แผนปฏิบัติราชการ 5 ปี 2566-2570

สาระสำคัญแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงศึกษาธิการ (ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2566-2570 / ประจำปี พ.ศ. 2566) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) เห็นชอบ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2565

แผนปฏิบัติราชการของกระทรวงศึกษาธิการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) และแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2566 เป็นแผนที่ใช้เป็นกรอบแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานหรือแผนงาน/โครงการสำคัญที่เกี่ยวข้องหรือเป็นบทบาทหรือภารกิจของ ศธ. เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของประเทศไทยตามยุทธศาสตร์ชาติ คือ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

ทั้งนี้ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณ เป้าหมายการให้บริการกระทรวง/เป้าประสงค์ของแผน ดังนี้

วิสัยทัศน์

“ภายในปี 2570 ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะที่จำเป็น พร้อมเรียนรู้ตลอดชีวิต และปรับตัวสอดคล้องกับวิถีชีวิตโลกยุคใหม่”

พันธกิจ

  1. พัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน
  2. สร้างโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิต และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
  3. ผลิต พัฒนา และสร้างเสริมศักยภาพกำลังคนที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และความต้องการของประเทศ
  4. ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการพัฒนาด้านการศึกษา สังคม หรือสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ
  5. พัฒนาระบบบริหารจัดการการศึกษาให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล

ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณ

แผนปฏิบัติราชการ 5 ปี 2566-2570

เป้าหมายการให้บริการกระทรวง/เป้าประสงค์ของแผน

แผนปฏิบัติราชการ 5 ปี 2566-2570
แผนปฏิบัติราชการ 5 ปี 2566-2570
แผนปฏิบัติราชการ 5 ปี 2566-2570

ในส่วนของแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2566 มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ 1) เพื่อให้ผู้เรียนทุกกลุ่มทุกวัยได้รับการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน 2) เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 3) เพื่อผลิต พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพกำลังคนให้มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและสนับสนุนการพัฒนาประเทศ 4) เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัย และมีธรรมาภิบาล