การ ชำระ เงินทางอิเล็กทรอนิกส์ มี กี่ ประเภท

โครงการที่ 1 ระบบการชำระเงินแบบ Any ID

การโอนเงินเป็นบริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อการเคลื่อนย้ายเงินในระบบเศรษฐกิจของประเทศ และมีความเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน เช่น การโอนเงินระหว่างบุคคลของประชาชน การโอนเงินเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการของภาคธุรกิจ รวมถึงการโอนเงินสวัสดิการและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของภาครัฐ การมีระบบการบริการโอนเงินที่สะดวกรวดเร็วและปลอดภัยเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ดำเนินไปได้อย่างคล่องตัว รวมถึงช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจของประเทศ โครงการพัฒนาระบบการชำระเงินแบบ Any ID เป็นโครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินของประเทศไทยให้สามารถรองรับการโอนเงินระหว่างธนาคารโดยใช้หมายเลขหรือรหัสใด ๆ (Any ID) ที่กำหนด ในการระบุผู้รับโอน เช่น หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ เลขประจำตัวประชาชน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet ID) หรืออีเมล์แอดเดรส (e-mail address) ในการลงทะเบียนผ่านสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการชำระเงินเพื่อผูกกับบัญชีธนาคารหรือ e-Wallet โดยในระยะแรกจะเริ่มจากการใช้หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่และเลขที่บัตรประจำตัวประชาชนก่อน ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินได้สะดวกมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นพื้นฐานของบริการทางการเงินต่าง ๆ ในอนาคต

เป้าหมายการดำเนินงานปี 2559

(1) การพัฒนาระบบสำหรับให้ประชาชนมาลงทะเบียน Any ID กับบัญชีเงินฝาก แล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2559
(2) การพัฒนาระบบสำหรับให้บริการจ่ายสวัสดิการโดยใช้เลขประจำตัวประชาชนแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2559
(3) การพัฒนาระบบสำหรับให้บริการชำระเงินผ่านเบอร์โทรศัพท์ในเดือนตุลาคม 2559
(4) การพัฒนาระบบสำหรับให้บริการชำระบิลด้วย Any ID ในเดือนตุลาคม 2559
(5) การพัฒนาระบบสำหรับการเรียกเก็บเงิน เพื่อรองรับ e-Commerce ในเดือนธันวาคม 2559

ประโยชน์ที่จะได้รับ

โครงการพัฒนาระบบการชำระเงินแบบ Any ID มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สะดวก ปลอดภัย ซึ่งจะส่งผลดีต่อทุกภาคส่วน ดังนี้

1) ภาคประชาชน : สามารถเข้าถึงบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว สามารถทำได้โดยง่าย ด้วยต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม ผ่านช่องทางและบริการชำระเงินที่หลากหลาย ทั้งการโอนเงิน การชำระเงินตามใบแจ้งหนี้ การชำระค่าสินค้าและบริการทางออนไลน์ รวมถึงการจ่ายภาษีหรือค่าธรรมเนียมต่างๆ แก่หน่วยงานภาครัฐ นอกจากนี้ ประชาชนที่ได้รับเงินช่วยเหลือ เงินสวัสดิการ หรือเงินคืนภาษีจากภาครัฐจะได้รับเงินได้โดยตรงผ่านการโอนเงินเข้าบัญชีที่ลงทะเบียนไว้

2) ภาคธุรกิจ : มีช่องทางรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สะดวกรวดเร็วจากการใช้ ID ที่ลงทะเบียนไว้ แทนการใช้เลขที่บัญชีเงินฝาก ช่วยเพิ่มโอกาสในทางธุรกิจจากการที่ลูกค้าสามารถชำระเงินได้สะดวกรวดเร็ว ด้วยต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการและ SME โดยเฉพาะการขายสินค้าทางออนไลน์ ที่สามารถรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้สะดวกและได้รับความเชื่อมั่นจากลูกค้า

3) ภาครัฐ : เพิ่มประสิทธิภาพการโอนเงินจากภาครัฐสู่ประชาชนโดยใช้เลขประจำตัวประชาชน เช่น การโอนเงินสวัสดิการถึงประชาชนโดยตรง การคืนภาษีเงินได้เข้าบัญชีเงินฝากของผู้เสียภาษี ทำให้การจ่ายเงินของภาครัฐมีความโปร่งใส ลดความผิดพลาด และลดปัญหาการทุจริตจากการจ่ายเงินด้วยเงินสดหรือเช็ค นอกจากนี้ การชำระเงินแบบ Any ID ยังสามารถรองรับการส่งข้อมูลภาษีผ่านระบบภาษีอิเเล็กทรอนิกส์ไปพร้อมกับข้อมูลการชำระเงิน ซึ่งสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลสนับสนุนการจัดเก็บภาษีให้ครอบคลุมและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

4) เศรษฐกิจในภาพรวม : สนับสนุนการลดใช้เงินสดในทุกภาคส่วน ลดต้นทุนการบริหารจัดการธนบัตรของประเทศ เช่น การพิมพ์ การขนส่ง การนับคัด และการทำลายธนบัตร ลดปัญหาเศรษฐกิจนอกระบบ จากการทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มความโปร่งใสและลดปัญหาการทุจริตและเศรษฐกิจนอกระบบ รวมถึงเพิ่มความรวดเร็วคล่องตัวในการหมุนเวียนเงินในระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ข้อมูลการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถนำมาวิเคราะห์ เพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกำหนดนโยบายช่วยเหลือธุรกิจ และประชาชนได้ดียิ่งขึ้น

