กลองมโหระทึกมีความสำคัญอย่างไร

�繡�ͧ���Ъ�Դ˹�� ��ǹ�ҡ�Ӵ������м�� �����ҧ�ͧᴧ�Ѻ�պء �բ�Ҵ��ҧ � �ٻ�ç��к͡ ��ʹ�ç��ҧ ��������͡���ͧ��ǹ ��ǹ˹���繵�ǡ�ͧ �ա��ǹ˹���繰ҹ��ͧ ��ǹ��ǡ�ͧ��˹�ҡ�ͧ�������º ��ǹ�ҹ��ͧ���ٻ���� ��ǧ �������͵Դ�Ѻ��ǡ�ͧ ����Ѻ������͡��� �����ǹ�Ѻ��ѡ ��觻ѡ��֧�Ѻ�ҹ��˹� �մ�������ͧ�ѹ �����������§�ѧ�ҹ

�ѡ�Ԫҡ�ô�ҹ��ҳ��� ��ǹ�ҡŧ���������� ��ͧ���÷֡�Ӣ���繤����á��������е͹���� ���ͻ���ҳ 2,500 - 1,900 �� ������ �ç�Ѻ�������Դ��ǧ�ش���¢ͧ���´��� ������¡�ѹ��� �����Ѳ������ͧ�͹ ��÷ӡ�ͧ��������� ���׺���ͧ�ѹ����� ���㹾ط�ȵ���ɷ�� 25 ��� �羺��Ҫ��ҧ�������Ҿ���� ���ѧ�ӡ�ͧ����з֡����

     เพื่อนๆ ที่เคยมาชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  ชุมพร  คงจะเคยเห็นโบราณวัตถุที่เรียกว่า  กลองมโหระทึก  สงสัยไหมค่ะว่าโบราณวัตถุชิ้นนี้มีความเป็นมาอย่างไร  และใช้สำหรับทำอะไร

กลองมโหระทึกมีความสำคัญอย่างไร

 กลองมโหระทึก

      กลองมโหระทึก  เป็นประดิษฐกรรมที่เกิดขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องถึงช่วงต้นประวัติศาสตร์  ประมาณ  2,000 - 3,000  ปีมาแล้ว  พบในวัฒนธรรมโบราณต่างๆ  ในดินแดนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  เช่น พม่า ไทย  เวียดนาม  ลาว  มาเลเซีย  อินโดนีเซีย  และฟิลิปปินส์  เป็นต้น 

     กลองมโหระทึก  มีชื่อแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบและความเชื่อของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ  เช่น  ในภาคเหนือของไทยและพม่า  เรียกว่า  ฆ้องกบหรือฆ้องเขียด  เนื่องจากมีรูปกบหรือเขียดปรากฏอยู่บนหน้ากลอง  จีนเรียกว่า  ตุงกู่ (Tung Ku)  อังกฤษ  เรียกว่า  Kettle  drum  หรือ  Bronze  drum เป็นต้น  กลองมโหระทึก  ทำด้วยโลหะผสมระหว่างทองแดงและดีบุก  มีลักษณะรูปร่างคล้ายทรงกระบอก  ส่วนหน้ากลองและฐานกลองผายออก หน้ากลองเป็นแผ่นเรียบ  ภายในกลวง

     ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับกลองมะโหระทึก  มีการศึกษาค้นคว้าและการสันนิษฐานต่างๆ  เช่น
-ไฮเน เจลเร็น (Heine Geldren)  กล่าวว่า  กลองมโหระทึกจัดอยู่ในกลุ่มวัฒนธรรมดองซอน (Dong son  Culture) มีอายุประมาณ  พ.ศ.200 หรือ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช  มีแหล่งผลิตครั้งแรกบริเวณเมืองธั่นหัว (Thanh - Hoa) ประเทศเวียดนาม
- Goloubew สันนิษฐานว่า  กลองมโหระทึกมีกำเนิดในแถบเทือกเขาทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม  ต่อมาได้รับเอาวิธีหลอมโลหะจากประเทศจีน  ทำให้การผลิตกลองมโหระทึกมีความก้าวหน้าขึ้น
- De Groot สันนิษฐานว่า  ชาวพื้นเมืองในมณฑลกวางตุ้งในประเทศจีนเป็นผู้หล่อขึ้นเป็นครั้งแรก
- A.B. Meyer สันนิษฐานว่ากลองมโหระทึกที่พบกระจายอยู่ในแถบหมู่เกาะอินเดียตะวันออกนั้นมีถิ่นกำเนิดจากกลุ่มมอญ - เขมร  ซึ่งอยู่ในประเทศกัมพูชา
- Bezacier มีความเห็นตรงกับไฮเน เจลเร็น ว่ากลองมโหระทึกมีการผลิตครั้งแรกในวัฒนธรรมดองซอน  ประเทศเวียดนาม  ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงกึ่งประวัติศาสตร์

