คำ ภาษาต่างประเทศ ใน ข้อ ใด ที่มี ปรากฏในศิลาจารึก พ่อขุน รามคำแหง

          ���������������ѡ���������ʹ������ͧ�ͧ���֡ ����;�кҷ���稾�Ш��������������������·���ѧ��ç����������������稾����ҹ�ͧ���� ��ҿ�����خ� ��зç��Ǫ���� 㹻վط��ѡ�Ҫ 2376 ���ʴ稨��ԡ�ش�����ѧ������ͧ���Ž����˹�ͧ͢������� ������ʴ稶֧���ͧ��⢷�·ç�����Ҩ��֡ 2 ��ѡ ��� ���Ҩ��֡��͢ع������˧ ������ ������Ҩ��֡�Ѵ�������ǧ ������� ��������¾���� ��ѧ���Һҵ� ������dz�Թ����ҷ��Ѵ��Ҹҵ� �Ӻ����ͧ��� ��������ͧ��⢷�� ��кҷ���稾�Ш���������������� �ç����������ҳ�ѵ���Ӥѭ �֧�ô����� ����ŧ��������ا෾� 

Skip to content

ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 เป็นจารึกหลักแรกที่ใช้ภาษาไทย และตัวอักษรไทย ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์ขึ้นในปี พุทธศักราช 1826 นับต่อเนื่องมาถึงในปีปัจจุบัน พุทธศักราช 2546 รวมระยเวลา 720 ปี

ลักษณะของศิลาจารึก เป็นแท่นหินชนวนสีขาว รูปทรงสี่เหลี่ยม ออกกลมมนมีความสูง 1 เมตร 11 เซนติเมตร ความหนา 35 เซนติเมตร มีจารึกทั้ง 4 ด้าน

ด้านที่ 1 มีอักษรจารึก 35 บรรทัด ด้านที่ 2 มีอักษรจารึก 35 บรรทัด ด้านที่ 3 มีอักษรจารึก 27 บรรทัด และด้านที่ 4 มีอักษรจารึก 27 บรรทัด ทุกหน้ามีรอยชำรุด ขีดข่วนและร่องรอยถูกกระเทาะ

มรดกแห่งความทรงจำ (Memorial of the World Project)

คณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประชุมเมื่อวันที่ 28-30 สิงหาคม (พ.ศ. 2546) ที่ผ่านมา ณ เมือง กแดนซค์ (Gdansk) ประเทศโปแลนด์ มีมติเห็นชอบให้องค์การยูเนสโกจดทะเบียนระดับโลก ศิลาจารึก หลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ภายใต้โครงการมรดกแห่งความทรงจำของโลก ทั้งนี้ถือว่าศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นหลักฐานที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ การปกครอง การค้า และวัฒนธรรมของอาณาจักรสุโขทัย ที่มีความสำคัญกับนานาชาติซึ่งโครงการมรดกความทรงจำของโลกนี้เป็นโครงการเพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่มรดกแห่งความทรงจำทีเป็นเอกสาร วัสดุหรือข้อมูลข่าวสารอื่น ๆ เช่น กระดาษ สื่อทัศนูปกรณ์ และสื่ออีเล็กทรอนิกส์ด้วย โดยที่สิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวจะต้องมีความสำคัญ มีการเก็บรักษาให้อยู่ในความทรงจำในระดับนานาชาติและระดับภูมิภาค เมื่อองค์การยูเนสโก ได้ประกาศจดทะเบียนแล้ว ประเทศเจ้าของมรดก จะมีพันธกรณีทางปัญญาและทางศีลธรรม ที่จักต้องอนุรักษ์ให้อยู่ในสภาพที่ดี สามารถเผยแพร่ให้ความรู้แก่มหาชน อนุชนคนรุ่นหลังทั่วโลกให้กว้างขวางเพื่อให้มรดกดังกล่าวอยู่ในความทรงจำของโลกตลอดไป

ในปีนี้ (พ.ศ. 2546) กระทรวงศึกษาธิการมีแผนงานที่จะร่วมกับหน่วยงานทางการศึกษา สื่อสารมวลชน กระทรวงวัฒนธรรม และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดงานสมโภชในวาระครบ 720 ปี

ส่วนรูปแบบนั้นจะเน้นเรื่องการพิมพ์และการเผยแพร่ การจัดแปลเป็นภาษาต่างประเทศ การจัดนิทรรศการ การประชุม สัมมนาทางวิชาการ และกิจกรรมสำคัญอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมให้ความรู้ ความเข้าใจในความสำคัญของหลักศิลาจารึก ที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ด้านการเมือง การปกครอง การค้า และวัฒนธรรมทุกด้านของไทยที่สืบทอดจากสมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ตระหนักถึงคุณค่า ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งเป็นเอกสารมรดกวัฒนธรรมอันล้ำค่าของไทย ภาคภูมิใจในประวัติ และเรื่องราวของสุโขทัย ภาคภูมิใจ ตระหนักถึงคุณค่าของภาษาไทย และความร่วมใจอนุรักษ์ภาษาไทย จึงได้จัดนิทรรศการ “720 ปีลายสือไทย” ขึ้น ณ บริเวณชั้น 1 อาคาร 1

