พระราชบัญญัติ ความ ปลอดภัย อาชีว อนามัย และสภาพแวดล้อมในการ ทํา งาน พ ศ 2554 มี กี่ หมวด กี่ มาตรา

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน มีบัญญัติและอธิบายไว้แล้วใน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 100 ถึง มาตรา 107 หลักส่วนใหญ่เป็นการคุ้มครอง แรงงานทั่วไป ได้ถูกยกเลิกไปแล้วตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2553 และเพื่อ ประโยชน์ในการวางมาตรการควบคุม กํากับดูแล และบริหารจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเพื่อป้องกันและรักษาทรัพยากรบุคคลอันเป็นกําลังสําคัญของชาติ จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองความปลอดภัยฉบับใหม่ขึ้น คือ “พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554” ใช้บังคับในปัจจุบันขึ้นแทน

ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน หมายความว่า “การกระทําหรือ สภาพการทํางานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทําให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต ต่อร่างกาย จิตใจ หรือ สุขภาพอนามัยอันเนื่องจากการทํางาน หรือเกี่ยวกับการทํางาน

จากความหมาย และคําจํากัดความคําว่า ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทํางาน จึงหมายถึง การป้องกันมิให้ผู้ใช้แรงงานซึ่งหมายถึงลูกจ้างที่เกี่ยวข้องในการประกอบอาชีพ ที่รับจ้าง และทํางานให้นายจ้าง สามารถทํางานอย่างมั่นคงปลอดภัยได้รับการป้องกันและส่งเสริมคุ้มครอง ด้านชีวิต ร่างกาย จิตใจ สุขภาพอนามัย และอารมณ์ในการทํางาน ดังคําขวัญขององค์การอนามัยโลก ที่กล่าวไว้ว่า อาชีวอนามัยเพื่อทุกคน (Health for all)

วิธีการที่จะให้ลูกจ้างหรือผู้ใช้แรงงานได้รับความปลอดภัยในอาชีวอนามัย ซึ่งหมายถึง ปลอดภัยจาก อันตรายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ และปลอดภัยจากอันตรายเกิดจากสภาพแวดล้อม ปลอดภัยจาก อันตรายที่เกิดจากเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ในการทํางาน สารเคมีอันตรายต่างๆ ที่ใช้ในการผลิต การก่อสร้าง และบริการ นายจ้างควรมีความรับผิดชอบและยึดหลักการทํางานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ในอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานของลูกจ้าง ดังนี้

1. การจัดการ เนื่องจากความแตกต่างและความสามารถของลูกจ้างแต่ละคน รวมทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ อาจแตกต่าง เหมือน หรือใกล้เคียง การดูแลจัดการและควบคุม ย่อมมีความจําเป็นอย่างยิ่ง 

ตามหลักที่ว่าใช้หนให้เหมาะสมกับงานและความรู้ความสามารถ

2. การคุ้มครอง ด้วยการปกป้องคุ้มครองป้องกันลูกจ้างที่ทํางานเสี่ยงอันตราย อันอาจเป็นเหตุ 

ให้เกิดการบาดเจ็บ เป็นอันตรายแก่กายหรือเสียชีวิตจากการทํางานได้

3. การป้องกัน ด้วยการดูแลป้องกันมิให้ลูกจ้างทํางานในสภาพแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดเป็น อันตรายต่อร่างกาย ต่อสุขภาพ ได้แก่ การได้รับกลิ่น ฝุ่นละออง และเสียงขณะทํางานเกินเกณฑ์มาตรฐาน อันจะนํามาซึ่งการเจ็บป่วย และเสียชีวิตได้

4. การส่งเสริม คือ การทะนุบํารุงสุขภาพอนามัย รักษาไว้ซึ่งความแข็งแรง ความสมบูรณ์ ในร่างกายของลูกจ้าง และผู้ประกอบอาชีพในสถานประกอบการทุกคน เช่น ให้มีการตรวจร่างกาย เพื่อสุขภาพเป็นประจําทุก 6 เดือน หรือหนึ่งปี มีสถานที่ออกกําลังกายหลังเลิกงาน อันจะทําให้ลูกจ้าง คือผู้ใช้แรงงานอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติและมีความสุข

ข้อมูลเพิ่มเติม

สาระสำคัญ

บททั่วไป : 
พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 กำหนดไว้ว่า 
- มาตรา 3 ของ พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554  บัญญัติว่า ไม่บังคับใช้แก่
(1) ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
(2) กิจการอื่นทั้งหมด หรือแต่บางส่วนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ทั้งนี้

ให้ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และกิจการอื่นทั้งหมด หรือแต่บางส่วนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จัดให้มีมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงานไม่ต่ำกว่ามาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามที่ พรบ.นี้กำหนด

