ตัวอย่าง การเขียน Proposal ภาษาอังกฤษ

นนร. หลายนายคงรู้จัก proposal กันบ้างแล้ว โดยเฉพาะ นนร. ที่เริ่มทำโครงงาน เพราะหลังจากที่ความคิดตกผลึก ได้ข้อตกลงใจกันในกลุ่มแล้วว่าจะทำอะไร ก็ต้องหาข้อมูล ศึกษาค้นคว้าเรื่องที่ตนสนใจ นำมาเขียน proposal เพื่อขออนุมัติการทำโครงงานนั้น มาถึงตรงนี้ นนร. ที่ยังไม่รู้จัก proposal ก็พอจะเห็นภาพลาง ๆ แล้วนะครับว่าคืออะไร

การเขียน proposal ก็คือการเขียนโครงการวิจัยนั่นเองครับ การที่โครงงานของ นนร. จะได้รับการอนุมัติได้นั้น นนร. จะต้องสื่อสารกับคณะกรรมการผ่าน proposal ให้ชัดเจน กระชับ

ขั้นตอนต่อไปนี้เป็นหลักการเขียน proposal อย่างง่าย

ส่วนที่ 1 วางแผนการเขียน proposal

1. ระบุตัวผู้อ่าน: จะต้องรู้ว่าผู้ที่อ่าน proposal นั้นมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เราจะนำเสนอมากน้อยเพียงไร

2. ระบุหัวข้อ: หัวข้อต้องชัดเจน ไม่เฉพาะผู้เขียนเท่านั้นที่อ่านหัวข้อแล้วเข้าใจ ต้องให้ผู้อ่านอ่านเข้าใจด้วย

3. ระบุวิธีแก้ปัญหา: วิธีแก้ปัญหา ต้องตรงจุด และเข้าใจง่าย

4. ระบุรูปแบบ: ต้องตรวจสอบว่า proposal ที่จะต้องเขียนส่ง มีรูปแบบ หรือแบบฟอร์มหรือไม่

5. เขียน outline: เพื่อช่วยให้เราสามารถเรียนเรียงความคิดของเราได้

ส่วนที่ 2 เริ่มเขียน proposal

1. เริ่มต้นด้วยบทนำที่หนักแน่น: เพื่อให้ผู้อ่านสนใจ มั่นใจว่าโครงงานของเรามีประโยชน์และสามารถทำได้สำเร็จ

2. ความสำคัญและที่มาของปัญหา (Rationale): เป็นการบรรยายถึงปัญหาของเรื่องที่ทำวิจัย มีความเป็นมาและมีความสำคัญอย่างไร มักเริ่มเขียนจากสภาพปัญหาอย่างกว้างๆ เข้าสู่ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา

3. ทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Review Literature): เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ได้จากการค้นคว้าเอกสาร ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของเราทั้งด้านปัญหาการวิจัยหรือวิธีการวิจัย

4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives): ระบุประเด็นหรือจุดมุ่งหมายที่ต้องการศึกษา ซึ่งต้องสอดคล้องกับคำถามการวิจัย และสมมติฐาน

ตัวอย่างที่ 1 วัตถุประสงค์ (หลัก) เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงการเกิดภาวะพิษต่อตับในผู้ป่วยโรคตับแข็งที่ได้รับยาต้านวัณโรค

วัตถุประสงค์ (รอง) เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการฟื้นตัวรวมทั้งผลลัพธ์ในผู้ป่วยที่เกิดภาวะพิษต่อตับจากยาต้านวัณโรคในผู้ป่วยตับแข็ง

ตัวอย่างที่ 2 วัตถุประสงค์ (หลัก) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของแพทย์ผู้รักษาในการส่งตรวจคัดกรองมะเร็งตับ ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในประเทศไทย

วัตถุประสงค์ (รอง) เพื่อศึกษาวิธีการที่จะช่วยเพิ่มอัตราการส่งตรวจคัดกรองกรองมะเร็งตับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในประเทศไทยอย่างถูกต้องตาม Guidelines

5. คำถามของการวิจัย: ควรเป็นคำถามที่ผู้วิจัยต้องการคำตอบมากที่สุดจากการวิจัยนี้ และสอดคล้องกับชื่อเรื่องที่จะวิจัยและวัตถุประสงค์ของการ

