การประเมิน การจัดประสบการณ์ทางภาษาของครู ปฐมวัย

  • หน้าหลัก
  • ฐานข้อมูลงานวิจัย
    • กฎหมายการศึกษา
    • ปฐมวัย
    • ประถม - มัธยมศึกษา
    • อาชีวศึกษา
    • อุดมศึกษา
    • การศึกษาพิเศษ
    • วัดประเมินผลการศึกษา
    • ครูและบุคลากรทางการศึกษา
    • เทคโนโลยีการศึกษา
    • นโยบายการศึกษา
    • หลักสูตรและการเรียนรู้
    • อื่นๆ
  • ฐานข้อมูลนักวิจัย
  • สถิติ
  • คู่มือการใช้งาน
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

  1. หน้าหลัก
  2. ฐานข้อมูลงานวิจัย

  • เปลี่ยนการแสดงผล
  • ตัวอักษรขนาดปกติ
  • ตัวอักษรขนาดปานกลาง
  • ตัวอักษรขนาดใหญ่
  • แสดงผลพื้นหลังสีดำตัวหนังสือสีขาว
  • แสดงผลแบบปกติ
  • แสดงผลพื้นหลังสีดำตัวหนังสือสีเหลือง

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARES เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย DEVELOPMENT OF SPARPS INSTRUCTIONAL MODEL FOR ENHANCING LANGUAGE SKILLS OF PRESCHOOL CHILDREN

: ชื่อผู้วิจัย ภัทรดรา พันธ์สีดา
: ปฐมวัย
: ปี 2551
: 752

การประเมิน การจัดประสบการณ์ทางภาษาของครู ปฐมวัย

บทคัดย่อ (Abstract)

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARPS เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ทดสอบประสิทธิภาพ และเผยแพร่รูปแบบการสอน แบบ SPARPS เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย วิธีดําเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ 6 ขั้น ดังนี้
ระยะที่ 1 การสร้างรูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARES ขั้นที่ 1 สังเคราะห์รูปแบบ การเรียนการสอนแบบ SPARPS จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARPS ประกอบด้วยขั้นการเรียนการสอน 6 ขั้น คือ ขั้นกระตุ้นเร้า (Stimulus : S) ชั้นวางแผน (Plan : P) ขั้นเรียนรู้ (Active Leaming : A) ขั้นซ้ำทวน (Repeat : R) ขั้นนําเสนอ (Presentation : P) และขั้นแบ่งปัน (Share Ideas : S) ขั้นที่ 2 ประเด็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARES โดยผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 5 คน ทําแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARES ผลการสร้างรูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARPs ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00-4.60 ขั้นที่ 3 สร้างเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARPs คือ แผนการจัดประสบการณ์ แบบสังเกตทักษะทางภาษาและแบบทดสอบวัดทักษะทางภาษา และขั้นที่ 4 ทดลองนําร่องรูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARES โดยทดลองสอนกับเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี โรงเรียนอนุบาลวัดนางนอง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จํานวน 27 คน เป็นเวลา 1 สัปดาห์
ระยะที่ 2 การทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARPs ขั้นที่ 5 ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARPS เป็นเวลา 6 สัปดาห์ โดยกําหนดแบบแผนการทดลองเป็นแบบ Randomized Control-Group Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็ก ปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี โรงเรียนอนุบาลวัดนางนอง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 ที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มจากประชากร เป็นกลุ่มทดลอง จํานวน 1 ห้องเรียน และกลุ่มควบคุม จํานวน 1 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 25 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ t-test for dependent samples และ independent sample: ผลการทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARES ดังนี้
1. เด็กปฐมวัยมีทักษะทางภาษาเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARPS อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้ง ด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนและโดยรวมทั้ง 4 ด้าน
2. เด็กปฐมวัยมีทักษะทางภาษาด้านการฟังเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการเรียนการสอน แบบ SPARPS และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการเรียนการสอนแบบปกติมีทักษะทางภาษาก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และโดยรวมทั้ง 4 ด้าน
4. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการเรียนการสอน แบบ SPARES มีทักษะทางภาษาหลังการทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และโดยรวมทั้ง 4 ด้าน
ระยะที่ 3 การเผยแพร่รูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARES ขั้นที่ 6 เผยแพร่รูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARPS โดยครูปฐมวัยที่ปฏิบัติงานสอนอยู่ในชั้นเรียนของเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 3-4 ปี 4-5 ปี และ 5-6 ปี จํานวน 6 คน ชั้นเรียนละ 2 คน โรงเรียนวัดหนัง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 ที่สมัครใจนํารูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARPS ไปทดลองใช้ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการสอนครูปฐมวัยทุกคนตอบแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARES และได้รับการสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARES ผลการเผยแพร่รูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARES ตามความคิดเห็นของครูปฐมวัยที่ปฏิบัติงานสอนอยู่ในชั้นเรียนของเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี มีความเหมาะสมอยู่ ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50-5.00 และความคิดเห็นของครูปฐมวัยที่ปฏิบัติงานสอนอยู่ในชั้นเรียนของเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 3-4 ปี และ 5-6 ปี มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50-4.00

`

เอกสารฉบับสมบูรณ์

ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARES เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย
DEVELOPMENT OF SPARPS INSTRUCTIONAL MODEL FOR ENHANCING LANGUAGE SKILLS OF PRESCHOOL CHILDREN

: ชื่อผู้วิจัย ภัทรดรา พันธ์สีดา
: ตำแหน่ง
: ปฐมวัย
: ปี 2551
: 752


การประเมิน การจัดประสบการณ์ทางภาษาของครู ปฐมวัย

Attribution

อนุญาตให้เผยแพร่

การประเมิน การจัดประสบการณ์ทางภาษาของครู ปฐมวัย

Non-Commercial

ไม่อนุญาตให้ใช้เพื่อการค้า

การประเมิน การจัดประสบการณ์ทางภาษาของครู ปฐมวัย

No Derivative Works

ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนแปลงเนื้อหา

หากมีการละเมิดลิขสิทธิ์งานวิจัย ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของผู้ใช้งาน

ยอมรับเงื่อนไขด้านลิขสิทธิ์


กรุณาสมัครสมาชิกหรือเข้าสู่ระบบเพื่อดาวน์โหลด


งานวิจัยล่าสุด