พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) มีกี่ทักษะ และอะไรบ้าง

ในช่วงวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ถือเป็นวิกฤตที่เทคโนโลยีมีอิทธิพลมากขึ้นในการดำรงชีวิตและการหางาน แรงงานยุคใหม่จึงเร่งพัฒนาศักยภาพด้านต่าง ๆ เพื่อให้อยู่รอดในวิกฤตครั้งนี้

ถึงแม้ว่าโซเชียลมีเดียหรือเทคโนโลยีต่าง ๆ มีบทบาทมากขึ้น หรือคนมีความสามารถมากขึ้นแค่ไหน แต่ยังเกิดคำถามที่ว่า ทำไมรัฐบาลถึงไม่สามารถสร้างเศรษฐกิจแห่งอนาคตเพื่อรองรับแรงงานผู้ที่มีทักษะความสามารถหลากหลายที่ไม่ใช่แค่ทักษะทางดิจิทัล และเมื่อแรงงานเหล่านั้นได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากวิกฤตครั้งนี้ และไม่สามารถมองเห็นความเป็นอยู่ในอนาคตข้างหน้าได้เลย มันจึงเกิดความคิดที่เรียกว่า “การย้ายประเทศ”

 

การย้ายประเทศ ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ มันเป็นเรื่องปกติสามัญ แต่ในช่วงเวลาแบบนี้ เศรษฐกิจแบบนี้ ทำให้การย้ายประเทศกลายเป็นเรื่อง Talk of the town เห็นได้จากการตั้งกลุ่มเฟสบุ๊กชื่อ “โยกย้าย มาส่ายสะโพกโยกย้าย” ปัจจุบัน มีจำนวนสมาชิกในกลุ่มทะลุหนึ่งล้านคนเป็นที่เรียบร้อย

 

ไม่ว่าอย่างไร ก่อนตัดสินใจย้ายประเทศ เราจำเป็นต้องปรับแนวคิด ทัศนคติ หลาย ๆ อย่างเพื่อให้เข้าใจถึงบรรทัดฐานสังคมที่ประเทศนั้น ๆ ยึดถือ และที่ได้กล่าวไปว่า เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญมากขึ้น ความเข้าใจถึงความเป็น “พลเมืองดิจิทัล” (Digital Citizenship) จึงเป็นสิ่งสำคัญในการเป็นคนที่มีความรับผิดชอบต่อการใช้เทคโนโลยีอย่างไร้พรมแดน

 

ในบทความนี้ Adaptivity ได้รวบรวมแนวคิดต่าง ๆ ของ การปรับตัวเป็นพลเมืองดิจิทัล ที่สามารถใช้ได้ทั่วโลก มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

1. ทักษะความเข้าใจในเทคโนโลยีและสารสนเทศ

การที่เราต้องการจะย้ายถิ่นไปอยู่ประเทศปลายทางเป็นเวลาชั่วคราวหรือถาวร การใช้เทคนิคดิจิทัลไปในทางสร้างสรรค์ และเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ควรคำนึงถึงอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ทักษะดิจิทัลในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร การใช้ภาษา การลงคะแนน การยื่นคำร้องต่าง ๆ หรือการให้ความปลอดภัยพลเมือง 

2. ทักษะการใช้อินเตอร์เน็ตและความปลอดภัยในเนื้อหาส่วนตัว

การที่เราต้องการจะย้ายถิ่นไปอยู่ประเทศปลายทางเป็นเวลาชั่วคราวหรือถาวร การใช้เทคนิคดิจิทัลไปในทางสร้างสรรค์ และเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ควรคำนึงถึงอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ทักษะดิจิทัลในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร การใช้ภาษา การลงคะแนน การยื่นคำร้องต่าง ๆ หรือการให้ความปลอดภัยพลเมือง 

