ห้าม มีบัตรเครดิตเกิน 3 ใบ

​นอกจากสิทธิขั้นพื้นฐานทั้ง 4 ประการนี้แล้ว ยังมีสิทธิอื่น ๆ ที่ควรทราบ เช่น

Show

สิทธิของผู้มีประวัติในเครดิตบูโร

เมื่อเราได้รับสินเชื่อหรือบัตรเครดิตจากธนาคาร บริษัทบัตรเครดิต บริษัทเช่าซื้อ-ลีสซิ่ง หรือสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของเครดิตบูโร ข้อมูลของเรา เช่น ชื่อ ที่อยู่ (ยกเว้นหมายเลขโทรศัพท์) เลขบัตรประจำตัวประชาชน ประวัติการชำระหนี้ สินเชื่อหรือบัตรเครดิต ฯลฯ จะถูกส่งมาจัดเก็บ รวบรวมไว้ที่เครดิตบูโรตามที่กฎหมายกำหนด ประวัติที่เก็บนั้นะมีทั้งประวัติการชำระหนี้ที่ตรงตามกำหนดและประวัติการค้างชำระหนี้ ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งเราในฐานะที่เป็นผู้ถูกเก็บข้อมูล (เรียกในทางกฎหมายว่าเจ้าของข้อมูล) มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ดังนี้

1. สิทธิเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล

เครดิตบูโรจะเปิดเผยข้อมูลของเราได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ ​​​

เมื่อเราอนุญาตให้เครดิตบูโรเปิดเผยแก่ธนาคาร บริษัทบัตรเครดิต บริษัทเช่าซื้อ-ลีสซิ่ง หรือสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของเครดิตบูโรที่เราไปขอสินเชื่อหรือบัตรเครดิตกับสถาบันการเงินนั้น ในทางปฏิบัติเราจะเซ็นชื่อในหนังสือให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูลพร้อมกับใบสมัครสินเชื่อ​

เมื่อกฎหมายอนุญาตหรือกำหนดไว้ เช่น การเปิดเผยข้อมูลตามคำสั่งศาล พนักงานสอบสวน กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และในบางกรณี เมื่อเปิดเผยข้อมูลของเราแล้ว เครดิตบูโรจะต้​องมีหนังสือแจ้งให้เราทราบภายในสามสิบวันว่ามีการเปิดเผยข้อมูลของเรา

​​

2. สิทธิที่จะรู้ว่าเครดิตบูโรเก็บรักษาข้อมูลอะไรของเราบ้า​ง

ซึ่งเราในฐานะเจ้าของข้อมูลตามกฎหมายสามารถขอดูและตรวจสอบความถูกต้องได้ และหากพบว่าข้อมูลที่จัดเก็บนั้นไม่ถูกต้อง เราก็มีสิทธิ์ที่จะโต้แย้งและขอแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ เช่น ชื่อ-นามสกุลไม่ถูกต้อง วัน เดือน ปีเกิด ไม่ถูกต้อง ประวัติการชำระหนี้หากมีหลักฐานแล้วว่ามีการชำระหนี้จริงแต่ประวัติที่ตรวจสอบไม่ตรงกับข้อเท็จจริงเราสามารถแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้ทั้งที่เครดิตบูโร หรือแจ้งแก้ไขที่สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโร (ซึ่งเรามีสินเชื่อหรือบัตรเครดิต กับสถาบันการเงินนั้น)

3. สิทธิในการขอให้เครดิตบูโรบันทึกข้อโต้แย้งถึงความไม่ถูกต้องของข้อมูลไว้ในบัญชีสินเชื่อหรือบัตรเครดิตที่มีปัญหากับสถาบันการเงินและหาข้อยุติกันไม่ได้

4. เมื่อเราขอบันทึกข้อโต้แย้งไว้แล้วเรามีสิทธิอุท​ธรณ์ข้อโต้แย้งนั้นต่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต

ซึ่งอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องความถูกต้องของข้อมูลได้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บันทึกข้อโต้แย้ง

5. ถ้าสถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อ/บัตรเครดิตให้เราเพราะข้อมูลเครดิตของเรา เขาต้องออกเป็นเอกสารหนังสือปฏิเสธสินเชื่อให้เราเท่านั้น

