ประวัติการจัดเก็บภาษีอากร

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยที่อ้างอิงได้เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเกิดขึ้นตั้งแต่ 700 กว่าปีก่อน (พ.ศ. 1835) ในสมัยสุโขทัย โดยปรากฎบนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่ 1 ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 18-21 ความว่า

…เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี
ในน้ำมีปลาในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง
เพื่อนจองวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย
ใครจักค้าช้างค้า ใครจักค้าม้าค้า…

ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่ 1
ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 18-21

ข้อความในศิลาจารึกได้กล่าวถึง “จกอบ” หรือ “จังกอบ” ซึ่งเป็นภาษีชนิดหนึ่งที่เก็บจากพ่อค้าที่นำสินค้าเข้ามาขาย แต่ในยุคสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนี้ระบุว่า “เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง” แปลว่าในยุคนั้นไม่มีการเก็บภาษีส่วนนี้

แสดงว่าการเก็บภาษี “จกอบ” เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนหน้านั้นเสียอีก จึงตีความได้ว่าในยุคสมัยนั้นเศรษฐกิจดีเสียจนไม่จำเป็นต้องเก็บภาษีก็ได้

จนกระทั่งระบบการจัดเก็บภาษีของไทยได้ถูกปฏิรูปครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราชทรงประกาศตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2416 เพื่อจัดวางหลักเกณฑ์ระบบการจัดเก็บภาษีอากรให้มีระเบียบแบบแผนจนเป็นรากฐานในการพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ราชอาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองมาก เพราะพระองค์เป็นทั้งนักรบและนักปราชญ์ ทรงปกครองประเทศชาติได้เป็นปึกแผ่นและมีการขยายการค้าไปทั่วราชอาณาจักรและไปถึงต่างประเทศ จากความเจริญรุ่งเรืองและมีการประกอบการค้าทั้งในและนอกราชอาณาจักรในยุตสมัยราชอาณาจักรสุโขทัยดังที่กล่าวมาข้างต้นปรากฏในศิลาจารึกซึ่งแสดงหลักฐานว่า มีการจัดเก็บภาษีอากรมาตั้งแต่ก่อนยุคพ่อขุนรามคำแหง คือข้อความตอนหนึ่งที่ว่า

เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง   เมืองสุโขทัยนี้ดี

ในน้ำมีปลาในนามีข้าว   เจ้าเมืองบ่เอาจังกอบในไพร่ลู่ทาง

เพื่อนจองวัวไปค้า   ขี่ม้าไปขาย

ใครจักค้าช้างค้า   ใครจักค้าม้าค้า

รวมเงินผลประโยชน์ของแผ่นดิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกกรมสรรพากรใน และข้าราชการกรมสรรพากรใน ซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับกระทรวงนครบาล มาขึ้นอยู่ในบังคับบัญชากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2458 เป็นต้นไป และต่อมาในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2458 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกกรมสรรพากรนอก ซึ่งแต่เดิมขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยมาขึ้นกับกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และให้รวมกรมสรรพากรนอกและกรมสรรพากรในเข้าเป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า กรมสรรพากร

ในด้านการจัดเก็บภาษี ได้โปรดให้เปลี่ยนแปลงวิธีการเก็บภาษีอากรเสียใหม่ จากระบบเจ้าภาษีนายอากร มาเป็นทางราชการเป็นผู้เก็บเอง โดยในช่วงแรกได้ทดลองให้เทศาภิบาลบางแห่งจัดเก็บภาษีอากรเอง ปรากฏว่าได้ผลดี สามารถจัดเก็บภาษีอากร ได้เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก จึงโปรดให้เลิกวิธีการเรียกประมูลรับเหมาผูกขาดเก็บภาษีอากรจากราษฎรโดยสิ้นเชิง และให้เทศาภิบาลเก็บเองเหมือนกันหมดทุกมณฑล

ในด้านรายจ่าย พระองค์ได้ทรงวางพิกัดอัตราเงินเดือนให้แก่ข้าราชการตามตำแหน่งเป็นที่แน่นอนแทนเงินเบี้ยหวัดที่จ่ายแต่เดิม และยังพระราชทานเบี้ยบำนาญแก่ข้าราชการ เพื่อเป็นเครื่องเลี้ยง เมื่อรับราชการไม่ได้แล้ว โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2439 พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรกอันเป็นแบบฉบับที่จะต้องทำงบประมาณแผ่นดินขึ้น

การจัดเก็บส่วยสาอากรทั้ง 4 ประเภท ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้ถูกกำหนดเป็นรูปแบบการจัดเก็บต่อเนื่องมาจนถึงสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี และตอนต้นรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 3 พระบามสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ รัฐบาลมีความจำเป็นที่ต้องการใช้เงินในราชการมากกว่าแต่ก่อนพระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเป็นผลให้เกิดการจัดเก็บภาษีขึ้นใหม่ 38 ประเภท ทั้งนี้โดยเป็นภาษีที่เก็บจากการพนัน และจากผลผลิตประเภทต่างๆ จำแนกได้ดังนี้

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการจารึกในประวัติศาสตร์ว่า เป็นยุคที่มีการจัดเก็บภาษีอากรรุ่งเรืองมาก การก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 1893 ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างพระนครขึ้นที่ริมหนองโสน แล้วทำการราชาภิเษกทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดี ขนานนามราชธานีว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ในช่วงตลอดอายุกรุงศรีอยุธยา เป็นเวลา 417 ปี บ้านเมืองมีทั้งความเจริญและความเสื่อม ในสมัยที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมาก คือ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่ในบางรัชสมัยพระมหาธรรมราชาและพระเพทราชา การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า ส่วยสาอากร ได้มีการแบ่งการจัดเก็บออกเป็น 4 ประเภท คือ จังกอบ อากร ส่วย และฤชา โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. จังกอบ หรือ จำกอบ เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการชักส่วนสินค้า ที่นำเข้ามาจำหน่ายตามที่ได้อธิบายข้างต้น

2. อากร หมายถึง ส่วนที่เก็บจากผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้ในการประกอบการต่างๆเช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน ฯลฯ หรือการได้รับสิทธิจากรัฐบาลไปกระทำการ เช่น ต้มกลั่นสุรา เก็บของในป่า จับปลาในน้ำ ฯลฯ เช่น อากรค่านา อากรสวน อากรสุรา อากรค่าน้ำ เป็นต้น การเก็บอากรอาจจัดเก็บเป็นตัวเงินหรือเป็นสิ่งของ ถือเป็นภาษีที่จัดเก็บตามหลักผลประโยชน์ที่ได้รับจากรัฐไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระกรุณาโปรดฯให้หม่อมฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อ ร.ศ.111 ( พ.ศ. 2435 ) นั้นทรงพระราชดำริถึงลักษณะการปกครองหัวเมืองที่จะจัดต่อไปในภายหน้าเป็นยุติ 3 ข้อ คือ

ข้อ 1 จะรวบรวมการบังคับบัญชาหัวเมือง ซึ่งเคยแยกกันอยู่ 3 กระทรวงคือ มหาดไทย กลาโหม กรมท่า ให้มารวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทยเพียงกระทรวงเดียว

ข้อ 2 จะรวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลตามสมควรแก่ภูมิลำเนา ให้สะดวกแก่การปกครองและมีสมุหเทศาภิบาลบังคับบัญชาการทุกมณฆล