นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ ทำอะไรบ้าง

งานทั่วไปใครเป็นจัดการ เดี๋ยวก่อนที่ขึ้นต้นมาแบบนี้ สอบดีดีไม่ได้สวมรอยเป็นคนหัวร้อนที่ไหนนะ เพราะหากกล่าวถึงงานทั่วไปในหน่วยงานราชการแล้ว หลายคนคงจะนึกถึงตำแหน่งเหล่านี้กันอย่างแน่นอน ก็ตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไป เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปยังไงล่ะ ทุกหน่วยงานจะต้องมีพวกเขาเหล่านี้คอยจัดการงานให้ ว่าแต่…แล้วพวกเขามีหน้าที่อะไร ทำงานส่วนไหนบ้าง ทำไมมีชื่อต่างกัน เราจะพาคุณไปหาคำตอบกัน!

ความแตกต่างระหว่างนักจัดการงานทั่วไป และเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

ก่อนอื่นเราต้องรู้จักคำอธิบายของชื่อตำแหน่งเหล่านี้ก่อน

นักจัดการงานทั่วไป เป็นชื่อเรียกตำแหน่งข้าราชการตาม พ.ร.บ. ข้าราชการพลเรือน 2551 สายงานประเภทวิชาการ มีระดับ 3 ระดับ ได้แก่ นักจัดการงานทั่วไประดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ และระดับชํานาญการพิเศษ

ส่วนเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เป็นชื่อเรียกตำแหน่งพนักงานราชการหรือพนักงานมหาวิทยาลัยตาม มาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2553 โดยมากแล้วเรามักจะเห็นประกาศเปิดรับสมัครตำแหน่งนี้ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ

งานทั่วไปมีอะไรบ้างนะ

เมื่อลงท้ายด้วยคำว่า งานทั่วไป แล้ว สายงานเหล่านี้ก็จะมีหน้าที่ที่คล้ายคลึงกันอย่างมาก โดยงานจะคลอบคลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ปฏิบัติงานบริหารจัดการภายในสำนักงาน ซึ่งมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติตามแต่จะได้รับคําสั่งโดยไม่จํากัดขอบเขต เช่น งานประชุม การติดต่อนัดหมายกับหน่วยงานภายในและภายนอก การจดบันทึก การจัดงานต่าง ๆ และลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมหลายด้าน เช่น งานธุรการและงานสารบรรณ งานด้านทรัพยากรบุคคล งานด้านการเงินและพัสดุ งานด้านประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละกลุ่มงานก็จะมีงานย่อยที่แตกต่างกันไปอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่นงานธุรการและสารบรรณ ก็จะมีลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับเอกสารเป็นหลัก จะต้องทำหน้าที่รับ-ส่งเอกสารราชการทั้งภายในและภายนอก จัดเก็บเอกสาร นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชา รวมไปถึงการจัดงานประชุมที่ต้องจดบันทึกการประชุม จัดทำรายงานการประชุม นัดหมายผู้เข้าร่วมประชุม เป็นต้น งานทั่วไปนั้นมีภาระงานมากมาย ในแต่ละหน่วยงานก็จะบุคลากรที่ทำหน้าที่ตามกลุ่มงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการพัสดุ นักประชาสัมพันธ์ ที่อยู่ในสายงานของการบริหารจัดการงานทั่วไปให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ทักษะที่จำเป็นสำหรับการจัดการงานทั่วไป

  • ทักษะทางภาษาไทย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทักษะอย่างแรกที่จำเป็นสำหรับการจัดการงานทั่วไปหรือต้องเรียกว่างานราชการนั้นจำเป็นจะต้องใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง และต้องใช้ภาษาทางการทั้งการพูด การอ่าน และการเขียน
  • ทักษะภาษาอังกฤษ ในหลายหน่วยงานราชการก็มีการเน้นเรื่องภาษาอังกฤษที่จำเป็นต่อโลกในยุคปัจจุบัน ซึ่งถ้าใครมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดีก็จะได้รับพิจารณาเป็นพิเศษ
  • ทักษะทางคอมพิวเตอร์ สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันสำหรับข้าราชการยุคใหม่ก็คือทักษะทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่ใช่แค่การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดเท่านั้น หากชำนาญโปรแกรมอื่น ๆ อย่างโปรแกรมนำเสนองาน โปรแกรมสร้างสรรค์งานครีเอทีฟต่าง ๆ หรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พัฒนาการทำงานของตนเองยิ่งก็จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • ทักษะการประสานงาน บุคลากรในสายงานนี้จะต้องมีทักษะการประสานงานที่ดีด้วย เนื่องจากต้องติดต่อสื่อสารกับกลุ่มคนหรือหน่วยงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์สูงสุด ดังนั้นจะต้องใช้ทักษะการพูด การชี้แจงประกอบด้วย เพื่อให้ประสานงานสำเร็จลุล่วงด้วยนั่นเอง
  • ทักษะด้านการบริการ เนื่องจากจะต้องมีการติดต่อ ประสานงานกับหลายคน นอกจากทักษะการพูด การประสานงานแล้ว ตำแหน่งนี้ก็จะต้องปฏิบัติงานด้านเลขานุการ หรือให้ปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่น รวมถึงบุคลากร และบุคคลทั่วไปด้วย ดังนั้นทักษะด้านการบริการก็จำเป็นเช่นเดียวกัน เมื่อมีการจัดโครงการหรือจัดพิธีต่าง ๆ
  • ทักษะความรู้เรื่องระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การทำงานในหน่วยงานราชการจะต้องปฏิบัติตามระเบียบและวิธีการตามพระราชบัญญัติที่กำหนดไว้ เพื่อเป็นให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามแบบแผน นักจัดการงานทั่วไปและเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปจึงจะต้องมีความรู้ด้านกฏหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เป็นต้นว่า ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หรือระเบียบกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ

นอกที่กล่าวมาแล้วก็ยังมีทักษะด้านอื่น ๆ ที่ประกอบรวมกันทำให้นักจัดการงานทั่วไป นักบริหารงานทั่วไป หรือเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปเป็นบุคลากรที่มีทักษะในการทำงานได้หลากหลายและมีประสิทธิภาพ

หน่วยงานที่เปิดสอบมีที่ไหนบ้าง

นักจัดการงานทั่วไป ตำแหน่งนี้ต้องบอกเลยว่าเปิดสอบทุกหน่วยงานราชการ ตามหลักและวิธีการเข้าสู่สายงานข้าราชการบางส่วนราชการก็จะดำเนินการสรรหาและเลือกสรรเองผู้ที่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชา และระดับที่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง และต้องเป็นผู้ที่สอบผ่านก.พ. ภาค ก. แล้ว นอกจากนั้นแล้วยังมีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย หรืออปท. ที่รับสมัครสอบตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการและจัดสอบเองด้วยเช่นกัน ส่วนเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปจะเปิดสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยสังกัดกอง คณะ หรือหน่วยงานในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกับนักจัดการงานทั่วไปนั่นเอง

มาถึงตรงนี้เราคงได้คำตอบแล้วว่างานทั่วไปมีใครเป็นคนจัดการดูแลอยู่ หลายคนให้คำนิยามของตำแหน่งนี้ว่าธุรการ ซึ่งไม่ผิดนัก แต่ไม่ว่าจะเป็นธุรการ เป็นนักจัดการงานทั่วไป หรือเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ก็ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนองค์กรเช่นเดียวกัน ใครที่สนใจงานด้านการจัดการแบบนี้ก็ติดตามการประกาศสอบของหน่วยงานราชการให้ดี ส่วนในครั้งหน้า เราจะมีสาระความรู้อะไรมานำเสนออีก ห้ามกดเปลี่ยนช่อง เอ๊ย กดปุ่มติดตามสอบดีดีได้เลย!

  • แท็ก
  • งานราชการ
  • ทักษะการประสานงาน
  • ทักษะความรู้เรื่องระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • ทักษะด้านการบริการ
  • ทักษะทางคอมพิวเตอร์
  • ทักษะทางภาษาไทย
  • ทักษะภาษาอังกฤษ
  • สมัครสอบ

Facebook

Twitter

LINE

บทความก่อนหน้านี้เจาะลึก “อาชีพนักกำหนดอาหาร” ในยุคเทรนสุขภาพกำลังมา

บทความถัดไปไขข้อข้องใจ ในหนึ่งวัน พยาบาลเขาทำอะไรกันบ้าง

chittakorn

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมจากผู้เขียน

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ ทำอะไรบ้าง

เตรียมตัวสู่งานราชการ

จำขึ้นใจ เพลงแห่งหัวใจข้าราชการ

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ ทำอะไรบ้าง

เตรียมตัวสู่งานราชการ

งานทั่วไป ใครเป็นคนจัดการ

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ ทำอะไรบ้าง

เตรียมตัวสู่งานราชการ

เปิดตำรา “หมอ” เส้นทางอาชีพแห่งชีวิต

ติดตามเรา

100แฟนคลับชอบ

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ ทำอะไรบ้าง

แรงบันดาลใจ

6 เพลงปลุกพลังใจ

มิถุนายน 8, 2562

เพลงปลุกพลังใจ...เมื่อคุณเป็นเด็ก คุณอยากจะเติบโต และเมื่อคุณเติบโต คุณอยากกลับไปเป็นเด็ก... คงจะจริงอย่างที่หลายคนว่า “เป็นเด็ก...เจ็บที่สุดก็ตอนหกล้ม” เท่านั้น เชื่อเถอะว่าคุณไม่ใช่คนเดียวที่คิดแบบนั้น เรายังมีเพื่อนพ้องอีกนับหมื่นนับแสนที่กำลังปร...

ตำแหน่งนักจัดการทั่วไป ทำอะไร

หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกํากับ แนะนํา ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชํานาญงานสูง ในงานบริหารจัดการภายในสํานักงาน หรือการบริหารราชการทั่วไป ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ

นักจัดการงานทั่วไป รับวุฒิอะไร

- คุณสมบัติผู้สมัคร ได้รับวุฒิปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ หรือสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ สอบอะไรบ้าง

1. ด้านการปฏิบัติการ ... .
2. ด้านการวางแผน ... .
3. ด้านการประสานงาน ... .
4. ด้านบริการ ... .
1.1 วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล (คะแนนเต็ม 30 คะแนน) ... .
1.2 วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ (คะแนนเต็ม 30 คะแนน) ... .
1.3 วิชาภาษาไทย (คะแนนเต็ม 20 คะแนน) ... .
1.4 วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 20 คะแนน).

นักจัดการงานทั่วไป ปฏิบัติการ เป็นข้าราชการไหม

นักจัดการงานทั่วไป เป็นชื่อเรียกตำแหน่งข้าราชการตาม พ.ร.บ. ข้าราชการพลเรือน 2551 สายงานประเภทวิชาการ มีระดับ 3 ระดับ ได้แก่ นักจัดการงานทั่วไประดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ และระดับชํานาญการพิเศษ