และใคร่ขอเชิญชวนผู้สนใจ ชมนิทรรศการดังกล่าว หากท่านผู้ใดสนใจต้องการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม สำนักหอสมุดกลางมีหนังสือเกี่ยวกับสมัยสุโขทัยและหลักศิลาจารึกให้บริการที่ชั้น 2 และชั้น 4 อาคาร 1 หรือติดต่อสอบถามได้ที่ ประชาสัมพันธ์ สำนักหอสมุดกลาง โทร. 0-2310-8653 (ปี พ.ศ. 2560 เปลี่ยนเป็น โทร. 02-310-8661)

บรรณานุกรม

  • ประเสริฐ ณ นคร. ลายสือไทย. เอกสารประกอบโครงการสัมมนาเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องมุด ปีที่ 28 พุทธศักราช 2546 เรื่อง 720 ปีลายสือไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, 2546.
  • มรดกแห่งความทรงจำโลก มติ”ยูเนสโก” ยกย่องศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงฯ. มติชน 26, 9308 (3 ก.ย. 46)

บทความโดย วิภาภรณ์ หาญสุทธิวารินทร์
ข่าวรามคำแหง ปีที่ 33 ฉบับที่ 22 วันที่ 22-28 กันยายน 2546

          ���Ҩ��֡�����������ͤ��������§ 124 ��÷Ѵ ���è�����ͧ��Ƿ���ش����¤س��ҷҧ�Ԫҡ�������Ң� ���㹴�ҹ�Ե���ʵ�� �Ѱ��ʵ�� ���ɰ�Ԩ�ѧ�� ����ѵ���ʵ�� ������ʵ�� ������ʵ�� ��ó��� ��ʹ� ��Ш��յ���ླ� ��ҹ�Ե���ʵ�� ���Ҩ��֡��ѡ����Ҩ������ �繡������Ѱ�����٭��º��Ѻ�Ѱ�����٭��Ѻ�á�ͧ�ѧ��� �ա�á�˹��Է�������Ҿ�ͧ��ЪҪ� ����ѡ���Է������ª� �����ҡ��ͤ���������Ƕ֧ �ա�ä�����ͧ����֡ �͡�ҡ��� �ѧ�բ�ͤ�������͹�繺��ѭ�ѵ�㹡������ú����к��ѭ�ѵ�㹡��������ѡɳФ�ͺ��������ô� ��ʹ����þԨ�óҤ����������ҭ�

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จารึกพ่อขุนรามคำแหง *
คำ ภาษาต่างประเทศ ใน ข้อ ใด ที่มี ปรากฏในศิลาจารึก พ่อขุน รามคำแหง
  ความทรงจำแห่งโลกโดยยูเนสโก
คำ ภาษาต่างประเทศ ใน ข้อ ใด ที่มี ปรากฏในศิลาจารึก พ่อขุน รามคำแหง

จารึกพ่อขุนรามคำแหง


ที่เก็บรักษาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ประเทศ
คำ ภาษาต่างประเทศ ใน ข้อ ใด ที่มี ปรากฏในศิลาจารึก พ่อขุน รามคำแหง
 
ไทย
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
อ้างอิง[1]
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2546
* ชื่อตามที่ได้จดทะเบียนในบัญชีมรดกความทรงจำแห่งโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

คำ ภาษาต่างประเทศ ใน ข้อ ใด ที่มี ปรากฏในศิลาจารึก พ่อขุน รามคำแหง

ลักษณะอักษรไทยที่ใช้ในจารึก

จารึกพ่อขุนรามคำแหง[1] หรือ จารึกหลักที่ 1[1] เป็นศิลาจารึกที่บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สมัยกรุงสุโขทัย ศิลาจารึกนี้ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ขณะผนวชอยู่เป็นผู้ทรงค้นพบเมื่อวันกาบสี ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 จ.ศ. 1214 ตรงกับวันศุกร์ที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1834 หรือ พ.ศ. 2376[2] ณ เนินปราสาทเมืองเก่าสุโขทัย อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย มีลักษณะเป็นหลักสี่เหลี่ยมด้านเท่า ทรงกระโจม สูง 111 เซนติเมตร หนา 35 เซนติเมตร เป็นหินทรายแป้งเนื้อละเอียด[1] มีจารึกทั้งสี่ด้าน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร

เนื้อหาของจารึกแบ่งได้เป็นสามตอน ตอนที่หนึ่ง บรรทัดที่ 1 ถึง 18 เป็นการเล่าพระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราชตั้งแต่ประสูติจนเสวยราชย์ ใช้คำว่า "กู" เป็นหลัก ตอนที่ 2 ไม่ใช้คำว่า "กู" แต่ใช้ว่า "พ่อขุนรามคำแหง" เล่าถึงเหตุการณ์และธรรมเนียมในกรุงสุโขทัย และตอนที่สาม ตั้งแต่ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 12 ถึงบรรทัดสุดท้าย มีตัวหนังสือต่างจากตอนที่ 1 และ 2 จึงน่าจะจารึกขึ้นภายหลัง เป็นการสรรเสริญและยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตราชอาณาจักรสุโขทัย[1]

จารึกได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกเมื่อปี พ.ศ. 2546[3] โดยยูเนสโกบรรยายว่า "[จารึกนี้] นับเป็นมรดกเอกสารชิ้นหลักซึ่งมีความสำคัญระดับโลก เพราะให้ข้อมูลอันทรงค่าว่าด้วยแก่นหลักหลายประการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมโลก ไม่เพียงแต่บันทึกการประดิษฐ์อักษรไทยซึ่งเป็นรากฐานแห่งอักษรที่ผู้คนหกสิบล้านคนใช้อยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน การพรรณนาสุโขทัยรัฐไทยสมัยศตวรรษที่ 13 ไว้โดยละเอียดและหาได้ยากนั้นยังสะท้อนถึงคุณค่าสากลที่รัฐทั้งหลายในโลกทุกวันนี้ร่วมยึดถือ"[3]

มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับความเชื่อถือได้ของบางส่วนหรือทั้งหมดของศิลาจารึกดังกล่าว[4] พิริยะ ไกรฤกษ์ นักวิชาการที่สถาบันไทยคดีศึกษา ออกความเห็นว่า การใช้สระในศิลาจารึกนี้แนะว่าผู้สร้างได้รับอิทธิพลมาจากระบบพยัญชนะยุโรป เขาสรุปว่าศิลาจารึกนี้ถูกบางคนแต่งขึ้นในรัชกาลที่ 4 หรือไม่นานก่อนหน้านั้น[5] นักวิชาการเห็นต่างกันในประเด็นว่าด้วยความน่าเชื่อถือของศิลาจารึกนี้ ผู้ประพันธ์บางคนอ้างว่ารอยจารึกนั้นเป็นการแต่งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทั้งหมด บ้างอ้างว่า 17 บรรทัดแรกนั้นเป็นจริง บ้างอ้างว่ารอยจารึกนั้นพระยาลือไทยทรงแต่งขึ้น นักวิชาการไทยส่วนใหญ่ยังยึดถือความน่าเชื่อถือของศิลาจารึกนี้[6] รอยจารึกดังกล่าวและภาพลักษณ์ของสังคมสุโขทัยในจินตนาการยังเป็นหัวใจของชาตินิยมไทย และไมเคิล ไรท์ นักวิชาการชาวอังกฤษ เสนอแนะว่าศิลาจารึกดังกล่าวอาจถูกปลอมขึ้น ทำให้เขาถูกขู่ด้วยการเนรเทศภายใต้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทย[7]

ส่วนจิราภรณ์ อรัณยะนาค เขียนบทความแสดงทัศนะว่า ศิลาจารึกหลักที่ 1 ได้ผ่านกระบวนการสึกกร่อนผุสลายมาเป็นเวลานานหลายร้อยปี ใกล้เคียงกับศิลาจารึกหลักที่ 3 หลักที่ 45 และหลักที่กล่าวถึงชีผ้าขาวเพสสันดร ไม่ได้ทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 จารึกพ่อขุนรามคำแหง เก็บถาวร 2015-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). สืบค้น 10 เมษายน 2557.
  2. "17 มกราคม วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช". มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2555.
  3. ↑ 3.0 3.1 The King Ram Khamhaeng Inscription. UNESCO
  4. Centuries-old stone set in controversy, The Nation, Sep 8, 2003
  5. The Ramkhamhaeng Controversy: Selected Papers. Edited by James F. Chamberlain. The Siam Society, 1991
  6. Intellectual Might and National Myth: A Forensic Investigation of the Ram Khamhaeng Controversy in Thai Society, by Mukhom Wongthes. Matichon Publishing, Ltd. 2003.
  7. Seditious Histories: Contesting Thai and Southeast Asian Pasts, by Craig J. Reynolds. University of Washington Press, 2006, p. vii
  8. จารึกพ่อขุนรามคำแหง "ไม่ปลอม" : จากมุมมองของนักวิทยาศาสตร์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • บทความศิลาจารึก เว็บจังหวัดสุโขทัย เก็บถาวร 2009-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • จารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษวิทยาสิรินธรฯ