การดำเนินงานศูนย์กระจายสินค้า

เทคนิคการวางแผนความต้องการในการกระจายสินค้า (Distribution Requirement Planning) มีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร การวางแผนกระจายสินค้าและวัตถุดิบ ข้อมูลความต้องการสินค้าแต่ละรายการ ซึ่งผู้จำหน่ายสามารถจัดเก็บวัตถุดิบในระดับต้นทุนที่ยอมรับได้พร้อมๆ กับการตอบสนองอุปสงค์ทั้งในส่วนรูปแบบและคุณภาพผลิตภัณฑ์

Show

การวางแผนความต้องการในการกระจายสินค้า (Distribution Requirement Planning) คืออะไร

การกระจายสินค้าและการบริหารจัดการกระจายสินค้าเป็นการเรื่องของกิจกรรมการเคลื่อนย้ายสินค้าจากแหล่งผลิตไปสู่แหล่งของผู้บริโภค อุปโภค หรือที่เราเรียกว่า “ลูกค้าคนสุดท้าย” ในประมาณที่ต้องการ ในจำนวนที่ถูกต้อง และในความเร็วที่ต้องการของลูกค้าโดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ ของการกระจายสินค้า ไม่ว่าจะเป็น ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าและการคลังสินค้า (Inventory Location and Warehousing) การจัดการวัสดุ (Material Handing) การควบคุมสินค้าคงเหลือ (Inventory Control) และกิจกรรมหรือกระบวนการอื่นๆ ฯลฯ โดยนำหลักในการบริหารจัดการมาใช้ในกระบวนการกระจายสินค้าเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในกิจกรรมการเคลื่อนย้ายต่อครั้งซึ่งในการจัดทำหนังสือเล่มนี้เป็นการเรียบเรียงองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลระบบสารสนเทศ และหนังสือที่มีความน่าสนใจหลาย ๆ แหล่งข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความรู้ในการกระจายสินค้า และการบริหารจัดการกระจายสินค้าซึ่งกำหนดขอบเขตในการรวบรวมองค์ความรู้ดังต่อไปนี้

1.ความหมายของการวางแผนความต้องการในการกระจายสินค้า (Distribution Requirement Planning)

การกระจายสินค้า (Physical Distribution) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายตัวสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคหรือผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม หรืออาจหมายถึง การขนส่งและการเก็บรักษาตัวสินค้าภายในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งและระบบช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจนั้น จากความหมายนี้จะเห็นว่างานที่เกี่ยวข้องกับการกระจายตัวสินค้า
การบริหารการกระจายตัวสินค้า (Physical Distribution Management) เป็นการพัฒนาและดำเนินงานระบบการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพดังนั้นการเคลื่อนย้ายสินค้าจึงประกอบด้วย

1) การเคลื่อนย้ายสินค้าสำเร็จรูปจากแหล่งผลิตไปยังลูกค้าขั้นสุดท้าย
2) การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตจากแหล่งเสนอขายมายังแหล่งการผลิต

2.องค์ประกอบของการวางแผนความต้องการในการกระจายสินค้า (Distribution Requirement Planning)

1.ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าและการคลังสินค้า (Inventory Location and Warehousing)

ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าเป็นงานที่เกี่ยวข้องการเลือกสถานที่ตั้งของคลังสินค้าว่าควรจะเก็บสินค้าไว้ที่ไหน ส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการคลังสินค้า (Warehousing) เป็นกิจกรรมของการกระจายตัวสินค้าที่ประกอบด้วยการเก็บรักษา การจัดหมวดหมู่ การแบ่งแยกและการเตรียมผลิตภัณฑ์เพื่อการขนส่ง ธุรกิจมีทางเลือกที่จะดำเนินงานโดยมีคลังสินค้าของตนเอง (Private Warehouse) หรือไปใช้บริการของคลังสินค้าสาธารณะ (Public Warehouse)

2) การจัดการวัสดุ (Material Handing)

