนวด้วย ยาแนวในศัพท์ทางช่าง จะหมายถึงการอุดช่องว่างระหว่างแผ่นกระเบื้องด้วยผงยาแนว หรือปูนยาแนว ...

ด้านข้างตู้เย็นร้อนปกติไหม

เรียกได้ว่าการที่ด้านข้างของตู้เย็น มีความร้อนออกมานั้นเป็นเรื่องที่ปกติมากๆ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ความร้อนด้านข้างตู้เย็นนั้นร้อนกว่าปกติที่เคยเป็น เมื่อนั้นจึงเรียกว่าอาการผิดปกติ ซึ่งก่อนจะเกิดอาการเช่นนั้นเราควรป้องกันและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะทำให้ตู้เย็นร้อนจนเกินไปจะดีกว่า

ด้านข้างตู้เย็นร้อนเกิดจากอะไร

ตู้เย็นจะสร้างความร้อนระหว่างกระบวนการทำให้อากาศเย็น เพื่อทำให้ความร้อนเย็นลง ท่อกระจายความร้อนจะถูกติดตั้งที่ผนังด้านนอกทั้งสองของตู้เย็น ดังนั้นเมื่อใช้งานผลิตภัณฑ์ ความร้อนจะเกิดขึ้นที่ผนังด้านข้างของตู้เย็น

ตู้เย็นระบายความร้อนตรงไหน

ตู้เย็นจะระบายความร้อนผ่านที่อยู่คอมเพรสเซอร์ด้านหลัง ฉะนั้นเพื่อให้มีการระบายความร้อนที่ดี จึงไม่ควรตั้งตู้เย็นชิดผนังเกินไป ระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างตู้เย็นและผนังคือ 15 เซนติเมตรขึ้นไป

ตู้เย็นตากแดดเป็นอะไรไหม

การตั้งตู้เย็นในห้องครัว ไม่ควรตั้งใกล้เตาแก๊ส หรือเตาไฟฟ้าสำหรับทำอาหาร และไม่ควรที่จะวางใกล้หน้าต่างที่แสงแดดส่องถึง จะทำให้ตู้เย็นเกิดความร้อนง่าย ทำงานหนัก และใช้พลังงานไฟฟ้ามากเกินความจำเป็น