ผัง ขั้น ตอน การ ทำ โครง งาน

3 การวางแผนและออกแบบโครงงาน
          หลังจากกําหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขต และแนวทางในการพัฒนาโครงงานแล้วควรวางแผนการพัฒนาโครงงานตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
———————————————————————————————————————————
          3.1 ศึกษาเอกสารเพิ่มเติมและศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น
                    ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนในการเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากร โดยเริ่มจากการค้นหา
          เอกสาร ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมและศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น ซึ่งอาจเป็นการสร้างต้นแบบที่
          ใช้งานได้จริง หรือแบบจําลอง เพื่อทดสอบแนวทางและขอบเขตที่กําหนดไว้ว่ามีความเป็นไป
          ได้ในการพัฒนาและตรงกับ ความต้องการของผู้ใช้งานหรือไม่ หลังจากนั้น จึงวางแผนในขั้น
          ต่อไป

———————————————————————————————————————————
          3.2 กําหนดผลสําเร็จของโครงงาน
                    ในการวางแผน ต้องกําหนดสิ่งที่จะส่งมอบและเวลาในการส่งมอบให้ชัดเจน โดยสิ่งที่
          จะส่งมอบนั้น อาจเป็นชิ้นงาน องค์ความรู้ หรือผลงานในรูปแบบอื่น ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่
          กําหนดไว้ เช่น การพัฒนา โครงงานเรียนรู้การพูดออกเสียงและเขียนภาษาอังกฤษ
          อาจกําหนดว่าเมื่อครบกําหนดเวลาแล้ว จะมีการ ส่งมอบโปรแกรมสําเร็จรูปที่สามารถทํางาน
          ได้ตามวัตถุประสงค์ รายงานฉบับสมบูรณ์ และเอกสารคู่มือ การใช้งาน

———————————————————————————————————————————
          3.3 แบ่งการดําเนินการออกเป็นกิจกรรมย่อย
                    ในการพัฒนาโครงงานนั้น ต้องแบ่งการทํางานออกเป็นกิจกรรมย่อยให้ชัดเจน
          ตัวอย่างเช่น การพัฒนาระบบเฝ้าระวังผู้สูงอายุภายในอาคาร อาจแบ่งกิจกรรมย่อยได้ดังนี้

                    1 การวางแผน
                              1.1 วางแผนการทํางาน
                    2. การสํารวจ
                              2.1 สํารวจความต้องการของผู้ใช้
                    3. การศึกษาเทคนิคที่เกี่ยวข้อง
                              3.1 ศึกษาพฤติกรรมของผู้สูงอายุ
         
                    3.2 ศึกษาการระบุตําแหน่งภายในอาคาร
         
                    3.3 ศึกษาการโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
         
                    3.4 ศึกษาการโปรแกรมผ่านเครือข่าย
                    4. การพัฒนาโปรแกรม
                             4.1 พัฒนาโปรแกรมส่วนติดต่อผู้ใช้งาน
         
                    4.2 พัฒนาโปรแกรมส่วนการระบุตําแหน่ง
         
                    4.3 พัฒนาโปรแกรมส่วนเครือข่าย
         
                    4.4 รวมระบบเพื่อพัฒนาโปรแกรมที่สมบูรณ์
                    5 การทดสอบและปรับปรุงโปรแกรม
                              5.1 ทดสอบและปรับปรุงโปรแกรม
                    6.การจัดทําเอกสารและเผยแพร่ผลงาน
                              6.1 จัดทําเอกสารและเผยแพร่ผลงาน จะสังเกตได้ว่า ข้อ 1 ถึง 6 เป็นหัวข้อ
         
          การทํางาน และหัวข้อย่อยต่าง ๆ ซึ่งเป็นกิจกรรมย่อยที่ ต้องทําทั้งหมดเพื่อพัฒนา
         
          โปรแกรม โดยแต่ละกิจกรรมย่อย ควรกําหนดรายละเอียดดังนี้
         
                    1. ผู้รับผิดชอบ ต้องกําหนดให้ชัดเจนว่า ใครเป็นผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม
         
