เงินเดือนกรรมการ หัก ณ ที่จ่าย

เงินเดือนกรรมการ

1.     ถ้าพนักงานที่จะมาทำงานกับผมติดแบล็คลิส เครดิตบูโร   ผมจะให้ตั้งเงินเดือนเท่าจึงจะไม่   ถูกบังคับหักเงินเดือนส่งเจ้าหนี้   ถ้าจ่ายจริงอยู่ที่เดือนละ 18,000  บาท จะเลียงอย่างไรได้

2.     ประธานกรรมการบริษัท  จะต้องตั้งเงินเดือนให้ประธานด้วยหรือเปล่า  ถ้ามีจะต้องเสียภาษีอย่างไร

3.     อยากเรียนอบรมบริหารกับทีมงานของคุณ  จะมีค่าใช้จ่ายเท่าไร  อยู่สมุทรปราการครับ   

บุญเหลือ

เรียน  คุณบุญเหลือ

                ประเด็นที่สอบถาม ขอให้ความเห็นในประเด็นเงินเดือนกรรมการดังนี้

                กรณีประธานกรรมการต้องพิจารณา ได้ทำหน้าที่เป็นพนักงานคนหนึ่งของกิจการหรือไม่ หากไม่ได้เป็นไม่ควรกำหนดเป็นเงินเดือนพนักงาน แต่หากกำหนดหน้าที่ของประธานกรรมการ ให้เข้าร่วมประชุม กำหนดทิศทางการบริหาร อาจจะกำหนดผลตอบแทนให้กับประธานกรรมการ ในลักษณะของค่าบริหาร หรือค่าตอบแทนการประชุมได้

                ค่าตอบแทนที่กรรมการได้รับ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (2) ต้องนำเงินได้มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี โดยมีขั้นตอนดังนี้

-          การหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อบริษัทจ่ายค่าตอบแทนให้ประธานกรรมการ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย คำนวณอัตราก้าวหน้า

-          การยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ประจำปี (ภงด. 90) โดยนำเงินได้ที่ได้รับมารวมคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี อัตราก้าวหน้า และสามารถนำภาษีที่ถูกหักไว้ มาหักจากภาษีที่คำนวณได้      

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้สุทธิ

ช่วงเงินได้สุทธิ

แต่ละขั้น

อัตราภาษี

ร้อยละ

ภาษีแต่ละขั้น

เงินได้สุทธิ

ภาษีสะสม

สูงสุดของขั้น

1 - 150,000

150,000*

ได้รับยกเว้น

-

-

150,001 - 300,000

150,000

5

7,500

7,500

300,001 – 500,000

200,000

10

20,000

27,500

500,001 - 750,000

250,000

15

37,500

65,000

750,001 – 1,000,000

250,000

20

50,000

115,000

1,000,001 - 2,000,000

1,000,000

25

250,000

365,000

2,000,001 – 4,000,000

2,000,000

30

600,000

965,000

4,000,001 บาทขึ้นไป

ไม่มีเพดาน

35

                สมมติประธานกรรมการมีค่าตอบแทนการทำงานเป็นรายเดือนๆ ละ 50,000 บาท สามารถคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้ประจำปีได้ดังนี้

                เงินได้พึงประเมิน (50,000 X 12)                                                                                           600,000.00       บาท

หัก          ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา

                (40% แต่ไม่เกิน 60,000)                                                                                                             60,000.00        บาท

                เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย                                                                                                            540,000.00        บาท

หัก          ค่าลดหย่อน

                - ค่าลดหย่อนผู้มีเงินได้                                                                                                               30,000.00        บาท

                เงินได้พึงประเมินสุทธิ                                                                                                             510,000.00        บาท

                ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

                (150,000 X 0%) + (150,000 X 5%) +

                (200,000 X 10%) + (10,000 X 15%)                                                                                      29,000.00       บาท

                ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (29,000 / 12)                                                                                        2,416.66       บาท

                เบื้องต้นเป็นการคำนวณโดยหักค่าลดหย่อนเฉพาะผู้มีเงินได้เท่านั้น สำหรับค่าลดหย่อนอื่นๆ หากมีสามารถนำมาหักในการคำนวณภาษีเงินได้

                หวังว่าคำตอบจะเป็นประโยชน์

นายภาษี

ค่าตอบแทนกรรมการหักกี่%

2. การจ่ายเงินเดือนกรรมการคำนวณในอัตราก้าวหน้าและจ่ายค่าตอบแทนกรรมการเพิ่ม หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% คนละอย่างในเดือนเดียวกัน นั้น บริษัทฯ ไม่สามารถกระทำได้ บริษัทฯ ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกัยการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ...

เงินเดือนพนักงานต้องหัก ณ ที่จ่ายไหม

- เงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ไม่ต้องยื่นภาษี - เงินเดือนไม่เกิน 26,583.33 ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี - เงินเดือนเกิน 26,583.33 บาท ต้องยื่นภาษี หักภาษี ณ ที่จ่าย และต้องเสียภาษี - หากไม่ได้จ่ายประกันสังคม และเงินเดือนไม่เกิน 25,833.33 บาท ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี

กรรมการบริษัท รับ เงินเดือน ได้ไหม

1. เงินเดือนกรรมการ ค่าตอบแทนกรรมการ คำตอบคือ ได้ เพราะตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น บริษัทและเจ้าของเป็นคนละบุคคลกันตามกฎหมาย ดังนั้นเมื่อเจ้าของทำงานให้กับบริษัท บริษัทจึงควรจ่ายค่าตอบแทนให้กับเจ้าของ เงินเดือนเจ้าของนี้มักเรียกกันว่า เงินเดือนกรรมการ หรือ ค่าตอบแทนกรรมการ

ค่าตอบแทนกรรมการ มีอะไรบ้าง

ค่าตอบแทนของคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย 1. ค่าตอบแทนรายเดือน ซึ่งเป็นไปตามภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการ ชุดย่อย 2. ค่าเบี้ยประชุม เป็นค่าตอบแทนเมื่อเข้าร่วมประชุมในแต่ละครั้ง ส าหรับกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร 3. โบนัส พิจารณาจากผลก าไรของบริษัทและจ านวนเงินปันผลที่จ่ายให้กับผู้ถือหุ้น