3. คำนึงถึงความรุนแรงในโลกออนไลน์

ความรุนแรงจากสื่อออนไลน์มีหลายประเภท เช่น การคุกคามทางเพศ การข่มขู่จากบุคคลนิรนาม การแอบอ้างตัวตน หรือการวิจารณ์รูปร่างหน้าตาที่รุนแรง ความรุนแรงเหล่านั้นเกิดขึ้นได้เสมอกับคนทุกชาติ ทุกเพศ ทุกวัย โดยอาจเกิดขึ้นจากคนอื่น หรือตัวเราเองโดยไม่รู้ตัว วิธีที่จะหลีกเลี่ยงเพื่อเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณค่าในประเทศนั้น ๆ ได้คือ คิดไตร่ตรองก่อนการโพสต์หรือคอมเม้นท์คำต่าง ๆ ลงบนโซเชียล เพื่อไม่ให้เกิดเรื่องร้ายแรงภายหลังที่ส่งผลกระทบทั้งตัวเองและคนอื่น

4. ร่องรอยแห่งโลกดิจิทัล

เมื่อเราอยู่ในโลกดิจิทัล ผมมั่นใจว่าหลาย ๆ ธุรกิจ ล้วนมีแพลตฟอร์มในการนำเสนอข้อมูลเป็นของตัวเอง อย่าง Facebook LinkedIn Instagram หรือ Twitter ทุกถ้อยคำที่เราแชทกับผู้คน ทุก ๆ ข้อความที่ถูกโพสต์หรืออ้างอิงในบทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา ล้วนเป็นร่องรอยที่คนอื่น ๆ หรือลูกค้าของเราสามารถสืบค้นทัศนคติและภาพลักษณ์ที่เราไม่สามารถปกปิดได้  ฉะนั้น หากระมัดวังในการใช้ถ้อยคำในการสื่อสารลงบนแพลตฟอร์มดิจิทัล มันอาจเป็นผลดีสำหรับธุรกิจของเราในการที่จะสร้างชื่อเสียงที่ดีขึ้น เพราะเมื่อเราพลาดขึ้นมา คนก็จะสามารถสืบค้นข้อมูลของเราเพื่อ discredit ได้ไม่ยาก

เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับ 4 แนวคิดที่ได้นำเสนอไปข้างต้น ไม่ว่าจะโยกย้าย ส่ายสะโพกโยกย้ายไปประเทศไหน การรู้จักปรับตัวเป็นพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะพลเมืองยุคดิจิทัล สามารถทำให้เราคุ้นชินและอยู่ร่วมกับคนในหลาย ๆ ประเทศได้อย่างแน่นอน

ในระยะไม่นานมานี้ (ไม่กี่ปี) เรามักจะได้ยินคำว่า Digital หนาดูขึ้นเรื่อยๆ โดยประเทศไทยเรามักอ่านกันว่า ดิจิตอลบ้าง ดิจิเทิลบ้าง หรือ ดิจิทัลบ้าง ซึ่งศัพท์บัญญัติได้บัญญัติให้เขียรน Digital เป็น ดิจิทัล ซึ่งจะอ่านอย่างไรก็คงจะหมายถึงความเดียวกันคือ เป็นโลกใหม่ที่มีความเสมือนหรือคล้ายคลึงกับโลกของชีวิตจริง ซึ่งในโลกดิจิทัลก็มีกิจกรรมให้ทำและมีสังคมให้เข้าร่วม ไม่ต่าง (หรรืออาจจะหลากหลายมากกว่า) ในชีวิตจริง

แน่นอนการที่มนุษย์ดำรงค์หรือโลกในชีวิตจริง ย่อมต้องมีทักษะความสามารถที่จะสามารถศึกษาเรียนรู้ ปฏิบัติงานและประกอบอาชีพ ตลอดจนหาความสุขหรือความบันเทิงให้กับชีวิต เพื่อจะได้เป็นอยู่อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งในโลดดิจิทัลก็เช่นเดียวกับ เนื่องด้วยต้องมีการใช้สื่อใหม่ที่มีความทันสมัยและสามารถสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ไร้ขอบเขต (เรียกได้ว่าอาจจะไม่มีเชื้อชาติศาสนาเลยก็ว่าได้) มนุษย์ที่จะดำรงค์ตนในโลกดิจิทัลจึงควรต้องมีคุณลักษณะพื้นฐานในเรื่องต่างๆ โดย DQ Institute ได้ทำการวิจัย ศึกษาและสรุปคุณลักษณะพื้นฐาน (อย่างน้อยต้องมี) ของมนุษย์ที่จะอยู่ในโลกดิจิทัลได้อย่างตลอดปลอดภัย หรือเรียกว่าเป็น พลเมืองดิจิทัล โดยคุณลักษณะพื้นฐานดังกล่าวมีทั้งหมด 8 ประการ ได้แก่

พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) มีกี่ทักษะ และอะไรบ้าง
[Ref: https://www.dqinstitute.org/what-is-dq/#contentblock2%5D

  1. Digital citizen identity: ความสามารถในการสร้างและจัดการในการระบุตัวตนด้วยความซื่อสัตย์ทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์
  2. Screen time management: ความสามารถในการจัดการเวลาในโลกออนไลน์ การจัดการเวลาเพื่อภารกิจที่หลากหลาย และการจัดการเวลาและกำกับตัวเองในการทำกิจกรรมในสื่อสังคมออนไลน์
  3. Cyberbullying management: ความสามารถในการตรวจจับสถานการณ์การกลั่นแกล้งบนอินเทอร์เน็ตและจัดการกับสถานการณ์อย่างชาญฉลาด
  4. Cybersecurity management: ความสามารถในการปกป้องข้อมูลโดยการสร้างความปลอดภัยของรหัสผ่านและการจัดการการคุกคามทางไซเบอร์ที่มีความหลากหลาย
  5. Privacy management: ความสามารถในการจัดการข้อมูลส่วนบุคลที่เผยแพร่ในโลกออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของทั้งของตนเองและของผู้อื่น
  6. Critical thinking: ความสามารถในการจำแนกข้อมูลที่เป็นจริงและข้อมูลที่เป็นเท็จ เนื้อหาที่ดีและเนื้อหาที่เป็นอันตราย และการติดต่อออนไลน์ที่น่าเชื่อถือและน่าสงสัย
  7. Digital footprints: ความสามารถในการทำความเข้าใจธรรมชาติของร่องรอยทางดิจิทัล ผลกระทบของร่องรอยทางดิจิทัลที่มีต่อชีวิตจริง และจัดการร่องรอยทางดิจิทัลด้วยความรับผิดชอบ
  8. Digital empathy: ความสามารถในการแสดงออกถึงความใส่ใจในความรู้สึกและความต้องการในโลกออนไลน์ทั้งของตนเองและของผู้อื่น

โดย อนุชา โสมาบุตร [email protected]

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

Related

ทักษะพลเมืองดิจิทัล 8 ข้อ มีอะไรบ้าง

จับตา 8 ทักษะดิจิทัล มาแรงรับปี 2017.
1. Digital skill Leadership. ... .
2. Digital skill Transformation. ... .
3. Digital skill Governance. ... .
4. Digital skill Project Management. ... .
5. Digital skill Technology. ... .
6. Digital Services Design & Assurance. ... .
7. Digital skill Compliance. ... .
8. Digital skill Literacy..

พลเมืองดิจิทัลมีกี่ทักษะ อะไรบ้าง

7 ทักษะจำเป็นที่ควรมีติดตัว.
1. Technology Basics (ทักษะพื้นฐานด้านเทคโนโลยี) ... .
2. Digital Citizenship (ทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัล) ... .
3. Information Management (ทักษะการจัดการสารสนเทศ) ... .
4. Content Creation (ทักษะการสร้างสรรค์เนื้อหา) ... .
5. Communication (ทักษะด้านการสื่อสาร) ... .
6. Collaboration (ทักษะด้านการทำงานร่วมกัน).

พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizen) ควรเป็นผู้ที่มีทักษะอย่างไร

iT24Hrs. ความเป็นพลเมืองดิจิตอล (Digital Citizenship) คือ พลเมืองผู้ใช้งานสื่อดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์ที่เข้าใจบรรทัดฐานของการปฏิบัติตัวให้เหมาะสม มีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม มีความเห็นอกเห็นใจและเคารพผู้อื่น ในการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารในยุคดิจิทัล

Digital Citizen Identity คือทักษะด้านใด

1. ทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง (Digital Citizen Identity) คือ ทักษะในการสร้างความสมดุล บริหารจัดการและรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเองไว้ได้ทั้งใน ส่วนของโลกออนไลน์และโลกความจริง อัตลักษณ์ที่ดีในการเป็นพลเมืองดิจิทัล 3 ประการ ได้แก่ การเรียนรู้และพัฒนาการสื่อสารกับผู้อื่นอย่างมีวิจารณญาณที่เหมาะสม คิดก่อนโพสต์ และ ...