พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา ม.2 ppt

พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา

  • การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา
  • ปัจจัยที่มีผลต่อความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยา
  • พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรอยุธยา
  • การเสื่อมอำนาจของอาณาจักรอยุธยา
  • ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยา

พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี

แคว้นละโว้ (ลพบุรี)

  • ได้รับอิทธิพลของทวารวดี มีความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนานิกาย
    เถรวาท
  • รับวัฒนธรรมขอมในภายหลัง มีการยอมรับนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
    และพระพุทธศาสนานิกายมหายาน
  • ได้ตั้งตัวเป็นอิสระหลังจากขอมเสื่อมอิทธิพลลง และต่อมาลดความสำคัญลง ทำให้อโยธยาขึ้นมามีอำนาจแทน

  • อาณาจักรอยุธยาเกิดจากการร่วมมือกันของแคว้นสุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี)
    และแคว้นละโว้ (ลพบุรี)
  • กรุงศรีอยุธยาตั้งขึ้นในเมืองเก่าเดิมที่มีชื่อว่า อโยธยา ซึ่งตั้งอยู่ระหว่าง
    เมืองสุพรรณบุรีและลพบุรี

แผนที่อยุธยาฉบับเก่าแก่ที่สุด มีชื่อว่า Iudea (ยูเดีย)

แผนที่อยุธยาในจดหมายเหตุลาลูแบร์

ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับความเป็นมาของพระเจ้าอู่ทอง

  • พระเจ้าอู่ทองสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าชัยศิริที่เคยครองเมืองฝาง (ปัจจุบันอยู่ในเขต
    จ.เชียงใหม่) จากนั้นมีเชื้อสายสืบราชสมบัติต่อมาหลายรุ่นจึงได้เกิดพระเจ้าอู่ทอง

  • พระเจ้าอู่ทองเป็นราชบุตรเขยของพระเจ้าศิริชัยเชียงแสน ต่อมาได้รับราชสมบัติ ครองราชย์อยู่ 6 ปี จึงเกิดโรคห่า (อหิวาตกโรค) จึงทรงย้ายราชธานีมาตั้งที่เมืองศรีอยุธยา

  • พระเจ้าอู่ทองเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดินจีน แล้วถูกเนรเทศมาอยู่ที่ปัตตานี
    และเดินทางผ่านมาทางเมืองละคร (นครศรีธรรมราช) กุยบุรี (ใน จ.ประจวบฯ)
    และมาสร้างเมืองพริบพรี (เพชรบุรี) ภายหลังมาสร้างเมืองอยุธยา

จากข้อสันนิษฐานต่างๆ ยังไม่อาจสรุปได้ว่าข้อสันนิษฐานใดน่าจะถูกต้อง

ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับความเป็น

ปัจจัยสำคัญในการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

ปัจจัยที่มีผลต่อความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักร

แหล่งอารยธรรมดั้งเดิม

อยุธยาได้รับอารยธรรมเดิมก่อนมีการตั้งอาณาจักรมาปรับใช้เข้ากับอารยธรรมใหม่ ที่อยุธยาสร้างขึ้นมา

สภาพภูมิประเทศ

กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำไหลผ่าน จึงเหมาะแก่การเพาะปลูกและค้าขาย

สภาพภูมิอากาศ

อาณาจักรอยุธยาตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น มีลมมรสุมพัดผ่าน ทำให้มีฝนตกชุก ส่งผลให้มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์

การตั้งอยู่กึ่งกลางเส้นทางเดินเรือ
ระหว่างอินเดียกับจีน

อาณาจักรอยุธยาจึงได้ประโยชน์จากการ ค้าขายและรับอารยธรรมจากจีนและอินเดีย

ทรัพยากรธรรมชาติ

อยุธยามีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ เช่น ผักผลไม้ ปลาน้ำจืดและปลาทะเล แร่ธาตุ ไม้หายาก ซึ่งเป็นที่ต้องการของพ่อค้าต่างชาติ

พระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์

จากพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ ทำให้อยุธยารอดพ้นจาก ภัยคุกคามจากภายนอกได้

รายพระนามพระมหากษัตริย์อยุธยา

รายพระนาม

ราชวงศ์

ปีที่ครองราชย์

รวมระยะเวลา

1. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง)

อู่ทอง

พ.ศ. 1893-1912

19

2. สมเด็จพระราเมศวร

อู่ทอง

พ.ศ. 1912-1913

1

3. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1
(ขุนหลวงพงั่ว)

