คณะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหิดล

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้งเพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมหาวิทยาลัยเล็งเห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ และยังเป็นคณะที่มีผลงานทางด้านสิ่งแวดล้อมที่โดดเด่นและเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติมากมาย

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหิดล
ชื่ออังกฤษFaculty of Environment and Resource Studies,
Mahidol University
ที่อยู่999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทรศัพท์ 0-2441-5000

โทรสาร 0-2441-9509-10
วันก่อตั้ง26 กันยายน พ.ศ. 2516 (48 ปี)
คณบดีรศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ (คนปัจจุบัน)
วารสารวารสารสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (Environment and Natural Resources Journal)
สีประจําคณะ███ สีเขียวน้ำทะเล
เว็บไซต์en.mahidol.ac.th

รีวิววิทยาลัยนานาชาติ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล


วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยหิดล (MUIC) ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งขึ้นเป็นวิทยาลัยนานาชาติของรัฐแห่งแรกในประเทศไทย โดยมุ่งมั่นให้การเรียนการสอนอย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุดแก่นักศึกษา จึงได้มีการพัฒนาตัววิทยาลัยฯ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิชาการ หลักสูตร รวมไปถึงมีศูนย์ปฏิบัติงานโรงแรมศาลายา พาวิลเลี่ยน เป็นของตัวเอง

ที่นี่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีทั้งหมด 19 สาขาวิชา ซึ่ง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ก็เป็นหนึ่งในสาขาวิชาที่เปิดสอนด้วยเหมือนกัน

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Environmental Science) ของที่นี่ จะเน้นในเรื่องของการศึกษาและเทคนิคความรู้ในด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยหลักสูตรถูกออกแบบมาให้นักศึกษาได้ออกสำรวจปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย และนำมาทำการวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน น้องๆ จะได้ใช้สหวิทยาการในการคำนวณจำนวนและปริมาณเพื่อคาดการณ์และแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยการประยุกต์ศาสตร์แขนงอื่นๆๆ เข้ามาช่วยกันอย่างสมบูรณ์

ประเด็นปัญหาที่น้องๆ นักศึกษาที่เข้ามาเรียนที่นี่จะได้เจอก็อาทิเช่น การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ, การฟื้นฟูระบบนิเวศน์วิทยา, ปัญหาโลกร้อน, การจัดการของเสีย, การปนเปื้อนในดินและผิวน้ำ, พิษจากสารเคมี การป้องกันและควบคุมมลพิษ และการวางแผนด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

สังคมปัจจุบันกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความซับซ้อนหลากหลายรูปแบบ อันเกิดจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากรและความต้องการปัจจัยสำหรับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมได้ทวีคูณขึ้นจากการปนเปื้อนจากสารเคมีและชีวภาพต่างๆ ที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรม, การเกษตร, การผลิตอาหาร รวมไปถึงจากการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่มีประสิทธิภาพ จึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์อย่างต่อเนื่อง ศาสตร์การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมจึงกลายมาเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับสังคมโลกยุคปัจจุบัน

จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร

- เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ และมีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของประเทศ
- เป็นวิทยาลัยนานาชาติของรัฐแห่งแรกในประเทศ
- มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา หลักสูตร วิชา กายภาพ และสังคมภายในอย่างต่อเนื่อง

จบมาทำงานอะไร

พนักงานบริษัทอุตสาหกรรมของเอกชนและหน่วยงานของรัฐ, นักประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อม, นักประเมินการสร้างโครงการด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับชุมชน, นักประเมินการประสานงานของส่วนราชการในการบำรุงรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม, นักวิชาการ, นักวิจัย, ผู้เชี่ยวชาญทั้งในระดับภูมิภาคและนานาชาติ, ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรขององค์กรภาครัฐและสำหรับองค์กรภาคเอกชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้าและบริการ ฯลฯ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหิดล
ชื่ออังกฤษFaculty of Environment and Resource Studies,
Mahidol University
ที่อยู่999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทรศัพท์ 0-2441-5000

โทรสาร 0-2441-9509-10
วันก่อตั้ง26 กันยายน พ.ศ. 2516 (49 ปี)
คณบดีรศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ (คนปัจจุบัน)
วารสารวารสารสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (Environment and Natural Resources Journal)
สีประจําคณะ███ สีเขียวน้ำทะเล
เว็บไซต์en.mahidol.ac.th

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้งเพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมหาวิทยาลัยเล็งเห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ และยังเป็นคณะที่มีผลงานทางด้านสิ่งแวดล้อมที่โดดเด่นและเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติมากมาย

ประวัติ[แก้]

นับแต่ช่วงทศวรรษ 2510 เป็นต้นมา การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการขยายตัวของปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ กรณีเรือน้ำมันล่มในอ่าวไทย การล่าสัตว์ป่าที่ทุ่งใหญ่นเรศวรและแม่น้ำแม่กลองเน่า เป็นต้น มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตระหนักถึง สถานการณ์ดังกล่าวและเล็งเห็นความสำคัญด้านการศึกษา วิจัยและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดตั้ง "โครงการศึกษาและวิจัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Education and Research Project)" ขึ้น เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2516 โดยมีที่ทำการชั่วคราวที่อาคาร 72 ปี โรงพยาบาลศิริราช หลังจากนั้นโดยการสนับสนุนด้านงบประมาณเริ่มต้นจากมูลนิธิฟอร์ด