ตัวอย่างที่ 1 คำถาม (หลัก) ปัจจัยเสี่ยงการเกิดภาวะพิษต่อตับในผู้ป่วยโรคตับแข็งที่ได้รับยาต้านวัณโรคเป็นอย่างไร

คำถาม (รอง) ปัจจัยทำนายการฟื้นตัวรวมทั้งผลลัพธ์ในผู้ป่วยที่เกิดภาวะพิษต่อตับจากยาต้านวัณโรคในผู้ป่วยตับแข็งเป็นอย่างไร

ตัวอย่างที่ 2 คำถาม (หลัก) ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการตัดสินใจของแพทย์ผู้รักษาในการส่งตรวจคัดกรองมะเร็งตับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในประเทศไทย

คำถาม (รอง) วิธีการใดบ้างที่จะช่วยเพิ่มอัตราการการส่งตรวจคัดกรองมะเร็งตับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในประเทศไทยอย่างถูกต้องตาม Guidelines

6. สมมติฐาน (Hypothesis): เป็นกำหนดทิศทางหรือแนวทางความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามในการวิจัย เพื่อคาดคะเนผลที่จะได้จากการวิจัย

ตัวอย่างที่ 1 โรคประจำตัว ความรุนแรงของภาวะตับแข็ง สูตรยาต้านวัณโรคเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพิษต่อตับและผลลัพธ์การฟื้นตัวในผู้ป่วยโรคตับแข็งที่ได้รับยาต้านวัณโรค

ตัวอย่างที่ 2 ความรู้ ทัศนคติของแพทย์เกี่ยวกับการส่งตรวจคัดกรองมะเร็งตับ (HCC) ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงส่งผลต่ออัตราการส่งตรวจอย่างเหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญ

7. ระเบียบวิธีการวิจัย (Research Methodology): ระบุถึงประชากร/ประชากรตัวอย่าง และจำนวนประชากรที่จะใช้ในการวิจัย รวมถึงกำหนดลักษณะ Inclusion criteria และ Exclusion criteria ของประชากรที่ต้องการจะศึกษาให้ชัดเจน และกำหนดสูตรในการคำนวณ จำนวนขนาดตัวอย่างที่ต้องศึกษา

8. การรวบรวมข้อมูล (Data Collection): ระบุถึงข้อมูลที่ต้องการ และขั้นตอนหรือวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง เช่น จะใช้วิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ หรือจะใช้ข้อมูลจากเวชระเบียน เป็นต้น

9. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้วิเคราะห์ (Data Analysis and Statistics) : ระบุถึงวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล และจะใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติอะไร เพื่อที่จะสามารถตอบคำถามการวิจัยทั้งหมดที่ต้องการได้

มาเริ่มกันเลย
Part นี้ขอพูดถึงเรื่องของการเขียนบทนำ หรือที่มาความสำคัญ, การคิดหัวข้อเรื่อง
และการวางแผนในการเริ่มต้นทำงานเราให้เสร็จตามเวลาและถูกใจกรรมการ

1 ไอเดีย
หลายคนคง งง ว่าอ้าว ทำไมถึงไม่พูดเรื่องของชื่อเรื่องก่อน เหตุผลก็คือ บางคนอยากเรียนต่อด้าน abcdอะไรก็ว่าไป แต่พอบอกให้ทำวิจัยกับBlank ไม่รู้ว่าตัวเองจะทำอะไรดี เราเคยทำ ทั้งป ตรี และโท ไม่รวมอย่างอื่นอีกร้อยแปดพันเก้านะ มันมีอยู่2ประเด็นหลักๆเลย

1.1 ทำเรื่องที่ชอบ ถนัด อยากรู้
1.2 ทำเรื่องที่ทำแล้วจบง่าย

เพราะบางครั้งบางเหตุการณ์ เราไม่สามารถ เอา1.1 มารวมกับ1.2 ได้เว้ยหากต้องเลือก สำหรับเราๆเลือก1.2 555555 แต่อย่าลืมว่า การทำงานวิจัย ตลอดจนตีพิมพ์ในวารสาร ชื่อของเราก็จะติดอยู่ในนั้นอีกนานแสนนานเลยนะฮาฟฟฟฟ

แต่จริงๆแล้วเราควรทำเรื่องที่เราอยากรู้หรือสนใจ แต่อย่างที่บอก ถ้ามันทำให้เราจบยากก็ควรเลี่ยง เปลี่ยนเรื่องดีกว่า อ่ะมาต่อกัน