สุพรรณภูมิ

พ.ศ. 1913-1931

18

4. สมเด็จพระเจ้าทองลัน

สุพรรณภูมิ

พ.ศ. 1931-1931

7 วัน

สมเด็จพระราเมศวร (ครั้งที่ 2)

อู่ทอง

พ.ศ. 1931-1938

8

5. สมเด็จพระรามราชาธิราช

อู่ทอง

พ.ศ. 1938-1952

15

รายพระนาม (ต่อ)

ราชวงศ์

ปีที่ครองราชย์

รวมระยะเวลา

6. สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์)

สุพรรณภูมิ

พ.ศ. 1952-1967

16

7. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)

สุพรรณภูมิ

พ.ศ. 1967-1991

24

8. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

สุพรรณภูมิ

พ.ศ. 1991-2031

40

9. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3

สุพรรณภูมิ

พ.ศ. 2031-2034

3

10. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

สุพรรณภูมิ

พ.ศ. 2034-2072

38

11. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4
(หน่อพุทธางกูร)

สุพรรณภูมิ

พ.ศ. 2072-2076

4

12. พระรัษฎาธิราช

สุพรรณภูมิ

พ.ศ. 2076-2077

5 เดือน

13. สมเด็จพระชัยราชาธิราช

สุพรรณภูมิ

พ.ศ. 2077-2089

12

14. พระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า)

สุพรรณภูมิ

พ.ศ. 2089-2091

2

15. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

สุพรรณภูมิ

พ.ศ. 2091-2111

20

16. สมเด็จพระมหินทราธิราช

สุพรรณภูมิ

พ.ศ. 2111-2112

1

รายพระนาม (ต่อ)

ราชวงศ์

ปีที่ครองราชย์

รวมระยะเวลา

17. สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช

สุโขทัย

พ.ศ. 2112-2133

21

18. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สุโขทัย

พ.ศ. 2133-2148

15

19. สมเด็จพระเอกาทศรถ

สุโขทัย

พ.ศ. 2148-2153

5

20. พระศรีเสาวภาคย์

สุโขทัย

พ.ศ. 2153-2154

1 ปีเศษ

21. สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

สุโขทัย

พ.ศ. 2154-2171

18

22. สมเด็จพระเชษฐาธิราช

สุโขทัย

พ.ศ. 2171-2172

8 เดือน

23. พระอาทิตยวงศ์

สุโขทัย

พ.ศ. 2172-2172

38 วัน

24. สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

ปราสาททอง

พ.ศ. 2172-2199

25

25. สมเด็จเจ้าฟ้าชัย

ปราสาททอง

พ.ศ. 2199-2199

3-5 วัน

26. สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา

ปราสาททอง

พ.ศ. 2199-2199

2 เดือน

27. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ปราสาททอง

พ.ศ. 2199-2231

32

รายพระนาม (ต่อ)

ราชวงศ์

ปีที่ครองราชย์

รวมระยะเวลา

28. สมเด็จพระเพทราชา

บ้านพลูหลวง

พ.ศ. 2231-2246

14

29. สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)

บ้านพลูหลวง

พ.ศ. 2246-2251

6

30. สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่ 9
(พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ)

บ้านพลูหลวง

พ.ศ. 2251-2275

23

31. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3
(พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)

บ้านพลูหลวง

พ.ศ. 2275-2301

26

32. สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด)

บ้านพลูหลวง

พ.ศ. 2301-2301

2 เดือน

33. สมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์
(พระเจ้าเอกทัศ)

บ้านพลูหลวง

พ.ศ. 2301-2310

9

ภาพวาดกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ฝีมือชาวยุโรปในสมัย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น

การบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลาง

โดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีและเป็นศูนย์กลางการปกครองทั้งหมดของอาณาจักร มีการกำหนดให้มีเมืองหน้าด่านทั้ง 4 ทิศ เพื่อป้องกันข้าศึกก่อนที่ข้าศึกจะจู่โจมเข้ามาถึงราชธานี

ทิศเหนือ

ทิศตะวันออก

ทิศใต้

ทิศตะวันตก

ในเขตราชธานีที่กรุงศรีอยุธยา มีเสนาบดี 4 ตำแหน่ง เรียกว่า จตุสดมภ์ รับผิดชอบดูแลการบริหารราชการแผ่นดินตามพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์

จตุสดมภ์แบ่งออกเป็น 4 หน่วยงาน ดังนี้

การบริหารราชการแผ่นดินส่วนหัวเมือง

หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร)
อยู่ห่างไกลจากราชธานี มีเจ้าเมืองที่สืบทอดทางสายเลือดเป็นผู้ปกครอง