          ย่อย
         
                    2. ระยะเวลาที่ควรใช้ในการดําเนินการกิจกรรมย่อยนี้จนแล้วเสร็จ
         
                    3. ทรัพยากรที่ใช้ทั้งทรัพยากรบุคคลงบประมาณ และทรัพยากรอื่น ๆ เช่น
         
          ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์
         
                    4. สิ่งที่ต้องมีก่อนเริ่มกิจกรรมย่อย เช่น กิจกรรมย่อยใดที่ต้องเสร็จสิ้นก่อน
         
          ข้อมูลและทรัพยากร ใดที่ต้องมี
         
                    5. ผลที่ได้จากกิจกรรมย่อย เช่น ผลการศึกษา ข้อมูล หรือส่วนของโครงงาน
         
          การระบุรายละเอียดดังกล่าวจะเป็นการช่วยให้วางแผนในขั้นตอนต่อไปทําได้สะดวก
         
          และถูกต้อง นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้รับผิดชอบโครงงาน สามารถติดตามและวัดผล
         
          การดําเนินงานของโครงงาน รวมทั้ง จัดสรรทรัพยากรได้อีกด้วย
———————————————————————————————————————————
          3.4 กําหนดขั้นตอนก่อนหลังของแต่ละกิจกรรม
                    การกําหนดขั้นตอนทําได้โดยนําข้อมูลจาก หัวข้อที่ 3.3 มาจัดเรียงลําดับก่อนหลังซึ่ง
          อาจวาดเป็น ฝั่งกิจกรรม (activity diagram) เพื่อให้สามารถ ทําความเข้าใจได้ง่าย การเขียน
          ผังกิจกรรมนั้น จะ เป็นการเขียนชื่อกิจกรรมไว้ในกรอบ มีจุดเริ่มต้นและ สิ้นสุด โดยแต่ละ
          กิจกรรมจะมีเส้นและลูกศรเพื่อแสดง ลําดับก่อนหลังของงาน ดังแสดงตัวอย่างในรูปที่ 1

รูป 1 ตัวอย่างผังกิจกรรม


———————————————————————————————————————————

ตัวอย่างองค์ประกอบของข้อเสนอโครงงาน


          - ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย)
          - ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ)
        (ควรตั้งชื่อโครงงานให้สื่อความหมาย เช่น โครงงานทําอะไรโดยใช้เทคนิคใดเพื่อแก้ปัญหาใด)
          - ชื่อผู้จัดทําโครงงาน
          - ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
          - ชื่อที่ปรึกษาโครงงานร่วม (ถ้ามี)
          - ระยะเวลาดําเนินงาน
          - สาระสําคัญของโครงงาน
          (เป็นการสรุปภาพรวมของข้อเสนอโครงงานทั้งหมด ว่าปัญหาที่นํามาแก้ไขคืออะไร สําคัญอย่างไร แก้ด้วยแนวทางไหน คาดว่าจะได้ผลเป็นอย่างไร หลังจากที่พัฒนาโครงงานนี้แล้ว จะมีประโยชน์อย่างไร)
          - ที่มาและความสําคัญ
          (รายละเอียดดังที่ได้อธิบายในหัวข้อ 3.2.1)
          - วัตถุประสงค์
          (รายละเอียดดังที่ได้อธิบายในหัวข้อ 3.2.2)
          - ขอบเขตของโครงงาน
          (รายละเอียดดังที่ได้อธิบายในหัวข้อ 3.2.3)
          - ทฤษฎี เทคนิค โครงงานหรืองานที่เกี่ยวข้อง
          (รายละเอียดดังที่ได้อธิบายในหัวข้อ 3.2.3 และ 3.3.1)
          - วิธีการดําเนินงาน
          (รายละเอียดดังที่ได้อธิบายในหัวข้อ 3.3.2 และ 3.3.3)
          - แผนปฏิบัติงาน
          (แผนภูมิแกนต์ รายละเอียดดังที่ได้อธิบายในหัวข้อ 3.3.4)
          - ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          (นําเสนอการคาดการณ์ว่า ผลลัพธ์ของโครงงานคืออะไร จะมีสิ่งใดบ้างที่ส่งมอบ รายละเอียดดังที่ ได้อธิบายในหัวข้อ 3.3.2)
          - แหล่งอ้างอิง
          (เอกสารหรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่นํามาใช้ในการทําโครงงาน)
———————————————————————————————————————————