เป็นการเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสมในการจัดการวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตเครื่องมือ อุปกรณ์ที่เหมาะสมสามารถทำให้เกิดการสูญเสียที่เกิดจากการแตกหัก เน่าเสียและขโมยน้อยที่สุด อุปกรณ์เครื่องมือมีประสิทธิภาพสามารถทำให้ลดต้นทุนและเวลาที่ต้องใช้ในการจัดการดังกล่าว อุปกรณ์เครื่องมือในการจัดการวัสดุได้แก่ สายพาน รถยก ล้อเลื่อน ลิฟท์ ตู้เก็บสินค้า (Container) เป็นต้น

3) การควบคุมสินค้าคงเหลือ (Inventory Control)

กิจกรรมในการเก็บรักษาสินค้าคงเหลือให้มีขนาดและประเภทของสินค้าในปริมาณที่เหมาะสม สินค้าคงเหลือสำหรับหลายบริษัทจะแสดงถึงขนาดของการลงทุน เป้าหมายของการควบคุมสิ้นค้าคงเหลือคือ การควบคุมการลงทุนและการขึ้นลงของสิ้นค้าให้เกิดน้อยที่สุดโดยสามารถรับคำสั่งซื้อของลูกค้าได้ทันทีและถูกต้อง

4) การดำเนินงานเกี่ยวกับคำสั่งซื้อ (Order Processing) 

เป็นขั้นตอนในการจัดการตามใบสั่งซื้อของลูกค้า ประกอบด้วยการจัดทำเอกสารการขาย การให้สินเชื่อ การจัดเตรียมในการเก็บสินค้า การเก็บหนี้ที่ต้องชำระ

5) หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการขนย้ายสินค้าไปยังลูกค้า

ฝ่ายบริหารต้องตัดสินใจถึงประเภทของการขนส่งและพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง วิธีการขนส่งหลักที่นิยมในปัจจุบันมี 5 ประเภท ดังนี้

1. การขนส่งโดยรถบรรทุก (Truck) เป็นการขนส่งทางบกที่นิยมใช้มาก โดยเฉพาะการขนส่งภายในประเทศเพราะสะดวก รวดเร็ว มีเวลาให้เลือกมาก
2. การขนส่งโดยรถไฟ (Railroads) เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมาก ขนาดใหญ่มีปริมาณมาก และต้องมีการขนส่งระยะทางไกล เพราะค่าใช้จ่ายถูก ความปลอดภัยสูง สินค้าที่นิยมใช้บริการรถไฟได้แก่ ปูนซีเมนต์ หินทราย น้ำมัน เป็นต้น
3. การขนส่งทางเครื่องบิน (Airlines) เป็นการขนส่งทางอากาศที่ถือว่ารวดเร็วที่สุดและค่าขนส่งสูงที่สุด เหมาะสำหรับสินค้าที่เสียง่าย หรือมีราคาแพง เช่น ดอกไม้ เพชร ฯลฯ
4. การขนส่งทางเรือ (Water Way) เป็นการขนส่งทางน้ำที่ประหยัดค่าขนส่ง เหมาะสำหรับสินค้าที่คนกลางในช่องทางการจัดจำหน่ายหรือคลังสินค้าที่อยู่ใกล้ทางน้ำ เช่น ซุง ข้าวเปลือก แร่ ถ่าน ฯลฯ
5. การขนส่งทางท่อ (Pipelines) เป็นการขนส่งสินค้าที่เป็นของเหลวหรือแก๊ส เช่น น้ำมัน น้ำ แก๊ส