หัวเมืองชั้นใน อยู่ไม่ไกลจากราชธานี
ทางราชธานีจะแต่งตั้ง “ผู้รั้ง” ไปปกครอง
เช่น เมืองราชบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท

รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย

การบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลาง

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแบ่งส่วนราชการที่มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินและควบคุมกำลังคนออกเป็น 2 ฝ่าย โดยมีอัครมหาเสนาบดีรับผิดชอบ

การบริหารราชการแผ่นดินส่วนหัวเมือง

หัวเมืองชั้นใน ยกเลิกเมืองลูกหลวง
ทั้ง 4 ทิศ และขยายขอบเขตการปกครอง
ของราชธานีให้กว้างออกไป โดยให้รวม
เข้ากับเมืองในวงราชธานี เป็นเมือง
ชั้นจัตวา มีผู้รั้งกับกรมการเมืองปกครอง

หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร)
มีการจัดเมืองเป็นชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี พระมหากษัตริย์จะแต่งตั้งขุนนางชั้นสูง
ไปเป็นผู้สำเร็จราชการเมือง

หัวเมืองประเทศราช ลักษณะการปกครองยังคงเป็นแบบเดียวกับสมัยอยุธยาตอนต้น เช่น เมืองทวาย ตะนาวศรี เชียงกราน เขมร

รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย

ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งกิจการทหารและพลเรือน

ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งกิจการ ทหารและพลเรือน รวมทั้งจตุสดมภ์ และให้กรมคลังดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออกทั้งกิจการทหารและพลเรือน และกรมคลัง

สมุหพระกลาโหม

สมุหนายก

ปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญทางเศรษฐกิจ

เกษตรกรรม

จากทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาเหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญ คือ ข้าว นอกจากนี้ยังมีผลิตผลจากป่า เช่น ไม้ฝาง นอแรด งาช้าง ครั่ง
หนังสัตว์ ยางสน ไม้กฤษณา เป็นต้น

การค้ากับต่างประเทศ

การค้ากับต่างประเทศเป็นการค้าโดยใช้เรือสำเภา ซึ่งดำเนินการโดยพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ขุนนาง และพ่อค้าจีนที่เกี่ยวข้องกับการค้าสำเภา นอกจากนี้ อยุธยายังติดต่อค้าขายกับชาวตะวันตกด้วย ได้แก่ โปรตุเกสฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส

เรือสำเภาจีน

ที่เข้ามาค้าขายกับอยุธยา

รายได้ของแผ่นดินในสมัยอยุธยา

รายได้ที่เก็บตามด่านขนอนทั้งทางบกและทางน้ำโดยเก็บชักส่วนสินค้า

รายได้ที่เกิดจากการเก็บส่วนผลประโยชน์ในการประกอบอาชีพต่างๆของราษฎร เช่น การทำนา ทำไร่ ทำสวน

รายได้จากสิ่งของ เงินทอง ที่ราษฎรนำมาให้กับทางราชการแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน เช่น ส่วยดีบุก

รายได้จากค่าธรรมเนียมที่ทางราชการเก็บจากราษฎร

ความหมายของศักดินา

ศักดินา หมายถึง เครื่องกำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลในสังคม เพื่อจำแนกให้เห็นถึงความแตกต่างในเรื่องสิทธิและหน้าที่ของบุคคลตามศักดินา เช่น ผู้มีศักดินา 400 ขึ้นไปมีสิทธิเข้าเฝ้าได้ แต่ต่ำกว่า 400 ไม่มีสิทธิเข้าเฝ้า

ประโยชน์ของศักดินา

ระบบศักดินามีประโยชน์ในการควบคุมบังคับบัญชาผู้คนตามลำดับชั้น
และมอบหมายให้คนมีหน้าที่รับผิดชอบตามที่กำหนดเอาไว้ และเมื่อบุคคลทำผิดต่อกัน
ก็สามารถใช้เป็นหลักในการปรับไหมได้ เช่น ถ้าผู้มีศักดินาสูงทำความผิดต่อ ผู้มีศักดินา
ต่ำกว่า ก็จะปรับไหมตามศักดินาของผู้มีศักดินาสูงกว่า

โครงสร้างสังคมไทยสมัยอยุธยา

พระมหากษัตริย์

    • พระประมุขของราชอาณาจักร ทรงได้รับการยกย่องให้เป็น
      สมมติเทพ และทรงเป็นธรรมราชา

