ทักษะที่ควรมี ในการ ทํา งาน

ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

ทักษะที่ควรมี ในการ ทํา งาน

คุณสมบัติที่จำเป็นในการทำงานอาชีพ

ความรับผิดชอบ
         ความรับผิดชอบ หมายถึง การทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้งานสำเร็จ พร้อมกับยอมรับผลดีหรือผลเสียที่เกิดจากการทำหน้าที่ของตนเองและหาทางปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

ความขยันหมั่นเพียร
         ความขยันหมั่นเพียร หมายถึง ความพยายามในการทำงานหรือทำหน้าที่ของตนเองอย่างแข็งขัน มุ่งมั่นเอาใจใส่อย่างจริงจัง พยายามทำเรื่อยไปจนกว่างานจะสำเร็จ ไม่ปล่อยปละละเลย และไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก

ความมีระเบียบวินัย
         ความมีระเบียบวินัย หมายถึง แบบแผนที่วางไว้เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติและดำเนินการให้ถูกลำดับ ถูกที่ มีความเรียบร้อย ถูกต้อง และเหมาะสมกับจรรยาบรรณ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรม รวมถึงมีระเบียบวินัยสำหรับควบคุมการประพฤติปฏิบัติให้เป็นแบบแผนเดียวกัน

ทักษะที่ควรมี ในการ ทํา งาน

ความซื่อสัตย์สุจริต
         ความซื่อสัตย์สุจริต หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนอย่างตรงไปตรงมาทั้งกาย วาจา และใจ ตามความเป็นจริงทั้งต่อตนเองและผู้อื่น โดยไม่คิดทรยศ ไม่คดโกง และไม่หลอกลวงผู้อื่น


ความประหยัด
         ความประหยัด หมายถึง การรู้จักใช้ รู้จักเก็บออม รู้จักประหยัดเวลา ตามความจำเป็นและพอเหมาะพอควร เพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าที่สุด ความประหยัดจะทำให้มีทรัพย์สินเงินทอง มีฐานะทางครอบครัวดีขึ้น และทำให้เศรษฐกิจของประเทศชาติดีขึ้นด้วย

ทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานอาชีพ
ทักษะกระบวนการทำงาน
         ทักษะกระบวนการทำงานเป็นการลงมือทำด้วยตนเอง โดยมุ่งเน้นฝึกวิธีการทำงานตามขั้นตอนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถทำงานได้บรรลุวัตถุประสงค์ ขั้นตอนของกระบวนการทำงานมีดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์งาน เป็นการศึกษาข้อมูลเพื่อนำมาวางแผนในการทำงาน ได้แก่ ลักษณะของงาน คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน
การวิเคราะห์งานที่สำคัญมี 2 ลักษณะ ได้แก่
1. การวิเคราะห์ลักษณะของงาน
 เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับงาน มีวิธีการดังนี้
         1) การรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสำรวจ การตอบแบบสอบถาม เป็นต้น
         2) นำข้อมูลที่ได้มาบันทึกลักษณะของงาน ซึ่งข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์งานจะต้องมีลักษณะดังนี้
                  (1) มีความถูกต้องและตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

                  (2) สามารถตรวจสอบและมีแหล่งข้อมูลที่อ้างอิงได้

                  (3) มีความครบถ้วน สมบูรณ์ และชัดเจน

                  (4) มีความเป็นปัจจุบันหรือทันต่อเหตุการณ์

2. การกำหนดคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน เป็นการชี้แจงรายละเอียดของผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการปฏิบัติงานนั้น การกำหนดคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานมีดังนี้
         1) คุณสมบัติด้านความรู้ ความสามารถ ความถนัดในการทำงาน เพื่อประโยชน์ในการแบ่งงานให้ตรงความสามารถ หรือเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้พัฒนาตนเองให้ตรงกับงานที่ทำ
         2) คุณสมบัติด้านทักษะในการทำงาน การทำงานแต่ละชนิดใช้ทักษะที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานชนิดนั้น ๆ
         3) คุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน เช่น มีความรับผิดชอบ ความประหยัด ความขยัน ความอดทน เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนในการทำงาน เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการไว้ล่วงหน้าอย่างคร่าว ๆ โดยอาศัยข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มาใช้ประกอบการพิจารณาและตัดสินใจ
ลักษณะของการวางแผนที่ดี มีดังนี้
         1) มีความเฉพาะเจาะจง
         2) มีความยืดหยุ่น
         3) ทำให้เกิดการประสานงาน
         4) ต้องได้รับการยอมรับจากฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
         5) ทำให้เกิดการควบคุมที่ดี
         6) ทำให้สามารถบริหารเวลาได้ดี
         7) สามารถนำมาใช้งานได้จริง

การเขียนแผนการทำงาน ส่วนใหญ่จะเป็นแผนระยะสั้นที่มีหัวข้อสำคัญดังนี้
         1) งานที่ปฏิบัติ ต้องระบุให้ชัดเจนว่างานที่ทำคืออะไร ขอบข่ายของงานมีมากน้อยเพียงใด
         2) วัตถุประสงค์ เป็นผลที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นในขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการทำงาน
         3) กำหนดระยะเวลา ควรระบุระยะเวลาในการปฏิบัติงานให้ชัดเจน เกี่ยวกับวันเริ่มต้น วันสิ้นสุด และระยะเวลาที่ใช้ทั้งหมด
         4) วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือ ควรระบุถึงวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานให้ครบถ้วน เพื่อความสะดวกและช่วยผ่อนแรงในขณะปฏิบัติงาน
         5) วิธีการทำงาน ควรระบุวิธีการทำงานเป็นลำดับขั้นตอนก่อนหรือหลังเพื่อให้ทำงานได้ง่าย ลดความซับซ้อน และสิ้นเปลืองเวลา
         6) ผู้รับผิดชอบ ควรระบุผู้รับผิดชอบงานนั้น ๆ ให้ชัดเจนว่าจะให้ใครทำ เป็นงานคนเดียวหรืองานกลุ่ม ซึ่งต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของแต่ละคน
         7) งบประมาณ เป็นการประมาณการเกี่ยวกับรายจ่ายที่จ้องใช้ในกระบวนการทำงานให้ชัดเจน โดยกำหนดเป็นจำนวนเงินหรือตัวเลข เพื่อให้สามารถคาดคะเนปัจจัยที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงาน
         8) สถานที่ ควรระบุสถานที่ที่จะปฏิบัติงาน โดยเลือกสถานที่ที่เดินทางสะดวกและเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน

ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน เป็นการลงมือตามแผนที่วางไว้ เพื่อให้งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ การลงมือทำงานในขั้นตอนนี้ต้องมีการควบคุมด้วย เพราะบางคนวางแผนไว้อย่างละเอียด แต่ไม่ได้ปฏิบัติตามซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียตามมาได้ นอกจากนี้ควรตรวจสอบความก้าวหน้าของแผนด้วย บางครั้งอาจมีการปรับเปลี่ยนแผนเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมากก่อน

ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการทำงาน สามารถประเมินได้ทั้งก่อนทำงาน ขณะทำงาน และหลังจากทำงานเสร็จแล้ว ซึ่งทำให้ทราบว่างานที่

ทำประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ ถ้าไม่สำเร็จมีสาเหตุมาจากอะไร และมีวิธีการปรับปรุงแก้ไขอย่างไร โดยสรุปเป็นแผนที่ความคิดดังนี้

ทักษะที่ควรมี ในการ ทํา งาน

ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา
กระบวนการแก้ปัญหา
 มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
         1. การพิจารณาปัญหา
 เป็นการกำหนดปัญหา สังเกต และทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยสังเกตลักษณะของปัญหาและพยายามมองให้ถูกจุด
         2. การวิเคราะห์ปัญหา 
โดยแยกแยะว่าปัญหาที่ต้องการแก้ไขนั้นมีสภาพเป็นอย่างไร เป็นต้น แล้วรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ พิจารณาว่า ข้อมูลหรือเงื่อนไขที่กำหนดมีเพียงพอที่จะแก้ปัญหาหรือไม่ ถ้าไม่พอก็ควรหาเพิ่มเติม
         3. การสร้างทางเลือกในการแก้ปัญหา
 หมายถึง การคิดแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่หลากหลาย จนสามารถแก้ปัญหานั้น ๆ ได้หรือไม่

ทักษะการทำงานร่วมกัน
การทำงานร่วมกับผู้อื่น หมายถึง การทำงานร่วมกับผู้อื่นตั้งแต่สองคนขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการทำงานอย่างเดียวกัน สมาชิกในกลุ่มรู้จักหน้าที่ของตนเอง และยึดหลักของการทำงานเป็นกลุ่มเป็นสำคัญ รวมทั้งการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเพื่อดำเนินงานต่าง ๆ ให้ประสบผลสำเร็จ

กระบวนการในการทำงานร่วมกัน มีขั้นตอนดังนี้
         1. การเลือกหัวหน้ากลุ่ม
 หรือผู้นำ คือ ผู้ที่ทำให้งานสำเร็จตามเป้าหมายโดยอาศัยความร่วมมือจากสมาชิกในกลุ่ม หัวหน้ากลุ่มที่มีความสามารถจะสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกับกลุ่ม เป็นศูนย์กลางในการประสานพลัง เพื่อดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้
         2. การกำหนดเป้าหมาย เป็นตัวกำหนดสิ่งที่กลุ่มต้องการว่าคืออะไร สมาชิกในกลุ่มจะต้องมีเป้าหมายตรงกัน มีความชัดเจน และมองเห็นผลที่จะได้รับเมื่อปฏิบัติงานเสร็จ
         3. การวางแผนในการทำงาน เป็นการกำหนดกิจกรรมไว้ล่วงหน้าว่าจะต้องทำอะไรบ้าง แบ่งหน้าที่ในการทำงานอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งการวางแผนที่ดีจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น และจะต้องอาศัยวิสัยทัศน์ของสมาชิกในกลุ่มด้วย
         4. การแบ่งงานตามความสามารถ เป็นการป้องกันปัญหาการก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกันหรือการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของหัวหน้ากลุ่มที่จะมอบหมายงาน
         5. การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ เมื่อสมาชิกแต่ละคนได้รับมอบหมายงาน จึงลงมือปฏิบัติตามหน้าที่และควบคุมการปฏิบัติงานของตนเองให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ดังนี้

ทักษะที่ควรมี ในการ ทํา งาน

1) บทบาทหน้าที่ของหัวหน้ากลุ่ม มีดังนี้
(1) เป็นผู้จัดการงานต่าง ๆ ให้ดำเนินไปสู่เป้าหมายและบรรลุตามวัตถุประสงค์
(2) เป็นผู้นำในการวางแผนการทำงานและทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับสมาชิกในกลุ่ม
(3) เลือกสรรบุคคลและมอบหมายงานให้แก่สมาชิกในกลุ่มได้อย่างเหมาะสม
(4) เป็นศูนย์กลางในการประสานพลังความสามัคคี เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้
(5) กระตุ้นและจูงใจให้สมาชิกในกลุ่มทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
(6) ให้คำแนะนำ อธิบายวิธีการทำงาน ช่วยแก้ปัญหา และให้ความช่วยเหลือสมาชิก
(7) สรรหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาช่วยในการทำงานให้สะดวก เร็วขึ้น และมีคุณภาพขึ้น
(8) สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับกลุ่มในทิศทางที่เหมาะสม
(9) ส่งเสริมให้สมาชิกในกลุ่มได้พัฒนาความรู้เกี่ยวกับการทำงานในส่วนที่รับผิดชอบ

ทักษะที่ควรมี ในการ ทํา งาน

2) บทบาทและหน้าที่ของเลขานุการกลุ่ม มีดังนี้
(1) รับคำสั่งจากหัวหน้ากลุ่มไปถ่ายทอดให้แก่สมาชิกในกลุ่ม
(2) จดบันทึกการประชุมและสรุปรายงานการประชุม
(3) ติดต่อประสานงานระหว่างสมาชิกภายในกลุ่มและภายนอกกลุ่ม
3) บทบาทและหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่ม มีดังนี้
(1) มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้ากลุ่ม
(2) ปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับจากหัวหน้ากลุ่มอย่างเต็มที่
(3) เข้าร่วมประชุมกลุ่มเพื่อวางแผนการงาน
(4) ให้ความร่วมมือกับกลุ่มในการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย
(5) เป็นผู้รับฟังหรือผู้พูดที่ดีและแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน

6. การประเมินผลและปรับปรุงงาน เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการทำงานร่วมกัน ทำให้ทราบว่าการทำงานของกลุ่มบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ หรือมีข้อบกพร่องใดเพื่อนำมาปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
หลักการในการทำงานร่วมกัน ควรยึดหลักดังนี้
1. รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง โดยแต่ละคนมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน จึงควรปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด
2. มีทักษะในการสื่อสาร วิธีการติดต่อสื่อสารมี 3 วิธี ได้แก่
1) การสื่อสารด้วยวิธีการเขียน
2) การติดต่อสื่อสารด้วย
3) การติดต่อสื่อสารด้วยท่าทาง
3. มีคุณธรรมในการทำงาน เป็นลักษณะนิสัยที่ดีที่ควรปฏิบัติ เพื่อให้ได้รับความร่วมมือในการทำงาน และประสบผลสำเร็จ คุณธรรมสำคัญที่ควรมี ได้แก่ ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ เป็นต้น
4. สรุปผลการทำงานร่วมกัน เช่น การอภิปราย การแสดงความคิดเห็น เป็นต้น
5. การนำเสนอผลงาน เป็นการนำผลจากการทำงานมาเผยแพร่ให้แก่ผู้ที่สนใจ ซึ่งข้อมูลที่จะนำเสนอควรมีความน่าเชื่อถือและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้
มนุษยสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน การทำงานร่วมกันต้องมีสัมพัทธภาพที่ดีต่อกัน เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข และทำให้ได้รับการสนับสนุน ช่วยเหลือ และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีมักมีคุณลักษณะดังนี้
1) มีความเป็นตัวของตัวเอง แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ อย่างแท้จริง ไม่เสแสร้ง
2) มีความกระตือรือร้น ให้ความร่วมมือในการทำงาน หรือมีความกระตือรือร้นในการช่วยเหลือกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่ม
3) เป็นผู้ฟังที่ดี รับฟังข่าวสารข้อมูล เหตุการณ์ และรับความรู้สึกต่าง ๆ จากบุคคลอื่นอย่างตั้งใจและเต็มใจ
4) มีวาจาไพเราะ โดยสนทนาด้วยคำพูดที่สุภาพ ไพเราะและอ่อนหวาน ซึ่งทำให้เกิดมิตรภาพและสามารถรักษาความสัมพันธ์กับบุคคลที่ร่วมงานกันไว้ได้
5) มีความซื่อสัตย์ แสดงความจริงใจต่อผู้ร่วมงาน ซื่อตรงต่อหน้าที่ และรักษาคำพูด
6) มีความอดทน ต่อคำพูดและการกระทำของผู้ร่วมงาน โดยการให้อภัย และใจกว้าง
7) มีความสามารถในการปรับตัว เพื่อให้เข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ดี

ทักษะการแสวงหาความรู้
ทักษะการแสวงหาความรู้ คือ วิธีการและกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อนำไปใช้ประกอบการเรียนเนื้อหาต่าง ๆ หรือการทำงานอาชีพ เป็นการพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้า ทันสมัย และสามารถดำรงชีวิตอยู่กับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้อย่างมีความสุข
ทักษะแสวงหาความรู้มี ขั้นตอนดังนี้
1. การศึกษาค้นคว้า หมายถึง การศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้แก่ บุคคล สถานที่ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ทักษะที่ควรมี ในการ ทํา งาน