การ ชำระ เงินทางอิเล็กทรอนิกส์ มี กี่ ประเภท

ช่วงนี้ข่าวเกี่ยวกับ e-Money ที่จดทะเบียนไม่ถูกต้องตามกฎหมายกำลังมาแรง หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า e-Money คืออะไร และ บริการรับชำระเงินเทพเพย์ใช่บริการ e-Money หรือไม่ วันนี้เราเลยอยากพาทุกคนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)  ซึ่งมี e-Money เป็นส่วนหนึ่งของระบบนี้กัน

  • การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)  คืออะไร
  • การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ต้องจดทะเบียนกับธปท.
  • LnwPay เป็นบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใด หรือผ่านทางเครือข่าย ไม่ใช่บริการ e-Money
  • ตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการ e-Payment ได้อย่างไร

การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)  คืออะไร

“การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การโอนสิทธิครองเงิน หรือการโอนสิทธิการถอนเงิน หรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้ใช้บริการที่เปิดไว้กับผู้ให้บริการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือบางส่วน  – อ้างอิงจาก พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยกาารควบคุมดูแลธุรกิจการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551

กล่าวโดยสรุปแล้ว การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ก็คือ การใช้ระบบต่าง ๆ ในการฝาก,ถอน,โอน หรือหักเงิน ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ นั่นเอง

การ ชำระ เงินทางอิเล็กทรอนิกส์ มี กี่ ประเภท

การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ต้องจดทะเบียนกับธปท.

การให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) นั้นต้องมีการขึ้นทะเบียนกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธุรกิจ e-Payment ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธปท. ประกอบด้วยบริการ 8 ประเภท ดังนี้  

1. บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money)

e-Money หรือ เงินอิเล็กทรอนิกส์ คือ บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ให้บริการออกให้แก่ผู้ใช้บริการ เพื่อใช้ชำระค่าสินค้า หรือทำธุรกรรมอื่น ๆ แทนเงินสด ตามมูลค่าของเงินที่ผู้ใช้บริการฝากไว้กับผู้ให้บริการ หรือที่เราอาจจะคุ้นกันในศัพท์ที่ว่า “e-Wallet” นั่นเอง

2. บริการเครือข่ายบัตรเครดิต 

เครือข่ายบัตรเครดิต คือ เครือข่ายการให้บริการรับส่งข้อมูลการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิสก์ส่งต่อไปยังผู้ให้บริการบัตรเครดิตต่าง ๆ

3. บริการเครือข่ายอีดีซี (EDC Network)

เครือข่ายอีดีซี (EDC Network) คือ จุดเชื่อมต่อ หรือ เครือข่ายของการให้บริการอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับการรับส่งข้อมูลการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัตรเครดิต บัตรเดบิต เงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัตรอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ

4. บริการสวิตช์ชิ่งในการชำระเงิน (Transaction Switching)

Transaction Switching คือ บริการเป็นศูนย์กลาง หรือจุดเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลรายการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ให้บริการตามที่ตกลงกัน

5. บริการหักบัญชี (Clearing)

บริการหักบัญชี คือ บริการรับส่ง ตรวจสอบ และยืนยันข้อมูลตามคำสั่งการชำระเงิน รวมถึงการจัดการต่าง ๆ ให้กระบวนการชำระดุลระหว่างเจ้าหนี้ และลูกหนนี้สำเร็จลุล่วง

6. บริการชำระดุล (Settlement)

บริการชำระดุล คือ บริการระบบการชําระเงินที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ผู้ให้บริการหักเงินฝากของผู้ใช้บริการไปใช้ในการชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้

7. บริการรับชำระเงินแทน

บริการรับชำระเงินแทน คือ บริการรับชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แทนเจ้าหนี้

8. การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใด หรือผ่านทางเครือข่าย

การบริการประเภทนี้จะเป็นการรับชำระเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่จะไม่มีการเก็บเงินไว้

การ ชำระ เงินทางอิเล็กทรอนิกส์ มี กี่ ประเภท

LnwPay เป็นบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใด หรือผ่านทางเครือข่าย ไม่ใช่บริการ e-Money

สำหรับระบบรับชำระเงินเทพเพย์ เป็นบริการที่ขึ้นทะเบียนกับธนาคารแห่งประเทศไทยในประเภทของ การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใด หรือผ่านทางเครือข่าย เลขที่ ค(3) 008/2555 โดยจดทะเบียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2555

ตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการ e-Payment ได้อย่างไร

ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการ e-Payment แบบต่าง ๆ ได้ผ่านทางเว็บไซต์ของธปท.  หรือ www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/OversightOfEmoney/ListOfEmoney/Pages/eMoneyProvider.aspx


ที่มาของข้อมูล: ธนาคารแห่งประเทศไทย 

Edit: เพิ่มคำว่า e-Wallet ในคำอธิบายเกี่ยวกับ e-Money ต้องขอบคุณ Oravee Smithiphol  ที่ทำให้คิดถึงศัพท์คำนี้ออกด้วยนะคะ