พระบรมวงศานุวงศ์

    • เครือญาติของพระมหากษัตริย์มี
      ศักดินาแตกต่างกันไปตามฐานะ

ขุนนาง

    • บุคคลที่รับราชการแผ่นดิน มีทั้งศักดินา ยศ ราชทินนาม
      และตำแหน่ง

ไพร่

    • ราษฎรที่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานให้กับทางราชการทั้งในยามปกติและยามสงคราม
      และต้องสังกัดมูลนาย

ทาส

    • บุคคลที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเอง ต้องตกเป็นของนายจนกว่าจะได้ไถ่ตัว

พระภิกษุสงฆ์

    • บุคคลที่สืบทอดพระพุทธศาสนา
      ซึ่งได้รับการยกย่องและศรัทธาจากบุคคลทุกชนชั้น

ภาพวาดลายเส้นไพร่และพระสงฆ์ในจดหมายเหตุลาลูแบร์

  • ลักษณะความสัมพันธ์มีทั้งการใช้นโยบายการสร้างไมตรี การเผชิญหน้าทางทหาร และนโยบายการสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
  • อยุธยาใช้การเผชิญหน้าทางทหารกับสุโขทัยมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) และสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพงั่ว)
  • สมัยสมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) ทรงแก้ไขปัญหาจลาจลที่สุโขทัย ทำให้สุโขทัยกลับมาอยู่ใต้อำนาจของอยุธยา และทรงสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
    โดยให้พระราชโอรส คือ เจ้าสามพระยาอภิเษกกับเจ้าหญิงเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง
  • สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงผนวกรวมสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา

  • ลักษณะความสัมพันธ์ส่วนใหญ่เป็นการเผชิญหน้าทางทหาร
  • สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวง พงั่ว) เป็นต้นมา อยุธยาได้รบกับล้านนาเพื่อให้มาอยู่ในอำนาจแต่ไม่ประสบความสำเร็จ
  • สมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช อยุธยาได้ยึดล้านนาเป็นเมืองประเทศราช แต่สุดท้ายก็ต้องเป็นเมืองประเทศราชของพม่า
  • สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อยุธยาได้ล้านนากลับมาเป็นเมืองประเทศราช
  • หลังจากสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    เป็นต้นไป ล้านนาก็เริ่มแยกตัวเป็นอิสระบ้าง เป็นประเทศราชของพม่าบ้าง ของอยุธยาบ้าง

ภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพไปตีค่ายพระเจ้าเชียงใหม่ที่บ้านสระเกศ (จ.อ่างทองในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. 2128

ภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงการทำสงครามยุทธหัตถี
ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชา

ตัวอย่างสงครามระหว่างอยุธยากับพม่าครั้งสำคัญ


คราวสมเด็จ
พระสุริโยทัย
ขาดคอช้าง
พ.ศ. 2091

สงคราม
ประกาอิสรภาพ
พ.ศ. 2127

สงคราม
ยุทธหัตถี
พ.ศ. 2135

ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมอญ

  • ลักษณะความสัมพันธ์มีทั้งการค้า การผูกสัมพันธไมตรี และการเมือง
  • ในระยะแรก ผู้นำของอยุธยาได้พยายามจะขยายอิทธิพลเหนือมอญ และเมื่ออยุธยา
    มีความเจริญรุ่งเรืองทางการค้า ผู้นำอยุธยาได้ขยายอำนาจเข้าครอบครองเมืองท่าของมอญแถบชายฝั่งทะเลอันดามันเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า
  • นอกจากนี้ อยุธยายังให้ที่พึ่งพิงแก่ชาวมอญที่อพยพหนีภัยสงครามจากพม่าด้วย ทั้งนี้เพื่อที่อยุธยาจะได้อาศัยมอญเป็นด่านหน้าปะทะกับพม่าก่อนจะยกทัพมาถึงอยุธยา

  • ลักษณะความสัมพันธ์มีทั้งการเผชิญหน้าทางทหาร การเมือง และวัฒนธรรม
  • สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ใน พ.ศ. 1895 โปรดให้พระราเมศวรและขุนหลวงพงั่ว
    ยกทัพไปตีเขมร และกวาดต้อนชาวเขมรบางส่วนมาไว้ในเขตไทย ทำให้อยุธยาได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรด้วย
  • สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพงั่ว) ยกทัพไปตีเขมร
  • สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ยึดราชธานีเขมรที่นครธม และทรงแต่งตั้งพระนครอินทร์ พระราชโอรสไปครองเขมร ปกครองไม่นานก็ถูกเขมรลอบปลงพระชนม์
  • สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ไทยติดพันสงครามกับพม่า เขมรได้ถือโอกาสยกทัพมาตีไทย
  • สมัยสมเด็จพระนเรศมหาราชทรงยกทัพไปตีเมืองละแวก ราชธานีเขมรขณะนั้นได้
    และหลังจากสมัยนี้ เขมรเริ่มตั้งตัวเป็นอิสระ และในตอนปลายสมัยอยุธยา เขมรได้อ่อนน้อม
    ต่ออยุธยาบ้าง ญวนบ้าง จนกระทั่งเสียกรุงใน พ.ศ. 2310 เขมรจึงเป็นอิสระ

