ตัวอย่างทะเบียนคุมภาษีป้าย

��Ъ�����ѹ���ê������բͧͧ���ú�������ǹ�Ӻŧ������

ตัวอย่างทะเบียนคุมภาษีป้าย

 

�ѵ�����ջ��� ����ҹ��Ңͧ���� ��ͧ��Һ ��һ������л��������ѵ��ᵡ��ҧ�ѹ���ҧ�� �������л����� �ѵ�����յ�ҧ�ѹ�ҡ �ҡ���¢ͧ��ҹ���ѡɳ���һ������˹ �����ǹ�ҡ���繻��·�����ٻ�Ҿ��Сͺ �ѵ�����ա���٧��鹨ҡ��������ѡ���� ..�֧���¹�����������Ңͧ�����Ѻ��Һ����������˹�ҷ��㹡�äӹdz ���մ��¹Ф�Ѻ...

กองคลังมีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับงานการจ่าย การรับ การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงิน และเอกสาร ทางการเงินอื่นๆ งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณทางการเงิน การจัดสรรงบประมาณต่างๆ การจัดทำบัญชีทุกประเภท ทะเบียนคุมเงินได้และรายจ่ายต่างๆ งานทำงบทดลองประจำเดือน ประจำปี การจัดเก็บภาษี งานแผนที่ภาษี งานเกี่ยวกับเทศบาลและงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และได้รับมอบหมาย

กองคลัง แบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้

1. ฝ่ายบริหารงานคลัง มีหน้าที่ควบคุมและดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ ประกอบด้วย

1.1 งานการเงินและบัญชี มีหน้าที่ 

- ตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินทุกประเภท 

- งานควบคุมและจัดทำทะเบียนงบประมาณรายจ่าย 

- งานจัดทำเช็คและจัดเก็บเอกสารการจ่ายเงิน 

- งานการจ่ายเงินและตรวจสอบหลักฐานใบสำคัญจ่าย 

- งานจัดทำบัญชีและทะเบียนที่เกี่ยวข้องทุกประเภท 

- งานจัดทำรายงานประจำวัน ประจำเดือน ประจำปี และรายงานอื่นๆ 

- งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

1.2 งานพัสดุและทรัพย์สิน มีหน้าที่ 

- งานการซื้อและการจ้าง 

- งานการซ่อมและบำรุงรักษา 

- งานการจัดทำทะเบียนพัสดุ 

- งานทางการตรวจสอบและรับจ่ายพัสดุ และการเก็บรักษาพัสดุ 

- งานการควบคุมและจำหน่ายพัสดุ

- งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

2. ฝ่ายพัฒนารายได้ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ การปฏิบัติงานประกอบด้วย

2.1 งานผลประโยชน์ มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ 

- งานจัดทำประกาศให้มายื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สินเพื่อชำระภาษี 

- งานตรวจสอบและจัดทำบัญชีที่อยู่ในเกณฑ์เสียภาษีในปีงบประมาณจัดเก็บจาก ทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.5) 

- งานรับและตรวจสอบแบบแสดงรายการทรัพย์สิน หรือแบบคำร้องของผู้เสียภาษี ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่นๆ 

- งานพิจารณาการประเมินและกำหนดค่าภาษี ค่าธรรมเนียมในเบื้อต้น เพื่อนำเสนอพนักงานเจ้าหน้าที่ 

- การแจ้งผลการประเมินภาษีแก่ผู้เสียภาษี 

- งานจัดเก็บและรับชำระเงินรายได้จากภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และรายได้อื่น 

- งานลงรายการเกี่ยวกับภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีป้าย ในทะเบียนเงินผลประโยชน์ และทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.5) ของผู้เสียภาษีแต่ละรายเป็นประจำทุกวัน 

- งานดำเนินงานเกี่ยวกับการพิจารณาอุทธรณ์ภาษี 

- งานเก็บรักษา และการนำส่งเงินประจำวัน 

- งานเก็บรักษาและเบิกจ่ายแบบพิมพ์ต่างๆ 

- งานเก็บรักษาเอกสารและหลักฐานการเสียภาษี ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น 

- งานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย 

- งานทำหนังสือแจ้งให้ผู้อยู่ในเกณฑ์เสียภาษีทราบล่วงหน้า 

- งานตรวจสอบและจัดทำบัญชีรายชื่อของผู้ไม่ยื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สินหรือ คำร้องภายในกำหนด และรายชื่อผู้ไม่ชำระภาษี ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่นๆ ภายในกำหนดของแต่ละปี 

- งานจัดทำหนังสือแจ้งเตือนแก่ผู้เสียภาษี กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สินภายในกำหนด 

- งานจัดทำหนังสือแจ้งเตือนแก่ผู้เสียภาษี กรณีไม่มาชำระภาษี ค่าธรรมเนียม และรายได้อื่นภายในกำหนด 

- งานประสานงานกับฝ่ายนิติกร เพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภาษีท้องถิ่น (ไม่ยื่นแบบฯ และไม่ชำระภาษี) โดยเสนอให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการ 

- งานเกี่ยวกับการดำเนินการยึดอายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน 

- งานประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการเร่งรัดรายได้ 

- งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

2.2 งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

- จัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน 

- ปรับข้อมูลเกี่ยวกับที่ดิน โรงเรือน ป้ายและการประกอบการค้า 

- สำรวจข้อมูลภาคสนามให้ถูกต้องเป็นปัจจุบัน 

- อำนวยความสะดวกการนำข้อมูลไปใช้พัฒนาท้องถิ่นด้านอื่น

การจัดเก็บและการจัดหารายได้

1. ภาษีท้องถิ่นจัดเก็บเอง ได้แก่

  • ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
  • ภาษีบำรุงท้องที่
  • ภาษีป้าย
  • อากรฆ่าสัตว์

2. ภาษีท้องถิ่นมอบให้รัฐจัดเก็บแทน ได้แก่

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ
  • ภาษีสุรา
  • ภาษีสรรพสามิต
  • ภาษีการพนัน

3. ภาษีที่รัฐจัดเก็บแล้วมอบให้ท้องถิ่นทั้งจำนวน ได้แก่

  • ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน
  • ค่าธรรมเนียมค่าใบอนุญาตและค่าปรับ
  • รายได้ค่าทรัพย์สิน
  • รายได้จากการสาธารณูปโภคและการพาณิชย์
  • รายได้เบ็ดเตล็ด เช่น เงินอุดหนุน เป็นต้น
  • เงินกู้

คำแนะนำการชำระภาษี
      - ภาษีโรงเรือน 

      - ภาษีบำรุงท้องที่ 
      - ภาษีป้าย

1. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น

ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ได้แก่     โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างและที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างนั้น และปีที่ผ่านมาได้มีการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้น เช่น บ้านเช่า อาคาร ร้านค้า ตึกแถว บริษัท ธนาคาร โรงแรม โรงภาพยนต์ แฟลต อพาร์ตเมนท์ หอพัก ท่าเรือ คอนโดมิเนียม โรงเรียนสอนวิชาชีพ ฟาร์มสัตว์ สนามกอล์ฟ โรงงานอุตสสาหกรรมสนามม้า สนามมวย บ่อนไก่ บ่อนปลา คลังสินค้า ให้ญาติ บิดา มารดา บุตร หรือผู้อื่นอยู่อาศัย หรือใช้ประกอบกิจการอื่น ๆ เพื่อหารายได้

อัตราภาษี

**ร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี

การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี

1. เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้รับมอบอำนาจยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินทรัพย์สิน (ภ.ร.ด.2) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี 

2. พนักงานเจ้าหน้าที่จะแจ้งการประเมินให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีทราบว่าจะต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเท่าใด (ภ.ร.ด.8) 

3. ผู้รับการประเมินต้องชำระเงินค่าภาษีภายใน 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแบบแจ้ง การประเมิน (ภ.ร.ด.8)

การอุทรณ์

หากผู้รับการประเมินไม่พอใจในการประเมินให้ยื่นคำร้องขออุทรณ์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแบบแจ้ง การประเมิน (ภ.ร.ด.8)

อัตราโทษและค่าปรับ

1. ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการมีความผิดโทษปรับไม่เกิน 200 บาท และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี 