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ส่วนราชการดำเนินการตามมาตรฐานด้านการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัยฯ ให้เกิดความปลอดภัยแก่บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องในองค์กร เช่นเดียวกับหน่วยงานเอกชน โดยหัวหน้าส่วนราชการมีหน้าที่จัดและดูแลสถานที่ราชการที่รับผิดชอบและผู้ใต้บังคับบัญชา ให้มีสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ให้ได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัย พร้อมกันนี้ ผู้ใต้บังคับบัญชามีหน้าที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินการและส่งเสริมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

การบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของส่วนราชการ ในขั้นต้น มีดังนี้
1) แต่งตั้งบุคคล คณะบุคคล หรือกรณีเข้าข่ายเป็นหน่วยงานที่มีการดำเนินกิจการเฉพาะให้แต่งตั้ง คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.)
2) ทบทวนสถานะการดำเนินการด้านความปลอดภัยฯ ตามมาตรฐาน
3) จัดทำร่างนโยบาย เสนอผู้บริหารเพ่อประกาศนโยบายความปลอดภัยฯ
4) นำผลจากการทบทวนสถานะเบื้องต้นมาประเมิน เพื่อจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินการ
5) จัดทำแผนงาน งบประมาณ การดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ
6) ดำเนินการตามแผนงานด้านความปลอดภัยฯ ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐาน
     (1) สำหรับทุกหน่วยงาน
     (2) สำหรับหน่วยงานที่มีความเสี่ยงเฉพาะ 3) สำหรับหน่วยงานที่เข้าข่ายประเภทกิจการเฉพาะ
     (3) สำหรับหน่วยงานที่เข้าข่ายประเภทกิจการเฉพาะ
7) ประเมินผลและจัดทำรายงานการดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ เสนอผู้บริหารส่วนราชการ
8) ทบทวน ปรับปรุงและแก้ไขการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยฯ ของส่วนราชการให้ปลอดภัย

ทั้งนี้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จัดทำคู่มือการปฏิบัติตามมาตรฐานการบริหารจัดการและการจัดการด้านความปลอดภัยฯ ให้สอดคล้องตามพรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 สำหรับส่วนงานราชการ เพื่อใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นในการดำเนินการของราชการในการปฏิบัติตามพรบ.นี้ โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 : แนวปฏิบัติตามมาตรฐานสำหรับทุกหน่วยงาน
ส่วนที่ 2 : แนวปฏิบัติตามมาตรฐานสำหรับหน่วยงานที่มีความเสี่ยงเฉพาะ
ส่วนที่ 3 : แนวปฏิบัติตามมาตรฐานสำหรับหน่วยงานราชการที่มีการดำเนินการเข้าข่ายประเภทกิจการเฉพาะ

ส่วนที่ 1 : แนวปฏิบัติตามมาตรฐานสำหรับทุกหน่วยงาน ทุกส่วนราชการ ต้องดำเนินการ มีดังนี้
- แต่งตั้งบุคคล/คณะบุคคล รับผิดชอบงานด้านความปลอดภัย
- มีนโยบายความปลอดภัยฯ
มีแผนงานด้านความปลอดภัยฯงบประมาณ และรายงานผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ
- หน่วยงานที่ตั้งในสถานที่เดียวกันมีหน้าที่ร่วมกันดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ
- มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมาตรฐานด้านความปลอดภัยฯ
- ลักษณะงานที่มีอันตรายต้องแจ้งให้บุคลากรทราบถึงอันตรายและวิธีการป้องกันอันตราย
- มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย ของผู้บริหาร หัวหน้างาน และบุคลากร
- มีสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยฯ
- งานที่มีข้อบกพร่องหรือชำรุดต้องแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับและดำเนินการแก้ไขโดยไม่ชักช้า
- มีอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล
- มีแผนการป้องกันและระงับอัคคีภัย
มีการซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- มีการสำรวจตรวจสอบเพื่อประเมินสภาพการทำงานที่อาจก่อให้เกิดอันตราย
- บุคลากรทุกคนมีหน้าที่ดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนด
- จัดเก็บข้อมูลประสบอันตรายจากการทำงานของหน่วยงาน

ส่วนที่ 2 : แนวปฏิบัติตามมาตรฐานสำหรับหน่วยงานที่มีความเสี่ยงเฉพาะ
ความเสี่ยงเฉพาะ : งานที่เกี่ยวข้องกับความร้อน แสงสว่าง เสียงดัง รังสีชนิดก่อไอออน สารเคมีอันตราย เครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ งานประดาน้ำ การทำงานในที่อับอากาศ งานก่อสร้าง และงานซ่อมบำรุงหรือลักษณะการดำเนินการอื่นที่มีความเสี่ยงจากการทำงาน