  • ลักษณะความสัมพันธ์ส่วนใหญ่เป็นการผูกสัมพันธไมตรี
  • สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ไทยมีความสัมพันธ์อันดีกับพระเจ้าฟ้างุ้มแห่งล้านช้าง
  • สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ไทยกับล้านช้าง
    มีความสนิทแนบแน่นมากขึ้น เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งล้านช้างแต่งตั้งทูตมากราบทูลขอพระเทพกษัตรีไปเป็นพระอัครมเหสี แต่ถูกพระเจ้า-บุเรงนองส่งทหารมาชิงตัวไปเสียก่อน อย่างไรก็ดี อยุธยายังคงรักษาสัมพันธไมตรีอันดีเอาไว้ จนกระทั่งสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 1 ทำให้ความสัมพันธ์ลดน้อยลงไป

พระธาตุศรีสองรัก จ.เลย เป็นหลักฐาน
ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดี
ระหว่างอยุธยากับล้านช้าง

  • ความสัมพันธ์ส่วนใหญ่เกิดในสมัยอยุธยาตอนปลายโดยลักษณะความสัมพันธ์
    จะเป็นการเผชิญหน้าทางทหาร เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่เหนือเขมร
  • สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ เกิดเหตุการณ์แตกแยกภายในราชวงศ์เขมรระหว่างพระธรรมราชากับนักแก้วฟ้าจอกจนถึงขั้นทำสงครามกัน อยุธยาและญวนต่างสนับสนุนแต่ละฝ่าย ความขัดแย้งภายในทำให้ไทยกับญวนต้องทำสงครามระหว่างกัน ในที่สุดอยุธยาชนะและได้เขมรมาอยู่ใต้อำนาจ ไม่นานญวนก็เข้าไป
    มีอิทธิพลเหนือเขมรอีก อยุธยาจึงต้องยกทัพไปตีเขมรกลับมา ซึ่งสถานการณ์
    ในเขมรจะเป็นลักษณะเช่นนี้จนกระทั่งสิ้นสุดสมัยอยุธยา

ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายู

  • ลักษณะความสัมพันธ์มีทั้งการค้า การเผชิญหน้าทางทหาร และการผูกสัมพันธไมตรี
  • สมัยอยุธยาตอนต้น อยุธยาส่งกองทัพไปรบกับมะละกาซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญบริเวณคาบสมุทรมลายู นอกจากได้มะละกาเป็นเมืองขึ้นแล้ว ยังได้หัวเมืองรายทางด้วย เช่น ปัตตานี ไทรบุรี ซึ่งอยุธยาควบคุมหัวเมืองมลายูผ่านทางเมืองนครศรีธรรมราช นอกจากจะได้ผลประโยชน์ทางเครื่องราชบรรณาการแล้วยังได้ผลประโยชน์ทางการค้าขายอีกด้วย

  • ลักษณะความสัมพันธ์เป็นแบบรัฐบรรณาการ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเมืองและการค้า
  • ในสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์ที่ทรงขึ้นครองราชย์มักจะแต่งตั้งคณะทูตนำ
    เครื่องราชบรรณาการไปยังจีน เพื่อให้จีนรับรองเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าและเพื่อความชอบธรรมในการเสด็จขึ้นครองราชย์ ซึ่งการติดต่อระหว่างอยุธยากับจีนดำเนินไปอย่างราบรื่น ยกเว้นในช่วงที่อยุธยามีปัญหาการเมืองภายในหรือทำสงครามกับภายนอก ความสัมพันธ์จะหยุดชะงักชั่วคราว
    เมื่อเหตุการณ์สงบ การติดต่อก็เริ่มต้นขึ้นอีก

ภาพวาดเรือสำเภาจีนที่เข้ามาค้าขายกับอยุธยา

  • ลักษณะความสัมพันธ์ส่วนใหญ่เป็นการค้าและการเมือง
  • สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ อยุธยามีการติดต่อกับญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ
  • สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ได้มีการปราบปรามชาวญี่ปุ่นบางคนที่คิดก่อการร้าย ทำให้ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากพากันอพยพ
    ออกจากอยุธยา และแม้ว่าอยุธยาจะส่งทูต
    ไปเจรจาสัมพันธไมตรีและค้าขายที่ญี่ปุ่นอีก แต่ญี่ปุ่นไม่ยอมรับ อาจเป็นเพราะเหตุการณ์ที่ทรงปราบปรามญี่ปุ่น และญี่ปุ่นดำเนินนโยบายปิดประเทศ