2 ผู้ใดยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี 

3. ถ้าชำระค่าภาษีเกินกำหนด 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ให้เสียเงินเพิ่มดังนี้ 

- ไม่เกิน 1 เดือน เสียเพิ่ม 2.5 % 

- เกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน เพิ่ม 5% 

- เกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน เพิ่ม 7.5% 

- เกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน เพิ่ม 10% 

- เกิน 4 เดือน ขึ้นไป ให้ยึด อายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยมิต้องขอให้ศาลสั่งหรือหมายยึด

2. ภาษีบำรุงท้องที่

เป็นภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดินผู้ครอบครองที่ดินหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามเอกสารสิทธิ์ต่าง ๆ

อัตราภาษี
**จะเสียตามราคาปานกลางของที่ดิน มีหลายอัตรา ขอทราบรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่โดยตรง **ที่ดินว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์จะต้องเสียภาษีเป็น 2 เท่าของอัตราปกติ

การยื่นแบบแสดงรายการที่ดินและชำระภาษี

1. ให้เจ้าของที่ดิน ผู้ครองครองที่ดิน ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) และชำระภาษีปีละครั้ง ตั้งวันที่ 1 มกราคม ถึง 30 เมษายน ของทุกปี 

2. ผู้ที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ใหม่หรือเนื้อที่ดินเปลี่ยนแปลง ให้ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่โอนกรรมสิทธิ์

อัตราโทษและค่าปรับ

1. ไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเสียเงินเพิ่ม 10 % ของค่าภาษี 

2. ยื่นรายการไม่ถูกต้อง ค่าภาษีน้อยลงเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีประเมินเพิ่มเติม 

3. ชี้เขตแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินไม่ถูกต้อง ค่าภาษีน้อยลง ต้องเสียเงินเพิ่มอีก 1 เท่า ของค่าภาษีประเมินเพิ่มขึ้น 

4. ชำระภาษีเกินกำหนดวันที่ 30 เมษายน ต้องเสียเงินเพิ่ม 24 % ต่อปีของค่าภาษี เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน

3. ภาษีป้าย

เป็นภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้า หรืโฆษณา หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษรภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฎด้วยวิธีอื่น

อัตราภาษี

1. ป้ายที่มีอัตราไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร 

2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนอักษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพและหรือเครื่องหมายอื่น คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร 

3. ป้ายดังต่อไปนี้ คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร 

- ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่ 

- ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ 

4. ป้ายที่คำนวณพื้นที่และประเภทของป้ายแล้วเสียภาษีต่ำกว่า 200 บาท ให้เสียในอัตรา 200 บาท

การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี

เจ้าของป้ายซึ่งจะต้องเสียภาษีป้าย ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม ของทุกปี โดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรกให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน 15 วัน ชำระภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่

การอุทรณ์
   ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายได้รับแจ้งการประเมินแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้อง ให้ยื่นคำร้องอุธรณ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามแบบ ภ.ป.4 ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน

อัตราโทษและค่าปรับ

1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเดือนมีนาคม หรือหลังติดตั้งป้าย 15 วัน เสียเงินเพิ่ม 10 % ของค่าภาษี 

2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้อง ทำให้ค่าภาษีน้อยลงต้องเสียเงินพิ่ม 10 % ของค่าภาษีประเมินเพิ่มเติม 

3. ไม่ชำระเงินภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน เสียเงินเพิ่ม 2 % ต่อเดือน ของค่าภาษี เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน 

4. ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท 

5. ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้าย ภายใน 30 วัน ตั้งแต่วันรับโอนต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 - 10,000 บาท 

6. ผู้ใดไม่แสดงชื่อ–ที่อยู่ เจ้าของป้ายเป็นอักษรไทยให้ชัดเจนที่มุมขวาด้านล่างของป้าย ซึ่งติดตั้งบนอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น และมีพื้นที่เกิน 2 ตารางเมตร ต้องระวางโทษปรับวันละ 100 บาท เรียงรายวันตลอดระยะเวลาที่กระทำความผิด 

7. ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จให้ถ้อยคำเท็จ ตอบคำถามด้วยถ้วยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