สายไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก. มีกี่ประเภท

2)มอก. 11 เล่ม 3-2553 สายไฟฟ้าหุ้มฉนวนพอลิไวนิลคลอไรด์ แรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 450/750 โวลต์ เล่ม 3 สายไฟฟ้าไม่มีเปลือกสำหรับงานติดตั้งยึดกับที่

มอก. 11 เล่ม 4-2553 สายไฟฟ้าหุ้มฉนวนพอลิไวนิลคลอไรด์ แรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 450/750 โวลต์ เล่ม 4 สายไฟฟ้ามีเปลือกสำหรับงานติดตั้งยึดกับที่

มอก. 11 เล่ม 5-2553 สายไฟฟ้าหุ้มฉนวนพอลิไวนิลคลอไรด์ แรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 450/750 โวลต์ เล่ม 5 สายอ่อน

มอก. 11 เล่ม 101-2553 สายไฟฟ้าหุ้มฉนวนพอลิไวนิลคลอไรด์ แรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 450/750 โวลต์ เล่ม 101 สายไฟฟ้ามีเปลือกสำหรับงานทั่วไป

3)มอก. 23-2558 บัลลาสต์สำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์

4)มอก. 85-2548 ตัวนำลวดกลมตีเกลียวร่วมศูนย์กลางสำหรับสายไฟฟ้าเหนือดิน

5)มอก. 183-2547 โกลว์สตาร์ตเตอร์สำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์

ุ6)มอก. 293-2541 สายไฟฟ้าอะลูมิเนียมหุ้มด้วยฉนวนโพลิไวนิลคลอไรด์

7)มอก. 344-2549 ขั้วรับหลอดฟลูออเรสเซนซ์และขั้วรับสตาร์ตเตอร์

8)มอก. 366-2547 เตารีดไฟฟ้า เฉพาะด้านความปลอดภัย

9)มอก. 408-2553 ทองแดงและทองแดงเจือสำหรับจุดประสงค์ทั่วไปทางไฟฟ้า : เส้น และแท่ง

10)มอก. 812-2558 มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ เฉพาะด้านความปลอดภัย

11)มอก. 824-2551 สวิตช์ไฟฟ้าใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกัน : ข้อกำหนดทั่วไป

12)มอก. 909-2548 เครื่องตัดวงจรกระแสเหลือแบบมีอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน สำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและใช้ในลักษณะที่คล้ายกัน

13)มอก. 934-2558 พัดลมไฟฟ้ากระแสสลับ เฉพาะด้านความปลอดภัย

14)มอก. 956-2557 หลอดฟลูออเรสเซนซ์ขั้วคู่ – คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย

15)มอก. 1039-2547 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เฉพาะด้านความปลอดภัย

16)มอก. 1195-2536 เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์เกี่ยวข้องที่ใช้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้าประธาน สำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย และงานทั่วไปที่มีลักษณะคล้ายกัน เฉพาะด้านความปลอดภัย

17)มอก. 1291 เล่ม 1-2553 ระบบกำลังไฟฟ้าต่อเนื่อง เล่ม 1 คุณลักษณะที่ต้องการทั่วไปและคุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย

มอก. 1291 เล่ม 2-2553 ระบบกำลังไฟฟ้าต่อเนื่อง เล่ม 2 คุณลักษณะที่ต้องการด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า

มอก. 1291 เล่ม 3-2555 ระบบกำลังไฟฟ้าต่อเนื่อง เล่ม 3 วิธีระบุสมรรถนะและข้อกำหนดการทดสอบ

18)มอก. 1389-2559 เครื่องอบผ้า : เฉพาะด้านความปลอดภัย

19)มอก. 1463-2556 เครื่องซักผ้าใช้ในที่อยู่อาศัย

20)มอก. 1509-2547 กระทะไฟฟ้า เฉพาะด้านความปลอดภัย

21)มอก. 1641-2552 เตาย่าง เตาปิ้ง และเครื่องทำอาหารเคลื่อนย้ายได้ที่คล้ายกัน เฉพาะด้านความปลอดภัย

22)มอก. 1693-2547 เครื่องทำน้ำร้อนไฟฟ้า น้ำผ่านร้อนทันที เฉพาะด้านความปลอดภัย

23)มอก. 1773-2548 เตาไมโครเวฟสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย เฉพาะด้านความปลอดภัย

24)มอก. 1955-2551 บริภัณฑ์ส่องสว่างและบริภัณฑ์ที่คล้ายกัน : ขีดจำกัดสัญญาณรบกวนวิทยุ