กองทหารอาสาญี่ปุ่นในกองทัพอยุธยา (ภาพเล็ก)
เสาหิน ภาษาญี่ปุ่น แปลเป็นไทยว่า อนุสรณ์หมู่บ้านญี่ปุ่นที่อยุธยา

  • ลักษณะความสัมพันธ์จะเป็นด้านการค้า
  • สันนิษฐานว่าอยุธยาเริ่มมีความสัมพันธ์กับเปอร์เซีย (ปัจจุบันคืออิหร่าน) ในสมัยสมเด็จ-
    พระเอกาทศรถ โดยเป็นเรื่องการค้าขาย
  • สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พ่อค้าเปอร์เซีย
    ชื่อ เฉกอะหมัด ได้รับราชการจนมีความดีความชอบได้เป็นเจ้ากรมท่าขวา
  • สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เปอร์เซียส่งทูตมาเข้าเฝ้า แต่หลังรัชกาลสมเด็จ
    พระนารายณ์มหาราชไปแล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานถึงการเดินทางเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างอยุธยาและเปอร์เซียอีก

ภาพทหารชาวเปอร์เซีย จากเรื่องมโหสถ วัดสุวรรณาราม

  • ลักษณะความสัมพันธ์มีทั้งการค้า การเมือง
    และวัฒนธรรม
  • เริ่มต้นในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
    เมื่อโปรตุเกสยึดมะละกา แต่มะละกาเป็น
    ประเทศราชของอยุธยา โปรตุเกสจึงส่งทูต
    มาเจรจาและทำสนธิสัญญาระหว่างกัน
  • นอกจากนี้ อยุธยายังซื้อปืนจากโปรตุเกส
    และจ้างทหารโปรตุเกสมาเป็นทหารอาสา
    รวมถึง รับวัฒนธรรมการทำขนมหวานจากโปรตุเกส อันเป็นที่มาของขนมหวานไทย
    ในปัจจุบันด้วย เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง

แนวอาคารที่ได้รับการขุดแต่งในหมู่บ้านโปรตุเกส (ภาพเล็ก) สุสานโบราณในหมู่บ้านโปรตุเกส

  • ลักษณะความสัมพันธ์มีทั้งการค้าและการเมือง
  • สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ฮอลันดาส่งคณะทูตมาเจรจาและขอตั้งสถานีการค้าที่ปัตตานี
  • สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม อยุธยากับฮอลันดา ได้ทำสนธิสัญญาการค้าระหว่างกัน
  • สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ฮอลันดาส่งเรือรบปิดท่าเรือตะนาวศรี อยุธยาจึงตัดสิทธิพิเศษทางการค้า
  • สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้เกิดความขัดแย้งกับฮอลันดา จนต้องดึงฝรั่งเศสเข้ามาถ่วงดุลอำนาจ ทำให้ฮอลันดาค่อยๆ ลดปริมาณการค้าและถอนตัวออกจากอยุธยาในที่สุด

แนวอาคารโบราณสถานในหมู่บ้านฮอลันดา
ที่ได้รับการขุดแต่ง (ภาพเล็ก) ป้ายแสดง
ที่ตั้งหมู่บ้านเป็นภาษาดัตซ์

  • ลักษณะความสัมพันธ์มีทั้งการค้าและการเมือง
    ในบางช่วง
  • สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงอนุญาตให้อังกฤษเข้ามาตั้งสถานีการค้าที่กรุงศรีอยุธยาได้ แต่ถูกฮอลันดาขัดขวางจนต้องปิดกิจการ
  • สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้เริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์อีกครั้งเพื่อดึงอังกฤษมาถ่วงดุลอำนาจกับฮอลันดา แต่อังกฤษไม่ประสบความสำเร็จในการแข่งขันกับฮอลันดา จนเมื่อ
    เรือค้าขายของอังกฤษถูกปล้นสะดมในน่านน้ำเมืองมะริดจนต้องสู้รบกับอยุธยาที่เมืองมะริด
    ทำให้ความสัมพันธ์ห่างเหินกันไป

