คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมส

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมส

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

From Wikipedia, the free encyclopedia

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ : Faculty of Humanities and Social Sciences, Mahasarakham University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นคณะ 1 ใน 3 คณะแรกที่ก่อตั้งมาพร้อมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยก่อตั้งในสมัยวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคามพร้อมกับ คณะวิชาการศึกษาและคณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์[1] คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นคณะด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิตแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมส
คําขวัญความหลากหลายทางภาษา ภูมิปัญญาคู่คุณธรรม นำชุมชนสู่สากล
ชื่ออังกฤษFaculty of Humanities and Social sciences, Mahasarakham University
อักษรย่อมนส. / HUSOC
สังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ที่อยู่อาคารศูนย์เรียนรู้พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
โทร 043-754369
วันก่อตั้ง27 มีนาคม พ.ศ. 2511 (54 ปี)
คณบดีรศ.ดร.นิตยา วรรณกิตร์
วารสารวารสารมนุษย์กับสังคม
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สีประจําคณะ███ สีม่วงอ่อน
สัญลักษณ์อินทนิล
เว็บไซต์http://human.msu.ac.th/husoc/

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ : Faculty of Humanities and Social Sciences, Mahasarakham University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นคณะ 1 ใน 3 คณะแรกที่ก่อตั้งมาพร้อมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยก่อตั้งในสมัยวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคามพร้อมกับ คณะวิชาการศึกษาและคณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์[1] คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นคณะด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิตแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประวัติ[แก้]

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมส

อาคารเรียนคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เดิมคือ "คณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์" ซึ่งก่อตั้งในปี 2511 สังกัดวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม พร้อมกับคณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และคณะวิชาการศึกษา ซึ่งเป็นคณะวิชาที่เปิดสอนวิชาพื้นฐานให้กับคณะวิชาการศึกษา จึงยังไม่ได้เปิดรับนักศึกษา ต่อมาเมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคามยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517[2] ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการจัดตั้งให้เป็นคณะ จึงได้มีการแยกคณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ออกเป็น 2 คณะ คือ "คณะมนุษยศาสตร์ (Faculty of Humanities)" และ"คณะสังคมศาสตร์ (Faculty of Social Sciences)" โดยขึ้นตรงกับสำนักงานคณบดีที่ตั้งอยู่ประสานมิตร (ที่ตั้งหลักของคณะ)[3] รวมไปถึงคณะวิชาการศึกษาได้เปลี่ยนเป็นคณะศึกษาศาสตร์ ส่วนคณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เปลี่ยนเป็นคณะวิทยาศาสตร์ ในส่วนของวิทยาเขตมหาสารคามนั้น คณะมนุษยศาสตร์พร้อมด้วยคณะสังคมศาสตร์ได้ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ รับผิดชอบในการผลิตบัณฑิตทางการศึกษาในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ ในภายหลังคณะได้พัฒนาหลักสูตรของตนเองขึ้น (หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต) และเริ่มเปิดรับนิสิตเข้าศึกษาในคณะตนเอง

ต่อมามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคามได้ยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 จึงได้มีการควบรวมคณะมนุษยศาสตร์และคณะสังคมศาสตร์เข้าด้วยกันเป็นหน่วยงานเดียวคือ "คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "Faculty of Humanities and Social sciences, Mahasarakham University"[4][5] ซึ่งมีการบริหารจัดการและแบ่งส่วนราชการแยกเป็นภาควิชาและสำนักงานเลขานุการ ในส่วนสำนักงานเลขานุการคณะ แบ่งกลุ่มงานภายในเป็น 4 กลุ่มงานคือ กลุ่มงานบริหารและธุรการ กลุ่มงานคลังและพัสดุ กลุ่มงานวิเคราะห์นโยบายและแผน และกลุ่มงานบริการวิชาการและบริการโสตทัศนศึกษา ในส่วนภาควิชาแบ่งเป็น 9 ภาควิชา คือ

  • ภาควิชาภาษาตะวันตกและภาษาศาสตร์
  • ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก
  • ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์
  • ภาควิชาภูมิศาสตร์
  • ภาควิชาบริหารธุรกิจ
  • ภาควิชารัฐศาสตร์
  • ภาควิชาบรรณารักศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
  • ภาควิชาทัศนศิลป์และศิลปะการแสดง