3.ความซับซ้อนของการกระจายสินค้า

แนวคิดในการเชื่อมโยงระหว่างการกระจายสินค้าและห่วงโซ่อุปทานไม่ได้เป็นที่ยอมรับจากนักวิชาการหลายๆท่าน การกระจายสินค้ามักถูกพิจารณาแยกออกมาต่างหาก อย่างไรก็ตามเมื่อการกระจายสินค้าเชื่อมโยงระหว่างการผลิตกับลูกค้าความสัมพันธ์เช่นนี้ไม่สามารถถูกมองข้ามได้สถานการณ์บางสถานการณ์ และองค์ประกอบบางประการที่อยู่ภายนอกห่วงโซ่อุปทานจะมีอิทธิพลต่อความต้องการของลูกค้าเช่นฤดูกาล และประเภทแนวโน้มการขายเป็นต้น การผลิตแบบยืดหยุ่นหรือปริมาณการสั่งซื้อ และแรงกดดันเพื่อลดเวลาการประมวลผลซึ่งจะมีอิทธิพลต่อสินค้าคงคลัง และการผลิตความซับซ้อนเกิดขึ้นเป็นผลให้อำนาจการต่อรองเปลี่ยนจากผู้ผลิตไปเป็นร้านค้าปลีก การใช้การตลาดเชิงกลยุทธ์จะมีผลต่อกิจกรรมการกระจายสินค้า โดยบริษัทจะต้องทำการตัดสินใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และประเภทของลูกค้าโดยเน้นตลาดที่แตกต่างกันตามแต่ละประเภทของลูกค้า ขณะที่สินค้ามีวงเวียนชีวิตสั้น การส่งเสริมการตลาดจะยิ่งมีความจำเป็นขึ้น มีแรงกดดันเกี่ยวกับราคามากขึ้น สิ่งที่ผู้บริหารต้องทำคือการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าขั้นสุดท้าย และต้องปกป้องผลกระทบที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการมีผลิตภัณฑ์หลากหลายมากเกินไป และความผันผวนของช่องทางการกระจายสินค้าในท้องถิ่น

4.สิ่งแวดล้อมใหม่ที่เกิดขึ้นกับระบบการกระจายสินค้าระดับโลก

ช่องทางการกระจายสินค้าแบบดั้งเดิม ศูนย์กระจายสินค้าจะได้รับการจัดส่งสินค้าจากส่วนกลาง และส่งต่อไปยังผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกตามลำดับ ในการดำเนินการที่มีหลายขั้นตอนจำเป็นต้องทำให้แน่ใจว่ามีสินค้าเพียงพอสำหรับผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ผลคือระบบมีการตอบสนองที่ช้าทำให้ระดับการให้บริการต่ำ และยิ่งมีระดับความต้องการสูงจะส่งผลให้สินค้าขาดสต๊อก รวมทั้งระดับการหมุนเวียนสินค้าคงคลังต่ำก่อให้เกิดต้นทุนการจัดเก็บที่สูงมากขึ้นระบบเก่านี้กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะมีความหลากหลายมากขึ้น ทำให้เกิดการบริการที่รวดเร็วขึ้นและมีต้นทุนในเปลี่ยนแปลงที่ลดต่ำลง การเก็บสินค้าคงคลังจะถูกเก็บไว้ที่ส่วนกลางโดยมีระดับการจัดเก็บที่น้อยลง ขจัดการสร้างหรือใช้ศูนย์กระจายสินค้าโดยหันมาใช้ศูนย์กระจายสินค้าจากส่วนกลางหรือการกระจายสินค้าโดยตรงไปยังลูกค้า เราจะพิจารณาตัวอย่างจาก 3อุตสาหกรรมต่อไปนี้ คือ

1) อุตสาหกรรมร้านค้าปลีก

ในปัจจุบันอุตสาหกรรมค้าปลีกมีการพัฒนาการเติบโตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งร้านค้าปลีกเหล่านี้จำเป็นต้องมีการสั่งสินค้าเข้าร้านเพิ่มมากขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการกระจายสินค้า

2) อุตสาหกรรมสิ่งทอ
ผู้จัดส่งสิ่งทอได้ใช้เทคนิคการตอบสนองที่รวดเร็ว (Quick Response) เพื่อลดช่วงเวลาโดยใช้การสื่อสารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ความจำเป็นสำหรับคำสั่งซื้อ และการส่งมอบที่รวดเร็วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการไม่เพียงแต่ระดับค้าปลีก แต่ยังรวมไปถึงผู้ผลิต ซึ่งจะต้องมีกระบวนการผลิตที่สั้งลงเพื่อตอบสนองได้ดียิ่งขึ้น