หน่วยงานที่มีความเสี่ยงเฉพาะ ต้องดำเนินการ มีดังนี้
- จัดให้มีการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานตามปัจจัยเสี่ยงเช่น ความร้อน เสียงดัง รังสีชนิดก่อไอออน สารเคมีอันตราย สภาพบรรยากาศอันตราย เป็นต้น
- จัดให้มีการตรวจสุขภาพของบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยง
จัดให้มีอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่จำเป็นเพื่อปฐมพยาบาลบุคลากรที่ทำงานที่มีความเสี่ยงก่อนนำส่งโรงพยาบาล
จัดให้มีเครื่องปัองกันอันตรายสำหรับเครื่องจักรüจัดให้มีการตรวจสอบหรือรับรองความปลอดภัยของเครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ ลิฟท์ นั่งร้าน ค้ำยัน เครื่องตอกเสาเข็มโดยวิศวกร แล้วแต่กรณี
จัดให้มีมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย
- จัดให้มีมาตรการหรือแผนรองรับเกณฑ์เกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น สารเคมีรั่วไหล การฟุ้งกระจายของรังสี ภัยพิบัติต่าง ๆ เป็นต้น
จัดให้มีการกำหนดพื้นที่ควบคุมและจัดให้มีป้ายข้อความในบริเวณที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับ รังสีชนิดก่อไอออน สารเคมีอันตราย ที่อับอากาศ ไฟฟ้าแรงสูง เครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำและงานก่อสร้าง รวมทั้งห้ามบุคคลภายนอกที่ไม่มีหน้าที่เข้าไปในบริเวณนั้น
จัดให้มีระบบการขออนุญาตเข้าทำงานในงานอันตราย
การทำงานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออนจัดให้มีผู้รับผิดชอบดำเนินการทางด้านเทคนิค
ติดตั้งเครื่องสัญญาณแสงหรือเสียงเพื่อเตือนอันตรายในการทำงานของเครื่องจักรพร้อมทั้งติดสัญลักษณ์เตือน
กรณีมีงานก่อสร้างขนาดใหญ่เช่น อาคารขนาดใหญ่ ต้องกำหนดให้ผู้รับเหมาก่อสร้างจัดทำแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานสำหรับงานก่อสร้าง


ส่วนที่ 3 : แนวปฏิบัติตามมาตรฐานสำหรับหน่วยงานราชการที่มีการดำเนินการเข้าข่ายประเภทกิจการเฉพาะ

ประเภทกิจการเฉพาะ : 
1) การทำเหมืองแร่เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียม หรือ ปิโตรเคมี
2) การทำผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่ง ดัดแปลงแปรสภาพ ทำให้เสีย หรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือการให้กำเนิด แปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น
3) การก่อสร้างต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบินทางรถไฟ ทางรถรางทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพานท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง
4) การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบกทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุก ขนถ่ายสินค้า
5) สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
6) โรงแรม
7) ห้างสรรพสินค้า
8) สถานพยาบาล
9) สถาบันทางการเงิน
10) สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ
11) สถานบริการบันเทิง นันทนาการหรือการกีฬา
12) สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ
13) สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม(1) ถึง (12)
14) กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด

หน่วยงานราชการที่มีการดำเนินการเข้าข่ายประเภทกิจการเฉพาะ ต้องดำเนินการ มีดังนี้
- จัดให้มีข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน (ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย)
จัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
หน่วยงานที่มีบุคลากรตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป จัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน(คปอ.)
หน่วยงานที่มีการดำเนินการตามข้อ(1) ที่มีบุคลากรตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และหน่วยงานดำเนินการตามข้อ (2) ถึง (5)มีบุคลากรตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป ต้องมีหน่วยงานความปลอดภัยฯ และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

ศึกษารายละเอียดตามปฏิบัติตามคู่มือ ตามไฟล์แนบท้ายนี้

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มีผลใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด

.ญ. เนสินี ไชยเอีย พบ. MMedSc PhD อว. อาชีวเวชศาสตร์ สานักงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Page 2 Page 3 พระราชบัญญัติความความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน .. ๒๕๕๔ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๑๗ มกราคม ๒๕๕๔ มีผลบังคับใช้๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ตราขึ้นเพราะวัตถุประสงค์อะไรบ้าง

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.. 2554. มีเจตนารมณ์เพื่อวางมาตรการควบคุม กํากับ ดูแล และบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลอันเป็นกําลังสําคัญของชาติให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด

หน้า ๕ เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๗ มกราคม ๒๕๕๔ พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.. ๒๕๕๔

นายจ้าง ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ได้กล่าวถึงใครบ้าง

นายจ้าง” หมายความว่า นายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและให้หมายความ รวมถึง ผู้ประกอบกิจการซึ่งยอมให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาทํางานหรือทําผลประโยชน์ให้แก่หรือในสถานประกอบกิจการ ไม่ว่าการทํางานหรือการทําผลประโยชน์นั้น จะเป็นส่ว นหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการนั้นหรือ ...