เงินชดเชย เลิกจ้าง ประกันสังคม 2564

คุณภาพชีวิต-สังคม

"ประกันสังคม" อัพเดทล่าสุด ว่างงาน ผู้ประกันตนได้อะไรบ้าง ขั้นตอนลงทะเบียน

21 ธ.ค. 2564 เวลา 9:42 น.217.3k

"ประกันสังคม" อัพเดทล่าสุดกรณี "ผู้ประกันตนมาตรา 33" ว่างงาน หรือตกงาน จะได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง พร้อมวิธีลงทะเบียน

(21 ธ.ค.2564) "ประกันสังคม" อัพเดทล่าสุดกรณี "ผู้ประกันตนมาตรา 33" ว่างงาน หรือตกงาน เมื่อว่างงานต้องทำยังไง เช็คสิทธิประโยชน์ว่าจะได้อะไรบ้าง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

- ประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 เช็คสวัสดิการมีอะไรบ้าง?

- "ประกันสังคม ม.40" รับเงินเยียวยา 5,000 ก่อน 14 ม.ค. 65 ใครได้สิทธิ์บ้าง ?

- วิธีสมัครเป็นผู้ประกันตน ม.40 เพื่อรับเงินเยียวยา รีบเลยก่อน 14 ม.ค.2565

สิทธิประโยชน์จาก "ประกันสังคม" กรณีว่างงาน โดยผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน คือ บุคคลที่เป็น "ผู้ประกันตนมาตรา 33" และจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน 

  • กรณี "ว่างงาน" จากการลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา ได้รับเงินทดแทน 45% ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน/ปีปฏิทิน
  • กรณีถูกเลิกจ้างได้รับเงินทดแทน 70% ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน/ปีปฏิทิน
  • คำนวณจากฐานค่าจ้างขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

ขั้นตอนกรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาและถูกเลิกจ้าง

1.ลงทะเบียนขอใช้ Digital ID ผ่านระบบ https://e-service.doe.go.th เพื่อพิสูจน์ตัวตนทางดิจิทัล

2. เข้าระบบ (Log-in) โดยใช้ User/Password ที่ลงทะเบียน Digital ID และกรอกข้อมูลตามระบบให้ครบถ้วน พร้อมแนบไฟล์ภาพหน้าบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน (Book Bank) (ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.2564 ผู้ประกันตนไม่ต้องยื่นเอกสารใดๆกับสำนักงานประกันสังคม)

3.รายงานตัวตามกำหนด โดยคลิกที่ปุ่ม “บันทึก” เพื่อเป็นการยืนยันการรายงานตัว

หมายเหตุ : ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 จะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงานในอัตราเดิม ดังนี้

  • ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา ได้รับ 30% ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน/ปีปฏิทิน
  • เลิกจ้างได้รับ 50% ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน/ปีปฏิทิน

กรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยจากการระบาดของโรคติดต่อ ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานเนื่องจากนายจ้างหยุดประกอบกิจการ เนื่องจากรัฐสั่งปิด และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น จะมีสิทธิได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2563)

ขั้นตอน

1. ผู้ประกันตน กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7) พร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร

2.นายจ้างบันทึกข้อมูลผู้ประกันตนหยุดงานชั่วคราว ในระบบ e-Service ทาง www.sso.go.th (หากนายจ้างที่ใช้ระบบครั้งแรกต้องลงทะเบียนก่อน) กรอกข้อมูลรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ตามข้อเท็จจริง

3.นายจ้างนำส่งแบบ สปส. 2-01/7 ของลูกจ้าง ไปที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่รับผิดชอบที่สถานประกอบการตั้งอยู่

ทั้งนี้ กรณีลูกจ้างกระทำความผิด ถูกไล่ออก หรือปลดออก จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสายด่วน 24 ชั่วโมง โทร : 1506 

เงินชดเชย เลิกจ้าง ประกันสังคม 2564

ที่มา : สำนักงานประกันสังคม

      ยินดีต้อนรับ การใช้บริการ “ระบบการขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ” โดยท่านได้ตกลงและยอมรับเงื่อนไขในการใช้บริการ ดังนี้

  1. ผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ที่ใช้บริการ จะต้องบันทึกข้อมูลที่เป็นความจริง โดยข้อมูลจะต้องมีความครบถ้วนและสมบูรณ์ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน
  2. การสมัครสมาชิกในระบบ ยังไม่ถือว่าเป็นการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน จนกว่าผู้ประกันตนจะพิมพ์หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน และได้หมายเลขอ้างอิงเรียบร้อยแล้ว การขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนจะสมบูรณ์ เมื่อมีรหัสอ้างอิงซึ่งปรากฎอยู่ในหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียน
  3. ในกรณียื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้าง หรือเหตุถูกเลิกจ้างและลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างเกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนทุกครั้ง รวมกันไม่เกิน 180 วัน แต่ในกรณียื่นขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง เกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 90 วัน
  4. ผู้ประกันตนฯ จะต้องยินยอมเปิดเผยข้อมูลให้กับหน่วยงานราชการ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน
  5. การพิจารณาการได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานกรณีถูกเลิกจ้างหรือลาออก จะเป็นหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคม
  6. สำนักงานประกันสังคมทำการโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิให้ผู้ประกันตน ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน เดือนละ 1 ครั้งหากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่พอใจคำสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง ที่สำนักงานประกันสังคม
  7. ผู้ประกันตนกรณีว่างงานสามารถยื่นเอกสาร เพื่อขอรับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ที่สำนักงานประกันสังคม ดังนี้

    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    • แบบฟอร์ม สปส 2-01/7
    • สำเนาสมุดบัญชีธนาคารที่เป็นชื่อผู้ประกันตน ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)  ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)  ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)  ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)  ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

คำเตือน :

      ในกรณีผู้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จ อาจมีความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ยอมรับและเข้าใช้งาน ไม่ยอมรับและยกเลิกการใช้งาน