3) อุตสาหกรรมยานยนต์
ส่วนใหญ่มักมีรูปแบบการเก็บรถยนต์ในจำนวนมาก เพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกแบบ และสีตามที่ลูกค้าต้องการ ดังนั้นเมื่อมีการผลิตรุ่นใหม่ออกมา ทำให้รถรุ่นเก่าที่ยังอยู่ในสต๊อกตกรุ่นไป ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นได้จัดการปัญหาเหล่านี้โดยจะมีการแสดงรถยนต์เพียงไม่กี่แบบ เพื่อใช้เป็นแบบตัวอย่างให้กับลูกค้า หลังจากที่ลูกค้าเลือกแบบแล้ว แบบและสีที่ลูกค้าต้องการจะถูกส่งไปบยังโรงงานเพื่อที่จะผลิตตามความต้องการของลูกค้า โดยจะใช้เวลาส่งมอบไม่เกินสองสัปดาห์ ความพยายามที่จะลดช่วงเวลาในการสั่งซื้อ และส่งมอบรถยนต์มีเป้าหมายเพื่อที่จะตัดสต๊อกส่วนเกินออกไปการนำ e-Commerce มาใช้เป็นอีกช่องทางหนึ่งซึ่งจะทำให้การสั่งซื้อรถยนต์สามารถทำได้ผ่านทาง Website โดยลูกค้าสามารถเลือกรุ่น และ Optionต่างๆที่ต้องการอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งจะเป็นปัจจัยที่กระทบต่อการจำหน่ายรถยนต์ คือการจำหน่ายรถยนต์อาจจะไม่ใช่แหล่งสร้างกำไรอีกต่อไป แต่จะเป็นการให้ลูกค้าทำการเช่าซื้อและการให้บริการหลังการขาย ซึ่งอาจจะสร้างกำไรได้มากกว่า

(1) กลุ่มผู้ค้าส่ง
บทบาทของผู้ค้าส่งกำลังจะเปลี่ยนไป ในอุตสาหกรรมอาหาร ผู้ค้าปลีกและผู้ผลิตจะเป็นผู้ดำเนินการศูนย์กระจายสินค้าในการที่จะจัดเก็บแยกประเภทสินค้า และส่งต่อไปยังลูกค้า การขนส่งโดยตรงไปยังผู้จำหน่ายอาจจะถูกเปลี่ยนโดยรวมสินค้าคงคลังไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อดำเนินกิจกรรมทางด้านโลจิสติกส์อื่น ๆ ต่อไป ในขณะที่กลุ่มสินค้าบางประเภทเช่น สินค้าประเภทเวชภัณฑ์ อุปกรณ์สำนักงานและสุขภัณฑ์ ยังจำเป็นต้องใช้ผู้กระจายสินค้าเช่นเดิม
(2) ศูนย์กระจายสินค้า
ศูนย์กระจายสินค้าในอุตสาหกรรมค้าปลีกอาจจะเลือกที่จะจัดเก็บสินค้าคงคลังเพื่อใช้ในการจัดส่งในแต่ละท้องถิ่น การนำเทคนิค Cross-Dock เข้ามาใช้หรือแม้แต่การบรรจุผลิตภัณฑ์ต่าง ๆไว้บน Pallet เพื่อทำการส่งไปยังร้านค้าปลีกต่าง ๆ หรือจะเป็นการนำระบบบริหารคลังสินค้ามาใช้ในการควบคุมสินค้าคงตลัง
(3) ระบบโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมค้าปลีก
เกี่ยวข้องกับระบบการขนส่งและข้อมูลในหลายๆ แง่มุม ระบบการขนส่งที่มีความรวดเร็ว และมีต้นทุนที่ต่ำจะช่วยให้ระบบการเติมเต็มสินค้าทำได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ระบบข้อมูลจะช่วยทำให้ธุรกิจสามารถควบคุมสินค้าคงคลัง กระบวนการสั่งซื้อ และการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(4) การบูรณาการแนวคิดการกระจายสินค้า
ความสนใจนี้จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับแต่ละอุตสาหกรรม โดยจะมี 4 ขั้นตอนของการบูรณาการดังนี้

  1. การควบคุมสโตร์แต่ละแห่ง
  2.  การควบคุมศูนย์กระจายสินค้า
  3. การควบคุมสำนักงานใหญ่
  4. ส่งมอบแบบทันเวลาพอดี