โครงการฯ ได้ย้ายไปเช่าโรงแรมราชศุภมิตร ถนนหลานหลวง (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นโรงแรมปริ๊นเซส) เพื่อเปิดการเรียนการสอนในระดับมหาบัณฑิตทางด้านเทคโนโลยีการบริหารสิ่งแวดล้อม ใน ปี พ.ศ. 2521 โครงการฯ ได้พัฒนาเป็น "คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (Faculty of Environment and Resource Studies)" โดยมีสถานที่ของตนเอง ณ อาคารคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ณ ศาลายา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้ให้บริการด้านการศึกษา วิจัย ฝึกอบรม และการบริการวิชาการ ทางด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และนานาชาติ และในปีการศึกษา 2546 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มีการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรต่างๆ ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกมาจนถึงปัจจุบัน [1]

ทำเนียบคณบดี[แก้]

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.นาท ตัณฑวิรุฬห์ พ.ศ. 2520 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 – 13 กันยายน พ.ศ. 2533
3. รองศาสตราจารย์ ดร.อรพินท์ เอี่ยมศิริ 18 กันยายน พ.ศ. 2533 – 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2535
4. ศาสตราจารย์ ดร.นพ.เทพนม เมืองแมน 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 – 30 กันยายน พ.ศ. 2538
5. รองศาสตราจารย์ รุ่งจรัส หุตะเจริญ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2538 – 30 กันยายน พ.ศ. 2542
6. รองศาสตราจารย์ ดร.อนุชาติ พวงสำลี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 – 30 กันยายน พ.ศ. 2546

1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 – 30 กันยายน พ.ศ. 2550

7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิทธิพงษ์ ดิลกวณิช 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 30 กันยายน พ.ศ. 2554
8. รองศาสตราจารย์ ดร.กัมปนาท ภักดีกุล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558

1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน

9. รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ 1ตุลาคม พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน

หลักสูตร[แก้]

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้ให้บริการด้านการศึกษา วิจัย ฝึกอบรม และการบริการวิชาการ ทางด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และนานาชาติ และในปีการศึกษา 2546 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มีการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรต่างๆ ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก รวม 10 หลักสูตร ได้แก่

หลักสูตรระดับปริญญาตรี (2 หลักสูตร)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (ES)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (International Program) (EV)
หลักสูตรระดับปริญญาโท (7 หลักสูตร)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและนวัตกรรมเพื่อความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม (AS) (หลักสูตรภาคปรกติและภาคพิเศษ)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรภาคปรกติและภาคพิเศษ)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (หลักสูตรภาคปรกติและภาคพิเศษ)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (International Program) (ภาคปกติ)
หลักสูตรระดับปริญญาเอก (1 หลักสูตร)
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาชาวิชาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ Doctor of Philosophy in Environment and Resource Studies (International Program)

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติคณะ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

คณะ สิ่งแวดล้อม มหิดล ใช้อะไรบ้าง

มหาวิทยาลัยมหิดล คะแนนที่ใช้ GPAX ONET GAT PAT1 PAT2. (ตรวจสอบจากข้อมูลอัพเดตล่าสุดในแต่ละรอบอีกครั้ง) ระยะเวลาหลักสูตร 4 ปี ค่าเทอม 65,250 ตลอดหลักสูตร

ม.มหิดล มีคณะอะไรบ้าง

มหาวิทยาลัยมหิดล.
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี.
คณะเภสัชศาสตร์.
คณะทันตแพทยศาสตร์.
คณะวิทยาศาสตร์.
คณะเทคนิคการแพทย์.
คณะสาธารณสุขศาสตร์.
คณะพยาบาลศาสตร์.

คณะทรัพยากรธรรมชาติจบมาทำงานอะไร

อาชีพที่เกี่ยวข้อง > เข้าทำงานสายราชการเช่น กรมป่าไม้, กรมพัฒนาที่ดิน, กรมอุทยานแห่งชาติฯ, กรมปศุสัตว์, กรมควบคุมโรค ส่วนสายงานเอกชนก็จะมีตำแหน่ง สัตวบาลฟาร์ม, นักกีฏวิทยา, นักปฐพีวิทยา, นักโรคพืช, นักวิชาการเกษตร ฯลฯ เงินเดือนเริ่มต้น > 15,000 - 20,000 บาท (ขึ้นอยู่กับสายงาน)

วิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อมจบมาทำงานอะไร

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา.
ผู้ประกอบการที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม.
พนักงานในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน.
ผู้ควบคุมดูแลระบบป้องกันมลพิษทางสิ่งแวดล้อม.
นักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม.
นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม.
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม.
ผู้ช่วยนักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม.
ประกอบอาชีพอิสระ.