     หลักฐานทางเอกสารและโบราณคดี
หลักฐานทางเอกสาร
สำหรับในประเทศไทยมีหลักฐานปรากฏว่ามีการผลิตและใช้กลองมโหระทึกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (ยุคโลหะ) เป็นต้นมา     หลักฐานทางเอกสารที่พบว่ามีการใช้กลองมโหระทึก  คือ  - สมัยสุโขทัย  หนังสือไตรภูมิพระร่วง  โดยเรียกว่า  มหรทึก  ความว่า "...บ้างขับสรรพสำเนียงเสียงหมู่นักคุนจุนกันไปเดียรดาษ   พื้นกลองแตรสังข์ระฆังกังสดาล  มหรทึกกึกก้องทำนุกดี..."
- สมัยอยุธยา ประมาณแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  มีการกล่าวถึงชื่อกลองมโหระทึกในกฎมณเฑียรบาล  โดยเรียกว่า  หรทึก  และใช้ในงานพระราชพิธี  ความว่า"...งานสมโภชนสมุหะประธานทูลเผยใบศรี  ญานประกาศถวายศโลก  อิศรรักษา  ถวายพระศรีเกตฆ้องไชย  ขุนดนตรีตี หรทึก ..."  และ  "...ในเดือนเก้าพระราชพิธีตุลาภาร  ขุนศรีสังครเป่าสังข์  พระอินทรเภรี พระนนทิเกษาตีฆ้องไชย ขุนศรีตีหรทึก..."
- สมัยรัตนโกสินทร์  พบว่าได้กลับมาเรียกชื่อกลองดังกล่าวว่า มโหระทึก  และเรียกต่อเนื่องกันมาถึงปัจจุบัน  โดยยังมีการใช้กลองมโหระทึกในงานพระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีฉัตรมงคล  เป็นต้น
หลักฐานทางโบราณคดี
     กลองมะโหระทึกที่พบในประเทศไทย  เช่น  ภาคเหนือ  บ้านบ่อหลวง  จังหวัดน่าน, ตำบลท่าเสา  จังหวัดอุตรดิตถ์, บ้านนาโบสถ์  เป็นต้น  จังหวัดตาก  ภาคกลาง  เช่น  บ้านสามง่าม  จังหวัดตราด, เขาสะพายแร้ง  จังหวัดกาญจนบุรี, แหล่งโบราณคดีคูบัว  จังหวัดราชบุรี เป็นต้น  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เช่น วัดมัชฌิมาวาส (วัดกลาง) จังหวัดมุกดาหาร, บ้านดงยาง  จังหวัดมุกดาหาร,  บ้านสหัสขันธ์  จังหวัดกาฬสินธุ์  เป็นต้น  ภาคใต้ เช่น  แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว  จังหวัดชุมพร, อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี,  ตำบลท่าเรือ  จังหวัดนครศรีธรรมราช ,ตำบลจะโหนง  จังหวัดสงขลา  เป็นต้น

วัตถุประสงค์ในการผลิตกลองมโหระทึก
1. ใช้เป็นเครื่องแสดงฐานะความมั่งคั่ง
2. ใช้เป็นวัตถุสำคัญประกอบในพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย
3. ใช้ตีเป็นสัญญาณในการสงคราม
4. ใช้ตีประกอบในพิธีกรรมขอฝน
5. ใช้ตีเพื่อการบำบัดรักษาโรคทางไสยศาสตร์

ถ้าเพื่อนๆ คนไหนสนใจเรื่องกลองมโหระทึกสามารถมาชมได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  ชุมพร  ค่ะ  หรือถ้าต้องการข้อมูลติดต่อฝ่ายวิชาการและบริการการศึกษาได้ทุกวันทำการค่ะ

เอกสารอ้างอิง

- กรมศิลปากร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. กลองมโหระทึกในประเทศไทย.กรุงเทพฯ:บริษัทอาทิตย์โพรดักส์  กรุ๊ป จำกัด,2546.

กลองมโหระทึก ทำอะไร

กลองมโหระทึก เป็นกลองชนิดหนึ่งที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อ ซึ่งมีอายุประมาณ 2,000 – 3,000 ปีมาแล้ว ทำด้วยโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุกเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะรูปร่างคล้ายทรงกระบอก ส่วนหน้ากลองและฐานนั้นผายออก มีด้านหนึ่งเป็นแผ่นเรียบซึ่งเป็นส่วนของหน้ากลอง ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นส่วนฐานเป็นรูปกรวยและกลวง กลองมโหระทึก ...

กลองมโหระทึกใช้ประโยชน์อย่างไร

สำหรับการใช้กลองมโหระทึก ประการแรกใช้ตีบอกสัญญาณสำคัญในพิธีกรรมต่างๆ บอกกล่าวการปรากฏตัวของชนชั้นสูง ประการต่อมาใช้ในพิธีกรรมเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์หรือพิธีขอฝน สันนิษฐานได้จากรูปกบบนหน้ากลอง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของฝนฟ้ามาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์

กลองมโหระทึก ส่วนใหญ่ใช้ในงานอะไร

ในประเทศพม่าตีกลองมโหระทึกในงานพิธีกลุ่มของชนพื้นเมือง ส่วนในประเทศไทยนั้นเคยใช้ตีในงานมงคลตามวัดและใช้ตีในงานราชพิธีด้วย นอกจากนั้นยังใช้เป็นเครื่องดนตรีประกอบพิธีการแต่งงาน ใช้ตีในพิธีการออกล่าสัตว์หรือจับสัตว์น้ำ หรือเพื่อให้ผลผลิตทางด้านเกษตรมีความอุดมสมบูรณ์

Dong Son Culture มักพบโบราณวัตถุสำคัญชิ้นใด

การขุดพบกลองมโหระทึก กาน้ำ และพร้าสำริด ที่บริเวณวัดเกษมจิตตาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ นั้น น่าจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมดองซอนของเวียดนาม (Dong Son Culture) เนื่องจากกลองมโหระทึกนั้นเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมของกลุ่มชนในสมัยโบราณ