รูปแบบต่างๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงระบบการเคลื่อนย้ายจากสถานที่ต่าง ๆ มาเป็นการรวมศูนย์ที่ใดที่หนึ่ง การสร้างความสัมพันธ์กับผู้จัดส่งสินค้าและผู้ให้บริการโลจิสติกส์ เชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายของศูนย์กระจายสินค้าโดนประสานเข้ากับระบบการขนส่ง ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะถูกนำไปแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งแตกต่างจากรูปแบบเดิม ๆ ที่มักจะเผชิญหน้ากัน
(5) การเปลี่ยนแปลง และเครือข่ายการจัดส่งสินค้า
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในเรื่องเครือข่ายการกระจายสินค้า การใช้แนวคิดเกี่ยวกับต้นทุนรวมของการกระจายสินค้าควรเป็นคำตอบในการระบุ และอธิบายจำนวนของศูนย์กระจายสินค้า ซึ่งต้องพิจารณาควบคู่กับคุณภาพของการให้บริการด้วยต้นทุนต่าง ๆ ที่รวมเข้ากับต้นทุนการกระจายสินค้ามีดังนี้คือ

  1. ต้นทุนการขนส่ง
  2. ต้นทุนสินค้าคงคลัง
  3. ต้นทุนในการบริหารคลังสินค้า
  4. ต้นทุนในการให้บริการ

ต้นทุนการขนส่งแบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ ระบบขนส่งแบบปฐมภูมิซึ่งจะทำการขนส่งสินค้าจากโรงงานไปยังศูนย์กระจายสินค้า และระบบขนส่งแบบทุติยภูมิซึ่งจะทำการขนส่งสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าไปยังลูกค้า ซึ่งต้นทุนแบบปฐมภูมิจะลดน้อยลงเมื่อมีศูนย์กระจายสินค้าลดลง ในทางตรงกันข้ามต้นทุนแบบทุติยภูมิกลับมีค่าเพิ่มขึ้นเนื่องจากต้องใช้ปริมาณรถในการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น

5. 10 ขั้นตอนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรกระจายสินค้าและขนส่ง

ปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันกันอย่างสูงเพื่อให้บริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายทั้งกำไรที่เพิ่มมากขึ้น มีส่วนแบ่งการตลาดที่มากขึ้น ดังนั้น แต่ละหน่วยงานภายในองค์กรจำเป็นต้องมีการปรับตัวอย่างมาก โดยเฉพาะหน่วยงานโลจิสติกส์และซัพพลายเชนจำเป็นต้องปรับตัวเช่นกัน ด้วยเหตุดังกล่าวกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ในปัจจุบัน จึงพยายามมุ่งเน้นประเด็นหลักๆ ที่สำคัญได้แก่ การลดต้นทุน (Cost Reduction) การลดการลงทุน (Capital Reduction) และการปรับปรุงการให้บริการ (Service Improvement)
กิจกรรมด้านการกระจายสินค้าและการขนส่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับทั้งการลงทุนด้านทรัพยากร การบริหารทรัพยากร และส่งผลกระทบโดยตรงต่อความพึงพอใจของลูกค้า จากการศึกษาต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของไทยพบว่า ประเทศไทยมีต้นทุนด้านโลจิสติกส์สูงมากกว่าร้อยละ 25 และต้นทุนดังกล่าวจะสูงขึ้นหากเป็นกลุ่มเอสเอ็มอี โดยในส่วนดังกล่าวมีส่วนของสินค้าคงคลังถึงร้อยละ 47 ของต้นทุนด้านโลจิสติกส์ทั้งหมด ดังนั้น การวางแผนและการจัดการที่ดีจึงเป็นสิ่งจำเป็น ที่จะช่วยให้การจัดการสินค้าคงคลังรวมไปถึงการจัดการคลังสินค้าและขนส่งที่มีประสิทธิภาพ โดยการจัดการด้านทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1) การจัดการอาคาร ที่ดิน ขนาดของคลัง จำนวนและรูปแบบหน้าท่ารับจ่าย และ Yard
2) อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Material Handling อาทิ Dock Levelerรถยก รถตัก รถขนย้าน Pallet, Conveyor และรถขนส่งชนิดต่างๆ
3) ผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้องกับคลังและหน้าท่ารับจ่าย พนักงานขับรถ เด็กติดรถของ Outsourcing
4) ระบบงาน ระบบไอที ระบบข้อมูลและระบบเอกสารต่างๆ

แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรในการกระจายสินค้าและขนส่งมีได้หลายแนวทาง ดังนั้น ในบทความนี้จะได้นำเสนอแนวทางแบบง่ายๆ ไว้ 10 ขั้นตอน ดังนี้
1) ตั้งเป้าหมายของการพัฒนาการกำหนดตัวชี้วัด (Target Setting)
2) ลดระยะทางในการเคลื่อนย้ายสินค้า (Reduce Distance)
3) เพิ่มขนาดของหน่วยเก็บ/หยิบสินค้า (Increase the size of Unit)
4) ใช้ประโยชน์เที่ยวกลับของอุปกรณ์การขนย้าย/รถขนส่ง (Seek round trips opportunities)
5) สนับสนุนให้ปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Encourage the Process of Change)
6) เปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ดีกว่า (Embrace Technology)
7) พัฒนาคุณภาพมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ (Improve Packaging)
8) ลดจำนวนการหยิบ ยก ตักเคลื่อนย้าย (Reduce Number of handling)
9) ปรับจำนวนความแตกต่าง ผันแปรของปริมาณให้ใกล้เคียงกัน (Smooth the variation in flow)
10) ใช้บริการด้านโลจิสติกส์จากผู้เชี่ยวชาญภายนอก (Logistics Outsource)

ieProsoft โซลูชั่นครบวงจรด้านการบริหารการผลิตในอุตสาหกรรม

บริษัท ไออี บิสซิเนส โซลูชั่น จำกัด (IEBS) เป็นผู้ให้บริการระบบซอฟแวร์ทางด้านการจัดการอุตสาหกรรม การวางแผนการผลิตโดยลงลึกไปจนถึงการจัดตารางการผลิต มาตรฐานการการทำงาน การจัดสมดุลการผลิต รวมไปถึงการบริหารจัดการคลังสินค้า ครอบคุลมการบริการในด้านต่างๆที่สำคัญต่อการนำระบบไปใช้ในภาคธุรกิจ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ดูแลตั้งแต่การติดตั้ง การให้ปรึกษา การนำไปใช้งานจริง (Implementation) รวมถึงการวิเคราะห์ผลลัพธ์ต่างๆ เราสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ยุค ดิจิทัล ด้วยเครื่องมือในกลุ่ม ieProsoft อาทิเช่น ieSmart WI, ieLineBalancing, ieInventoryซึ่งซอฟแวร์ทั้งหมดนี้ เป็นตัวช่วยให้สามารถบริหารการจัดการผลิตได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มกำไรให้บริษัทได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบัน IEBS มีการให้บริการซอฟแวร์ทั้งแบบบริการผ่านซอฟต์แวร์แบบ สแตนด์อโลน (Stand-alone Software) ไปจนถึงชุดซอฟต์แวร์เต็มรูปแบบ (Full-Blown) แบบคลาวด์โซลูชั่น (Cloud Solution) ได้แก่

  • ieSmart WI

    โปรแกรมสร้างมาตรฐานการทำงาน ที่ช่วยให้การสร้างงานฐานในโรงงานง่ายขึ้น เวลาได้มาตรฐานที่ชัดเจน สะดวก และเป็นองค์ความรู้สำหรับองค์กรได้เป็นอย่างดี

การดำเนินงานศูนย์กระจายสินค้า

  • ieLineBalancing

    โปรแกรมจัดสมดุลสายการผลิต เหมาะสำหรับวิศวกร หรือเจ้าหน้าที่วางแผนการผลิตใช้ในการจัดวางแผนสายการผลิต ภายใต้ความต้องการที่ไม่แน่นอน และกำลังคนที่มีการเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา

การดำเนินงานศูนย์กระจายสินค้า

  • ieInventory

    โปรแกรมจัดการคลังสินค้า ที่ช่วยให้การบริหารคลังในระดับอุตสาหกรรมเป็นเรื่องที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก ผ่านแฟลตฟอร์มออนไลน์ด้วยฐานข้อมูลบนคลาวด์

การดำเนินงานศูนย์กระจายสินค้า

  • ieScheduling

โปรแกรมจัดตารางการผลิต เครื่องมือช่วยในการจัดการผลิตในระดับปฎิบัติการ ควบคุม และติดตามงานแบบทันเวลา (Realtime) และประเมินกำลังการผลิตได้รวดเร็ว