ภาพวาดเรือสำเภาอังกฤษที่เข้ามาค้าขายกับอยุธยา

  • ลักษณะความสัมพันธ์มีทั้งศาสนา การค้า
    และการเมือง
  • สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงต้องการ
    ให้ฝรั่งเศสมาถ่วงดุลอำนาจกับฮอลันดา จนกระทั่งฝรั่งเศสเข้ามาตั้งสถานีการค้า
    และภายหลังส่งคณะทูตเดินทางมาอยุธยาเป็น
    ครั้งแรกเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี และอยุธยาก็ส่งคณะทูตไปฝรั่งเศส ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างดี
  • ภายหลังฝรั่งเศสเข้ามามีอิทธิพลทางการเมือง
    และการทหาร จนต้องมีการขับไล่ฝรั่งเศสออกไป หลังจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศสก็ลดลงและห่างเหินกันไป

เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ หัวหน้าคณะทูตฝรั่งเศสเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

  • ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับสเปนค่อนข้าง มีน้อยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการค้า
  • สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ข้าหลวงใหญ่ของสเปนที่เมืองมะนิลาได้ส่งทูต
    มาเชื่อมสัมพันธไมตรีและเจรจาทางการค้ากับอยุธยา
  • สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีเรือสินค้าสเปนเดินทางจากเมืองมะนิลาเข้ามาค้าขายที่กรุงศรีอยุธยา แต่ปริมาณการค้าไม่มากนัก
  • สมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ผู้สำเร็จราชการสเปนที่เมืองมะนิลาส่งทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีและขออนุญาตตั้งสถานีการค้าขึ้นใหม่ แม้การเจรจาจะประสบความสำเร็จ แต่ปริมาณการค้าก็มิได้ขยายตัวและได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า ในที่สุดความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติก็ห่างเหินกันไป

สาเหตุ

  • เกิดจากความแตกสามัคคีภายใน
  • พระยาจักรีเป็นไส้ศึก

การกู้เอกราช

  • เกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เมื่อพระนเรศวรซึ่งเป็น
    พระราชโอรสทรงประกาศอิสรภาพ
    จากพม่าที่เมืองแครงใน พ.ศ. 2127

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 และการกู้เอกราช

พระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพจากพม่า
โดยทรงหลั่งทักษิโณทกให้ตกเหนือแผ่นดิน (ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)

สาเหตุ

  • การขาดประสบการณ์ในการทำสงคราม
    ขนาดใหญ่ของฝ่ายอยุธยา
  • การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การรบของพม่า
    ด้วยการยกมาตีอยุธยาทั้งทางเหนือและทางใต้ และกวาดต้อนผู้คน เสบียงอาหารเข้าล้อม
    กรุงศรีอยุธยา

การกู้เอกราช

  • พระยาตาก (สิน) ได้นำไพร่พลฝ่าวงล้อมพม่าไปตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรี จากนั้นนำไพร่พลตีหัวเมืองรายทางไล่มาจนถึงเมืองธนบุรีที่พม่าคุมอยู่ และตามตีไปถึงค่ายโพธิ์สามต้นซึ่งเป็นทัพพม่าที่รักษาอยุธยาอยู่จนแตก

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 และการกู้เอกราช

ภาพวาดพระยาตาก (สิน) นำทัพเข้าตีค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้น (ภาพจากหนังสือโคลงภาพพระราชพงศาวดารฯ)

ความหมายของภูมิปัญญาและวัฒนธรรม

วัฒนธรรม ระบบความเชื่อ
ระบบคุณค่า และวิถีชีวิตทั้งหมด ดังนั้น ภูมิปัญญาทั้งหลายจึงได้รับการ สั่งสมอยู่ในวัฒนธรรมนั่นเอง

ภูมิปัญญา ความรู้ ความสามารถ ที่ได้จากประสบการณ์ที่สั่งสม
ไว้ในการปรับตัวและการดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมที่ได้มีการพัฒนาสืบสานกันมา

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม

สังคมไทยสมัยอยุธยามีความเชื่อว่าการปกครองบ้านเมืองต้องมีพระมหากษัตริย์เป็น
ผู้มีอำนาจสูงสุด อันเป็นผลมาจากการรับเอาคติความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
สมมติเทพ จึงต้องมีการวางกฎเกณฑ์หลายประการ เพื่อแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นเทพเจ้า มีพระบรมเดชานุภาพ เช่น มีการสร้างพระราชวังสำหรับพระมหากษัตริย์ มีการใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์มีการตรากฎมณเฑียรบาล

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในการสร้างรูปแบบการปกครอง

แบบจำลองพระราชวังกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็น ที่ประทับของพระมหากษัตริย์อยุธยา