จะอ้างเป็นคำพูดลอย ๆ ว่าติดเครดิตบูโร หรือบอกว่าติดแบล็คลิสต์ หรือใช้ SMS แจ้งไม่ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้เราถือเอกสารหนังสือนั้นมาตรวจสอบข้อมูลของเราที่เครดิตบูโรได้ฟรี ตัวเราจะได้ทราบว่าเพราะอะไรหรือมีอะไรในประวัติของเรา ที่สถาบันการเงินระบุว่าเป็นสาเหตุที่ไม่อนุมัติสินเชื่อ/บัตรเครดิตให้เรา ในทางปฏิบัติเครดิตบูโร จะดำเนินการสอบถามความถูกต้องของข้อมูลไปยังสถาบันการเงินที่เราเป็นลูกค้าว่า ข้อมูลที่ส่งมานั้นตรงกับข้อเท็จจริงกับที่ลูกค้ามีหรือไม่ เช่น ในหนังสือปฏิเสธสินเชื่อบอกว่า ในเดือนปัจจุบันเรายังค้างชำระอยู่ แต่ในข้อเท็จจริงในเดือนเดียวกันนั้นเราได้มีการชำระหนี้ปิดบัญชีไปแล้วอย่างนี้เป็นต้น หากข้อมูลไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง เครดิตบูโรยืนยันว่าข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนั้นจะได้รับการแก้ไข ซึ่งเราสามารถนำข้อมูลที่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องนั้นไปขอสินเชื่อใหม่อีกครั้งได้

สิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการติดตามทวงถามหนี้​

เชื่อได้แน่ว่าไม่มีลูกหนี้คนไหนอยากตกอยู่ในสถานการณ์มีเงินไม่พอใช้หนี้ เพราะนอกจากทำให้ประวัติเครดิตไม่ดีแล้ว ยังมีโอกาส (ไม่ดี) ที่จะถูกทวงหนี้จากเจ้าหนี้ด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา และทำให้เกิดความเครียดและความทุกข์ในชีวิตอีกด้วย

ในกรณีที่เป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแลของแบงก์ชาติ แม้ว่าเราจะเป็นลูกหนี้ที่ค้างชำระ แต่เราก็ยังมีสิทธิ์ที่จะได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสม  เช่น สถาบันการเงินจะติดตามทวงถามหนี้ได้เฉพาะเวลาที่กำหนด คือ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 20.00 น. และวันหยุดราชการ ​ เวลา 08.00 – 18.00 น. การทวงถามหนี้ต้องใช้วิธีการและภาษาที่สุภาพ มีการแสดงตนเมื่อติดตามทวงถามหนี้ ไม่ทวงหรือฝากทวงหนี้กับคนอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้ (เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกหนี้หรือสามารถทำได้ตามกฎหมาย) ซึ่งเราสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากหัวข้อ การติดตามทวงถามหนี้  


​คำถามถามบ่อย​​

​​​​
ห้าม มีบัตรเครดิตเกิน 3 ใบ
​​​ถ้าต้องการซื้อปร​​ะกันและหน่วยลงทุนผ่านธนาคารต้องทราบข้อมูลอะไรจึงจะเพียงพอต่อการตัดสินใจ
​​
ห้าม มีบัตรเครดิตเกิน 3 ใบ
​​ ในการซื้อผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และประกัน ลูกค้าต้องได้รับเอกสารชี้ชวน (fact sheet) จากธนาคารที่เป็นนายหน้า ซึ่งเป็นเอกสารที่สรุปข้อมูลสำคัญของผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้สำหรับประกอบการตัดสินใจและเปรียบเทียบก่อนการตัดสินใจซื้อ เช่น ผลตอบแทนและข้อสมมติฐานในการคำนวณ รวมทั้งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วผลิตภัณฑ์ด้านประกันและหลักทรัพย์เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถคำนวณผลตอบแทนได้ สถาบันการเงินก็ต้องเปิดเผยประมาณการผลตอบแทนและความเสี่ยงให้ลูกค้าทราบด้วย เช่น อัตราผลตอบแทนรายปี (APR: annual percentage rate) อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของทั้งโครงการ หรืออัตราผลตอบแทนเฉลี่ยจากการลงทุน (IRR: internal rate of return)​​​​
ห้าม มีบัตรเครดิตเกิน 3 ใบ
ขอกู้เงินซื้อบ้านจากธนาคารแห่งหนึ่ง เจ้าหน้าที่สินเชื่อแจ้งว่าต้องมีการทำประกันภัยบ้านกับบริษัทที่ธ​​นาคารเลือกให้ก่อนจึงจะอนุมัติเงินกู้ให้ จริง ๆ แล้วเราจำเป็นต้องทำประกันกับบริษัทที่​ธนาคารเลือกให้หรือไม่​​
ห้าม มีบัตรเครดิตเกิน 3 ใบ
ในกรณีของการขอสินเชื่อบางประเภท เช่น สินเชื่อบ้าน การเช่าซื้อรถ สถาบันการเงินอาจกำหนดให้ลูกค้าต้องทำประกันภัย เช่น ประกันอัคคีภัย อุทกภัย ประกันภัยรถยนต์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับชำระหนี้และลดภาระทางการเงินของลูกค้าหากทรัพย์สินนั้นเกิดความเสียหายขึ้น สถาบันการเงินอาจเสนอรายชื่อบริษัทประกันเพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้าพิจารณาได้ แต่จะบังคับให้ลูกค้าทำประกันผ่านสถาบันการเงินหรือบริษัทที่สถาบันการเงินนำเสนอเป็นการเฉพาะเจาะจง หรือกำหนดให้การทำประกันกับบริษัทประกันรายใดรายหนึ่งเป็นเงื่อนไขในการอนุมัติสินเชื่อไม่ได้​
ห้าม มีบัตรเครดิตเกิน 3 ใบ
ถูกบังคับให้ทำบัตรเอทีเอ็มพ่วงประกันต้องทำอย่างไร
ห้าม มีบัตรเครดิตเกิน 3 ใบ
​​ ​​ากถูกบังคับให้ทำบัตรเอทีเอ็มเมื่อคุณเปิดบัญชี หรือเป็นบัตรเอทีเอ็มที่พ่วงมากับประกันซึ่งมีค่าธรรมเนียมที่แพง สามารถติดต่อร้องเรียนได้ที่หน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนของสถาบันการเงินแห่งนั้นได้เลย หากยังไม่ได้รับการติดตามแก้ไขปัญหาให้เท่าที่ควรให้ติดต่อร้องเรียนที่ได้ที่ ศคง. โทร. 1213 หรือ ช่องทางการร้องเรียนอื่น ๆ
ห้าม มีบัตรเครดิตเกิน 3 ใบ
​โอนเงินจากตู้เอทีเอ็มไปผิดบัญชีจะได้รับค่าชดเชยความเสียหายจากสถาบันการเงินหรือไม่ ทำอย่างไรจึงจะได้รับเงินคืน
ห้าม มีบัตรเครดิตเกิน 3 ใบ
​​
​​ ​​ารโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็มไปผิดบัญชี ซึ่งผู้ใช้บริการทางการเงินเป็นผู้ทำรายการเอง ไม่ถือว่าเป็นความบกพร่องของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินจึงไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามวิธีที่อาจช่วยแก้ปัญหาคือ เราต้องเก็บหลักฐานการโอนเงินไว้ แล้วโทรสอบถามวิธีปฏิบัติในการขอเงินคืนไปยัง call center ของธนาคารเจ้าของบัญชี ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ลูกค้าไปแจ้งความ และนำเอกสารการโอนเงิน หรือสมุดบัญชีคู่ฝากเข้าไปติดต่อกับธนาคารเจ้าของบัญชี ซึ่งธนาคารจะประสานงานไปยังธนา​คารผู้รับเงิน หรือติดต่อไปยังผู้รับเงินถ้าเป็นภายในธนาคารเดียวกัน เพื่อให้ผู้รับเงินยินยอมให้โอนเงินออกจากบัญชี ซึ่งหากผู้รับโอนไม่ยินยอมลูกค้าอาจต้องฟ้องร้องเพื่อให้ผู้รับโอนเงินคืนเงินให้

​​ ​​​​ ​

เรื่องที่น่าสนใจ​​

ห้าม มีบัตรเครดิตเกิน 3 ใบ
 
ห้าม มีบัตรเครดิตเกิน 3 ใบ
 
ห้าม มีบัตรเครดิตเกิน 3 ใบ