25)มอก. 1985-2549 เครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับการดูแลผิวหรือผม เฉพาะด้านความปลอดภัย

26)มอก. 2062-2558 กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า : คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย

27)มอก. 2134-2553 เครื่องปรับอากาศสำหรับห้อง : ประสิทธิภาพพลังงาน

28)มอก. 2165-2548 เคเบิลเส้นใยนำแสง เล่ม 3-10 : เคเบิลภายนอกอาคาร -ข้อกำหนดคุณลักษณะเป็นรายกลุ่มสำหรับเคเบิลเส้นใยนำแสงโทรคมนาคมติดตั้งในท่อร้อยสายและฝังดินโดยตรง

29)มอก. 2166-2548 เคเบิลเส้นใยนำแสง เล่ม 3-20 เคเบิลภายนอกอาคาร -ข้อกำหนดคุณลักษณะเป็นรายกลุ่มสำหรับเคเบิลเส้นใยนำแสงโทรคมนาคม แขวนในอากาศรับน้ำหนักตัวเองได้

30)มอก. 2186-2547 ตู้เย็นสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย เฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม : ประสิทธิภาพพลังงาน

31)มอก. 2202-2547 สายไฟฟ้าแรงดันสูงหุ้มด้วยฉนวนครอสลิงกด์พอลิเอทิลีน สำหรับแรงดันไฟฟ้าที่กำหนดตั้งแต่ 60 กิโลโวลต์ ถึง 115 กิโลโวลต์

32)มอก. 2214-2548 ตู้เย็นสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย เฉพาะด้านความปลอดภัย

33)มอก. 2217-2548 เซลล์และแบตเตอรี่ทุติยภูมิที่มีอิเล็กโทรไลต์แอลคาไลน์หรืออิเล็กโทรไลต์อื่นที่ไม่ใช่กรด สำหรับการใช้งานแบบพกพา เฉพาะด้านความปลอดภัย

34)มอก. 2234-2557 หลอดมีบัลลาสต์ในตัวสำหรับการให้แสงสว่างทั่วไป เฉพาะด้านความปลอดภัย

35)มอก. 2235-2557 หลอดฟลูออเรสเซนซ์ขั้วเดี่ยว เฉพาะด้านความปลอดภัย

36)มอก. 2337-2557 บัลลาสต์สำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ : คุณลักษณะที่ต้องการด้านประสิทธิภาพพลังงาน

37)มอก. 2425-2552 เครื่องตัดวงจรใช้กระแสเหลือแบบไม่มีอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน สำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและใช้ในลักษณะที่คล้ายกัน เล่ม 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป

38)มอก. 2432-2555 เต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน : ชุดสายพ่วง

สายไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก. มีกี่ประเภท

มาตรฐานสายไฟใหม่ มอก.11-2553 ที่ประกาศเป็นมาตรฐานบังคับตามพระราชกฤษฎีกา ที่กำหนด
ให้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนพอลิไวนิลคลอไรด์ แรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน
450/750 โวลต์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.11-2553 (ซึ่งของเดิม เป็น มอก.11-2531) ซึ่งมีการ
เปลี่ยนแปลงพอจะสรุปได้ดังนี้
             1.        มาตรฐาน มอก.11-2553 นี้ส่วนใหญ่อ้างอิงมาตรฐานสายไฟมาจาก IEC Standards 60227 การ
                         แบ่งชนิดของสายไฟฟ้าจะแบ่งตามมาตรฐาน IEC เป็นรหัสตัวเลข 2 ตัว แต่เนื่องจากป้องกันความ
                         สับสน ผู้ผลิตจะระบุชื่อเดิมไว้ให้เช่น60227 IEC 01 (THW)
             2.        สีของฉนวนสายไฟจะกำหนดใหม่โดยเรียงจาก เฟสA, B, C, N, G ดังนี้น้ำตาล ดำ เทา ฟ้า เขียว
                         แถบเหลือง ตามมาตรฐาน IEC จากมาตรฐานเดิมที่เป็น ดำ แดง นํ้าเงิน ขาว(เทา) เขียว การใช้
                         งานจะต้องเพิ่มความระมัดระวังโดยเฉพาะโครงการที่มีระยะเวลายาว หรืองานต่อเติมซ่อมแซมที่
                         จำ เป็นต้องใช้สายทั้ง2มาตรฐานในงานเดียวกันเช่นสายVAFที่เดิมใช้สีเทาเป็นสายนิวทรัลแต่ต่อ
                         ไปนี้สายเส้นสีเทาจะเป็นสายเฟสที่มีไฟแล้ว ดังนั้นการทำ เครื่องหมายจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง
             3.        กำหนดแรงดันใช้งาน 2ค่าU๐/Uไม่เกิน450/750โวลต์มีผลทำ ให้สายไฟฟ้าบางชนิดเช่นสายVAF
                         ที่ตามมาตรฐานเดิมไม่สามารถนำมาใช้กับระบบ3 เฟส4สาย230/400 โวลต์ได้แต่มอก.11-2553
                         ให้ใช้ได้
             4.        อุณหภูมิที่ใช้งาน กำหนดไว้2 ค่าคือ70 และ90 องศาเซลเซียส ขณะที่มาตรฐานเดิมกำหนดไว้70
                         องศาเซลเซียสค่าเดียว
             จากการเปลี่ยนแปลงข้างต้น วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้
ปรับปรุงมาตรฐานการติดตั้งให้สอดคล้องกับสายไฟฟ้ามาตรฐานใหม่โดย ซึ่งมีข้อแตกต่างจากมาตรฐาน
เดิมพอสมควร ดังนั้น การคำนวนหาขนาดสายไฟฟ้าเพื่อนำ ไปใช้งานควรจะพิจารณาตามขั้นตอนดัง
ต่อไปนี้
             1.        คำนวนโหลดหาค่ากระแสที่ใช้งาน และกำหนดขนาดเครื่องป้องกัน
             2.        พิจารณาชนิดของสายไฟฟ้าจำนวนตัวนำกระแส2เส้นหรือ3เส้น(1เฟสหรือ3เฟส)ลักษณะของ
                         สายไฟเป็นแบบแกนเดียวหรือหลายแกน ล้วนแต่มีผลต่อการเลือกใช้ตารางกระแสไฟฟ้าทั้งสิ้น
             3. พิจารณาวิธีการติดตั้งซึ่งแบ่งเป็น7 กลุ่ม(มาตรฐานเดิมมี5 กลุ่ม) ที่น่าสังเกตุคือ การเดินสายร้อย
                         ท่อภายในฝ้าเพดานหรือผนังทนความร้อน มีค่ากระแสแตกต่างจากการเดินสายร้อยท่อลอยหรือ
                         ฝังในคอนกรีต ตัวอย่างเช่น ถ้าโหลด3 เฟส คำนวนหาขนาดเครื่องป้องกันได้100 แอมแปร์กรณี
                         ที่เลือกใช้สายไฟฟ้า60227IEC01(THW) เดินสายร้อยท่อลอยเกาะผนังหรือเพดาน จะต้องใช้สาย
                         ขนาด50 ตร.มม. แต่ถ้าเป็นการเดินสายร้อยท่อภายในฝ้าเพดาน จะต้องใช้สายขนาด70 ตร.มม.
             4.        พิจารณาตัวคูณปรับค่า เนื่องจากอุณหภูมิโดยรอบ ซึ่งกำหนดที่40 องศาเซลเซียสในกรณีทั่วๆ ไป
                         และ 30 องศาเซลเซียสในกรณีฝังดิน
             5.        พิจารณาตัวคูณปรับค่า เนื่องจากกลุ่มวงจรในกรณีที่มีตัวนำกระแสมากกว่า1 วงจร โดยพิจารณา
                         วงจร1 เฟส2สายนับเป็น1 วงจร วงจร3 เฟส3สายหรือ4สายนับเป็น1 วงจร ในกรณีนี้ส่วนใหญ่
                         จะใช้ในการเดินสายในรางเคเบิล (cable tray) ที่มีการปรับปรุงแก้ไข ที่สำคัญคือ ไม่อนุญาตให้
                         ใช้สายไม่มีเปลือกติดตั้งในรางเคเบิล และในมาตรฐานเดิมกำหนดให้สายในรางเคเบิลจะต้องไม่
                         เล็กกว่า 50 ตร.มม. มาตรฐานใหม่ยอมให้ถึงสายขนาด25 ตร.มม.
             6.        ขนาดกระแสจากการปรับค่าในขัอ 4 และข้อ 5
             7.        หาขนาดสายไฟฟ้าจากตารางที่ถูกเลือกในข้อ 3
มาตรฐานใหม่นี้ในระยะแรกยังไม่มีความคุ้นเคยอาจสับสนอยู่บ้าง คงต้องค่อยๆ พิจารณาตามลำดับ
ไปก่อน หลังจากนั้นคงคุ้นเคยเหมือนมาตรฐานเดิม ในส่วนรายละเอียดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก
มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฉบับปรับปรุงใหม่ของ วสท.