ในปี 2540 ได้แยกภาควิชาทัศนศิลป์และศิลปะการแสดง เพื่อไปจัดตั้งเป็น "โครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์"[6] แต่ในภายหลังมีการแยกหน่วยงานเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ในปี 2543 และคณะศิลปกรรมศาสตร์ ในปี 2545

ต่อมาในปี 2541 ภาควิชาบริหารธุรกิจ ได้แยกตัวเพื่อไปตั้งเป็น "คณะการบัญชีและการจัดการ"[7] โรงเรียนบริหารธุรกิจแห่งที่ 2 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมส

ด้านข้างอาคารเรียนคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ในปี 2544 ภาควิชาบรรณารักศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ได้แยกไปรวมกับภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดตั้งเป็น "คณะวิทยาการสารสนเทศ"[8][9]

และในปี 2546 ภาควิชารัฐศาสตร์ โครงการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต และศูนย์การเมืองท้องถิ่นฯ ได้แยกไปจัดตั้งเป็น "วิทยาลัยการเมืองการปกครอง"[10] คณะวิชาด้านรัฐศาสตร์แห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้มีคณะวิชาที่แยกออกจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คือ "คณะการบัญชีและการจัดการ" "คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์" "คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์" "คณะวิทยาการสารสนเทศ" และ"วิทยาลัยการเมืองการปกครอง"

ปัจจุบันคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นหน่วยงานในระบบราชการสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งการบริหารงานออกเป็นภาควิชาจำนวน 5 ภาควิชาและสำนักเลขานุการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ [11] จัดการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรี จำนวน 12 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท จำนวน 5 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก จำนวน 3 สาขาวิชา รวมทั้งสิ้น 20 สาขาวิชา

หน่วยงานภายในคณะ[แก้]

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งการบริหารหน่วยงานภายในดังนี้

การบริหารงานภายในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ด้านการบริหารงาน ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัยและพัฒนา
  • สำนักงานเลขานุการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    • กลุ่มงานบริหาร
    • กลุ่มงานนโยบาย แผนและคลัง
    • กลุ่มงานวิชาการและพัฒนานิสิต
  • ภาควิชาภาษาตะวันตกและภาษาศาสตร์
  • ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก
  • ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์
  • ภาควิชาภูมิศาสตร์
  • ศูนย์ข้อมูลและวัฒนธรรมอเมริกัน
  • ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมเกาหลีเซจง
  • ศูนย์ สอวน. ภูมิศาสตร์โอลิมปิก
  • งานวารสารมนุษย์กับสังคม
  • งานวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • ศูนย์ข้อมูลและวัฒนธรรมอเมริกัน (American Corner) ศูนย์ศึกษาวัฒนธรรมอเมริกันนี้ เป็นศูนย์ฯที่ส่งเสริมให้นิสิตระดับปริญญาตรีได้มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศโดยอย่าง ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมีความรู้ความเข้าใจด้านภาษาและวัฒนธรรมอเมริกันมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นเวทีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาษาต่างประเทศให้แก่นิสิตระดับปริญญาตรีให้สามารถแข่งขันกับอารยประเทศเพื่อย่างเข้าสู่สมาคมอาเซียน 2015
  • ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมเกาหลีเซจง (Mahasarakham Sejong Institute) มีการเรียนการสอนหลักสูตรภาษาเกาหลี และมีหลักสูตรการเรียนวัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งสอนโดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งทางศูนย์เซจงมหาสารคามยังมีหลักสูตรภาษาเกาหลีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภาษาเกาหลีพื้นฐาน, ติวสอบวัดระดับทางภาษาเกาหลี (TOPIK), ภาษาเกาหลีเพื่อธุรกิจ และยังมีหลักสูตรภาษาเกาหลีสำหรับผู้ที่ต้องการขอวีซ่าแต่งงานอีกด้วย และสำหรับผู้ที่เรียนหลักสูตรภาษาเกาหลีสำหรับผู้ที่ต้องการขอวีซ่าแต่งงานนั้น ทางศูนย์ฯยังมีหลักสูตรเกี่ยวกับวัฒนธรรมและกฎหมายของเกาหลี
  • ศูนย์ สอวน. ภูมิศาสตร์โอลิมปิก เป็นสถานที่จัดสอบเพื่อคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระดับนานาชาติในแต่ละปี โดยคณะมนุษยศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับเลือกให้เป็นศูนย์สอบคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยในด้านภูมิศาสตร์โอลิมปิก[12][13]