    บทความล่าสุด
    • Value management “การบริหารเชิงคุณค่า”

    • SAP (Systems Applications and Products in data processing)

    • การบริหารโครงการ (Project Management)

    • การวางแผน การควบคุมการผลิต PPC+ (Production Planning and Control)

    • Little’s Law

    ป้ายกำกับ

    IEBS IEBS SmartIE ieLab Inventory Inventory Control Inventory Management Just In Time (JIT) leadtime Linebalacing Linebalancing Logistics OEE SmartIE SmartWI Warehouse Work Study การขนส่ง การขนส่งสินค้า การจัดการผลิต การจัดการวิศวกรรม การปรับสมดุลสายการผลิต การผลิต การวางแผนการผลิต การวิเคราะห์การบวนการ การวิเคราะห์งาน คลังสินค้า คู่มือการทำงาน จัดสมดุลสายการผลิต ชุดปฎิบัติการ ซอฟแวร์ ประเภทของการวางแผนการผลิต มาตรฐานการทำงาน วิธีการวางแผนการผลิตที่โรงงานควรใช้ วิศวกร วิศวกรรม วิศวกรรมศาสตร์ สมดุลการผลิต สายการผลิต อุตสาหกรรม เทคโนโลยี เวลามาตรฐาน โปรแกรม โปรแกรมการจัดการคลังสินค้า โปรแกรมสต๊อกสินค้า โรงงาน

    พัสดุดำเนินการที่ศูนย์กระจายสินค้า คืออะไร

    พัสดุที่บริษัทขนส่งมารับจะถูกส่งไปยังคลังสินค้าเพื่อทำการคัดแยกที่ศูนย์กระจายสินค้า พัสดุที่ทำการคัดแยกเรียบร้อยแล้วจะถูกนำไปยังศูนย์ย่อยเพื่อเตรียมจัดส่งในพื้นที่ พัสดุจะถูกส่งจากศูนย์ย่อยไปยังบ้านลูกค้าตามที่อยู่ที่ระบุไว้บนหน้ากล่อง เมื่อพนักงานนำพัสดุเหล่านั้นส่งถึงมือนักช้อป ขั้นตอนการช้อปก็เสร็จเรียบร้อย

    ศูนย์กระจายมีหน้าที่ทําอะไรบ้าง

    ศูนย์กระจายสินค้า คือ คลังสินค้าที่ทำหน้าที่ทั้งการจัดเก็บสินค้าและกระจายสินค้าระหว่างผู้ผลิตและผู้ขายปลีก โดยอาจรวมถึงผู้ประกอบการทางด้านโลจิสติกส์ที่รับสินค้าจากผู้ผลิตแต่ละรายมาเก็บในคลังสินค้าของตนเพื่อจัดการด้านการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าแทนผู้ผลิต

    การดำเนินงานในคลังสินค้ามีอะไรบ้าง

    กระบวนการบริหารจัดการคลังสินค้าขั้นพื้นฐานจะประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ รับเข้าสินค้า จัดเก็บสินค้า เอาสินค้า แพ็คสินค้า - ส่งออกสินค้า ส่งคืนสินค้า ตรวจนับสินค้าและรายงานตรวจสอบ การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า 7 ขั้นตอนเหล่านี้จะช่วยให้คุณประหยัดต้นทุนและเพิ่มพื้นที่จัดเก็บในคลังสินค้าของคุณได้อย่างมาก

    กิจกรรมในศูนย์กระจายสินค้ามีอะไรบ้าง

    กิจกรรมหลักของคลังสินค้า.
    1 . การรับสินค้า รับสินค้าค้าเข้าคลังสินค้า ... .
    2. เก็บสินค้า เก็บรักษาสินค้า ... .
    3. การจ่ายสินค้า หยิบสินค้า ... .
    4. ถ่ายโอนข้อมูล ทำทุกครั้งเมื่อสินค้ามีการเคลื่อนย้ายสินค้า เพื่อให้ทราบถึงความเคลื่อนไหวและผู้รับผิดชอบ ทำการบันทึกการเคลื่อนไหวของสินค้า แสดงข้อมูลยอดสินค้าคงเหลือ.