ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย

 

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย

                ทุกวันนี้เราจะได้ฟังข่าวที่มีแต่ความรุนแรงและรู้สึกสลด หดหู่กับเรื่องราวที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการประท้วงและจุดไฟเผาผู้ที่มีความเห็นต่างทั้งเป็นที่ฮ่องกง การลอบยิง ชรบ.ที่ลำพะยา การยกพวกตีกันในโรงพยาบาล หรือแม้แต่การยิงกันในห้องพิจารณาคดี คำถามคือเกิดอะไรขึ้นในสังคม ทำไมเราปล่อยให้ความขัดแย้งมาเป็นชนวนในการเข่นฆ่าทำร้ายกัน นี่หรือคือการกระทำของมนุษย์ซึ่งยกตัวเองว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ แต่กลับใช้กำลังทำร้ายกันอย่างไม่มีเหตุผล สาเหตุของความขัดแย้งมาจากไหน การคิดต่างเห็นต่าง ความรุนแรงที่เกิดจากการยุยงปลุกปั่นของผู้มีอำนาจและผู้สูญเสียผลประโยชน์ หรือเกิดจากการที่แค่เรียนต่างสถาบัน พอมองหน้าแล้วไม่ชอบใจก็ยกพวกตีกันได้ง่ายๆ

                คนเหล่านี้ขาดการควบคุมสติและวิเคราะห์ปัญหา ไม่สามารถยับยั้งตนเองได้ ผลที่ตามมาก็คือสังคมเดือดร้อน เริ่มมีความหวาดระแวงในความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อความรุนแรงในสังคมในสังคม ส่วนใหญ่เราจะนึกถึงการทําร้ายร่างกาย เช่น การทะเลาะวิวาท การทุบ ตี ต่อย เตะ ซึ่งมีให้เห็นแทบทุกวันตามสถานบันเทิง ท้องถนน หรือแม้แต่สถานศึกษา ความรุนแรงอีกประเภทที่พบเห็นเป็นข่าวอยู่บ่อยๆ ได้แก่ การล่วงละเมิดทางเพศ ไม่ว่าจะเป็น พ่อข่มขืนลูก ปู่หรือลุงข่มขืนหลาน หรือครูข่มขืนลูกศิษย์ ที่น่าตกใจก็คือสถานที่เกิดเหตุมักจะเป็นที่บ้านหรือภายในโรงเรียน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ควรจะปลอดภัยที่สุด และที่น่ากลัวก็คือข้อกล่าวหาข้างต้นเป็นการกระทําของคนในครอบครัวและคนใกล้ตัวแทบทั้งสิ้น

                เมื่อมาพิจารณาถึงสาเหตุหรือปัจจัยที่ทําให้เกิดปัญหาความรุนแรงในสังคมมากที่สุด น่าจะเป็นเรื่องของการเมาสุราทำให้ขาดสติ และเรื่องของยาเสพติดที่หาซื้อได้ง่ายเหมือนซื้อลูกอม ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ ปราบอย่างไรก็ไม่หมด เพราะยาเสพติดกลายเป็นระบบขายตรงที่ได้กำไรงาม ทำรายได้ดีแบบไม่ต้องออกแรงมากมาย การอบรมเลี้ยงดูบุตรหลานและการคบเพื่อนก็เป็นปัจจัยหลักในการทำให้เกิดปัญหาความรุนแรง เด็กรุ่นนี้เกิดมาท่ามกลางเทคโนโลยี ทำให้ไวต่อสิ่งเร้า และขาดการสื่อสารหรือสัมผัสกับธรรมชาติ ทำให้มีจิตใจที่หยาบกระด้าง เห็นแก่ตัว ไม่รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ก้าวร้าวและขาดความยับยั้งชั่งใจ เด็กที่เกิดมาโดยไม่ตั้งใจและความไม่พร้อมในการเลี้ยงดูอบรม หรือเด็กที่เกิดมาแต่ขาดการอบรมเลี้ยงดู เนื่องจากพ่อแม่ต้องทำมาหากิน ทำให้เด็กโตมาแบบไร้คุณภาพ โรงเรียนเองก็มุ่งแต่สอนด้านวิชาการ ทำให้เด็กขาดทักษะในการดำเนินชีวิต และขาดทักษะในการแก้ปัญหาเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง

                อยากให้คนเป็นพ่อแม่ลองสำรวจลูกๆ ดูว่าเขามีคุณสมบัติเหล่านี้หรือไม่ มีแรงบันดาลใจ มีความสงสัยใคร่รู้ มีจินตนาการ มีความคิดวิเคราะห์ กล้าคิดต่างจากของเดิม และมีความอดทนต่ออุปสรรคที่ผ่านเข้ามา สิ่งเหล่านี้คือทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตของเด็กในศตวรรษที่ 21 ทักษะที่จะทำให้เด็กอยู่รอดและไม่ทำตัวให้เป็นปัญหาของสังคม ทักษะที่โรงเรียนและครูยุคใหม่ต้องเรียนรู้เพื่อที่จะสอนและฝึกเด็กให้พร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตและเติบโตมาแบบมีคุณภาพ หากสำรวจแล้วพบว่าลูกขาดทักษะใด ก็ช่วยกันสนับสนุนและส่งเสริมเสียตั้งแต่วันนี้ ดีกว่าไปเน้นด้านวิชาการเพียงอย่างเดียว.

โดย จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์ ([email protected])

รวบรวมข้อมูลโดย ฝ่ายสื่อสารองค์กรและเทคโนโลยี
         ปัญหาความรุนแรงเกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งมักพบว่า การเลี้ยงดูของพ่อแม่ การแข่งขันสูงทางด้านการศึกษา การมุ่งเน้นด้านรายได้ ด้านเศรษฐกิจและค่านิยมที่เปลี่ยนไปทำให้เกิดปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย
         ปัญหาสังคมในปัจจุบัน หากมองในแง่ของการแก้ไขปัญหา ก็คงจะมีผู้ใหญ่ ผู้มีอำนาจในการแก้ไข รวมไปถึงหน่วยงานหรือองค์กรที่ทำหน้าที่แก้ไขเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว แต่หากมองปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นให้ลงลึกไปอีกนั้น เราจะพบว่า การแก้ไขปัญหาอาจเป็นการปรับเปลี่ยนเพียงชั่วครั้งชั่วคราว หรือเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุมากกว่า
        อย่างในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ซึ่งเป็นสังคมส่วนใหญ่ในปัจจุบันที่ต้องการการดูแลและเข้าใจมากที่สุด กลับเป็นกลุ่มที่พบปัญหาและแก้ไขปัญหาได้ยากที่สุด โดยเฉพาะ “ปัญหาความรุนแรง” ที่เกิดขึ้น..ปัญหาที่มาพร้อมกับการแก้ไข ปัญหาที่มาพร้อมกับความคาดหวังของพ่อแม่รวมทั้งคนในสังคม
        ปัญหาความรุนแรงเกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งมักพบว่า การเลี้ยงดูของพ่อแม่ การแข่งขันสูงทางด้านการศึกษา การมุ่งเน้นด้านรายได้ ด้านเศรษฐกิจและค่านิยมที่เปลี่ยนไปทำให้เกิดปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย ซึ่งเด็กแต่ละคนมีพื้นฐานทางอารมณ์ที่แตกต่างกัน เด็กบางคนอารมณ์ดี สนุกสนาน ร่าเริงด้วยตัวพื้นฐานของเขาเอง เด็กบางคนหงุดหงิดง่าย ไม่ว่าจะเกิดจากยีนของเขา หรืออาจจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมองของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพราะคุณแม่ที่มีความเครียดระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลให้ลูกที่เกิดมามีอารมณ์หงุดหงิดง่าย ทำให้เป็นพิษต่อเซลล์ประสาทและเซลล์สมองไม่ปกติ ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ นอกจากนี้ แม่ที่มีภาวะแทรกซ้อนอย่างเช่น ภาวะแท้งคุกคาม มีเลือดออก ครรภ์เป็นพิษ คลอดเด็กก่อนกำหนด หรือแม่ที่สูบบุหรี่ ดื่มเหล้านั้น มีผลต่อการพัฒนาสมองของทารกในครรภ์ทำให้เด็กเป็นโรคสมาธิสั้น และมีความสามารถในการควบคุมตนเองบกพร่อง
         อีกปัจจัยหนึ่งคือ เด็กบางคนป่วยเป็นโรคทางจิตเวช เช่น เป็นโรคที่มีผลต่ออารมณ์โดยตรงได้แก่
โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์แปรปรวน (Bipolar disorder) ทำให้การควบคุมต่าง ๆ บกพร่อง ในกรณีอาการโรคซึมเศร้าเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ จะมีอาการหดหู่ท้อแท้ใจ ไม่มีความสุข อยากตาย แต่ถ้าโรคซึมเศร้าที่เกิดในวัยรุ่นจะมีอาการเหมือนเป็นคนขี้รำคาญ หงุดหงิด อารมณ์ไม่ดี ใครพูดอะไรไม่ถูกใจก็จะโกรธง่าย ระเบิดอารมณ์ง่าย
          ฉะนั้น การเลี้ยงดูลูกตั้งแต่แรกเกิดของคุณพ่อคุณแม่จึงมีความสำคัญมาก คนทั่วไปมักคิดว่าเด็กเล็กไม่รู้เรื่องอะไร ไม่รู้ภาษาอะไร ยังไม่ต้องให้ความสำคัญในการเลี้ยงดู แต่แท้จริงแล้วเป็นความเข้าใจผิด เพราะในช่วงเวลาที่สำคัญของลูกคือ ตั้งแต่อายุ 1-3 ขวบแรกในชีวิต ลูกจะมีความต้องการความรักความอบอุ่น ความเอาใจใส่จากพ่อแม่มาก ซึ่งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน ทำให้ลูกมีความผูกพันทางอารมณ์กับแม่ดีมาก มีอารมณ์ที่ผูกพันต่อกันมากขึ้น คุณแม่จึงควรมีสุขภาพจิตที่ดีและมีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน จะทำให้ลูกมีความสามารถในการควบคุมตนเองได้ดี (Self-regulation)
           นอกจากนี้แล้ว ภาวะทางเศรษฐกิจและค่านิยมที่เปลี่ยนไป ทั้งพ่อและแม่ต่างออกไปทำงานนอกบ้าน และการทำงานนี้ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของลูก ไม่ว่าทางด้านร่างกายหรือจิตใจ เมื่อพ่อแม่มีความกดดันมาก ความอ่อนโยนที่จะทำให้ลูกผูกพันก็น้อยลง ทำให้ความเครียดมีผลต่อการเกิดความวิตกกังวล คุณพ่อคุณแม่จึงต้องจัดสรรเวลาทำงานกับการดูแลลูกให้ดี สิ่งสำคัญอีกประการคือ ไม่ทำสิ่งที่ผิดศีลผิดธรรมให้ลูกเห็น
ส่วนวัยรุ่นเอง เป็นวัยที่เข้าใจยาก วัยรุ่นที่มีความรุนแรงส่วนใหญ่คิดว่าตนเองไม่มีอะไรดีพอ (Self Extreme) และเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ พ่อแม่ไม่สามารถทำให้เด็กเห็นคุณค่าในตัวเองได้ เพราะไม่มีเวลาและตามใจลูก เวลาที่เด็กมีปัญหา จึงแสดงออกทางอารมณ์ได้ง่าย สิ่งที่สังคมมุ่งเน้นอีกประการหนึ่ง ได้แก่ ทางด้านการศึกษาที่เน้นการแข่งขันทางด้านการเรียนการสอน การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากกว่าวัดผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเป็นคนดี การสอนเด็กทางด้านการเสียสละ มีน้ำใจ จิตอาสา คุณธรรม และจริยธรรมก็มีน้อยมาก เพราะโรงเรียนไปวัดผลที่คะแนนเพียงอย่างเดียว เด็กจำนวนมากต้องเรียนกวดวิชา เด็กบางคนต้องเรียนทุกวันส่วนเด็กที่ได้รับการยอมรับจากครูและผู้ใหญ่คือเด็กที่เรียนดี เด็กที่เรียนไม่ดีคือเด็กที่ไม่ได้รับการยอมรับ สังคมไทยเป็นสังคมที่ต้องการการยอมรับ ถ้าเขาไม่ได้รับการยอมรับก็จะไปกับเด็กที่เกเร เพื่อนที่เกเรจะเปิดใจและยอมรับเขา ยิ่งเขาไปแข่งมอเตอร์ไซค์แว้นชนะมา หรือว่าชกต่อยกับใครชนะ เพื่อนจะบอกว่าเก่ง หรือใช้ยาเสพติดเพื่อนจะบอกว่าเจ๋งมาก ถ้าเป็นเด็กที่เรียนเก่งก็จะรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าที่เรียนเก่ง แต่เด็กที่เรียนไม่เก่งก็เอาแต่ดูทีวีเล่นเกมไม่ช่วยงานบ้าน และในขณะที่เด็กทำอะไรได้ดี พ่อแม่ก็ไม่ค่อยชม
         วัยรุ่นจึงเป็นวัยที่ต้องทำความเข้าใจให้มาก และคุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลเอาใจใส่อย่างพอเหมาะพอควร และต้องไม่ทำให้เกิดปัญหาอย่างที่ทราบกันบนหน้าหนังสือพิมพ์ หรือในข่าวตามโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ เพียงแค่นี้ เราก็จะได้วัยรุ่นที่ดี เป็นบุคลากรคนสำคัญของประเทศ รวมทั้งได้ต้นแบบที่ดีในการพัฒนาพวกเขาในอนาคต.

รองศาสตราจารย์นายแพทย์ศิริไชย หงส์สงวนศรี
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

ปัจจัยใดเป็นพื้นฐานของการเกิดความรุนแรงในสังคมไทย

อันดับ 1 สุรา/ยาเสพติด อันดับ 2 การอบรมเลี้ยงดู อันดับ 3 การคบเพื่อน 59.00% การทําร้ายร่างกาย 24.75% การล่วงละเมิดทางเพศ 13.50% การทําร้ายจิตใจ 1.75% การทําร้ายทางเพศ สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาความรุนแรงในสังคม 5 อันดับแรก 26.75% 20.29% 12.96% อันดับ 4 ความเครียด 7.92%

ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบัน มีอะไรบ้าง

ปัญหาสังคมของไทย •1. ปัญหายาเสพติด •2. ปัญหาคอร์รัปชั่น (Corruption) •3.ปัญหาความยากจน (Poverty) •4. ปัญหาการแพร่กระจายของโรคเอดส์ ปัญหายาเสพติด กําลังระบาดในหมู่เยาวชน ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยมีคนติดสิ่งเสพติดมากกว่าสองล้านคน ส่วน

ความรุนแรงแบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง ม.3

ความรุนแรง เป็นพฤติกรรมหรือการกระท าใดๆ ก็ตามที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ทั้งทางร่างกาย วาจา จิตใจ หรือทางเพศ และน ามาซึ่งอันตรายหรือความทุกข์ทรมานต่อ ผู้ถูกกระท าทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ประเภทของความรุนแรง 1. ความรุนแรงทางด้านร่างกาย 2. ความรุนแรงทางด้านจิตใจ 3. ความรุนแรงทางเพศ

ข้อใดเป็นสาเหตุของปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

ความรุนแรงในครอบครัว (domestic violence) คือการทำร้ายร่างกาย จิตใจ บังคับข่มเหง จากบุคคลในครอบครัว อันเกิดมาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม การติดการพนัน สุรา ยาเสพติด หรือความเครียดจากเศรษฐกิจ ทำให้ก่อความรุนแรง สร้างความเจ็บปวด ทุกข์ทรมานต่อร่างกายและจิตใจของผู้ที่ถูกกระทำ