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จัดการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรี จำนวน 12 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท จำนวน 5 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก จำนวน 3 สาขาวิชา รวมทั้งหมด 20 สาขาวิชาใน 5 หลักสูตรดังนี้

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[14]
ภาควิชา ระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

ภาควิชาภาษาตะวันตกและภาษาศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)

  • สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาจีน
  • สาขาวิชาภาษาตะวันออก
    • วิชาเอกภาษาเกาหลี
    • วิชาเอกภาษาญี่ปุ่น
  • สาขาวิชาภาษาเพื่อการสร้างสรรค์สื่อ
  • สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน
    • วิชาเอกภาษาลาว
    • วิชาเอกภาษาเขมร
    • วิชาเอกภาษาเวียดนาม

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาภาษาไทย

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)

  • สาขาวิชาการสอนภาษาและวรรณกรรมไทย

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาภาษาไทย

ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนและสังคม

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาศาสนาและภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาศาสนาและภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

ภาควิชาประวัติศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์

ภาควิชาภูมิศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาภูมิศาสตร์

สถานที่ตั้งและพื้นที่[แก้]

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งอยู่ที่อาคารศูนย์เรียนรู้พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม อยู่ระหว่างคณะนิติศาสตร์ (อาคารราชนครินทร์) และวิทยาลัยการเมืองการปกครอง ด้านหลังติดกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ด้านหน้าอยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)

ทำเนียบคณบดี[แก้]

รายนามคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่ก่อตั้งยุควิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม จนถึงยุคมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีดังนี้ (เท่าที่มีการบันทึก)

ทำเนียบผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หัวหน้าคณะมนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม
รายนามหัวหน้าคณะ วาระการดำรงตำแหน่ง
ไม่มีการบันทึก พ.ศ. 2511 - 2517
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม[15] คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม[16]
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รศ.ดร.ปรีชา ธรรมา พ.ศ. 2518 - 2520 1.ศ.ดร.ประสาท หลักศิลา พ.ศ. 2517-2522
2. รศ. ปราณี ธนะชานันท์ พ.ศ. 2520 - 2528 2. ผศ.ดร.อนันต์ เจียมเจริญ พ.ศ. 2522-2526
3. ผศ. สะรัช บุณยรัตพันธ์ พ.ศ. 2538 -2532 3. รศ.ดร.ธวัช บุรีรักษ์ พ.ศ. 2526-2530
4. ผศ.วิพุธ โสภวงศ์ พ.ศ. 2532 - 2536 4. รศ.ดร.ธำรงค์ อุดมไพจิตรกุล พ.ศ. 2530 - 2534
5. รศ.ดร.ประพาศน์ พฤทธิประภา พ.ศ. 2536 - 2537 5. ผศ.ดร.ชลัช จงสืบพันธ์ พ.ศ. 2534 - 2537
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[17]
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ผศ.วีญา วิสเพ็ญ พ.ศ. 2538 - 2542
2. รศ.จารุวรรณ ธรรมวัตร พ.ศ. 2542 - 2546
3. ผศ.ทวีศลิป์ สืบวัฒนะ พ.ศ. 2546 - 2550
4. ผศ.สมเกียรติ ภู่พัฒน์วิบูลย์ พ.ศ. 2550 - 2554
5. ผศ.ทวีศลิป์ สืบวัฒนะ พ.ศ. 2554 - 2557
6. ผศ.สมเกียรติ ภู่พัฒน์วิบูลย์ (รักษาการแทนฯ) พ.ศ. 2557 - 2558
7. ผศ.อนุชิตา มุ่งงาม พ.ศ. 2560 - 2564
8. อาจารย์กนกพร รัตนธีระกุล พ.ศ. 2558 - 2562
9. อาจารย์กนกพร รัตนธีระกุล (วาระที่สอง) พ.ศ. 2562 - 2562
10. ผศ.ดร.กนกพร รัตนธีระกุล (รักษาการแทนฯ) พ.ศ. 2562 - 2563
11. รศ.ดร.นิตยา วรรณกิตร์ พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