2. การรวบรวมข้อมูลความรู้ โดยนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาคัดแยก จัดกลุ่มความรู้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้สะดวกต่อการค้นหาและนำไปอ้างอิงในเรื่องต่าง ๆ
3. การสังเกต มีความสำคัญมาก เพราะจะได้รับความรู้ที่ช่วยให้ปฏิบัติงานได้ราบรื่น สิ่งที่ควรสังเกต ได้แก่ บุคคลในองค์กร วิธีการทำงาน วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ รวมทั้งสภาพแวดล้อมในการทำงาน
4. การสำรวจ เป็นการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานอาชีพ เพื่อที่จะนำผลจากการสำรวจไปใช้ในการปรับปรุงการทำงาน ข้อมูลที่นิยมสำรวจ เช่น ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน เป็นต้น
5. การบันทึก เป็นการจดสาระที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า การรวบรวมข้อมูลความรู้ การสังเกต และการสำรวจ เพื่อเป็นหลักฐานของการค้นพบ โดยสร้างแบบบันทึกให้เหมาะสมกับวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ทักษะการจัดการ
ทักษะการจัดการเป็นความพยายามของบุคคลที่จะจัดระบบงานและจัดระบบคน เพื่อให้ได้ผลงานสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีขั้นตอนดังนี้
1. การตั้งเป้าหมาย 
เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการได้รับจากการทำงานไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจเป็นเป้าหมายระยะสั้น ระยะยาว หรือเป้าหมายที่มีการเปลี่ยนแปลงได้
2. การวิเคราะห์ทรัพยากร เป็นการพิจารณาว่าทรัพยากรที่นำมาใช้สามารถทำให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ ทรัพยากรที่เป็นปัจจัยสำคัญของการจัดการมี 4 อย่าง ซึ่งมักเรียกโดยย่อว่า 4M ดังนี้
1) คน (Man) หมายถึง ผู้ปฏิบัติงาน
2) วัสดุสิ่งของ (Material) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่นำมาใช้ในการทำงาน
3) เงิน (Money) ซึ่งนำมาใช้จัดซื้อวัสดุ เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
4) การจัดการ (Management) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ ผู้ดำเนินงานหรือผู้จัดการจำเป็นต้องรู้ เพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ เช่น เวลา เครื่องจักรกล และการตลาด ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้จัดการควรคำนึงถึง
3. การวางแผนและกำหนดทรัพยากร เป็นการกำหนดกิจกรรมไว้ล่วงหน้าว่า จะต้องทำอะไร สิ่งใด อย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งมีดังนี้
1) วัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย
2) กิจกรรมในการวางแผน
3) กำหนดทรัพยากร
4) วิธีการปฏิบัติงาน
อย่างไรก็ดี ควรมีการกำหนดกรอบการทำงานและแนวทางในการปฏิบัติงานว่า งานแต่ละส่วนจะให้ใครรับผิดชอบงานใด เป้าหมายข้อใดที่ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อน และควรทำอย่างไรจึงจะก้าวไปสู่เป้าหมายได้
4. การปฏิบัติตามแผนและการปรับแผน เป็นการนำแนวทางปฏิบัติงานที่กำหนดมาดำเนินการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ หรือปรับเปลี่ยนแผนที่วางไว้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้น
5. การประเมินผล เป็นการตรวจสอบเพื่อให้ทราบว่าการปฏิบัติงานของตนเองหรือของทีมงานบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่
ทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานอาชีพยังมีอีกมากมาย ซึ่งสามารถเลือกนำไปใช้ให้เหมาะกับการทำงานอาชีพต่าง ๆ นักเรียนจึงควรฝึกทำงานตามขั้นตอนของทักษะต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความรู้ ความชำนาญ เมื่อมีโอกาสไปประกอบอาชีพจะได้นำไปใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม

ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/30909-043470

ทักษะใดทำให้การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

5 วิธีในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น.
1. เริ่มวางแผนตารางเวลา.
การจัดลำดับความสำคัญ.
การแบ่งงาน.
2. เรียนรู้ 'ตัวเอง'.
3. สภาพแวดล้อมการทำงาน.
4. สมาธิและโฟกัส.
5. ติดต่อสื่อสาร.

ทักษะใดที่มีความสำคัญและจำเป็นมากสำหรับการทำงานในปัจจุบัน

ทักษะที่จำเป็นต่อการแข่งขันของคนทำงานในปัจจุบันได้แก่ ทักษะในการฟัง ทักษะในการการเขียน ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ ทักษะในการจัดการปัญหา และทักษะในการจัดการกับเวลา เพราะฉะนั้นผู้หางานจึงควรเตรียมตัวให้พร้อม ฝึกฝนและพัฒนาทักษะทั้งหลายเหล่านี้ให้มีพร้อมอยู่ในตัว เพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้อย่างมั่นใจ

ทักษะส่วนบุคคล มีอะไรบ้าง

10 ทักษะสำคัญ ที่เด็กยุคนี้ควรมี.
1. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ... .
2. การสื่อสาร (Communication) ... .
3. การคิด วิเคราะห์ (Critical thinking) ... .
4. ความเป็นผู้นำ (Leadership) ... .
5. การเจรจาต่อรอง (Negotiation) ... .
6. ทักษะสมอง (Brain Skill) ... .
7. กรอบความคิดแบบเติบโต (Growth mindset) ... .
8. ความฉลาดด้านสังคม (Social Intelligence).

ทักษะที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนทํางานควรมีทักษะใดบ้าง

Check list เตรียมตัวสู่วัยทำงาน ก่อนเรียนจบ.
ดูแลสุขภาพให้ดี ... .
อย่ารู้ภาษาอังกฤษไว้เพื่อสอบโทอิคแล้วปล่อยผ่าน ... .
การรู้จักวางตัวคือเรื่องสำคัญ ... .
ศึกษาข้อมูลบริษัทที่อยากเข้าทำงานไว้คร่าวๆ ... .
เริ่มเรียนรู้การบริหารจัดการเรื่องเงินๆ ทองๆ ... .
เตรียมใจ.