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในการวางระบบควบคุมกำลังพล

  • ระบบการควบคุมกำลังคนสมัยอยุธยากำหนดให้ไพร่ต้องสังกัดมูลนาย โดยมูลนายจะต้องดูแลและให้ความคุ้มครองไพร่ในแต่ละกรมกอง ส่วนไพร่ก็ต้องให้ความเคารพ
    ยำเกรงมูลนายของตน
  • การควบคุมแรงงานไพร่ในแต่ละกรมจะมีการควบคุมเป็นลำดับชั้น แต่ละกรมจะจัดทำบัญชีรายชื่อและที่อยู่ของไพร่ที่สังกัดกรมของตน นอกจากนี้ยังมีพระสุรัสวดี ทำหน้าที่เป็นผู้ถือบัญชีไพร่ของทุกกรมและขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์
  • ระบบการควบคุมกำลังคนในสมัยอยุธยาทำให้กลุ่มคนไทยสามารถอยู่รวมกันได้เป็น
    กลุ่มก้อน ไม่กระจัดกระจายกันออกไป และสะดวกต่อการเกณฑ์ไพร่พลไปทำสงคราม

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในการสร้างที่อยู่อาศัย

เป็นเรือนชั้นเดียว ใต้ถุนสูง สร้างด้วยวัสดุที่แข็งแรงทนทาน เช่น ไม้สัก ไม้เนื้อแข็ง ตัวเรือนสามารถรื้อถอนแล้วนำไปประกอบใหม่ได้เหมือนเดิม

เรือนของขุนนาง (เรือนเครื่องสับ)

เป็นเรือนชั้นเดียว ใต้ถุนเตี้ย สร้างด้วยวัสดุไม่คงทนถาวร เช่น ไม้ไผ่ มักปลูกเป็นการชั่วคราว
ถ้าไพร่มีฐานะสูงก็สามารถใช้เรือนแบบขุนนางได้

เรือนของไพร่ (เรือนเครื่องผูก)

  • การแพทย์แผนไทยสมัยอยุธยามีพื้นฐานมาจากความเชื่อ ความรู้ ความคิด และการยอมรับร่วมกันของคนในสังคม จนสามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน
  • ระบบการแพทย์สมัยอยุธยามีการจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบเป็นสัดส่วน และมีเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบำบัด รักษาคนไข้แตกต่างกันไป นอกจากนี้ยังมีโรงพระโอรส
    เป็นหน่วยงานดูแลเกี่ยวกับการรักษายาสมุนไพร จำแนกหมวดหมู่ยา ควบคุมมาตรฐานและผลิตยา และตำราแพทย์หลวง

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในการบำบัดรักษาคนไข้

คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ ฉบับใบลาน

(ตำราพระโอสถพระนารายณ์)

สังคมไทยสมัยอยุธยามีความศรัทธา

ในพระพุทธศาสนา นอกจากผู้คนนิยมทำบุญ
ฟังธรรมแล้ว ยังมีการใช้วรรณกรรมของพระพุทธศาสนา

มาสอนคนให้รู้จักบาปบุญคุณโทษด้วย โดยเจ้าฟ้า-

ธรรมธิเบศ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ทรงนิพนธ์หนังสือพระมาลัย

คำหลวง ซึ่งเมื่อพระภิกษุนำไปเทศน์ให้ชาวบ้านฟัง

หรือมีผู้อ่านหนังสือพระมาลัยคำหลวงก็ดี เท่ากับ
ได้รับคำสอนทางพระพุทธศาสนาด้วย เป็นการปลูกฝัง

คนไทยให้ทำแต่ความดี ละเว้นความชั่ว

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในการปลูกฝังศีลธรรมให้สังคม

ภาพวาดพระมาลัยโปรดสัตว์

ในแดนนรก

ด้านสถาปัตยกรรม

ส่วนใหญ่เป็นสิ่งก่อสร้างในพระพุทธศาสนา เช่น เจดีย์ พระปรางค์ โบสถ์ วิหาร มณฑป รวมถึงสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เช่น พระราชวัง พระที่นั่งต่างๆ

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในการปลูกฝังศีลธรรมให้สังคม

ด้านประติมากรรม

ส่วนใหญ่นิยมสร้างพระพุทธรูป พระพุทธรูปยุคแรกๆ เป็นแบบอู่ทอง เช่น พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่วัดพนัญเชิง จนถึงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ศิลปะแบบสุโขทัยได้แพร่หลายเข้ามา ครั้นถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเป็นต้นมา พระพุทธรูปมักทำเป็นแบบทรงเครื่อง มีเครื่องประดับสวยงาม เช่น พระประธานวัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา