ต่อ สาย n กับ g สลับ กัน

ต่อ สาย n กับ g สลับ กัน

1. ทำไมการไฟฟ้า ต้องให้ต่อ Ground ต่อร่วมกับ นิวตรอน (N) หรือ
    bounding gound + neutron.
   การไฟฟ้าป้องกันอุบัติเหตุจจาก สายไฟ นิวตรอน (N) ของการไฟฟ้าขาด เนื่องจากขาดเอง จากอายุการใช้งาน หรือโดนเกี่ยวขาด จะเกิดปํญหา N ลอย จะเกิดอะไรขี้นเมี่อ N ลอย ไฟฟ้าจาก 220V จะเป็น 380V ทันที. 
 2. 380V เกิดขึ้นได้อย่างไร มันมาจากไหน ? 
  โดยปกติ การไฟฟ้า พาดสายไฟเข้ามาในหมู่บ้าน จะเดินสายไฟ 3 เฟส 4 วาย ( 3 Phase 4 wire) ตือมี 3 สายเป็นใฟ L1 , L2 , L3 และอีก 1 สาย N (ที่ช่างเรียกว่า สายศูนย์) ถ้านำมิเตอร์มาวัด L1 กับ N ก็จะได้ 220V ,L2 กับ N ก็จะได้ 220V ,และ ,L3 กับ N ก็จะได้ 220V เช่นกัน และนำมิเตอร์มาวัดไฟระหว่าง L1 กับ L2 จะได้ 380V ,L2 กับ L3 จะได้ 380V ,L3 กับ L1 จะได้ 380V.
 3. แต่เราขอไฟ 1 เฟส 220V. แล้วทำไมเป็น 380V. มาได้อย่างไร?  

ตอบ

ก็ข้างบ้านจ่ายไฟอีกเฟสกลับมาให้  ผมยกต้วอย่าง บ้าน 3 หลัง
 บัาน A การไฟฟ้า จั้มไฟให้ L1 + N = 1 เฟส 220V.
 บัาน B การไฟฟ้า จั้มไฟให้ L2 + N = 1 เฟส 220V.
 บัาน C การไฟฟ้า จั้มไฟให้ L3 + N = 1 เฟส 220V.
แต่บ้านทั้ง 3 หลังใช้ N ร่วมกัน ดูจากรูป.

ต่อ สาย n กับ g สลับ กัน
 

ถ้าเกิดอุบัติเหตุสาย N ที่จ่ายมาจากการไฟฟ้า เกิดขาด ผมยกตัวอย่าง บ้าน A กับ บ้าน B เมื่อสายไฟ N การไฟฟ้าขาด ไฟในบ้านทั้ง 2 หลังจะเป็น 380V. ทันที ปั้มน้ำ ตู้เย็น คงพังก่อนเพราะเป็นอุปกรณ์ในบ้านที่ต่อไฟฟ้าไว้ตลอดเวลา จึงเป็นที่มาว่าทำไม การไฟฟ้าถีงให้บ้านทุกหลังต้องต่อ N กับ G อยู่ด้วยกัน...เพื่อป้องกันไฟเกิน 220V.

สายไฟ นิวตรอน ใช้อักษรย่อคือ N. มีศักดื์ไฟฟ้าเป็น 0 V.

สายไฟ กราวด์    ใช้อักษรย่อคือ G. มีศักดื์ไฟฟ้าเป็น 0 V.

ต่อ สาย n กับ g สลับ กัน

การต่อสายไฟที่ถูกต้องไม่ใช่เฉพาะช่างไฟฟ้าเท่านั้นที่ควรรู้ แต่คุณเองก็ควรรู้เอาไว้ เพราะเป็นเรื่องความปลอดภัยใกล้ตัว หรือบางทีเราจำเป็นต้องต่อขั้วเต้าเสียบหรือเต้ารับเอง จะได้ทำได้อย่างถูกต้องปลอดภัยตามหลักของการไฟฟ้าฯ

การต่อสายไฟที่ถูกต้อง คือ ใช้สีของสายไฟตาม มอก.11-2553

ตามมาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้า ระบบในบ้านส่วนใหญ่จะเป็นแบบ 1 เฟส มีสายดิน ดังนั้นถ้ามีการต่อสายไฟที่ถูกต้อง สายไฟที่เดินภายในบ้านจะมีวงจร 3 เส้น คือ

1. เส้นที่มีไฟ(L) ให้ใช้สายสีน้ำตาล

2.สายนิวทรัล(N) ให้คุณใช้สายสีฟ้า(น้ำเงิน)

3. สายดิน(G) ให้ต่อด้วยสายสีเขียวแถบเหลือง

การที่เราใช้สีให้ตรงข้อกำหนดนี้ จะทำให้เกิดการต่อสายที่ถูกต้องและไม่สับสนจนเกิดอันตราย จากการพลั้งเผลอหรือเข้าใจผิดตามมาจากคนอื่น ๆ ที่จะมาแก้ไขต่อจากเรา

มาตรฐานขั้วเต้ารับและสีของสายไฟเพื่อการต่อสายไฟที่ถูกต้อง

เต้ารับชนิดมีสายดินในประเทศไทยจะเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 166-2549 และสีของสายไฟจะถูกกำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐาน มอก.11-2553 ดังที่เราได้อธิบายไปแล้ว

ถ้าที่ขั้วต่อของเต้ารับมีสัญลักษณ์ไม่ชัดเจน วิธีสังเกตง่าย ๆ เพื่อการต่อสายไฟที่ถูกต้อง คือ ที่ช่องเสียบเต้ารับ ขั้ว G จะมีรูขายาวกว่าขั้ว L,N ส่วนรูของขั้ว L จะแคบกว่าขั้ว N และเมื่อติดตั้งอย่างถูกต้องแล้ว เมื่อเราหันหน้าเข้าหาเต้ารับ ขั้ว G จะอยู่ด้านขวา ขั้ว L จะอยู่ด้านบน และขั้ว N จะอยู่ด้านล่างเสมอ

ถ้าไม่ทำตามการต่อสายไฟที่ถูกต้อง ทำให้เข้าสายผิดที่เต้ารับ อาจจะเกิดข้อผิดพลาดตามข้อมูลของ การไฟฟ้านครหลวงดังนี้

- สายที่มีไฟไม่ได้ต่อกับขั้วเต้ารับ L

ข้อนี้จะไม่มีไฟมาเลี้ยงที่เต้ารับ ทำให้เครื่องใช้ที่นำมาเสียบไม่ติด

- สายดินไม่ได้ต่อกับขั้ว G ของเต้ารับ

เพราะไม่คำนึงถึงการต่อสายไฟที่ถูกต้อง จึงไม่เอาสายดิน มาต่อกับขั้ว G ของเต้ารับ ผลที่เกิดขึ้นอาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ เพราะกรณีนี้จะมีไฟเดินครบวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถทำงานได้ ฟังดูแล้วน่าสบายใจ แต่ถ้ามีไฟรั่ว คุณหรือผู้ใช้ไฟฟ้าไปสัมผัสตัวเครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะถูกไฟดูดได้เพราะไม่มีสายดิน

- สายนิวทรัลไม่ได้ต่อกับขั้ว N ของเต้ารับ

ข้อนี้จะเหมือนข้อที่ 1 เนื่องจากมีไฟไม่ครบวงจรเครื่องใช้ไฟฟ้าจะไม่ติด

- สายนิวทรัลสลับสีกับสายที่มีไฟ ทำให้สายนิวทรัลต่อกับขั้ว L ที่เต้ารับ และสายที่มีไฟต่อกับขั้ว N ที่เต้ารับ

ข้อนี้เป็นอีกข้อที่อันตรายถ้าเราเอาเต้ารับนี้ไปใช้กับปลั๊กพ่วง เพราะเวลาเราปิดสวิตช์ที่ปลั๊กพ่วง จะมีไฟค้างอยู่ในรูเต้ารับ ถ้าเราคิดว่าปิดสวิตช์แล้วไม่น่าจะมีไฟ จึงไม่ระวังก็อาจโดนไฟดูดได้

- สายที่มีไฟสลับสีกับสายดิน ทำให้สายที่มีไฟต่อกับขั้ว G และสายดินต่อกับขั้ว L ที่เต้ารับ

เมื่อไม่เข้าในเรื่องการต่อสายไฟที่ถูกต้อง ผลของกรณีนี้อันตรายมาก เพราะปกติสายดินมีหน้าที่นำกระแสไฟรั่วให้ลงดิน ไม่ทำอันตรายกับผู้ใช้งาน แต่การต่อผิดทำให้มีทำให้มีแรงดัน 230 V ที่ผิวโลหะของอุปกรณ์ไฟฟ้า ดังนั้น ถ้าใครไปจับหรือสัมผัสเข้า จะโดนไฟฟ้าดูดอย่างรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้

- สายที่มีไฟสลับสีกับสายนิวทรัลทำให้ทำให้สายที่มีไฟต่อกับขั้ว N ที่เต้ารับ แต่สายนิวทรัลแท้ ๆ ไม่ได้ต่อสายกับขัว L

ข้อนี้จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ทำงานเนื่องจากไฟฟ้าไม่ครบวงจร แต่มีไฟอยู่ที่ขั้ว N เกิดอันตรายจากไฟรั่วถ้าเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้าคาเอาไว้

เห็นไหมว่าการต่อสายไฟให้ถูกต้องไม่ใช่เรื่องที่ยากจนเกินไป แค่รู้ความหมายสีของสายไฟและต่อใช้งานให้ถูกกับขั้วเท่านั่นเอง