เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต มาตรา 33

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล

|

25 มี.ค. 2565 เวลา 5:12 น. 6.7k

สิทธิประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 สำนักงานประกันสังคมออกมาแนะ กรณีเสียชีวิตทายาทได้สิทธิอะไรบ้างเช็ครายละเอียดที่นี่

  • ค่าทำศพ 50,000 บาท โดยจ่ายให้กับผู้จัดการศพ เช่น สามี-ภรรยา, บิดา- มารดา,บุตร หรือญาติ-พี่น้อง ของผู้ประกันตน
  • เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต โดยจ่ายให้แก่บุคคลที่ผู้ประกันตนทำหนังสือระบุไว้เท่านั้น หากไม่ได้ทำหนังสือระบุไว้ จะเฉลี่ยจ่ายให้ผู้มีสิทธิในจำนวนที่เท่ากัน ได้แก่ สามี-ภรรยา ที่จดทะเบียนสมรสกัน บิดา-มารดา กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสจะได้เฉพาะมารดา บุตรของผู้ประกันตน รวมทั้งบุตรบุญธรรมที่ถูกต้องตามกฎหมาย
  • เงินบำเหน็จชราภาพ หากผู้ประกันตนเสียชีวิต ทายาทจะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพคืนโดยจ่ายให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ เช่น บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย, สามี-ภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย, บิดา-มารดาที่จดทะเบียนสมรสกัน หากไม่ได้จดทะเบียนสมรสจะได้เฉพาะมารดา หรือ บุคคลอื่นที่ผู้ประกันตนทำหนังสือระบุไว้ให้ได้รับร่วมกับทายาทผู้มีสิทธิ
  • เงื่อนไขการได้รับสิทธิ ผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 จะได้รับสิทธิเมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนถึงแก่ความตาย

เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต มาตรา 33

สาระ Fund วันละนิด: วันนี้ จะพาเหล่า “ผู้ประกันตน” ในระบบ “ประกันสังคม” มารู้จักกับสิทธิประโยชน์ที่หลายคนอาจจะละเลยกันไป นั่นก็คือ “กรณีเสียชีวิต” !!!แน่นอนว่า...“ไม่มีใครอยากตาย”แต่ “ความตาย” ก็เป็นสิ่งที่ไม่มีใครเลี่ยงได้ เชื่อว่าทุกคนตระหนักและเข้าใจในความจริงนี้เป็นอย่างดี

สำหรับ “ผู้ประกันตน” แม้จะตายไปแล้ว เรียกว่า “ชีวิตจบแล้ว” ...แต่สิทธิประโยชน์ยังไม่จบนะ ทาง “ประกันสังคม” ยังมีผลประโยชน์ที่จะจ่ายให้แม้คุณจะไม่มีชีวิตอยู่แล้วก็ตามวันนี้ ทีมงาน ‘Wealthythai’ มีเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกัน

“ประกันสังคม” จ่ายสิทธิประโยชน์กรณีตาย

ช่วงวิกฤติ COVID-19 ตัวเลขผู้ติดเชื้อและคนตายยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เทศกาลสงกรานต์ก็จะต้องมีเรื่องของ 7 วันอันตรายนับจำนวนอุบัติเหตุและผู้เสียชีวิตในช่วงเทศกาลสงกรานต์กันเป็นเรื่องปกติประจำปีไปแล้ว นี่ยังไม่นับรวมการจากไปจากเรื่องอื่นๆ ซึ่งมองให้เห็นธรรมดาก็ถือว่า “ความตาย” เป็นหนึ่งในเรื่องธรรมชาติของมนุษย์เรานี่เองสำหรับ “ผู้ประกันตน” ในระบบของ “ประกันสังคม” นั้น ถือว่าที่ส่งเงินมาตลอดไม่ได้เสียเปล่าแต่ประการใด เพราะในวันที่คุณเสียชีวิตไปแล้วนั้น ประกันสังคมก็ยังมีสิทธิประโยชน์กรณีตายที่จะจ่ายให้ หลักๆ ได้แก่ “ค่าทำศพ” และ “เงินสงเคราะห์กรณีตาย” นั่นเอง

“เงินค่าทำศพ” (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

กรณีที่ “ผู้ประกันตนถึงแก่ชีวิต” ที่ไม่ใช่เหตุจากการทำงาน (มาตรา33 และมาตรา 39) และจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเดือนที่เสียชีวิต ประกันสังคมจะจ่ายเพื่อช่วยเหลือการจัดการศพของผู้ประกันตนเป็นจำนวน 50,000 บาท ให้กับผู้จัดการศพ ได้แก่

  • บุคคลที่ผู้ประกันตนได้ทำหนังสือระบุให้เป็นผู้จัดการศพ และได้เป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน

  • สามี ภรรยา บิดา มารดา หรือบุตร ของผู้ประกันตน ซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน

  • บุคคลอื่นที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน

เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต มาตรา 33

ส่วนผู้ประกันตน (มาตรา

40) ที่จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 ใน 12 เดือน เว้นแต่กรณีเสียชีวิต จากอุบัติเหตุ จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 1 ใน 6 เดือน ก่อนเดือนที่เสียชีวิต ประกันสังคมจะจ่ายให้ดังนี้- ทางเลือกที่ 1 และ 2 จะได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท- ทางเลือกที่ 3 ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท

“เงินสงเคราะห์กรณีตาย”

ส่วน “เงินสงเคราะห์” กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายนั้นจะจ่ายตามจำนวนและระยะเวลาที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบไว้ โดยเป็นเงินที่ “ประกันสังคม” จะจ่ายให้กับบุคคลที่ผู้ประกันตนได้ทำหนังสือระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์นั้น

“แต่หากผู้ประกันตนไม่ได้ทำหนังสือระบุไว้ ทางสำนักงานประกันสังคมจะนำเงินสงเคราะห์นั้นมาเฉลี่ยจ่ายให้กับ สามีหรือภรรยา บิดา มารดา หรือบุตรของผู้ประกันตน ในจำนวนเท่าๆ กัน”

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39- เมื่อจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 36 - 119 เดือน จะได้เงินสงเคราะห์ 50% ของค่าจ้าง เฉลี่ย 4 เดือน- หากจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จะได้เงินสงเคราะห์ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน
ส่วนผู้ประกันมาตรา 40- ทางเลือกที่ 1 และ 2 จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย จะได้รับเงินสงเคราะห์ 8,000 บาท

“เงินบำเหน็จชราภาพ”...ที่ทายาทสามารถเบิกเพิ่มเติมได้

นอกจากสิทธิประโยชน์ทดแทนที่ทายาทจะได้รับ “กรณีที่ผู้ประกันตนเสียชีวิต” แล้ว ยังมีเงินที่ทายาทสามารถเบิกเพิ่มเติมได้คือ “เงินบำเหน็จชราภาพ” ซึ่งสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายให้กับผู้มีสิทธิรับผลประโยชน์ตามจำนวนและระยะเวลาการสบทมเงินประกันสังคมดังนี้

- ผู้ประกันตนเสียชีวิตก่อนอายุครบ 55 ปี และจ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ผู้รับประโยชน์จะได้ประโยชน์ทดแทนแบบบำเหน็จชราภาพ เป็นจำนวนเงินเท่ากับเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายไว้

- ผู้ประกันตนเสียชีวิตก่อนอายุครบ 55 ปี และจ่ายเงินสมทบมากกว่า 12 เดือน ผู้รับประโยชน์จะได้ประโยชน์ทดแทนแบบบำเหน็จชราภาพ เป็นจำนวนเงินเท่ากับเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายไว้

- ผู้ประกันตนเสียชีวิตภายในระยะเวลา 5 ปี หลังรับสิทธิบำนาญชราภาพ ผู้รับประโยชน์จะได้ประโยชน์ทดแทนเป็นเงิน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือนอ่านถึงตรงนี้แล้ว ใครที่เป็น “ผู้ประกันตน” ในระบบของ “ประกันสังคม” อยู่ ไม่ควรนิ่งเฉยและแนะนำให้บอกกล่าวเรื่องราวเหล่านี้แก่ทายาทหรือคนใกล้ชิดของตัวเองเอาไว้ หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมา คนข้างหลังก็จะไม่ลำบากเกินไป เพราะบางคนอาจ “ไม่รู้” จนทำให้ไม่ได้ใช้สิทธิประโยชน์ตรงนี้ไป หรือใครมีคนในครอบครัวอยู่ในระบบประกันสังคม ก็ไปกระซิบบอกกันดูว่า...มันมี “สิทธิประโยชน์กรณีตาย” ตรงนี้อยู่นะ “รู้หรือยัง?” หากใครมีข้อสงสัยสามารถติดต่อทาง “ประกันสังคม” ในพื้นที่ได้เลย หรือโทร 1506 หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sso.go.th แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้ากับ “สาระ Fund วันละนิด” ครับ