  • ลิขิต บุตรพรม เป็นนักแสดง/นายแบบ ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์[18]
  • ฉลาด ขามช่วง เป็นประธานกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคเพื่อไทย ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์[19]
  • ณิชชา เต็งประวัติ เป็นนักธุรกิจ [20]
  • นที คณารัตน์ปทุม เป็นผู้เข้าแข่งขัน เคพีเอ็น อวอร์ด ครั้งที่ 19 ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ แขนงวิชาดนตรีตะวันตก[21]
  • มนตรี อุดมพงษ์ เป็นนักข่าวภาคสนาม ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ [22]
  • ผศ.ดร.พชรนนท์ สายัณห์เกณะ ศิษย์เก่า/อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันตกและภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, อาจารย์ที่ปรึกษาวงขับร้องประสานเสียงแห่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU Chorus)
  • ผศ.ดร. สมเกียรติ ภู่พัฒน์วิบูลย์ ศิษย์เก่า/คณบดีคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ผศ.ดร. สุรศักดิ์ คำคง ศิษย์เก่า/อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันตกและภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขา ภาษาอังกฤษ
  • ดร.พิลานุช ภูษาวิโศธน์ ศิษย์เก่า/อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันตกและภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขา ภาษาอังกฤษ
  • ดร.อินธิสาร ไชยสาร ศิษย์เก่า/อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันตกและภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขา ภาษาอังกฤษ
  • คุณพนัส ปรีวาสนา นักจัดกระบวนการจัดการทางความรู้ นักเขียน สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขา ภาษาไทย
  • ณิชชา เต็งประวัติ เล นักธุรกิจ / รางวัล “บุคคลตัวอย่างภาคธุรกิจแห่งปี 2016 ” สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน
  • ภัทชดล จันทร์ภักดิ์ นักแสดง สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขา ภาษาเพื่อการสร้างสรรค์งานสื่อสิ่งพิมพ์
  • ธนาธิป ศรีทองสุก นักร้อง/นักแสดง (สมาชิกวงElement) ศิษย์เก่าคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  1. เว็บไซต์ทางการ
  2. HU-SOC

อ้างอิง[แก้]

  1. คณะศึกษาศาสตร์. ประวัติคณะศึกษาศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2564.
  2. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๑๗. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564.
  3. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย. การแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๒๙. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564.
  4. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ประวัติโดยย่อ. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564.
  5. สำนักงานอธิการบดี. พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๘. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2564.
  6. คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์. ประวัติคณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์. 2 เมษายน 2564.
  7. คณะการบัญชีและการจัดการ. ประวัติคณะการบัญชีและการจัดการ. 2 เมษายน 2564.
  8. คณะวิทยาการสารสนเทศ. ประวัติคณะวิทยาการสารสนเทศ. 2 เมษายน 2564.
  9. รองศาสตราจารย์ ดร.อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง. วีดิทัศน์ครบรอบ 20 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ 18 มีนาคม 2562 (วีดีทัศน์). คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 11.55 นาที.
  10. วิทยาลัยการเมืองการปกครอง. ประวัติวิทยาลัยการเมืองการปกครอง. 2 เมษายน 2564.
  11. คณะมนุษยสาสตร์และสังคมศาสตร์. ภาควิชาในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2 เมษายน 2564
  12. สอวน. ภูมิศาสตร์ - มูลนิธิ สอวน. 1 เมษายน 2565.
  13. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ศูนย์ภูมิศาสตร์โอลิมปิก มหาวิทลัยมหาสารคาม. 1 เมษายน 2565.
  14. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. รายงานข้อมูลพื้นฐานประจำปี 2563 หน้า 139. Archived 2021-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 1 เมษายน 2564
  15. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ทำเนียบคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2 กันยายน 2564.
  16. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ทำเนียบคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2 กันยายน 2564.
  17. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ทำเนียบคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 23 มีนาคม 2564
  18. "ประวัติลิขิต บุตรพรม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-06-26.
  19. นายฉลาด สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2565.
  20. รางวัล “บุคคลตัวอย่างภาคธุรกิจแห่งปี 2016 ” Archived 2016-12-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ศิษย์เก่าปริญญาโท คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาภาษาเวียดนาม สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2565.
  21. ประวัตินายนที สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2565.
  22. ประวัตินายมนตรี สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2565.